สินค้าน้ำตาลทรายมี 2 ประเภทหลัก ได้แก่
1.1 น้ำตาลทรายดิบ พิกัดฯ 1701.11
1.1 น้ำตาลทรายขาว พิกัดฯ 1701.99
ปี ปริมาณ (ตัน) 2003 1,424,086 2004 1,447,723 2005 1,411,503 2006 1,460,329 2007 1,597,605 2008(มกราคม- สิงหาคม) 1,049,723
การผลิตน้ำตาลทรายขาวของมาเลเซีย ปี 2003 — 2007 อยู่ในระดับ 1.42-1.60 ล้านตัน สำหรับปี 2008(มกราคม — สิงหาคม) มีปริมาณการผลิต 1,049,723 ตัน กำลังการผลิตเฉลี่ยเดือนละ 131,215 ตัน ดังนั้น ปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายขาวสำหรับปี 2008 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.58 ล้านตัน ทั้งนี้ ตัวเลขผลผลิตจริงอาจจะมาก หรือน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีสาเหตุบางประการที่ทำให้การผลิตน้ำตาลทรายขาวในปี 2008 ลดลงเนื่องจากปัจจัย ต่างๆ ได้แก่ ราคาน้ำตาลในตลาดโลกในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีราคาลดลง
- มาเลเซียมีการส่งออกน้ำตาลทรายชาว(Refined Sugar)ปีละประมาณ 400,000-500,000 ตัน
- มาเลเซียนำเข้าน้ำตาลดิบ(Raw Sugar) ปีละประมาณ 1,500,000 — 1,600,000 ตัน โดยนำเข้า
จากออสเตรเลีย บราซิล อินเดียและไทยเป็นหลัก โดยปี 2006 นำเข้าประมาณ 1,491,934 ตัน ในปี 2007 นำเข้า
1,667,921 ตัน (รายละเอียดการนำเข้าและส่งออกตามตารางแนบ)
ส่งออก 2006 2007 2008(ม.ค.-ก.ย.) ไปประเทศ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) (ตัน) (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) (ตัน) (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) (ตัน) น้ำตาลทรายขาว 1. อินโดนีเซีย 40.15 331,794 74.77 1,180,981 24.55 -na- (พิกัดฯ 1701.99) 2. สิงคโปร์ 25.46 62,771 25.14 68,849 21.21 -na- 3. เกาหลี 0.06 130 6.63 18,963 3.27 -na- 4. ฮ่องกง 3.84 8,536 3.78 8,979 2.54 -na- 5. อื่นๆ 33.11 79,444 40.07 102,291 11.93 -na- รวมทั้งหมด 102.63 482,675 150.39 1,379,870 63.50 -na- ที่มา : Department of statistics สถิติการนำเข้าน้ำตาลทรายของมาเลเซีย (ปี 2006 - 2008) นำเข้า 2006 2007 2008(ม.ค.-ก.ย.) จากประเทศ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) (ตัน) (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) (ตัน) (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) (ตัน) น้ำตาลทรายดิบ 1. ออสเตรเลีย 177.76 550,538 132.41 461,026 101.45 -na- (พิกัดฯ 1701.11) 2. บราซิล 171.98 755,882 238.84 933,835 93.79 -na- 3. อินเดีย 0.14 406 14.65 43,976 93.30 -na- 4. ไทย 10.01 32,642 51.61 185,606 9.78 -na- 5. อื่นๆ 34.15 152,466 8.42 43,478 0.142 -na- รวมทั้งหมด 394.04 1,491,934 445.93 1,667,921 298.47 -na- ที่มา : Department of statistics 4. อัตราภาษี
สำหรับภาษีนำเข้าสินค้าทั้งสองรายการข้างต้น ไม่มีอากรขาเข้าและภาษีการขาย
การนำเข้า
1. มาเลเซียไม่มีการเก็บค่า Surcharge หรือ ค่าธรรมเนียมอื่นๆ สำหรับการนำเข้า
2. การนำเข้าต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าจากกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมาเลเซีย (Ministry of International Trade and Industry-MITI) และต้องได้รับหนังสือรับรองคุณภาพและความ ปลอดภัยของสินค้าจากหน่วยงานควบคุมคุณภาพอาหาร กระทรวงสาธารณสุข (Food Quality Department - Ministry of Health)
3. รัฐบาลควบคุมการนำเข้าน้ำตาล โดยการกำหนดโควตาการนำเข้า และการออกใบอนุญาตสำหรับ การนำเข้า โดยในปี 2548-2551 ได้ให้โควต้าสำหรับการนำเข้าซึ่งสามารถนำเข้าได้เฉพาะน้ำตาลทรายดิบปีละ ประมาณ 1.2 ล้านตัน ปัจจุบัน รัฐบาลมาเลเซียอนุญาตให้เพียง 4 บริษัท ผูกขาดการนำเข้าน้ำตาล ซึ่งได้แก่ บริษัท Malayan Sugar Manufacturing Co. Bhd., บริษัท Central Sugar Refinery Sdn. Bhd., บริษัท Kilang Gula Felda Perlis Sdn. Bhd. และ บริษัท Gula Padang Terap Bhd. บริษัทเหล่านี้จะมีโรงงาน น้ำตาลทราย (Refinery) เป็นของตนเองและนำเข้าน้ำตาลดิบมาฟอกสีเป็นน้ำตาลทรายขาว
บริษัท โควต้านำเข้า ผลผลิตในประเทศ ปริมาณ ส่วนแบ่งตลาด % Malaysian Sugar Manufacturers 471,000 - 471,000 41.7 Central Sugar Refinery 262,500 - 262,500 23.2 Malaysian Sugar Manufacturers 180,000 30,000 210,000 18.6 Central Sugar Refinery 136,100 50,000 186,100 16.5 รวม 1,049,600 80,000 1,129,600 100.0 ที่มา — Review Data การค้าภายในประเทศ
1. รัฐบาลโดยกระทรวงการค้าภายในและกิจกรรมผู้บริโภคมาเลเซีย (Ministry of Domestic Trade and Consumer Affairs) มีการกำหนดและควบคุมราคาจำหน่ายสินค้าน้ำตาลทรายภายในประเทศทั้งราคา ขายปลีกและส่ง ซึ่งมีราคาขายปลีก กิโลกรัมละ 1.45 ริงกิต และราคาขายส่ง กิโลกรัมละ 1.35 ริงกิต (1 ริงกิต = 10.04 บาท) อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจราคาขายปลีกน้ำตาลทรายตามห้างสรรพสิน ค้าต่างๆ ล่าสุดพบว่า มีราคาขายปลีกที่แตกต่างกันตามคุณภาพและชนิดของน้ำตาลทราย โดยมีราคากิโลกรัมละ 1.45 — 2.50 ริงกิต (ตัวอย่างราคา ตามรายการข้างล่าง)
1. Fine granulated sugar 1 kg. RM 1.80 2. Coarse grain sugar 1 kg. RM 1.45 3. Brown sugar 1 kg. RM 2.30 4. Fine brown sugar 1 kg. RM 2.50 5. Fine brown sugar 500 g. RM 1.30 6. Red sugar 500 g. RM 1.50 * RM 1 = 10.04 Baht 6. ข้อคิดเห็น
1. อุตสาหกรรมน้ำตาลทรายในมาเลเซียอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับ อุตสาหกรรมข้าวที่มีบริษัทผูกขาดการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศแค่เพียงบริษัทเดียว สำหรับอุตสาหกรรมน้ำตาลมี 4 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้า ซึ่งสามารถนำเข้าได้เฉพาะน้ำตาลทรายดิบ พิกัดฯ 1701.11 โดยมีนาย Robert Kuok เป็นผู้ถือหุ้นส่วนรายใหญ่ใน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท Malayan Sugar Manufacturing Co. Bhd., บริษัท Central Sugar Refinery Sdn. Bhd., และบริษัท Kilang Gula Felda Perlis Sdn. Bhd. ส่วนอีกหนึ่งบริษัท (Gula Padang Terap Bhd.) มี Tan Seri Syed Mokhtar Albukhary เป็นผู้ถือหุ้นส่วนรายใหญ่ บริษัทเหล่านี้ เป็นผู้ได้รับโควตาสำหรับการนำเข้าน้ำตาลทรายดิบในแต่ละปี ซึ่งในปี 2548-2551 รัฐบาลกำหนดโควตาการนำเข้า น้ำตาลทรายดิบปีละ 1.2 ล้านตัน ส่วนในปี 2552 ได้มีการสอบถามกับฝ่ายบริการข้อมูล กระทรวงการค้าระหว่าง ประเทศและอุตสาหกรรมมาเลเซียแล้ว แต่ไม่ได้รับการเปิดเผยถึงข้อมูลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สำนักงานฯ ได้ทราบ มาเป็นการภายในว่า โควตาสำหรับการนำเข้าน้ำตาลทรายดิบรวมทั้งสี่บริษัทในปี 2552 อาจไม่มีความแตกต่างจาก โควตาในปี 2551 มากนัก
2. ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันดิบลดลงเรื่อยๆ ส่งผลต่อราคา น้ำตาลดิบมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน แม้มาเลเซียมีการนำเข้าน้ำตาลทรายดิบเป็นวัตถุดิบจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่ เป็นการทำสัญญาซื้อขายระยะยางจึทำให้มาเลเซียมอำนาจต่อรองสูง อย่างไรก็ตาม ราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายภายใน ประเทศถูกกำหนดโดยรัฐบาล เมื่อเทียบราคาขายปลีกน้ำตาลทรายขาวในมาเลเซียสนนราคา 1.45 ริงกิตกับประเทศ เพื่อนบ้าน เช่น ไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์แล้ว มีราคาห่างกันเฉลี่ย 0.40 ริงกิต — 1ริงกิต จึงทำให้เกิดการ ลักลอบส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านและขายในตลาดมืดเป็นจำนวนมหาศาล ส่งผลกระทบต่อความต้องการในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงปลายปี ซึ่งตรงกับเทศกาลถือศีลอดและเทศกาลวันฮารีรายอของชาวมุสลิม ที่ต้องการใช้ปริมาณน้ำตาล จำนวนมาก
3. มาเลเซียได้ทำสัญญากับบราซิลและออสเตรเลีย ในการนำเข้าน้ำตาลทรายดิบในราคา 800 ริงกิต ต่อตันจนถึงปี 2551 โดยทั้งสองประเทศจะต้องส่งน้ำตาลทรายดิบให้กับมาเลเซียประเทศละ 600,000 ตัน/ปี และจะ มีการทบทวนเรื่องการนำเข้าและราคาอีกครั้งในปี 2552
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th