สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - แอฟริกาใต้ ปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 7, 2009 14:45 —กรมส่งเสริมการส่งออก

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับแอฟริกาใต้
                                   มูลค่า :      สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  1,587.98       100.00         30.98
สินค้าเกษตรกรรม                      344.69        21.71         91.88
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              103.13         6.49         94.27
สินค้าอุตสาหกรรม                    1,068.68        67.30         10.67
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    71.48         4.50        439.65
สินค้าอื่นๆ                                 0            0       -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับแอฟริกาใต้
                                    มูลค่า :      สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                          709.53       100.00         41.66
สินค้าเชื้อเพลิง                          2.01         0.28        -74.29
สินค้าทุน                              12.77         1.80          8.51
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป              624.85        88.07         35.46
สินค้าบริโภค                           12.21         1.72        -18.17
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง            39.55         5.57        789.06
สินค้าอื่นๆ                             18.14         2.56      2,773.20

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - แอฟริกาใต้
                           2550           2551       D/%

(ม.ค.-พย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             1,713.31      2,297.52     34.10
การนำเข้า                   500.88        709.53     41.66
การส่งออก                 1,212.43      1,587.98     30.98
ดุลการค้า                    711.55        878.45     23.46

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดแอฟริกาใต้ เป็นอันดับที่ 31 มูลค่า 709.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.66 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                      709.53         100.00         41.66
1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี                192.44          27.12        334.63
2. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์             167.70          23.63        -24.28
3. สินแร่โลหะอื่น ๆ                      144.29          20.34         81.81
4. เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ              49.49           6.97          0.09
5. เคมีภัณฑ์                             48.53           6.84         22.51
               อื่น ๆ                    6.93           0.98        -44.64

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดแอฟริกาใต้ เป็นอันดับที่ 23 มูลค่า 1,587.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.98 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                 มูลค่า :        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                1,587.98        100.00         30.98
1. ข้าว                           309.11         19.47        107.14
2. รถยนต์  อุปกรณ์ฯ                 300.17         18.90         -7.24
3. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ              93.81          5.91         78.21
4. อาหารทะเลกระป๋องฯ               80.95          5.10        103.18
5. เครื่องยนต์สันดาปภายในฯ            72.75          4.58          0.25
    อื่น ๆ                         199.77         12.58         32.26

4. ข้อสังเกต
4.1  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดแอฟริกาใต้ ปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่า ร้อยละ 40 รวม 10 รายการ  คือ
   อันดับที่ / รายการ                        มูลค่า             %

ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการขยายตัว

1.  ข้าว                                 309.11          107.14
3.  เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนฯ              93.81           78.21
4.  อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป              80.95          103.18
6.  เหล็ก เหล็กกล้า                         72.39           43.36
10. น้ำมันสำเร็จรูป                          38.56          228.95
11. ของเบ็ดเตล็ดทำด้วยโลหะสามัญ              33.29           95.38
12. เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ             30.12           43.59
14. เครื่องซักผ้า และเครื่องซักแห้ง              26.18           42.84
19. เคมีภัณฑ์                               11.81           41.61
24. ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม                         8.82           46.89

4.2  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดแอฟริกาใต้ ปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 5 รายการ คือ
      อันดับที่ / รายการ                    มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                    ล้านเหรียญสหรัฐ            %
 2. รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ          300.17              -7.24
13. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ          19.20             -35.38
18. เฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วน                 14.85              -3.14
20. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                       11.53              -6.38
22. แก้ว และกระจก                       10.51              -4.48

4.3 ข้อมูลเพิ่มเติม

ทวีปแอฟริกามีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ทั้งที่ได้มีการสำรวจและนำมาใช้ และที่ยังมิได้มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในด้านพลังงาน อัญมณี แร่ธาตุต่างๆ ตลอดจนมีพื้นที่กว้างขวางสามารถเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชอาหารและพืชพลังงานอีกทั้งแอฟริกายังมีประชากรรวมกันมากกว่า 900 ล้านคน ที่ยังไม่มีการพัฒนาทางด้านการผลิตสินค้า จึงมีแนวโน้มเป็นตลาดการค้าที่สำคัญ สำหรับประเทศไทยแล้ว นับตั้งแต่กระทรวงการต่างประเทศริเริ่มยุทธศาสตร์สานสัมพันธ์ไทย-แอฟริกา เมื่อปี 2548 และดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในแอฟริกาส่งผลให้ภาพลักษณ์ของไทยเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีในภูมิภาคนี้ ส่วนในภาคเอกชน นายวีรชัย วงศ์บุญสิน ประธานคณะกรรมการกิจการแอฟริกา สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้พยายามผลักดันความคิดการจัดตั้ง Thai Community ในทวีปแอฟริกาผ่านการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนในเวทีระดมสมองวางยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจไทยในแอฟริกาในหลายครั้งหลายโอกาส โดยการเจาะตลาดทวีปแอฟริกา และการรุกเข้าไปช่วงชิงพื้นที่ก่อนที่จะก้าวไม่ทันคู่แข่งขันในระดับโลกในอีก 15 ปีข้างหน้า แอฟริกาจะเป็นแหล่งผลิตขนาดใหญ่ของโลก และเป็นแหล่งกระจายสินค้าเข้าสู่ยุโรปและอเมริกาที่สำคัญมาก ดังนั้น เมื่อในอนาคตต้นทุนการขนส่งจะเป็นปัจจัยที่กำหนดทิศทางของธุรกิจ การมีแหล่งผลิตและกระจายสินค้าในแอฟริกาซึ่งใกล้กับยุโรปและอเมริกา จึงเป็นโอกาสที่เราต้องรีบไขว่คว้า เพราะ ขณะนี้จีนก็เข้าไปลงทุน สร้างฐานผลิตไว้เกือบหมดแล้ว ความคิดเรื่องการสร้าง Thai Town หรือ Thai Community ในประเทศใดประเทศหนึ่งในแอฟริกา เกิดขึ้นจากการเล็งเห็นถึงประโยชน์ด้านภูมิศาสตร์ในการขนส่งสินค้า การใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีที่ยุโรปมีให้กับสินค้าจากทวีปแอฟริกา รวมถึงการใช้แอฟริกาเป็นแหล่งผลักดันสินค้าและบริการจากไทยเข้าไปในยุโรปในแบบที่ครบวงจรมากขึ้น เช่น ในส่วนภาครัฐ อาจเปิดระดมสมองกับผู้ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นิคมอุตสาหกรรม เพื่อหาผู้ลงทุนในเรื่องสถานที่ การออกแบบก่อสร้าง การวางระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อให้กิจการของคนไทยไปตั้ง ดำเนินธุรกิจทั้งด้านการนำเข้า ส่งออก การผลิตสินค้า การบริการ โรงแรม โรงพยาบาล ศูนย์การค้า ซึ่งในอนาคตธุรกิจเหล่านี้จะมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก เมื่อกิจการของนานาชาติในแอฟริกาเฟื่องฟูขึ้น ทั้งนี้ ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีศักยภาพเป็นเทรดฮับของไทยในภูมิภาคนี้ ได้แก่ ทางเหนือ-โมร็อกโก ใต้-แอฟริกาใต้ กลาง-ยูกันดา ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้าไทยตั้งอยู่แล้ว ตะวันออก-เคนยา ตะวันตก-เซเนกัล กานา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเทรดฮับของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคนี้แล้ว พบว่าสหรัฐตั้งเทรดฮับในแนวตะวันตก-ตะวันออก คือ ในเซเนกัล กานา เคนยา และบอตสวานาอย่างไรก็ตาม ก่อนการเข้าไปลงทุนหรือทำอะไร ต้องทำวิจัยศึกษาข้อมูลให้ละเอียด ซึ่งนายวีรชัยได้ระบุว่าในปี 2552 น่าจะได้จัดโฟกัสกรุ๊ปนักธุรกิจสาขาต่างๆ จากประเทศไทยเดินทางไปดูลู่ทางการค้าและพบปะกับภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศที่อยู่ในเทรดฮับของไทยในแอฟริกาผ่านการประสานงานของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ และหลังจากนั้นให้นักวิจัยทำรายงานประเมินผลความเป็นไปได้ เพื่อพิจารณาว่าธุรกิจกลุ่มใดมีโอกาส ซึ่งเรื่องนี้ต้องรีบดำเนินการ เพราะในโลกการค้าระหว่างประเทศไม่มี ใครรอใครแล้ว จึงถึงเวลาที่นักธุรกิจไทยต้องมองหาโอกาสจาก แหล่งผลิตหรือตลาดที่ สร้างโอกาสในการขยายธุรกิจในการแข่งขันในระดับโลก ซึ่งทุกแห่งย่อมมีอุปสรรค แต่ทุกอุปสรรคย่อมให้บทเรียนที่มีคุณค่า และสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจไทยใน ตลาดโลกได้ต่อไป

ประธานกลุ่มพันธมิตรผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ และ ชิ้นส่วนยานยนต์ไทยที่ผ่านมามีแนวโน้มและเติบโตต่อเนื่อง ทั้งจากการใช้ประเทศไทยเป็นฐานการส่งออกของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ ยอดส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทตลาดทดแทน(REM) นั้นขยายตัวเพิ่มมากขึ้น โดยตลาดใหม่ที่สำคัญที่น่าสนใจก็คือ ตลาดโอเชียเนีย (ประเทศในกลุ่มออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) ตะวันออกกลางและแอฟริกาใต้สำหรับตลาดทั้งสามแหล่งนั้นถือว่ามีแนวโน้มเติบโตที่ดี ตลาดแอฟริกาใต้และตะวันออกกลางนั้นต้องการชิ้นส่วนรถยนต์ที่ราคาต่ำ เนื่องจากมีสินค้าจากจีนเข้าไปตีตลาด จนทำให้สินค้าราคาถูกได้รับความนิยม แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าในระยะใกล้ 2-3 ปีข้างหน้าความต้องการสินค้าคุณภาพจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้าจีนตอนนี้ได้รับความนิยมน้อยลง หลังจากผู้บริโภคเจอปัญหาต่างๆจากการซื้อสินค้าจีน ความต้องการชิ้นส่วนยานยนต์แต่ละประเทศไม่เหมือนกันดังนั้นต้องศึกษาให้ละเอียดก่อนที่จะเข้าไปทำธุรกิจ แต่ผมเชื่อว่าทุกประเทศมีโอกาสที่จะขยายตลาด เพียงแต่ว่าต้องมองให้ถูกช่อง แอฟริกาใต้และตะวันออกกลางแม้ว่าจะนิยมสินค้าราคาถูก แต่ทว่าสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสมก็ยังเติบโตได้ เนื่องจากผู้ค้าบางกลุ่มเน้นขายสินค้าที่มีคุณภาพมากกว่าราคา

กรมประมง เปิดเผยว่า ตลาดแอฟริกาใต้เป็นอีกหนึ่งตลาดส่งออกสินค้าประมงของไทยที่น่าสนใจและมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งสินค้าที่แอฟริกาใต้มีการนำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ ปลาทูน่ากระป๋อง โดยสัดส่วนการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยมากถึง 85% ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ สินค้าสัตว์น้ำแช่เยือกแข็ง กรมประมงในขณะเดียวกรมประมงและ South African Bureau of Standards (SABS) แห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ยังได้มีการลงนามความตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล กฎ ระเบียบของทั้งสองประเทศ รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพ ความปลอดภัยของสินค้าสัตว์น้ำที่ส่งออกจากไทย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการแลกเปลี่ยนมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อีกทั้งมีการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ตรวจสอบในการฝึกอบรมระบบ การตรวจสอบรับรองของทั้งสองประเทศด้วย ทำให้ SABS เชื่อมั่นในระบบการตรวจสอบรับรองสินค้าสัตว์น้ำของไทยมากยิ่งขึ้น ขณะนี้กรมประมงได้เจรจากับแอฟริกาใต้ ให้ลดการตรวจสอบนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำของไทย ซึ่งในเบื้องต้น SABS ยินดีลดการสุ่มตรวจจากเดิมที่มีการตรวจทุกรุ่นของสินค้าลงเหลือเพียงร้อยละ 20 ของจำนวนชิพเมนต์ที่นำเข้าทั้งหมด อีกทั้งสินค้าที่ถูกสุ่มตรวจจะไม่ถูกกักกัน ณ ด่านนำเข้า หากผลการดำเนินการในเบื้องต้นเป็นที่น่าพอใจ SABS จะพิจารณาลดการตรวจสอบลงในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ด้วย ทั้งนี้ โครงการลดการตรวจสอบฯ จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 เป็นต้นไป

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ