1. เรื่องเดิม
สคต. ณ กรุงเฮกได้รายงานภาวะการค้าไทย-เนเธอร์แลนด์ อย่างต่อเนื่อง
2.1 เนเธอร์แลนด์นำเข้าสินค้าไทยมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2550 และสคต. ขอรายงานภาวะการค้าไทย-เนเธอร์แลนด์ในช่วง 11 เดือน (มกราคม — พฤศจิกายน) ปี 2551 สรุปได้ดังนี้ 1) ภาพรวมการค้าไทย — เนเธอร์แลนด์
- เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกไทย —สหภาพยุโรป (5 ประเทศสมาชิกสหภาพฯ ที่นำเข้าจากไทยมากที่สุด) ในช่วงดังกล่าว มีอัตราส่วนแบ่งตามตารางที่ 1 ดังต่อไปนี้
ประเทศ มูลค่า(ล้าน USD) ส่วนแบ่ง (%) สหภาพยุโรป 21,699.60 100.00 เนเธอร์แลนด์ 3,917.30 18.05 อังกฤษ 3,663.50 16.88 เยอรมนี 2,968.00 13.67 อิตาลี 1,855.20 8.54 ฝรั่งเศส 1,742.90 8.03
คาดว่าเป็นผลมาจากการที่ผู้นำเข้าดัชท์มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของสินค้าไทยโดยรวมในด้านคุณภาพ รูปแบบ ราคา มาตรฐานสอดคล้องกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ศักยภาพในการผลิตประเภท Tailor Made ฯลฯ ทำให้เป็นที่ยอมรับ สามารถจำหน่ายและกระจายได้ทั่วสหภาพฯ
- การค้าไทย-เนเธอร์แลนด์ช่วง 11 เดือน มีมูลค่าการค้ารวม 4,944.9 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ +15.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ดังตารางที่ 2:
(ม.ค.-พ.ย.) 2550 (ม.ค.-พ.ย.) 2551 * เพิ่ม/ลด(%) การค้ารวม 4,272.50 4,944.90 15.73 ไทยส่งออก 3,479.60 3,461.20 12.58 ไทยนำเข้า 792.90 1,027.60 29.59 ดุลการค้า 2,686.70 2,889.70 7.55 อัตราการเปลี่ยนแปลงการนำเข้าสินค้าไทยบางรายการของเนเธอร์แลนด์ในช่วง 11 เดือนปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ดังตารางที่ 3 : รายการสินค้าส่งออก เนเธอร์แลนด์ (%)
เพิ่มขึ้น(+) ลดลง(-) เกษตรและเกษตรแปรรูป :
ข้าว 104.11 กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง 27.27 กล้วยไม้ 14.01 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ** -24.25 ผักกระป๋องและแปรรูป 46.19 สินค้าอุตสาหกรรม : เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 6.87 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 10.00 อัญมณีและเครื่องประดับ 24.03 รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 10.59 รองเท้าและชิ้นส่วน -12.34
ข้อสังเกต : สำนักงานเศรษฐกิจการคลังรายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ 22-26 ธ.ค. 2551 (บางตอน) มูลค่าการส่งออกรวมในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ เดือน พ.ย. 51 หดตัวที่ร้อยละ -18.6 ต่อปีเทียบกับเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อปี โดยปริมาณการส่งออกหดตัวถึงร้อยละ-21.7 ต่อปี ผลจากมูลค่าการส่งออกข้าวและยางพาราที่หดตัวลงถึงร้อยละ -36.2 และ -33.6 ต่อปีตามลำดับ สินค้ากลุ่มเครื่องอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 17.6 และร้อยละ 10.2 ของการส่งออกรวม มีอัตราหดตัวถึงร้อยละ -20.2 และร้อยละ -12.7 ต่อปี ด้านการส่งออกสินค้ายานยนต์ขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกสินค้า เป็นผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวราคาสินค้าส่งออกสำคัญลดลง และการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ในด้านมิติคู่ค้า การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย มีการหดตัวเกือบทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีสัดส่วนการส่งออกกับไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ ยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์ มีการหดตัวที่ร้อยละ -16.7 -14.5 -8.4 -36.3 และ -50.8 ต่อปี ตามลำดับ 2.2 สรุปเป้าหมายการส่งออกของไทยปี 2551 และอัตราการขยายตัวในช่วง 11 เดือน ดังตารางที่ 4 (หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ประเทศ มูลค่า เป้าหมาย อัตราการ การส่งออกช่วง อัตราการ การส่งออกจริง การส่งออก ขยายตัว ม.ค.-พ.ย.2551 ขยายตัว ปี 2550 ปี 2551 (%) (%) เนเธอร์แลนด์ 3,801.00 4,067.07 7.00 3,917.30 96.31 จะเห็นได้ว่าเป้าหมายการส่งออกทั้งปี 2551 ไปเนเธอร์แลนด์ที่กำหนดไว้เท่ากับร้อยละ 7 โดยในช่วง 11 เดือนปี 2551 มีมูลค่าการขยายตัวร้อยละ 96.31 คาดว่าในปี 2551 อัตราการขยายตัวที่เนเธอร์แลนด์จะนำเข้าจากไทยจะเป็นไปตามเป้าหมายฯ 2.3 ภาวะการแข่งขันของสินค้าไทย 3 รายการ (อันดับที่ 11-13) ในตลาดเนเธอร์แลนด์ 6 เดือน ปี 2551 (มกราคม — มิถุนายน) ได้แก่ 1) Jewelry of Silver (รหัส 711311) มูลค่าการนำเข้ารวม 44.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้าจาก 5 ประเทศแรกได้แก่ ไทย (ส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 46.5) เดนมาร์ก(ร้อยละ20.88) จีน (ร้อยละ 9.77) เยอรมนี (ร้อยละ 7.15) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 5.07) 2) Dextrin and other Modified Starches (รหัส 350510) มูลค่าการนำเข้ารวม 82.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้าจาก 5 ประเทศ แรกได้แก่ ไทย (ส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 30.7) เยอรมนี (ร้อยละ 23.56) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 12.1) เบลเยี่ยม (ร้อยละ 11.76) สวีเดน (ร้อยละ 11.1) 3) Rice, Semi/Wholly Milled (รหัส 100630) มูลค่าการนำเข้ารวม 43.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้าจาก 5 ประเทศแรก ได้แก่ ไทย (ส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 29.06) อิตาลี (ร้อยละ 15.31) อังกฤษ (ร้อยละ 12.25 ) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 8.41) สเปน (ร้อยละ 8.03) ที่มา: http://www.depthai.go.th