1. ธุรกิจ Convenience store รวมทั้งผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ขยายตัว ทั้งที่เศรษฐกิจอยู่ในสภาวะชะลอตัว
1.1 ร้านสะดวกซื้อ หรือ Convenience store ในญี่ปุ่นซึ่งจำหน่ายสินค้าสำหรับชีวิตประจำวันเป็นธุรกิจที่ทำกำไรเพิ่มขึ้นใน ปี 2551 สวนทางกับธุรกิจอื่นๆ ทั่วไป กล่าวคือ Seven & I Holding ผู้ประกอบธุรกิจร้านสะดวกซื้อรายใหญ่มีกำไรเดือน เมษายน-ธันวาคม 2551 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.4 ผู้ประกอบการรายอื่น เช่น Lawson และ Family Mart ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และ 11 ตามลำดับ ขณะที่ราคาหุ้นเฉลี่ยของ Nikkei ลดลงถึง ร้อยละ 42 ทั้งนี้ สินค้าที่มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาก คือ อาหารปรุงสำเร็จ ที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากคนญี่ปุ่นลดการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน นอกจากนี้ ผู้สูบบุหรี่ซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อมากขึ้น เนื่องจากทางการมีกฎระเบียบให้ผู้ซื้อบุหรี่จากตู้จำหน่ายอัตโนมัติ ต้องแสดงบัตรประจำตัวด้วย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551
1.2 บริษัท Nippon Sheet Glass และบริษัท Asahi Glass ผู้ผลิตกระจกจะเพิ่มการผลิตกระจกสำหรับ Thin-film solar cell ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น และเป็นการชดเชยผลจากการลดลงของความต้องการกระจกที่ใช้ในการก่อสร้างและ กระจกรถยนต์
1.3 บริษัท Sharp มีแผนจะเพิ่มการผลิตอุปกรณ์ฟอกอากาศ Plasmacluster Ion จำนวน 300,000 เครื่องในเดือนนี้ โดยใช้กำลังการผลิตที่มีอยู่ ทั้งนี้ ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ชะลอตัวลง ขณะที่เครื่องฟอกอากาศเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ยังมีแนวโน้มที่ดี
2. รัฐบาลญี่ปุ่นจะแก้กฎหมายเพื่อปรับลดค่า royalties จากธุรกิจเอกชน เป็นการกระตุ้นให้เกิดการนำเทคโนโลยี ไปใช้ในการปรับปรุงการผลิตให้ทันสมัย รวมทั้งการใช้ eco-friendly technology เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลากโลก ทั้งนี้ ภาครัฐ เป็นเจ้าของสิทธิบัตรประมาณ 2,500 เทคโนโลยี แต่ภาคเอกชนนำไปใช้ประโยชน์เพียงร้อยละ 13 ของจำนวนสิทธิบัตรดังกล่าวเท่านั้น และปัจจุบันรัฐเก็บค่า royalties ประมาณร้อยละ 2-4 ของยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นอัตราสูงเกินไป โดยเฉพาะบริษัทเล็กๆ ที่เริ่มดำเนินกิจการ
สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงโตเกียว
ที่มา: http://www.depthai.go.th