สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ฟิลิปปินส์ ปี 2551 (ม.ค-มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 8, 2008 12:12 —กรมส่งเสริมการส่งออก

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับฟิลิปปินส์
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   1,737.70           100         26.56
สินค้าเกษตรกรรม                      279.57           16.09        359.56
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              146.81           8.45         36.18
สินค้าอุตสาหกรรม                     1,171.36          67.41         0.96
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                   139.96           8.05         262.88
สินค้าอื่นๆ                              0                0           -100

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับฟิลิปปินส์
                                    มูลค่า :          สัดส่วน %    % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                         1,155.72          100.00        8.95
สินค้าเชื้อเพลิง                         137.79           11.92        4.18
สินค้าทุน                              307.05           26.57       -8.39
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป               406.83           35.20        9.88
สินค้าบริโภค                           133.40           11.54       37.41
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง            169.92           14.70       36.07
สินค้าอื่นๆ                               0.73            0.06      -38.08

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ฟิลิปปินส์
                           2550           2551        D/%

(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             2,433.79       2,893.42      18.89
การนำเข้า                 1,060.82       1,155.72       8.95
การส่งออก                 1,372.98       1,737.70      26.56
ดุลการค้า                    312.16         581.98      86.44

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดฟิลิปปินส์เป็นอันดับที่ 20 มูลค่า 1,155.72 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.95 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                              มูลค่า :        สัดส่วน %     % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม              1,155.72       100.00         8.95
1. แผงวงจรไฟฟ้า                 207.61        17.96        10.79
2. น้ำมันดิบ                      137.21        11.87         3.82
3. ส่วนประกอบและอุปกรณ์           126.85        10.98        18.87
4. เครื่องคอมพิวเตอร์              108.96         9.43       -42.17
5. สินแร่โลหะอื่น ๆ                 82.36         7.13       -12.36
        อื่น ๆ                    53.78         4.65        23.94

3.  การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดฟิลิปปินส์ เป็นอันดับที่ 13 มูลค่า 1,737.70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.56 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                             มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม             1,737.70          100.00        26.56
1. รถยนต์ อุปกรณ์ฯ               309.09           17.79        45.07
2. ข้าว                        247.16           14.22       654.90
3. น้ำมันสำเร็จรูป                130.61            7.52       416.36
4. แผงวงจรไฟฟ้า                 95.84            5.52       -59.95
5. เม็ดพลาสติก                   61.00            3.51        29.12
         อื่น ๆ                 276.84           15.93         4.03

4. ข้อสังเกต
4.1  สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปฟิลิปปินส์ ปี 2551 (มค.-มิย.) ได้แก่

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบฯ : ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 50.46, 22.77, 25.21, 45.07 ตามลำดับ

ข้าว : ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่าในปี 2548 มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 54.58 สำหรับปี 2549-2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.31, 292.06, 654.90 ตามลำดับอย่างต่อเนื่อง

น้ำมันสำเร็จรูป : ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551พบว่า ปี 2550 มีอัตราการขยายตัวลดลง -37.92 ในขณะที่ปี 2547 2548 - 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.57 101.82 และ 416.36 ตามลำดับ

แผงวงจรไฟฟ้า : ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551พบว่ามีอัตราการขยายตัวลดลงมาโดยตลอด โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 31.61 22.67 และ 59.95 ตามลำดับ มีปี 2549 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ123.67

เม็ดพลาสติก : ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 13.25 11.79 29.12 ตามลำดับมีปี 2550 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงขึ้นร้อยละ .30

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดฟิลิปปินส์ ปี 2551 (มค.-มิย.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 6 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ              มูลค่า         อัตราการ       หมายเหตุ

ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว%

1. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ         309.09         45.07        รถแวนและรถปิกอัพแม้โดยรวมแล้วตลาดส่งออกจะ
2. ข้าว                        247.16        654.90        หดตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แต่ก็มีบางประเทศ
3. น้ำมันสำเร็จรูป                130.61        416.36        ที่มีการขยายตัวสูง เช่น คอสตาริกา(ร้อยละ 154.31)
13.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์            33.23         57.19        มาเลเซีย (ร้อยละ 100.15) และ ฟิลิปปินส์
14.ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง                 32.58         50.63        (ร้อยละ 80.81) ซึ่งทั้ง 3 ประเทศนี้ติดอันดับ 1
25.สิ่งปรุงรสอาหาร                11.32        151.13        ใน 20 ประเทศที่ไทยส่งออกรถแวนและรถปิกอัพมากที่สุด

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดฟิลิปปินส์  ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลงรวม 6 รายการ  คือ
อันดับที่ / รายการ            มูลค่า              อัตราการ
                      ล้านเหรียญสหรัฐ          ขยายตัว%
2. แผงวงจรไฟฟ้า            95.84             -59.95
6. เหล็ก เหล็กกล้า           53.70              -2.39
7. เครื่องยนต์สันดาป          48.82              -2.14
11.เครื่องจักรกลและส่วนฯ      38.70              -5.36
15.เครื่องคอมพิวเตอร์         32.04              -6.41
16.รถจักรยานยนต์และส่วน      31.98             -23.66

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

สถานการณ์การส่งออกข้าวไทย ในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปี 2551 ประเทศผู้นำเข้าหลายประเทศยังมีความต้องการนำเข้าข้าวของไทย จึงมีโอกาสสูงที่จะเพิ่มการส่งออกข้าวได้อีกดังนั้นคาดว่าจะสามารถส่งข้าวได้ประมาณ 9.5 -10 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,795-6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญ ได้แก่ ไนจีเรีย เบนิน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สหภาพยุโรป อิรัก ไอเวอรีโคสต์ สำหรับปี 2552 คาดว่า สถานการณ์ข้าวโลกจะไม่มีความผันผวนมากเหมือนในปี 2551 โดยปริมาณข้าวโลกจะลดความตึงตัวลง เนื่องจากผลผลิตข้าวโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการข้าวในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูงซึ่งเป็นผลจากปริมาณการบริโภค ข้าวโลกที่เพิ่มขึ้น คาดว่าปริมาณการค้าข้าวโลกในปี 2552 จะอยู่ที่ 28.25 ล้านตัน โดยประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญยังคงเป็นไทย เวียดนาม สหรัฐฯ ปากีสถาน และอินเดีย ขณะที่ประเทศผู้นำเข้าข้าวที่สำคัญคือ ฟิลิปปินส์ ไนจีเรีย สหภาพยุโรป ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน อิรัก และมาเลเซีย โดยไทยจะยังคงเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกโดยจะส่งออกข้าวประมาณ 9-9.5 ล้านตัน มูลค่า 4,950-5,225 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ประเทศไทยและฟิลิปปินส์ต่างก็เป็นสมาชิกแขตการค้าเสรีอาเซียน (ASAN Free Trade Area: AFTA) โดยผู้ประกอบการไทยจะได้รับประโยชน์จากการที่ไทยเป็นสมาชิก AFTA คือมีการประกาศลดภาษีสินค้าระหว่างกันให้อยู่ระหว่างร้อยละ 0 ถึง 5 นอกจากนี้การที่ประเทศไทยและฟิลิปปินส์เป็นสมาชิกเขตการค้าเสรีอาเซียน ยังส่งผลให้ไทยได้ประโยชน์จากการส่งออกและนำเข้าจากการลดอัตราภาษีระหว่างกันอีกด้วย โดยไทยสามารถส่งออกสินค้า อาหารกระป๋อง ชิ้นส่วนรถยนต์ อัญมณี และสิ่งทอ ได้เพิ่มขึ้นส่วนเรื่องการนำเข้านั้นไทยจะสามารถนำเข้าสินค้าได้ถูกลง โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูป

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ