ณ ปี 2550 มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเวียดนาม มูลค่าสะสมรวม 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับปี 2549 (10.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ) อันเป็นผลจากการที่รัฐบาลเวียดนามเร่งเปิดเสรีด้านการลงทุนให้สอดคล้องกับข้อตกลงของ WTO ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจ จึงเข้าไปลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้น
การลงทุนของต่างชาติในเวียดนามตั้งแต่อดีตถึงเดือนพฤศจิกายน 2551 มีจำนวนทั้งสิ้นเท่ากับ 9,707 โครงการ และจำนวนเงินลงทุนทั้งสิ้นเท่ากับ 144,420 ล้านเหรียญสหรัฐ นักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุด คือ ใต้หวัน (มีสัดส่วน 16% ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด นับถึงเดือนพฤศจิกายน 2551 จำนวน 1932 โครงการ เงินลงทุนรวม 19,587 ล้านเหรียญสหรัฐ) รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย (286 โครงการ เงินลงทุนรวม 17,791 ล้านเหรียญสหรัฐ) ญี่ปุ่น (1,037 โครงการ เงินลงทุนรวม 17,138 ล้านเหรียญสหรัฐ) เกาหลีใต้ (2104 โครงการ เงินลงทุนรวม 16,055 ล้านเหรียญสหรัฐ)
กิจการที่ได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากที่สุด คือ กิจการด้านอุตสาหกรรม มีการลงทุนทั้งสิ้น 6,276 โครงการ เงินลงทุนรวม 84,058 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 66 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด การเกษตรและป่าไม้ 973 โครงการ เงินลงทุนรวม 4,758 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.9 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด นอกจากนี้ได้แก่ กิจการบริการต่างๆ เช่น สุขภาพและการศึกษา 290 โครงการ โรงแรมและการท่องเที่ยว 251 โครงการ การขนส่งและโทรคมนาคม 232 โครงการ (ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2551)
เมืองที่มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนมากที่สุด คือ นครโฮจิมินห์ (2,783 โครงการ เงินลงทุนรวม 25,662 ล้านเหรียญสหรัฐ) รองลงมาคือ กรุงฮานอย (1,290 โครงการ เงินลงทุนรวม 17,087 ล้านเหรียญสหรัฐ) ด่องไน (960 โครงการ เงินลงทุนรวม 13,529 ล้านเหรียญสหรัฐ) บิ่งเยือง (1,717 โครงการ เงินลงทุนรวม 9,590 ล้านเหรียญสหรัฐ) และ บาเรีย-หวุงเต่า (161 โครงการ เงินลงทุนรวม 15,557 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ (ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2551)
โครงการลงทุนของไทยในเวียดนามเริ่มตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา โดยในช่วง 4 ปี แรกยังมีจำนวนไม่มากนัก แต่หลังจากนั้นคือตั้งแต่ปี 2535 การลงทุนของนักธุรกิจไทยในเวียดนามมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งถึง ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551 การลงทุนของไทยในเวียดนามมีทั้งสิ้น 194 โครงการ เงินลงทุนรวม 5,697 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงเป็นอันดับที่ 8 และเป็นอันดับที่ 3 ในอาเซียน รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย เฉพาะปี 2550 มีโครงการลงทุนของไทยที่ได้รับอนุมัติรวม 24 โครงการ มูลค่า 285 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การลงทุนที่สำคัญคือ ธุรกิจการเกษตร ปศุสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตร์น้ำ การก่อสร้าง โรงแรม ภัตตาคาร อุปกรณ์การก่อสร้าง อะไหล่รถยนต์ จักรยานยนต์ โรงงานกระดาษ โรงงานผลิตอาหาร ต่อไปน่าจะมีการลงทุนในกิจการปิโตรเคมี โทรคมนาคม
- กฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนาม
ในกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนามให้การรับประกันว่าจะให้การปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันต่อนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในเวียดนามในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ไม่มีการยึดทรัพย์สินหรือโอนกิจการลงทุนของต่างประเทศเป็นของรัฐ ตลอดช่วงระยะเวลาของการลงทุน
2. ให้การรับประกันว่าจะปกป้องสิทธิในทรัพย์สินอุตสาหกรรม และผลประโยชน์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีในเวียดนาม
3. รัฐบาลจะปกป้องผลประโยชน์ของนักลงทุนอย่างสมเหตุสมผล หากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุน เช่น หากกฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลัง ทำให้ผลประโยชน์ของนักลงทุนลดลง นักลงทุนที่ลงทุนก่อนหน้าที่กฎหมายใหม่ประกาศใช้มีสิทธิเลือกใช้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเดิมได้
4. รัฐบาลรับประกันการให้สิทธิการโอนย้ายไปต่างประเทศได้แก่
- กำไรจากการดำเนินธุรกิจ
- เงินที่ได้รับจากการจัดเตรียมเทคโนโลยีและการบริการ
- เงินต้นและดอกเบี้ยของเงินกู้จากต่างประเทศในระหว่างดำเนินกิจการ
- เงินลงทุน
- เงินและทรัพย์สินอื่นๆ ที่มีกรรมสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมาย
- รายได้หลังหักภาษีรายได้ของแรงงานต่างชาติที่ทำงานในเวียดนาม
- กิจการที่รัฐบาลเวียดนามส่งเสริมการลงทุน ได้แก่
- การแพร่ขยายพันธุ์ การเพาะปลูกและการแปรรูปทางการเกษตร สินค้าจากป่าไม้และการเกษตรใต้น้ำ การผลิตเกลือ การขยายพันธุ์พืชและสัตว์ใหม่
- การใช้เทคโนโลยีและเทคนิคชั้นสูง การปกป้องนิเวศสิ่งแวดล้อม การทำวิจัย การพัฒนา และการสร้างเทคโนโลยีใหม่ โครงการที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
- อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเป็นหลัก
- การสร้างและการพัฒนาสาธารณูปโภค และ โครงการอุตสาหกรรมสำคัญขนาดใหญ่
- การพัฒนาอาชีพในด้านการศึกษา การอบรม สุขภาพ การกีฬา พละศึกษา และวัฒนธรรมของเวียดนาม
- การพัฒนางานฝีมือและอุตสาหกรรมต่างๆ
- อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุใหม่
- โครงการที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิตอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม
- การผลิตวัสดุคุณภาพสูงใช้ในอุตสาหกรรมรองเท้าและสิ่งทอเพื่อส่งออก
- การผลิตเหล็กคุณภาพสูง
- โครงการฝึกอบรมแรงงานด้านเครื่องจักรกลและอิเล็กทรอนิกส์
- โครงการด้านการศึกษาในสาขาวิศวกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเศรษฐศาสตร์
- การผลิตยารักษาโรคร้ายแรง เช่น วัณโรค มะเร็ง เอดส์
- โรงพยาบาลที่ทันสมัย
- การเพาะเนื้อเยื่อ การผลิตสารปฏิชีวนะ
- การต่อเรือและซ่อมเรือเดินสมุทรขนาด 1 หมื่นตันขึ้นไป
- ธุรกิจเกี่ยวกับการบำบัดของเสียจากเมืองและโรงงานอุตสาหกรรม
- กิจการที่มีเงื่อนไขพิเศษสำหรับการลงทุนจากต่างชาติ
- กิจการที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับรูปแบบการลงทุน
1. กิจการที่ต้องลงทุนในลักษณะ BCC (Business Co-operation Contract) และนักลงทุนฝ่ายเวียดนามต้องมีความเชี่ยวชาญและได้รับอนุมัติดำเนินการได้ ในสาขาต่อไปนี้
- การพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม บริการโทรคมนาคม บริการขนส่งพัสดุภัณฑ์ทั้งในและระหว่างประเทศ
- กิจกรรมเกี่ยวกับสื่อมวลชน การกระจายเสียงทางวิทยุและโทรทัศน์
2. กิจการที่ต้องลงทุนในลักษณะ BCC หรือ Joint Venture เท่านั้น ได้แก่
- การขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติและน้ำมัน
- การขนส่งทั้งทางอากาศ ทางรถไฟ และทางทะเล การขนส่งผู้โดยสาร และการสร้างท่าเรือและท่าอากาศยาน ยกเว้นกรณีทำสัญญาลักษณะ BOT (Build — Operate — Transfer), BTO (Build — Transfer — Operate) หรือ BT (Build — Transfer)
- บริการทางทะเลและทางอากาศ
- กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม
- กิจการที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้
- กิจการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางท่องเที่ยว
- การผลิตวัตถุระเบิดเชิงอุตสาหกรรม
- บริการที่ปรึกษา (ยกเว้นที่ปรึกษาทางเทคนิค)
กิจการที่ต้องมีการลงทุนพัฒนาวัตถุดิบ
- การผลิตและแปรรูปนม
- การผลิตน้ำมันพืชและน้ำตาลจากอ้อย
- การแปรรูปไม้ (ยกเว้นโครงการที่ใช้ไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศ)
กิจการที่ต้องขออนุมัติจากนายกรัฐมนตรีโดยตรง
- กิจการนำเข้าและกระจายสินค้าในประเทศ
- กิจการประมงนอกชายฝั่ง
- Foreign Investment Agency สังกัดกระทรวงวางแผนและการลงทุน (Ministry of Planning and Investment: MPI)
- หน่วยงานระดับกรม (Department of Planning and Investment: DPI) ประจำอยู่ในทุกจังหวัด
ในอดีต บริษัทท้องถิ่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 32 และบริษัทต่างชาติ เสียภาษีร้อยละ 25 แต่หลังจากรัฐบาลประกาศใช้ Decree No.164/2003/ND-CP เมื่อ 22 ธันวาคม 2546 ระบุว่ากิจการทุกประเภททั้งของรัฐบาล เอกชนท้องถิ่น และบริษัทต่างชาติ เสียภาษีในอัตราเท่ากันคือ ร้อยละ 28 และสำหรับกิจการที่ได้รับส่งเสริมพิเศษ และมีการจ้างงานตามที่กำหนด จะได้รับสิทธิประโยชน์ โดยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10-20 เป็นเวลา 10-15 ปี แล้วแต่เงื่อนไขของกิจการ รวมทั้งมีการยกเว้นและลดหย่อนภาษีอีกระยะหนึ่งด้วย
สินค้าส่งออกมีไม่กี่รายการที่ต้องเสียภาษีส่งออก เช่น การส่งออกทรัพยากร ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และเศษ เหล็ก อัตราภาษีไม่เกินร้อยละ 45
ส่วนภาษีนำเข้าจะเก็บในอัตราสูงสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะ สินค้าฟุ่มเฟือย ขณะที่สินค้าประเภทเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ วัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรม โดยเฉพาะที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ จะเสียภาษีนำเข้าในอัตราต่ำมาก หรือไม่เสียภาษีเลย สินค้าผ่านแดนหรือเพื่อการบริจาคได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า
2.1. อัตราภาษีส่งออก (Export Duty Rates)
4% สำหรับน้ำมันดิบ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 1%, 3%, 5% สำหรับอัญมณี 5% สำหรับผลิตภัณฑ์กึ่งโลหะ 3%, 10% สำหรับวัสดุ/เครื่องใช้จากพืช 10% สำหรับสัตว์มีชีวิต
1%, 2%, 5%, 10%, 20% สำหรับสินแร่
5%, 15%, 20% สำหรับไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ 20% สำหรับ Aloe-Wood 35%, 40%, 45% สำหรับเศษโลหะเหลือทิ้ง
2.2. อัตราภาษีนำเข้าอาจแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
อัตราภาษีทั่วไป สำหรับประเทศที่มิได้ลงนามในข้อตกลง MFNs (Most Favoured Nations) กับเวียดนาม
อัตราภาษี MFNs สำหรับประเทศที่ลงนามในข้อตกลง MFNs กับเวียดนาม
อัตราภาษี CEPT สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนตามข้อตกลง CEPT (Common Effective Preferential Tariff Scheme) ซึ่งเวียดนามต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนเหลือไม่เกินร้อยละ 5 โดยเริ่มทยอยลดภาษีลงตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป
อนึ่ง สำหรับกิจการที่มีต่างชาติร่วมทุนในลักษณะ BCC จะได้รับยกเว้นภาษี นำเข้าสำหรับอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือในการขนส่งที่นำเข้ามาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนในทรัพย์สินถาวร วัสดุก่อสร้างที่ยังไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศ และวัตถุดิบบางรายการที่นำเข้ามาด้วยวัตถุประสงค์พิเศษ
สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเป็นเวลา 9 เดือน หรือ 275 วัน หากเกินจากนั้นต้องเสียภาษีนำเข้าก่อน แล้วจึงขอคืนภายหลังเมื่อมีการส่งออกจริง และนิคมอุตสาหกรรมบางแห่งยังได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายในประเทศด้วย
เวียดนามเริ่มจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในปี 2542 ในอัตราร้อยละ 5 - 20 แล้วแต่ประเภทกิจการ แต่เมื่อ 23 กรกฎาคม 2547 รัฐบาลได้ออก Decree No.148/2004/ND-CP แก้ไข Decree No.158/2003/ND-CP ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2546 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มโดยปรับโครงสร้างจากเดิมที่มี 4 อัตราลดเหลือ 3 อัตรา คือร้อยละ 0, 5 และ 10
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตาม Decree No.148/2004/ND-CP
สินค้า / บริการ อัตราภาษี 1. สินค้าหรือบริการเพื่อส่งออกหรือจำหน่ายในเขตอุตสาหกรรมส่งออก การลงทุนด้านการเงินหรือตลาดทุนในต่างประเทศ 0% 2. สินค้าหรือบริการที่จำเป็น เช่น น้ำ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยา เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์การศึกษา ของเล่นเด็กเล็ก หนังสือวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ ผลิตภัณฑ์เกษตรหรือ ป่าไม้ที่ยังไม่แปรรูป อาหารสัตว์ บริการด้านวิทยาศาสตร์และการเกษตร เป็นต้น 5% 3. สินค้าหรือบริการอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุข้างต้น รวมถึงล๊อตเตอรี่และนายหน้าค้า หลักทรัพย์ ซึ่งในอดีตเสียอัตราร้อยละ 20 10% อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ 1. น้ำมัน
เวียดนามเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายสำคัญของภูมิภาค โดยส่งออกเกือบทั้งหมด เพราะเวียดนามไม่มีโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ และนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นๆ จากต่างประเทศทั้งนี้เวียดนามมีส่วนแบ่งตลาด 0.48 % ของตลาดโลก และเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 34 ของโลกเช่นกัน บริษัทผู้ผลิตรายสำคัญที่ซื้อน้ำมันดิบของเวียดนามได้แก่ BP, Shell, Exon Mobil, Chevron, China Oil, Sinopec, Sojitz และ Mitsubishi 2. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับ 2 รองจากน้ำมันดิบ มูลค่าส่งออกปีละกว่า 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในปี 2538 ทำให้เวียดนามต้องลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี 2549 กดดันให้เวียดนามต้องพัฒนาอุตสาหกรรมนี้อย่างจริงจังเพื่อให้สามารถแข่งขันได้
การลงทุนมีทั้งการปรับปรุงโรงงานเก่าที่ล้าสมัยและการเพิ่มกำลังผลิตของโรงงานใหม่ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ ทำให้เวียดนามสามารถส่งออกสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ไปสหรัฐฯ ได้สูงอย่างน่าสังเกต โดยสหรัฐฯ กลายเป็นตลาดสำคัญอันดับ 1 มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มรวมของเวียดนาม 3. รองเท้าและเครื่องหนัง อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังของเวียดนามขยายตัวอย่างรวดเร็วจนปัจจุบันกลายเป็นผู้ส่งออกสำคัญอันดับ 4 ของโลก รองจาก จีน ฮ่องกง และอิตาลี แต่โรงงานที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างผลิตให้บริษัทต่างชาติ และใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงที่นำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด รวมถึงการออกแบบ เทคโนโลยี และการหาตลาด อุตสาหกรรมนี้จึงยังต้องการการพัฒนาอีกมากโดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงคู่แข่งอย่างจีน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเวียดนาม 4. การแปรรูปสัตว์น้ำ ภาคการประมงนับเป็นสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญของเวียดนามและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเวียดนามมีชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,260 กิโลเมตร และแหล่งน้ำจืดในประเทศ มีพันธุ์ปลากว่า 2,000 ชนิด และประมาณ 100 ชนิดที่มีปริมาณมากพอในการผลิตเชิงพาณิชย์ ข้อมูลจากสถาบันการวางผังและการออกแบบด้านการเกษตรของ กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ปี 2546 พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเวียดนามเพิ่มขึ้น 312,864 เฮ็กตาร์ (โดยการนำพื้นที่ซึ่งปลูกข้าวได้ผลน้อย และพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่น้ำนิ่ง หรือพื้นหาดทรายริมบริเวณน้ำนิ่ง มาใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง กั้ง กุ้งมังกร ปลาน้ำจืด เป๋าฮื้อ ปูทะเล ปูม้า และปลาทะเลบางชนิด) 5. การแปรรูปผักผลไม้ เวียดนามมีผลผลิตทางการเกษตรทางด้าน พืชผัก ผลไม้ สัตว์น้ำ ชา กาแฟ เป็นจำนวนมาก แต่กระบวน การผลิตเก็บเกี่ยว และการแปรรูป ยังไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงการบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้อาจครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ปุ๋ยชีวภาพ อาหารสัตว์ ห้องเย็น เครื่องปรุงรส บรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงาน ไร่นา เพื่อการจับสัตว์น้ำ เป็นต้น ดังนั้นการแปรรูปผักและผลไม้เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพแก่นักลงทุนต่างชาติ 6. การผลิตรถจักรยานยนต์ รถจักรยานยนต์ในเวียดนามมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างซับซ้อน ซึ่งในแต่ละช่วงของการพัฒนาทำให้ผู้บริโภคชาวเวียดนามมีความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์มากยิ่งขึ้น ในตลาดรถจักรยานยนต์ของเวียดนามมีรถจักรยานยนต์มากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งมีที่มาอย่างหลากหลาย อีกทั้งระดับคุณภาพก็แตกต่างเช่นกัน ทำให้ผู้บริโภคชาวเวียดนามมีทางเลือกอย่างมากมายในการซื้อรถจักรยานยนต์ ในปัจจุบันเวียดนามมีการซื้อรถจักรยานยนต์ต่อปีประมาณ 2 ล้านคัน ซึ่งในปี 2553 อัตราการซื้อรถจักรยานยนต์จากการพยากรณ์จะอยู่ที่ประมาณ1.5 — 1.8 ล้านคันต่อปี จากการที่เวียดนามเข้าร่วมกับ WTO เวียดนามจะต้องเปิดตลาดอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะในส่วนของรถจักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์ตั้งแต่ 175cc ขึ้นไปจะได้รับการลดภาษีเหลือเพียง 40% เป็นระยะเวลา 8 ปี นี้เป็นโอกาสที่ดีแก่นักธุรกิจต่างชาติ โดยเฉพาะนักธุรกิจไทย ในปี 2550 นักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในที่ดินและโรงเรือน การท่องเที่ยวการก่อสร้างและตลาดหุ้น
ชาวเวียดนามมีความชื่นชมในคนไทยที่มีความโอบอ้อมอารีมากกว่าต่างชาติอื่นๆ อีกทั้งยังมีความชื่นชอบและยอมรับสินค้าที่ผลิตและใช้ตราของไทยทั้งนี้ชาวเวียดนามเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าไทยมากกว่าสินค้าที่มีราคาถูกจากประเทศจีน หรือ ของเวียดนามเอง ชาวเวียดนามส่วนใหญ่เห็นว่าสินค้าไทยมีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพเมื่อเทียบกับสินค้าของต่างประเทศเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งมีราคาที่แพงกว่า
สินค้ากึ่งวัตถุดิบ กึ่งสำเร็จรูป เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรม
สินค้าอาหาร เสื้อผ้า ผ้าผืน เครื่องประดับ ภาชนะของใช้ประจำวันวัตถุดิบของสินค้าสปา วัตถุดิบสินค้าตกแต่งบ้าน ดอกไม้ประดิษฐ์เสื้อผ้าฝ้าย (เนื้อบาง) ในรูปแบบที่ทันสมัย ชิ้นส่วนรถมอเตอร์ไซด์และอุตสาหกรรมเบา
อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีประสิทธิภาพในการผลิตและเป็นฐานในการขยายตัว เช่น ยานพาหนะและชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องประดับ การแปรรูปอาหาร และอาหารสัตว์ เป็นต้น
อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากและค่าแรงของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น รองเท้า สิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ กระป๋อง อัญมณี ผ้าผืน และปุ๋ย ฯลฯ
อุตสาหกรรมบริการที่ไทยมีศักยภาพสูง เช่น การท่องเที่ยว โรงพยาบาล กิจการโรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น
คนงานที่ทำงานในผลัดกลางคืน จะได้รับค่าจ้างพิเศษอย่างน้อยร้อยละ 50 ของค่าจ้างสำหรับผลัดปกติ
ค่าล่วงเวลา การทำงานล่วงเวลากำหนดไว้สูงสุดไม่เกินคนละ 200 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งอัตราค่าล่วงเวลามี 3 อัตราคือ
- 1.5 เท่า ของค่าจ้างรายวันปกติสำหรับวันทำงาน
- คนงานที่ทำงานในวันหยุด เช่น วันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดตามข้อตกลง จะได้รับค่าจ้าง 2 เท่าของค่าจ้างรายวันปกติ
- สำหรับวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดชดเชย นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 3 เท่าของอัตราค่าจ้างปกติ
ค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับคนงานไร้ฝีมือในบริษัทที่มีต่างชาติร่วมลงทุนในฮานอยและโฮจิมินห์ ตั้งแต่วัน 01 มกราคม 2551ประมาณ 1,000,000 ด่องต่อเดือน (ประมาณ 2,500 บาท) สำหรับเมืองใหญ่ในเขตรอบนอก เช่น ไฮฟอง บิ่นห์เยื่อง ด่องนาย บ่าเรีย — วู๊งเต่า และเมืองฮาลอง จังหวัดกวางนินห์ ประมาณ 900,000 ด่อง ต่อเดือน (ประมาณ 2,250 บาท) ส่วนจังหวัดอื่นๆ ในท้องถิ่นห่างไกล ประมาณ 800,000 ด่อง ต่อเดือน(ประมาณ 2,000 บาท) ทั้งนี้รวมกับเงินที่นายจ้างต้องจ่ายเป็นค่าประกันสังคมร้อยละ 15 และประกันสุขภาพ ร้อยละ 2 ของเงินเดือนแล้ว
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในบริษัทที่มีต่างชาติร่วมลงทุนจะสูงกว่าบริษัทท้องถิ่นในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน (620,000 ด่อง 580,000 ด่อง และ 540,000 ด่อง ตามลำดับ)
อนึ่ง ตามกฎหมายของเวียดนาม แรงงานชายเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี หญิง 55 ปี และนายจ้างต้องจ่าย 0.5 ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณด้วยอายุงานถ้าเลิกจ้างต้องจ่าย 1 เดือนคูณอายุงานการจ้างงานชั่วคราวสามารถทำได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 1-3 ปี หลังจากนั้นต้องจ้างถาวร
- สำหรับอุตสาหกรรม 0.28 US$/ลูกบาศก์เมตร/เดือน - สำหรับกิจการบริการ 0.51 US$/ลูกบาศก์เมตร/เดือน
- สำหรับครัวเรือน
ต่ำกว่า 4 ลูกบาศก์เมตร 0.17 US$/ลูกบาศก์เมตร/เดือน 4-6 ลูกบาศก์เมตร 0.34 US$/ลูกบาศก์เมตร/เดือน มากกว่า 6 ลูกบาศก์เมตร 0.51 US$/ลูกบาศก์เมตร/เดือน ค่าไฟฟ้า 1. ไฟฟ้าอุตสาหกรรม
- 110 กิโลวัตต์ขึ้นไป
Normal hours 4.98 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Off peak hours 2.70 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Peak hours 8.41 เซ็นต์/กิโลวัตต์
- ต่ำกว่า 110 กิโลวัตต์
Normal hours 5.17 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Off peak hours 2.82 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Peak hours 8.69 เซ็นต์/กิโลวัตต์
- ต่ำกว่า 22 กิโลวัตต์
Normal hours 5.46 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Off peak hours 3.05 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Peak hours 9.07 เซ็นต์/กิโลวัตต์
- ต่ำกว่า 6 กิโลวัตต์
Normal hours 5.68 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Off peak hours 3.20 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Peak hours 9.39 เซ็นต์/กิโลวัตต์ 2. ไฟฟ้าใช้ในกิจการค้าและบริการ
- มากกว่า 22 กิโลวัตต์
Normal hours 7.99 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Off peak hours 4.38 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Peak hours 13.39 เซ็นต์/กิโลวัตต์
- ต่ำกว่า 22 กิโลวัตต์
Normal hours 8.88 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Off peak hours 4.82 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Peak hours 14.97 เซ็นต์/กิโลวัตต์
- ต่ำกว่า 6 กิโลวัตต์
Normal hours 9.71 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Off peak hours 5.39 เซ็นต์/กิโลวัตต์ Peak hours 16.18 เซ็นต์/กิโลวัตต์ 3. ไฟฟ้าใช้ในครัวเรือน 100 กิโลวัตต์แรก 3.49 เซ็นต์/กิโลวัตต์ 50 กิโลวัตต์ต่อมา 5.71 เซ็นต์/กิโลวัตต์ 50 กิโลวัตต์ต่อมา 7.68 เซ็นต์/กิโลวัตต์ 100 กิโลวัตต์ต่อมา 8.50 เซ็นต์/กิโลวัตต์ เกิน 301 กิโลวัตต์ 8.88 เซ็นต์/กิโลวัตต์ ความตกลงสำคัญด้านการลงทุนและการค้า
สถานะความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย - เวียดนามในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ดี มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง มีการไปมาหาสู่ระหว่างกันเพิ่มขึ้น รวมถึงในระดับท้องถิ่นจากการที่มีเส้นทางเชื่อมโยงถึงกันค่อนข้างสะดวก ทั้งสองฝ่ายได้จัดทำความตกลงรูปแบบต่าง ๆ ระหว่างกันรวมแล้วกว่า 40 ฉบับ
ขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายได้วางกลไกสำหรับความสัมพันธ์ในหลายระดับ ในระดับสูงสุดมีกรอบการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย - เวียดนามอย่างไม่เป็นทางการ (Joint Cabinet Retreat : JCR) ซึ่งในการประชุม JCR ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2547 ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนารมณ์ใน “แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยกรอบความร่วมมือไทย - เวียดนาม ในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21” (Joint Statement on the Thailand - Vietnam Cooperation Framework in the First Decade of the 21st Century) ระบุให้มีการเพิ่มพูนความร่วมมือในทุก ๆ ด้าน และตกลงให้จัดตั้งกลไกการหารือร่วม (Joint Consultative Mechanism : JCM) เพื่อให้เป็นกลไกในระดับรองจาก JCR และทำหน้าที่ดูแล ประสานความร่วมมือในภาพรวมแทนคณะกรรมาธิการร่วมไทย - เวียดนาม (Joint Commission : JC)
ในด้านการเมืองและความมั่นคง มีความร่วมมือและประสานกันอย่างใกล้ชิด โดยมีกรอบการประชุมคณะ ทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง (Joint Working Group on Political and Security Cooperation : JWG on PSC) เป็นกลไกสำคัญ
เป็นสาขาที่มีความก้าวหน้ามาก ดังเห็นได้จากการที่สองฝ่ายตั้งเป้าหมายใน “แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยกรอบความร่วมมือไทย - เวียดนาม ในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21” เมื่อต้นปี 2547 ที่จะให้มูลค่าการค้ารวมเพิ่มจาก 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2553 ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ในปี 2548 เร็วกว่าที่กำหนดถึง 5 ปี ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายได้กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันที่จะเพิ่มมูลค่าการค้ารวมให้ได้ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2553
ไทยมีความร่วมมือกับเวียดนามในด้านการค้าข้าวโดยผ่านสภาความร่วมมือค้าข้าว (Council on Rice Trade Cooperation) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน นอกจากนี้ ไทยแสดงท่าทีสนับสนุนเวียดนามให้เข้าร่วมในความร่วมมือด้านยางพาราสามฝ่าย (ไทย - มาเลเซีย - อินโดนีเซีย) เนื่องจากเวียดนามเป็นผู้ส่งออกยางพาราที่สำคัญรายหนึ่ง
ไทย - เวียดนามมีกรอบการประชุมคณะอนุกรรมการการค้าร่วม (Joint Trade Commission : JTC) จัดตั้งเมื่อปี 2538 มีอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นประธานร่วมฝ่ายไทย
แหล่งใหญ่ที่สุดที่เอกชนไทยไปลงทุนคือที่นครโฮจิมินห์และจังหวัดข้างเคียง ในสาขาสำคัญ ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมการเกษตร อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมพลาสติก ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้สาขาการลงทุนที่มีความน่าสนใจได้แก่ ภาคบริการ ซึ่งไทยมีประสบการณ์และเวียดนามมีความต้องการด้านนี้เพิ่มขึ้นอีกมากเมื่อเข้า WTO และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
นายกรัฐมนตรีไทยได้เยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2549 และต่อมานายเหวียน เติน ซุง นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 — 22 ธันวาคม 2549 ภายหลังร่วมพิธีเปิดสะพานมิตรภาพ 2 ที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งในการเยือนดังกล่าวมีการหารือในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การพิจารณาโครงการเพื่อ “ต่อยอด” โครงการพัฒนาเส้นทาง East - West Economic Corridor (EWEC) ที่มีสะพานมิตรภาพ 2 เป็นตัวเชื่อมโยง การเพิ่มบทบาทไทย - เวียดนามเพื่อร่วมกันพัฒนาอนุภูมิภาค การส่งเสริมความร่วมมือด้านข้าวสำหรับประเทศในกลุ่ม ACMECS (ยุทธศาสตร์ความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง : Ayeyawady — Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy) การขอให้เวียดนามผ่อนคลายกฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุนสำหรับเอกชนไทย สำหรับในส่วนของเอกสารสำคัญ รัฐบาลของทั้งสองฝ่ายได้ให้การรับรองแผนยุทธศาสตร์ JSEP (Joint Strategy for Economic Partnership) ซึ่งเป็นเอกสารรายงาน
ผลการศึกษาวิจัย “จุดแข็ง” และเปรียบเทียบศักยภาพของทั้งสองประเทศ เพื่อเสนอแนะแนวทางและโครงการให้แก่ภาครัฐและเอกชนในการร่วมมือกันขยายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาว นอกจากนี้ ยังมีการรับรองเอกสาร Security Outlook ซึ่งเป็นเอกสารแสดงมุมมองด้านความมั่นคงของทั้งสองประเทศเพื่อวางแนวทางการร่วมมือกันรับมือกับปัญหาด้านความมั่นคงในอนาคต
1. ความตกลงจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย - เวียดนาม ลงนามเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2534
2. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ ลงนามเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2534
3. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเรื่องการผลิตและส่งออกข้าว ลงนามเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2535
4. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ลงนามเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535
5. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ลงนามเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2537
6. ความตกลงทางด้านวัฒนธรรม ลงนามเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2539
7. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราซึ่งกันและกันสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการ และอำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราสำหรับหนังสือเดินทางธรรมดา ลงนามเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2540
8. ความตกลงว่าด้วยการแบ่งเขตทางทะเลระหว่างไทยและเวียดนามในอ่าวไทย ลงนามเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2540
9. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านกฎหมายและการศาล ลงนามเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2541
10. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติด สารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและสารตั้งต้น ลงนามเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2541
11. บันทึกความเข้าใจระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือเวียดนามว่าด้วยการลาดตระเวนร่วมและการจัดตั้งโครงข่ายการติดต่อสื่อสาร ลงนามเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2542
12. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา ลงนามเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2543
13. บันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานส่งเสริมการลงทุนกับกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม ว่าด้วยการลงทุนไทย - เวียดนาม ลงนามเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2546
14. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร ลงนามเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2546
15. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา ลงนามเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547
16. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิชาการ ลงนามเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547
17. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข ลงนามเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547
18. แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยกรอบความร่วมมือไทย - เวียดนามในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 ลงนามเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547
19. ความตกลงว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ลงนามเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547
20. กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ลงนามเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547
21. แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยข้อตกลงเพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งทางถนน ลงนามเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547
22. ความตกลงย่อยว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547
23. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการบังคับใช้มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชลงนามเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย
ที่มา: http://www.depthai.go.th