สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ญี่ปุ่น ปี 2551 (ม.ค.—พ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 21, 2009 10:47 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง                :  Tokyo
พื้นที่                     :  377,899 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ              :  Japanese
ประชากร                 :  127.8 ล้านคน (October 2006)
อัตราแลกเปลี่ยน            :  100 เยน = 38.514 บาท (12//01/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                               1.9        1.4
Consumer price inflation (av; %)                  0.0        0.4
Budget balance (% of GDP)                        -2.6       -2.4
Current-account balance (% of GDP)                4.9        4.6
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        1.8        2.1
Exchange rate ฅ:US$ (av)                         117.4     105.0

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับญี่ปุ่น
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  18,787.21         100.00         14.12
สินค้าเกษตรกรรม                     2,685.80          14.30         32.44
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร             1,600.61           8.52         30.27
สินค้าอุตสาหกรรม                    13,398.68          71.32          7.82
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                  1,102.01           5.87         71.99
สินค้าอื่นๆ                               0.12            0.0        -99.92

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับญี่ปุ่น
                                         มูลค่า :        สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              30,904.20        100.00         18.83
สินค้าเชื้อเพลิง                               102.71          0.33        -11.16
สินค้าทุน                                 11,561.47         37.41         19.30
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                  15,062.13         48.74         20.96
สินค้าบริโภค                               1,415.21          4.58         12.66
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                2,758.40          8.93         14.32
สินค้าอื่นๆ                                     4.28          0.01        -94.65

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — ญี่ปุ่น
                           2550           2551         D/%

(ม.ค.-พ.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            42,471.37      49,691.41      17.00
การนำเข้า                26,008.14      30,904.20      18.83
การส่งออก                16,463.23      18,787.21      14.12
ดุลการค้า                 -9,544.90     -12,116.98      26.95

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดญี่ปุ่น เป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 30,904.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.83 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                    30,904.20        100.00        18.83
1. เครื่องจักรกล                       5,961.75         19.29        22.25
2. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์            4,898.88         15.85        43.13
3. เครื่องจักรไฟฟ้า                     2,781.53          9.00        10.53
4. เคมีภัณฑ์                           2,629.90          8.51        27.53
5. แผงวงจรไฟฟ้า                      2,447.14          7.92        -9.57
        อื่น ๆ                        1,613.88          5.22        -1.38

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น เป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 18,787.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.12 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                  18,787.21         100.00         14.12
1. แผงวงจรไฟฟ้า                    1,018.39           5.42        -10.23
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ                1,009.60           5.37         -5.80
3. ยางพารา                          951.85           5.07         20.43
4. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ               916.03           4.88         33.32
5. ไก่แปรรูป                          602.60           3.21         94.43
             อื่น ๆ                 6,767.73          36.02          8.86

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปญี่ปุ่น  ปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) ได้แก่

แผงวงจรไฟฟ้า : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากฮ่องกง โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 10.23 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 0.36 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ยางพารา : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-13.29%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.29 31.14 20.43 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 4.88 25.16 13.38 33.32 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ไก่แปรรูป : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 29.93 0.63 4.10 และ 94.43 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น ปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 30 มีรวม 6 รายการ คือ
  อันดับที่ / รายการ              มูลค่า       อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                        ล้านเหรียญสหรัฐ          %
 4. รถยนต์ อุปกรณ์ฯ            916.03          33.32
 5. ไก่แปรรูป                 602.60          94.43
 6. น้ำมันสำเร็จรูป             595.26         376.39
24. เนื้อปลาสดแช่แข็ง           256.35          60.62
11. ผลิตภัณฑ์พลาสติก            480.09          36.60
15. ผลิตภัณฑ์ยาง               372.86          37.43

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น    ปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 5 รายการ คือ
  อันดับที่ / รายการ                           มูลค่า         อัตราการขยายตัว
                                       ล้านเหรียญสหรัฐ           %
 1. แผงวงจรไฟฟ้า                          1,018.39          -10.23
 2. เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ           1,009.60           -5.80
10. เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ                480.73           -1.18
22. เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ                 269.45          -22.10
25. เตาไมโครเวฟ                            244.47           -9.99

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

ภายหลังการลงนามใน "ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเวียดนาม-ญี่ปุ่น"(Vietnam-Japan Economic Partnership Agreement" หรือ VJEPA เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมาซึ่ง VJEPA จะมีผลในกลางปี 2552 ภายหลังจากที่ทั้ง 2 ประเทศ ได้ผ่านกระบวนการให้สัตยาบัน(ratification) ในประเทศสมบูรณ์หลังการให้สัตยาบันแล้ว VJEPA จะมีผลให้ 90% ของการค้าระหว่างประเทศทั้งสองไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าและทั้ง 2 ประเทศต้องเริ่มดำเนินการปรับปรุงบรรยากาศทางกฎหมาย บรรยากาศทางธุรกิจและสิ่งอำนวยความสะดวกด้าน software ตามแผนการทันที เพื่อเป็นการวางรากฐานสำหรับการเพิ่มปริมาณการค้าระหว่าง 2 ประเทศ รวมถึงการเปิดเสรีและความร่วมมือทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม บริการ การค้าและการลงทุน การจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและการขนส่ง ทั้งนี้ "กระทรวงพาณิชย์" ตั้งข้อสังเกตถึงความตกลงดังกล่าวไว้ ดังนี้

1. อัตราภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรของญี่ปุ่นไม่ได้อยู่ในระดับที่สูงนักแต่มาตรการสุขอนามัย(SPS) ที่เข้มงวดเป็นอุปสรรคต่อการเข้าตลาด ดังนั้นการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น ยกเว้นข้าวและข้าวสาลี ซึ่งญี่ปุ่นจัดไว้ใน sensitive list จึงไม่ได้ทำให้เวียดนามได้รับประโยชน์จากอัตราภาษีเป็น 0% แต่ประโยชน์ที่เวียดนามได้รับมากกว่าการเปิดตลาด คือ ความร่วมมือจากญี่ปุ่นในการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและที่สำคัญ คือ ผลทางจิตวิทยาที่รัฐบาลเวียดนามออกมากระตุ้นให้ผู้ประกอบการในประเทศได้ร่วมมือกันปรับปรุง corporate governance ความสามารถในการแข่งขันและคุณภาพของสินค้า

2. ปัจจุบันสินค้าเวียดนามหลายรายการ ยังไม่สามารถเข้าตลาดญี่ปุ่นได้ไม่เฉพาะสินค้าเกษตรเท่านั้น แม้แต่สินค้าอุตสาหกรรมก็เช่นกัน สินค้าอุตสาหกรรมที่สามารถนำเข้าญี่ปุ่นได้ ส่วนมากจะเป็นสินค้าจากโรงงานที่เป็นการลงทุนร่วมและบริหารโดยบริษัทญี่ปุ่น หรือเป็นบริษัทญี่ปุ่น 100%ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของเวียดนาม จึงไม่เน้นเฉพาะการเติบโตของการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นเท่านั้นแต่ยังต้องการยกระดับความน่าเชื่อถือของสินค้าในตลาดโลกด้วย เพราะถ้าสินค้าเวียดนามสามารถบรรลุเงื่อนไขที่ญี่ปุ่นกำหนดไว้ได้ ก็ย่อมเป็นหลักประกันถึงคุณภาพของสินค้า

3. แม้ว่าขณะนี้จะมีสินค้าของไทยหลายรายการ ที่ต้องแข่งกับเวียดนามในตลาดญี่ปุ่น อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง และอาหารทะเลสำเร็จรูป และมีบางรายการ เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ไม้ ที่เวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดสูงกว่าไทย และมีอัตราขยายตัวของการนำเข้าของญี่ปุ่นจากเวียดนามเพิ่มขึ้นมาก ก็ตาม"กระทรวงพาณิชย์" มั่นใจว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเวียดนาม-ญี่ปุ่นดังกล่าว จะไม่ทำให้ฐานะการแข่งขันของสินค้าไทยกับเวียดนามในตลาดญี่ปุ่นลดลง เนื่องจากญี่ปุ่นได้เปิดตลาดให้ไทยภายใต้ JTEPA และ AJCEP แล้วในระดับหนึ่ง

จากข้อตจากลง JTEPA สินค้าทูน่ากระป๋องจะยกเลิกภาษีลงเป็น 0% ภายใน 5 ปี ทยอยลดปีละ 1.6% (อัตราภาษีนำเข้าปัจจุบันอยู่ที่ 9.6%) ทำให้ สินค้าทูน่ามีโอกาสขยายในตลาดญี่ปุ่นได้มาก โดยขณะนี้ได้เกิดความเคลื่อนไหวทยอยปิดกิจการของผู้ผลิตทูน่าในญี่ปุ่นแล้ว และเตรียมแผนที่จะมาใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตส่งกลับไปจำหน่ายในญี่ปุ่นแทน เนื่องจากต้นทุนการผลิตทูน่าในญี่ปุ่นค่อนข้างสูงโดยเฉพาะต้นทุนด้านแรงงาน การหันมานำเข้าจากไทยในอัตราภาษีที่ทยอยลดลงและยกเลิกในที่สุดน่าจะคุ้มกว่าปัจจุบันชาวญี่ปุ่นบริโภคทูน่ากระป๋อง 12 ล้านหีบ/ปี(1 หีบบรรจุ 48กระป๋อง)ในจำนวนนี้นำเข้าจากไทยประมาณ 3-4 ล้านหีบ/ปี คิดเป็นสัดส่วน 25-30% ของการนำเข้า ผลจาก JTEPA คาดไทยจะสามารถส่งออกทูน่าไปญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น 10-12% ในปีแรกของการลดภาษี

นอกจากนี้ก็มีสินค้ากุ้งซึ่งจะยกเลิกภาษีทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้นั้น กลุ่มรูบิคอนกรุ๊ป ที่ดูแลอยู่ก็มั่นใจว่าจะสามารถเพิ่มสัดส่วนการส่งออกกุ้งไปญี่ปุ่นได้เป็น 30% จากปัจจุบันสัดส่วน 20% เนื่องจากมีฐานลูกค้าอยู่แล้วบริษัทไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่นโปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ทียูเอฟ กล่าวว่า บริษัทจะใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีจาก JTEPA อย่างเต็มที่โดยตั้งเป้าหมายจะส่งออกทูน่ากระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็งทั้งกุ้ง ปลาหมึก และอาหารแมวไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอีก 10-20% ภายในปีแรกที่ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ จากที่ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกของบริษัทสัดส่วน 20% และคิดเป็นรายได้สัดส่วน 10% ของรายได้รวม โดยตั้งเป้ารายได้รวมในปีนี้ที่ 57,000 ล้านบาท จากปี 2549 มีรายได้ 55,000 ล้านบาท

ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า บริษัทได้รุกเข้าไปทำตลาดน้ำผลไม้ในญี่ปุ่นผ่านช่องทางซูเปอร์มาร์เก็ตและคอนวีเนี่ยนสโตร์รายใหญ่ในญี่ปุ่นโดยได้วางจำหน่ายน้ำฝรั่งและน้ำสับปะรดบรรจุกล่องยูเอชทีได้แล้ว 700-800 สาขา และอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อวางจำหน่ายน้ำผลไม้ในเซเว่น-อีเลฟเว่นของญี่ปุ่นอีกกว่า 10,000 สาขา หากความตกลง JTEPA มีผลบังคับใช้และสินค้าน้ำผลไม้ได้รับการลดภาษี(ภาษีนำเข้าปัจจุบัน 6-34%) จะทำให้บริษัทสามารถส่งออกไปญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ขณะที่เครือเบทาโกร กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ล่าสุดพันธมิตรจากญี่ปุ่นได้มาร่วมทุนกับเครือฯ เพื่อลงทุนตั้งโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ และเนื้อสุกรอีก2โรง จะแล้วเสร็จปลายปีนี้ มีเป้าหมายส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น ตั้งโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมเครือเบทาโกรที่ จ.ลพบุรี(พันธมิตรของเครือเบทาโกรประกอบด้วย อายิโนะโมะโต๊ะ ซูมิโตโม และไดนิปปอนฯ)

ขณะเดียวกันในส่วนของกรมประมงจะเจรจากับรัฐบาลญี่ปุ่น กรณีการตรวจสินค้าหน้าด่านซึ่งปัจจุบันใช้เวลานานถึง 15-20 วันจะขอให้ผ่อนผันลง รวมถึงเจรจาให้การรับรองโรงงานกุ้งของไทยเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันทั้งหมด 280 โรง รับรองเพียง 13 โรง ซึ่งโรงงานที่ยังไม่ได้รับการรับรองจะไม่ค่อยได้รับความสะดวก ในเบื้องต้นอยากให้ได้รับรับรองเพิ่มขึ้นเป็น 30-40 โรง เพื่อให้ไทยได้ประโยชน์จากJTEPA อย่างเต็มที่

ขิง เป็นวัตถุดิบจากภาคการเกษตรของไทยที่ส่งออกตลาดญี่ปุ่นสร้างรายได้เข้าประเทศไม่น้อยกว่าปีละหลายร้อยล้านบาท โดยเฉพาะ ญี่ปุ่นถือเป็นตลาดรายใหญ่ของไทย เพราะการ รับประทานขิงดองถือเป็นวัฒนธรรมการกินของคนญี่ปุ่น แต่เนื่องจากญี่ปุ่นมีพื้นที่จำกัด ทำให้การเพาะปลูกขิงไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ จึงต้องนำเข้าขิงดองจากต่างประเทศ 100% โดยมีการนำเข้าจากไทยมากที่สุด บริษัท ชวี่ เฉวียน ฟู้ดส์ ผู้ผลิตขิงดอง ขิงแปรรูป และมะเขือม่วงดองส่งออกรายใหญ่ของไทย ดำเนินธุรกิจในลักษณะร่วมทุนกับไต้หวัน เดิมตั้งอยู่ที่ไต้หวัน แต่ได้ย้ายกลับมาผลิตในไทยเมื่อปี 2536 ดำเนินธุรกิจผลิตขิงดองกึ่งสำเร็จรูปส่งออกตลาดญี่ปุ่นเมื่อปี 2541 ได้ทดลองผลิตขิงแปรรูปส่งจำหน่าย ซึ่งได้รับการยอมรับจากลูกค้า จากนั้นจึงผลิตมะเขือม่วงดองเพิ่มโดยผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นการผลิตภายใต้แบรนด์ของลูกค้า ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 100% ไม่มีจำหน่ายในประเทศ จับกลุ่มลูกค้าตลาดบนเป็นหลัก เนื่องจากไม่ต้องการแข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่งจากเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยเฉพาะจีนที่มีราคาถูกกว่า แต่คุณภาพมั่นใจว่ายังสู้ไทยไม่ได้ ทำให้ผลิตภัณฑ์ขิงดองและขิงแปรรูปที่บริษัทผลิตขึ้นได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค สามารถครองส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นได้ 30-35% ปัจจุบัน ญี่ปุ่นถือเป็นตลาดส่งออกหลักของบริษัทถึง 98% ที่เหลือกระจายอยู่ในตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป ซึ่งเป็นแหล่งที่มีคนญี่ปุ่น จีน และไต้หวันอาศัยอยู่ แต่ละปีสามารถสร้างรายได้ให้บริษัทกว่า 200—350 ล้านบาท ทั้งนี้ การตัดสินใจย้ายฐานการผลิตกลับมาไทย ทำให้ต้องหาพื้นที่สำหรับ การเพาะปลูกขิงสายพันธุ์จากญี่ปุ่นโดยเฉพาะขึ้น และพบว่าพื้นที่ทางภาคเหนือมีความเหมาะสม ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน และพะเยา บริษัทจึงได้มาจัดตั้งโรงงานอยู่ที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เหตุที่ต้องใช้ขิงสายพันธุ์ญี่ปุ่นเป็นวัตถุดิบในการผลิต เนื่องจากขิงญี่ปุ่นมีกากไฟเบอร์น้อย รสชาติเผ็ดน้อยกว่าขิงไทย ปัจจุบันมีการเพาะปลูกขิงสายพันธุ์ญี่ปุ่นเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนประมาณ 2 หมื่นไร่ นอกจากนี้ยังเพาะปลูกกันมากที่ จ.เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย รวม พื้นที่เพาะปลูกขิงทั่วประเทศทั้งสิ้นกว่า 3 หมื่นไร่ ส่วนพื้นที่เพาะปลูกมะเขือม่วงประมาณ 300 ไร่ กระจายอยู่ในพื้นที่เชียงราย เชียงใหม่ และลำปาง

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2551 ญี่ปุ่นได้ประกาศห้ามนำเข้าบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ หรือลังไม้ ที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน IPPC เพื่อปกป้องความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของแมลงที่ไม่พึงประสงค์ ที่อาจติดมากับบรรจุภัณฑ์ไม้ เข้าไปสร้างความเสียหายและเป็นอันตรายต่อด้านการเกษตรของประเทศ ความเข้มงวดดังกล่าว ทำให้ต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้กระทบต่อการส่งออก บริษัทจึงได้เข้ารับความช่วยเหลือจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) การสร้างเตาอบวัสดุบรรจุภัณฑ์จากไม้เพื่อการ “Heat Treatment” สำหรับใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ขิงดองส่งออก ผลที่ได้รับจากโครงการฯ นี้ ทำให้บริษัทส่งออกไปญี่ปุ่นได้ต่อเนื่อง เพราะลังและพาเลตไม้ที่ผ่านการอบจากเตาอบที่บริษัทสร้างขึ้นจะมีมาตรฐาน IPPC เป็นเครื่องหมายรับรองลงบนตัวลังและพาเลตไม้ทุกครั้ง

นอกจากได้เตาอบที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนลงจากเดิมที่ต้องสั่งซื้อลังไม้ที่อบแล้วจากภายนอกโรงงานถึงปีละกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งในแต่ละปีบริษัทต้องใช้ลังไม้นับแสนใบ ขณะนี้บรรจุภัณฑ์ขนส่งสินค้าของบริษัทมีด้วยกัน 2 แบบ นอกจากบรรจุภัณฑ์ไม้ หรือพาเลตไม้แล้ว ยังมีพาเลตที่ทำจากสเตนเลสแบบน็อกดาวน์ เนื่องจากญี่ปุ่นมีกฎหมายเทศบาลที่กำหนดว่า หากเผาวัสดุใดๆ ก็ตาม จะคิดค่าเผาตามน้ำหนักเป็นกิโลกรัม ถือว่าแพงมาก ดังนั้น จึงจัดทำพาเลตจากสเตนเลสขึ้นใช้ซึ่งนิยมกันมากในเมืองใหญ่ เช่น โอซากา และโตเกียว แต่สำหรับเมืองเล็กๆ ยังคงใช้พาเลตจากไม้เป็นส่วนใหญ่ ขิงดองถือเป็นวัฒนธรรมการกินของชนชาติญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ซึ่งประเทศอื่นไม่นิยมมากนัก และตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา บริษัทมีผลประกอบการเพิ่มขึ้นจากการส่งออกไปญี่ปุ่น เฉพาะผลิตภัณฑ์ขิงดองและ ขิงแปรรูปสร้างรายได้ให้กับบริษัทถึงปีละ 200-350 ล้านบาท และอีก 60 ล้านบาท จากผลิตภัณฑ์ มะเขือม่วงดอง ที่ได้รับการตอบรับจากตลาด ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทยังเตรียมขยายผลิตภัณฑ์สินค้าทางด้านเกษตรอื่นๆ เพิ่มเข้าไปยังตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีภูมิประเทศ ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก จึงอยากให้คนไทย หันมามองและให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ทาง การเกษตรกันมากขึ้น

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ