สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - จีน ปี 2551 (ม.ค.—ธ.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 27, 2009 16:40 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : Beijing
พื้นที่          :  9,561,000  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ   :  Putonghua, or Standard Chinese
ประชากร      :  1.31 พันล้านคน (end-2006)
อัตราแลกเปลี่ยน :  CNY :  Baht  5.069 (20/01/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                              11.90      9.80
Consumer price inflation (av; %)                  4.80      6.70
Budget balance (% of GDP)                         0.70      0.60
Current-account balance (% of GDP)               11.50      8.30
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        7.50      7.50
Exchange rate ฅ:US$ (av)                          7.61      6.94

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับจีน
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  16,190.84         100.00          9.05
สินค้าเกษตรกรรม                     2,727.05          16.84          7.58
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               220.85           1.36        -11.29
สินค้าอุตสาหกรรม                    11,375.15          70.26          6.51
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                  1,867.79          11.54         36.96
สินค้าอื่นๆ                               0.01            0.0        -99.97

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับจีน
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              20,055.86         100.00         23.61
สินค้าเชื้อเพลิง                               242.58           1.21         44.45
สินค้าทุน                                  7,862.92          39.21         19.09
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   7,810.41          38.94         24.44
สินค้าบริโภค                               3,832.88          19.11         30.11
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  301.33           1.50         39.13
สินค้าอื่นๆ                                     5.72           0.03        -63.90

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - จีน
                           2550           2551          D/%

(ม.ค. - ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            31,071.64       36,246.70      16.66
การส่งออก                14,846.75       16,190.84       9.05
การนำเข้า                16,224.90       20,055.86      23.61
ดุลการค้า                 -1,378.15       -3,865.01     180.45

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดจีนเป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 20,055.86 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.61
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                  มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                 20,055.86         100.00         23.61
1. เครื่องคอมพิวเตอร์                2,768.31          13.80          9.62
2. เครื่องจักรไฟฟ้า                  2,365.15          11.79         12.05
3. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน              1,796.13           8.96         32.74
4. เครื่องจักรกล                    1,611.35           8.03         30.79
5. เหล็ก เหล็กกล้า                  1,469.17           7.33         29.18
           อื่น ๆ                  2,177.78          10.86         23.73

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดจีนเป็นอันดับที่  3 มูลค่า 16,190.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.05
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                               มูลค่า :          สัดส่วน %     % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม              16,190.84         100.00         9.05
1. เครื่องคอมพิวเตอร์             4,821.81          29.78        21.91
2. ยางพารา                    1,937.52          11.97        21.74
3. น้ำมันสำเร็จรูป                1,185.06           7.32        77.92
4. เม็ดพลาสติก                  1,075.26           6.64         8.08
5. เคมีภัณฑ์                       817.07           5.05       -36.83
          อื่น ๆ                1,803.23          11.14        -1.48

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปจีน ปี 2551 (มค.-ธค.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 62.00, 0.79, 59.89 และ 21.91ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ยางพารา : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 3.87, 66.11, 17.51 และ 21.74 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

น้ำมันสำเร็จรูป : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย รองจากสิงคโปร และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2548 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-55.62%) ในขณะที่ปี 2549 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 327.49, 88.83, 77.92 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เม็ดพลาสติก : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 35.08, 18.95, 9.33 และ 8.08 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เคมีภัณฑ์ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2551 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง(-36.83%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2550 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 44.28, 126.08, 9.49 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีนปี 2551 (ม.ค.- ธ.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่า
ร้อยละ 25 มีรวม 6 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ                           มูลค่า         อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                                     ล้านเหรียญสหรัฐ          %
3. น้ำมันสำเร็จรูป                         1,185.06          77.92
8. ผลิตภัณฑ์ยาง                             480.27          39.09
11.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนฯ                    275.89          27.22
19.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                          119.23          25.51
20.กระดาษและผลิตภัณฑ์ฯ                      110.19          29.00
24.เครื่องคอมฯของเครื่องทำความเย็น             82.72          29.44

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีนปี 2551 (ม.ค.- ธ.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 7 รายการ คือ
 อันดับที่ / รายการ               มูลค่า         อัตราการขยายตัว
                          ล้านเหรียญสหรัฐ          %
5. เคมีภัณฑ์                    817.07          -36.83
6. แผงวงจรไฟฟ้า               781.73          -10.26
9. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง           339.30          -28.04
12.วงจรพิมพ์                   199.24           -5.01
15.ข้าว                       159.98          -25.86
18.เครื่องจักรกล                134.98           -0.49
22.ทองแดง                     92.63          -50.47

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

จุดเด่นของตลาดจีน นักธุรกิจหลายคนมองเป็น "โอกาส" แต่กับอีกหลายคน มองเป็น "ทางตัน" เพราะไม่รู้ว่า จะเริ่มจุดไหนดี แถมยังต้องขนส่งอีกไกล ล้วนเป็น "ต้นทุน" ที่หนักกว่าขายในบ้าน Key to Success ในการทำธุรกิจในจีน ก่อนอื่นต้องรู้ว่า "เป้าหมาย" คือใคร กำลังซื้อแค่ไหน เพราะพฤติกรรมคนจีนวันนี้ สินค้าไม่มีคุณภาพ ไม่ควรนำไปขาย เพราะกำลังซื้อเปลี่ยนไปแล้ว "พิษณุ เหรียญมหาศาล รองอธิการบดี และคณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กล่าว พร้อมกับชี้ว่า 5 ปีที่แล้ว กระแสนักธุรกิจไทย หรือแม้แต่นักธุรกิจจากทั่วโลก ต่างเข้าปักธงในจีนจำนวนมาก บ้างก็สำเร็จแต่ส่วนใหญ่ล้วนเจ็บตัวก็มากพอดู เว้นเสียแต่รายใหญ่ สายป่านหนาจริงๆ ถึงอยู่รอดปัญหาใหญ่ที่หลายคนมองข้าม จนไม่สามารถอยู่รอดจนต้องม้วนกลับบ้าน อันดับแรกคือ ต้นทุนการขนส่งอันดับ 2 คือ สินค้าที่นำไปขาย

ปัญหาทั้ง 2 ส่วน เข้าใจว่า ที่ผ่านมาเป็นปัญหาระดับชาติเหมือนกัน เพราะการขาดดุลจุดพักสินค้า กลายเป็นอุปสรรคใหญ่ในการกระจายสินค้าไปยังอีกหลายมณฑล ตามความต้องการของผู้บริโภค แม้ตลาดจะเปิดกว้างก็ตาม ซึ่งประเมินว่า จุดพักสินค้าส่วนใหญ่ที่สินค้าไทย ตีตรา Made in Thailand เป็นสินค้าที่เกี่ยวกับผลไม้ที่มีชื่อเสียง เช่น ทุเรียน หรือกล้วยหอม ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดมาก แต่การขนถ่ายสินค้าไทยไปจีนมักจะถูกกักกันจากหน่วยกักกันโรคพืชมากกว่า 7 วัน และอาจทำให้เกิดการเสียหายขึ้น ซึ่ง "ต้นทุน" ส่วนนี้ ไม่รวมกับค่าขนส่งลดลงเหลือร้อยละ 25 ในช่วงปีที่ผ่านมา และประเมินว่าจากนี้อีก 8-10 ปี ต้นทุนค่าขนส่งจะลดลงเหลือเพียง 10% เท่านั้น และจากการที่ไทย เชื่อมโยงกับจีน ผ่านเส้นทางคมนาคม ทั้ง 3 ทาง คือ บก อากาศ และน้ำ

  • ทางอากาศ ง่ายนิดเดียวก็ขนส่งทางเครื่องบิน บินตรง แต่ค่าขนส่งแพง
  • ทางบก จากกวางสี ทะลุเวียดนาม เข้ามุกดาหาร หรือจะเลือกอีกเส้นทางหนึ่ง คือ ถนน R3 เข้าคุนหมิง ลาว เข้าเชียงราย
  • ทางน้ำ จะเลือกจากกวางโจว เมืองไปหยุ่น ไล่ลงมายังเมืองฮัวตู เข้าสู่แม่น้ำโขง ผ่านไปยังประเทศอาเซียนต่างๆ ไทยล้วนได้ประโยชน์จากการค้าเส้นทางเหล่านี้อย่างมาก

ยิ่งในอนาคต การค้าไทยกับจีน "ต้นทุน" การขนส่ง ยิ่งจะลดลง เพราะมีการพัฒนาเส้นทาขนส่งเพิ่มขึ้นและนั่นจะทำให้ผู้ประกอบการไทย ได้รับผลประโยชน์ มากกว่าเดิมมาก เพียงแตผู้ประกอบการ ต้องไม่ถอดใจเท่านั้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต.) ณ นครเฉิงตู กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า แม้จีนจะมีการปลูกกล้วยไม้ได้ในบางพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น คุนหมิง แต่เป็นพันธุ์เมืองหนาวที่ไม่เพียงพอและไม่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ ทำให้ต้องมีการนำเข้า ซึ่งกล้วยไม้ที่จีนนำเข้าจากไทย แม้จะมีปริมาณมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีราคาไม่สูงนัก ทำให้มูลค่าการส่งออกไม่สูงตาม นอกจากนี้ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการบรรจุกล้วยไม้ที่ไม่ได้คุณภาพ ในระหว่างการบรรจุหีบห่อมีการบีบอัดปริมาณมากเกินกำหนดในลังกระดาษ เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง ทำให้คุณภาพของ

กล้วยไม้ช้ำบ้างและราคาตก รวมถึงความไม่หลากหลายของพันธุ์ที่นำเข้า ปํญหาคือ กล้วยไม้ไทยยังไม่เป็นที่รู้จักของตลาด ทั้งนี้ สคต.เฉิงตูจะเน้นประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคชาวจีนได้รู้จักกล้วยไม้ไทยที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การส่งออกเพิ่มขึ้น เพื่อจะได้มีการส่งออกที่มากขึ้นต่อไป ควบคู่ไปกับกิจกรรมส่งเสริมผลไม้ไทยและอื่นๆ โดยถือว่ากล้วยไม้ไทยยังมีโอกาสสูงในตลาดนี้ เพียงแต่ต้องสร้างความแตกต่างของกล้วยไม้ตัดดอกจากไทยที่ต่างไปจากไม้เมืองหนาวจากทั่วโลก ซึ่งจีนสามารถผลิตได้จำนวนมากเช่นกัน

แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯคาดว่ารายได้ปีนี้ขยายตัวติดลบต่ำกว่าปีที่แล้ว 5% นับเป็นครั้งแรกในรอบ 36ปีตั้งแต่ก่อตั้งที่บริษัทที่มีผลประกอบการติดลบ เป็นผลมาจากวิกฤตซับไพร์มและการล้มเหลวของสถาบันการเงินในสหรัฐฯและยุโรป ส่งผลต่อกำลังซื้ออัญมณีและเครื่องประดับในตลาดโลกลดลง ซึ่งคำสั่งซื้อเครื่องประดับของแพรนด้าฯในช่วงม.ค.นี้ พบว่าลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เชื่อว่าไตรมาสแรกนี้ รายได้รวมลดลง 5%เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่วนการหาตลาดใหม่ บริษัทได้เจาะตลาดใหม่มาโดยตลอด โดยยอมรับว่าวิกฤติซับไพร์มในสหรัฐฯ ส่งผลให้รายได้จากตลาดนี้ลดลง โชคดีรายได้จากตลาดจีนและอินเดียเข้ามาช่วยชดเชย มิฉะนั้นรายได้บริษัทฯทั้งปี 2552 จะหดตัวลงมากกว่านี้ ทั้งนี้ บริษัทฯตั้งเป้าหมายยอดขายเครื่องประดับในจีนไว้ที่ 3.29 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีก่อน ส่วนตลาดอินเดียมีเป้ายอดขายไว้ 6.26 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 300% ทำให้โครงสร้างรายได้รวมของแพรนด้าฯมาจากตลาดสหรัฐฯ 35% และตลาดอียู 35% ลดลงเหลือ 30%และ 30% ตามลำดับ เว้นอินเดียและจีนเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 7-8% "ตลาดจีนและอินเดียเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก ซึ่งปีนี้บริษัทจะให้ความสำคัญในการทำตลาดทั้งสองมากขึ้น ส่วนตลาดรัสเซียก็เติบโตดี แต่ขาดศักยภาพ "

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ