เมืองหลวง : Tokyo พื้นที่ : 377,899 ตารางกิโลเมตร ภาษาราชการ : Japanese ประชากร : 127.8 ล้านคน (October 2006) อัตราแลกเปลี่ยน : 100 เยน = 38.778 บาท (26//01/52) (1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 1.9 1.4 Consumer price inflation (av; %) 0.0 0.4 Budget balance (% of GDP) -2.6 -2.4 Current-account balance (% of GDP) 4.9 4.6 Commercial banks' prime rate (year-end; %) 1.8 2.1 Exchange rate ฅ:US$ (av) 117.4 105.0 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับญี่ปุ่น มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 20,090.28 100.00 10.88 สินค้าเกษตรกรรม 2,894.47 14.41 30.67 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 1,725.96 8.59 30.08 สินค้าอุตสาหกรรม 14,345.88 71.41 4.54 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 1,123.86 5.59 57.14 สินค้าอื่นๆ 0.12 0.0 -99.92 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับญี่ปุ่น มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 33,401.89 100.00 17.69 สินค้าเชื้อเพลิง 108.45 0.32 -12.06 สินค้าทุน 12,625.20 37.80 18.62 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 16,152.13 48.36 19.24 สินค้าบริโภค 1,524.61 4.56 11.50 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 2,987.01 8.94 13.96 สินค้าอื่นๆ 4.50 0.01 -94.40 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — ญี่ปุ่น 2550 2551 D/%
(ม.ค. - ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 46,500.58 53,492.18 15.04 การนำเข้า 28,381.53 33,401.89 17.69 การส่งออก 18,119.05 20,090.28 10.88 ดุลการค้า -10,262.48 -13,311.61 29.71 2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากญี่ปุ่น เป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 33,401.89 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.69 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 33,401.89 100.00 17.69 1.เครื่องจักรกล 6,541.17 19.58 23.76 2.เหล็ก เหล็กกล้า 5,361.40 16.05 44.74 3.เครื่องจักรไฟฟ้า 3,034.11 9.08 6.55 4.เคมีภัณฑ์ 2,764.42 8.28 22.95 5.แผงวงจรไฟฟ้า 2,618.53 7.84 -10.98 อื่น ๆ 1,742.21 5.22 -1.61 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปญี่ปุ่น เป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 20,090.28 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.88 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 20,090.28 100.00 10.88 1. แผงวงจรไฟฟ้า 1,088.09 5.42 -12.64 2. เครื่องคอมพิวเตอร์ 1,085.11 5.40 -6.98 3. ยางพารา 1,013.39 5.04 17.40 4. รถยนต์ อุปกรณ์ 952.63 4.74 19.28 5. ไก่แปรรูป 672.56 3.35 94.11 อื่น ๆ 7,273.92 36.21 6.54 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปญี่ปุ่น ปี 2551 (ม.ค. - ธ.ค.) ได้แก่
แผงวงจรไฟฟ้า : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากฮ่องกง โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 12.64 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 6.98 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ยางพารา : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-13.29%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.29 31.14 17.40 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 -2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 4.88 25.16 19.81 19.28 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
ไก่แปรรูป : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 29.93 0.63 4.10 และ 94.11 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว หมายเหตุ ล้านเหรียญสหรัฐ % การส่งออกไก่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่น 5. ไก่แปรรูป 672.56 94.11 ต้องการลดการนำเข้าจากจีน จึงหันมานำเข้าจากไทยแทน 6. น้ำมันสำเร็จรูป 595.28 362.03 ซึ่งเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่เงินบาทอ่อน 10. ผลิตภัณฑ์พลาสติก 517.85 26.15 ทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการส่งออก 15. ผลิตภัณฑ์ยาง 401.55 32.76 24. เนื้อปลาสดแช่แข็ง 270.73 55.78 4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น ปี 2551 (ม.ค.-ธค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 6 รายการ คือ อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว ล้านเหรียญสหรัฐ % 1. แผงวงจรไฟฟ้า 1,088.09 -12.64 2. เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 1,085.11 -6.98 11.เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ 516.75 -5.59 18.เครื่องยนต์สันดาปภายใน 320.04 -2.01 22.เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ 283.83 -24.04 25.เตาไมโครเวฟ 267.37 -8.51 4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์กำลังเตรียมแนวทางผลักดันการส่งออกและช่วยเหลือภาคธุรกิจเพื่อการส่งออกที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องตึงตัว โดยวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์นี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นหัวหน้าคณะนำนักธุรกิจรายใหญ่เดินทางไปโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมขยายโอกาสและทำความเข้าใจการค้าระหว่างการกันมากขึ้น
กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมลงนามบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU กับองค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตอาหาร ในการเดินทางไปโร้ดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่นของรัฐบาล โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชาชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งขณะนี้มีบริษัทญี่ปุ่นหลายรายให้ความสนใจต้องการทำการค้ากับประเทศไทย การลงนามดังกล่าวจะสร้างความมั่นใจเรื่องคุณภาพสินค้าอาหารไทยในตลาดญี่ปุ่น ส่งผลให้สินค้าอาหารของไทยมีโอกาสเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นได้มากขึ้น ทั้งนี้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศถึงกว่าร้อยละ 60 แต่ปัจจุบันไทยส่งออกสินค้าอาหารไปญี่ปุ่นเพียงร้อยละ 14.2 เท่านั้น
สถานการณ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตในญี่ปุ่นที่ยังไม่ดีนัก ทำให้หลายค่ายต้องใช้มาตรการต่างๆเพื่อความอยู่รอด ล่าสุดหนังสือพิมพ์นิกเกอิของญี่ปุ่น รายงานว่า บริษัท นิสสัน มอเตอร์ มีแผนที่จะย้ายฐานการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็ก หรือซับคอมแพ็ค รุ่นมาร์ช(March)มายังประเทศไทย โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้าง เพื่อรับมือกับเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นและยอดขายที่ร่วงลงหนัก เศรษฐกิจที่ตกต่ำ ประกอบกับเงินเยนที่แข็งค่าที่ระดับ 90 เยนต่อดอลลาร์ ในปัจจุบัน ทำให้นิสสันต้องตัดสินใจย้ายฐานการผลิตดังกล่าว ซึ่งจะทำให้นิสสันเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกของญี่ปุ่นที่ย้ายฐานการผลิตรถยนต์รุ่นที่ขายดีติดอันดับไปยังต่างประเทศ สำหรับสาเหตุที่นิสสันเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตนั้น เป็นเพราะไทยมีการงดเว้นการเก็บภาษีสำหรับการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน ส่วนโรงงานเดิมใน จังหวัดคานากาว่าที่ญี่ปุ่นนั้น นิสสันตั้งใจที่จะใช้เป็นสถานที่ผลิตรถพลังงานไฟฟ้า และรถซับคอมแพ็ครุ่นใหม่ๆ ซึ่งจะเริ่มในปี 2553
ผลิตภัณฑ์จากถั่วถือว่าเป็นอาหารประเภทโปรตีนทดแทนที่ได้รับความนิยมบริโภคมากที่สุดในญี่ปุ่น จนกล่าวได้ว่า อาหารถั่วชนิดต่างๆ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาหารประจำชาติและวัฒนธรรมการบริโภคของชาวญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์จากถั่วที่ถือกันว่าเป็นอาหารประจำของทุกครัวเรือนคือ เต้าหู้ หรือ Tofu ซึ่งมีหลายรสชาด รวมทั้งมีการคิดค้นเมนูใหม่ๆ เช่น เต้าหู้ผสมงาขาว งาดำ ซึ่งล้วนมีคุณสมบัติพิเศษเช่นไม่มีคอเลสเตอร์รอล มีแคลอรี่ต่ำกว่าผลิตภัณฑ์จากนมถึงร้อยละ 20 และเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้นม และไข่ ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เป็นต้น ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของตนไปสู่ New Japanese Style ที่เน้นการบริโภคอาหารย่อยง่าย และอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ความนิยมบริโภคเต้าหู้และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองจึงเพิ่มปริมาณ และแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในญี่ปุ่น บริษัทผู้ผลิตและแปรรูปอาหารและอาหารเสริมจึงหันมาเน้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากถั่ว ตั้งแต่เดือนกันยายน ที่ผ่านมา เช่น - Kracie Food Co., Ltd. เริ่มวางขายไอสครีมถ้วยผลิตจากน้ำเต้าหู้ (ice soy milk) โดยมีจุดขายคือรสชาดเหมือนไอสครีมแต่ไม่มีคอเรสเตอรรอล บริษัทประมาณว่าตลาดสินค้ากลุ่มนี้มีมูลค่าถึง 2,000 ล้านเยนในปี 2551 และน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 ล้านเยนภายในปี 2553 ผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ๆ จากถั่วเหลืองข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างของอาหารที่ได้รับความนิยม ซึ่งต่างก็มีจุดขายที่เน้นการมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ลดปริมาณไขมันที่เป็นโทษ ไม่เป็นเหตุให้เพิ่มน้ำหนักตัว โอกาสตลาดของสินค้าในกลุ่มนี้ยังมีลู่ทางขยายได้อีกมาก สิ่งสำคัญคือ การคิดค้นดัดแปลงทำเป็นอาหารชนิดใหม่ๆ รวมทั้งการดัดแปลงส่วนประกอบของอาหาร โดยนำสารอาหารที่เป็นประโยชน์เข้าไปทดแทน การผลิตอาหารสุขภาพ และอาหารบำรุงร่างกาย เช่น การใช้แป้งข้าวเจ้าทดแทนแป้งสาลี การใช้น้ำนมถั่วเหลืองแทนนมจากสัตว์ การเพิ่มสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในส่วนผสมของอาหาร เป็นต้น จึงเป็นแนวโน้มใหม่ที่สามารถผู้ผลิตไทยสามารถประดิษฐ์คิดค้นขึ้น เพื่อการขยายตลาดส่งออก
ในขณะนี้มีกระแสความนิยมการบริโภคอาหารแปรรูปที่ทำจากผักในประเทศญี่ปุ่น อาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำจากผักได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น ทั้งนี้ภายหลังจากที่บริษัท Asahi ได้ผลิตเครื่องดื่มค็อกเทลผสมมะเขือเทศยี่ห้อ “Tomate” ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ผู้รักสุขภาพแล้ว ยังเกิดกระแสความนิยมบริโภคน้ำผัก รวมทั้งขนม เช่น พุดดิ้ง หรือโยเกิร์ตที่มีส่วนผสมของผัก เช่น แครอต หรือฟักทองมากขึ้นตามไปด้วย ขณะนี้ได้มีสินค้าใหม่ของบริษัท Kimura ที่เพิ่งเปิดตัวคือน้ำโซดาที่ผสมผัก “Yasaider” ซึ่งมาจากคำว่า“Yasai” ผัก ผสมกับคำว่า “Cider” นั่นเอง และบริษัทฯ ยังได้ออกเครื่องดื่มเป็นรสทุเรียน และรสแกง (curry) มาพร้อมกันด้วย นอกจากนี้ บริษัทยักษ์ใหญ่อิโตเอนได้วางจำหน่ายอาหารเสริมที่ทำจากผักอบแห้ง เช่นมันหวาน และรากบัว โดยเสริมธาตุเหล็กและโฟลิคเข้าไป ทำให้เพิ่มความนิยมผักมากขึ้น และในร้านสะดวกซื้อขณะนี้จะมีขนม ของขบเคี้ยวที่ทำมาจากผักวางจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น พุดดิ้งที่ทำจากฟักทองและคุ๊กกี้รสมันหวาน ทั้งนี้ของว่างที่ทำจากผักยี่ห้อ “vegips” ของบริษัทคาลบี้เป็นสินค้าหนึ่งที่ได้รับความนิยม ส่วนร้านเบเกอรี่ชื่อดังที่ขายขนมที่ทำจากผัก ได้แก่ร้าน “Potager” ในเขต Naka Meguro กรุงโตเกียว เจ้าของคือคุณ Kakisawa Aya ซึ่งเปิดร้านเมื่อปี 2006 มีลูกค้าแน่นตลอดวันโดยพวกผู้หญิงจะชอบซื้อชีสเค้กที่ทำจากมะเขือเทศ รวมทั้งเค้กม้วนทำมาจากหัวผักกาด จากกระแสความนิยมบริโภคสินค้าที่ทำจากผักนี้ จะเป็นโอกาสอันดีของบริษัทผู้ผลิต ผู้ส่งออกสินค้าอาหาร และเครื่องดื่มที่ทำจากผักของไทยในการที่จะขยายตลาดมายังประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น ขนมของร้าน “Potager” ผสมถั่วแระญี่ปุ่น มันเทศ และแครอต
ที่มา: http://www.depthai.go.th