สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สิงคโปร์ ปี 2551 (ม.ค.—ธ.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 29, 2009 17:27 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
พื้นที่             :  682.3  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ      :  English, Chinese, Malay and tamil
ประชากร         :  3.6  ล้านคน (mid - 2007)
อัตราแลกเปลี่ยน    :  SGD - Baht 22.984 (28/01/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                              7.70        4.00
Consumer price inflation (av; %)                 2.10        6.50
Budget balance (% of GDP)                        3.40        1.00
Current-account balance (% of GDP)              28.80       20.30
Commercial banks' prime rate (year-end; %)       5.30        5.20
Exchange rate ฅ:US$ (av)                         1.51        1.36

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสิงคโปร์
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %     % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  10,114.67         100.00         5.15
สินค้าเกษตรกรรม                       381.61           3.77        42.90
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               224.54           2.22         6.62
สินค้าอุตสาหกรรม                     6,804.99          67.28        -6.48
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                  2,703.46          26.73        51.98
สินค้าอื่นๆ                               0.06            0.0       -99.93

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสิงคโปร์
                                         มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              7,080.28         100.00          12.73
สินค้าเชื้อเพลิง                              590.54           8.34         -18.27
สินค้าทุน                                 2,037.27          28.77          19.81
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                  3,955.71          55.87          17.32
สินค้าบริโภค                                445.39           6.29          -0.79
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  50.35           0.71         138.68
สินค้าอื่นๆ                                    1.03           0.01         -93.54

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — สิงคโปร์
                           2550            2551         D/%

(ม.ค. - ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            15,900.38        17,194.95      8.14
การส่งออก                 9,619.69        10,114.67      5.15
การนำเข้า                 6,280.69         7,080.28     12.73
ดุลการค้า                  3,339.00         3,034.38     -9.12

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากสิงคโปร์เป็นอันดับที่ 7 มูลค่า 7,080.28 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.73
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                               มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม               7,080.28         100.00         12.73
1.เคมีภัณฑ์                      1,230.07          17.37         10.25
2.แผงวงจรไฟฟ้า                   952.35          13.45         27.16
3.สื่อบันทึกข้อมูล                    765.74          10.82         23.32
4.เครื่องคอมพิวเตอร์                606.65           8.57         -9.85
5.เครื่องจักรไฟฟ้า                  544.26           7.69         13.66
          อื่น ๆ                  375.44           5.30         17.84

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปสิงคโปร์เป็นอันดับที่ 4 มูลค่า 10,114.67 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.15
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                               มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม              10,114.67         100.00          5.15
1.น้ำมันสำเร็จรูป                 1,912.90          18.91         50.72
2.เครื่องคอมพิวเตอร์              1,216.11          12.02         -0.15
3.แผงวงจรไฟฟ้า                   828.65           8.19          6.96
4.เครื่องจักรกล                    549.08           5.43        -54.83
5.ส่วนประกอบอากาศยาน             513.63           5.08        -25.15
          อื่น ๆ                2,217.10          21.92         19.34

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสิงคโปร์ ปี 2551 (มค.-ธค.) ได้แก่

น้ำมันสำเร็จรูป : สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-22.32%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.82 39.28 และ 50.72 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 0.15 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

แผงวงจรไฟฟ้า : สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-11.23%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.86 14.06 6.96 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องจักรกลฯ : สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยโดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 54.83 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ส่วนประกอบและอากาศยาน : และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2551 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-25.15% ) ในขณะที่ปี 2548 2549 2550 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 34.59 18.58 26.73 ตามลำดับ

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสิงคโปร์ปี 2551 (ม.ค.-ธ.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูง
โดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 8 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ                           มูลค่า          อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                                     ล้านเหรียญสหรัฐ            %
1. น้ำมันสำเร็จรูป                         1,912.90            50.72
7. เหล็ก เหล็กกล้า                          338.43            46.86
8. รถยนต์ อุปกรณ์                           312.24            42.21
11.ข้าว                                   184.52            70.58
12.อัญมณี และเครื่องประดับ                    170.23           180.44
14.มอเตอร์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า              116.42            41.26
17.ผลิตภัณฑ์ยาง                              99.49            40.10
20.3.4.10เครื่องทำสำเนา                     68.20            59.92

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสิงคโปร์ปี 2551 (ม.ค.-ธ.ค.) 25 รายการแรก
สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 6 รายการ คือ
             อันดับที่ / รายการ                    มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                           ล้านเหรียญสหรัฐ             %
2. เครื่องคอมพิวเตอร์                            1,216.11             -0.15
4. เครื่องจักรกล                                  549.08            -54.83
5. ส่วนประกอบอากาศยาน                           513.63            -25.15
9. เครื่องใช้ไฟฟ้า                                 204.09            -66.08
15.3.4.9 เครื่องพิมพ์                              112.70            -11.27
22.เครื่องตัดต่อ และป้องกันวงจรไฟฟ้า                   62.13            -11.25

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

จากเหตุการณ์สินค้านมเนยและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในจีน ซึ่งมีส่วนผสมของสารพิษ melamine เจือปน ส่งผลให้เด็กเสียชีวิต 4 ราย และเข้ารักษา ณ โรงพยาบาลอีกมากมายทำให้หน่วยงาน Agri-Food and Veterinary Authority (AVA) สิงคโปร์เพิ่มการตรวจสอบสินค้าที่นำเข้าจากจีนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะสินค้านมเนยและผลิตภัณฑ์ และได้ออกประกาศห้ามนำเข้าและจำหน่ายสินค้าฯ ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน2551 เป็นต้นไป เนื่องจากมีสารพิษ melamine เจือปนอยู่ในระดับที่สามารถทำลายการทำงานของไตได้ถ้าบริโภคเป็นจำนวนมากหากผู้ใดฝ่าฝืน จะถูกลงโทษให้ปิดการดำเนินกิจการทางการค้าระยะหนึ่ง

ข้อสังเกต

1. เดิมชาวสิงคโปร์นิยมสินค้าอาหารและอื่นๆ เกือบทุกชนิดที่นำเข้าจากจีนมากกว่าจากประเทศอื่นๆ แต่เมื่อมีเหตุการณ์สารพิษ melamine เจือปนในสินค้านมเนยและผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในสินค้านมเนยและผลิตภัณฑ์จากจีน และส่งผลต่อไปยังสินค้าอื่นๆ แม้ว่า ไม่มีส่วนผสมของสาร melamine ก็ตาม เช่น ผัก ผลไม้ เครื่องดื่ม ขนมปังกรอบ เกลือ และไข่เยี่ยวม้า ซึ่งผู้บริโภคจะเลือกซื้อจากแหล่งนำเข้าอื่นๆ แทนจีน ได้แก่ มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

2. AVA จะเฝ้าระวังสุ่มตรวจสอบสินค้าอาหารนำเข้าเป็นประจำและอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ตรวจสอบสารประเภท microbial toxins, chemical residue และ veterinary drugs ที่ผ่านมาสินค้าจากไทยที่มีปัญหาซึ่ง AVA ตรวจสอบพบสารตกค้างเกินระดับที่กำหนดในสินค้า คือ พริก และผักชี เป็นประจำทุกเดือนที่สินค้าฯ ถูกทำลาย และผู้นำเข้าสิงคโปร์ถูกปรับ ส่งผลให้ผู้นำเข้าขยาดในการนำเข้าจากไทย ทำให้เสียส่วนแบ่งตลาดสินค้านี้แก่มาเลเซียและอินโดนีเซีย

3. ในช่วงนี้ นับเป็นโอกาสของผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทย ไม่เฉพาะสินค้านมเนยและผลิตภัณฑ์เท่านั้น ที่จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าสู่ตลาดสิงคโปร์ ยังสามารถส่งสินค้าอื่นๆ เช่น ผัก ผลไม้ ขนมปังกรอบและเกลือ เพียงถือปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขอนามัยสินค้าไม่ให้มีสารพิษใดๆ เจือปน

ปัจจุบันสิงคโปร์มีจำนวนรถยนต์เพิ่มขึ้นมาก โดยระหว่างปี 2548 ถึงเดือนกันยายน 2551 จำนวนรวมของรถยนต์ทุกประเภทมีการขยายตัว 3.8-6.5% เพิ่มขึ้นจากระหว่างปี 2541-2547 ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียง -0.3-2.3% ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจากการที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงสิงคโปร์ต้องประสบปัญหาวิกฤตการณ์การเงิน จะส่งผลให้เศรษฐกิจสิงคโปร์ชะลอตัวลง และอาจถึงขั้นถดถอยในระยะอันใกล้นี้ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคพึงระวังอย่างมากในการใช้จ่ายสิ่งที่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นผู้บริโภคจะไม่สามารถเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ได้ทุกๆ 2-3 ปี ทำให้ตลาดสิงคโปร์จะมีความต้องการอุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับรถให้มีประสิทธิภาพดี

นอกจากนี้สิงคโปร์ไม่ได้เป็นประเทศผู้ผลิตอุปกรณ์ส่วนประกอบรถยนต์ จึงต้องนำเข้าเพื่อการพาณิชย์จากประเทศผู้ผลิตทั่วโลก รวมทั้งไทย โดยช่วง 9 เดือนแรก ปี 2551 มีการนำเข้ามูลค่า 1,845.9 ล้านเหรียญสิงคโปร์ โดยเป็นการนำเข้าจากไทยมูลค่า 115.2 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 22.2% จึงทำให้ผู้ผลิตไทยมีโอกาสขยายมูลค่าการส่งออกสินค้าอุปกรณ์ส่วนประกอบรถยนต์สู่ตลาดสิงคโปร์เพิ่มขึ้น โดยรถยนต์ที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทย ได้แก่ โตโยต้า ฮอนด้า โอเปิล เชฟโรเลต และอีซูซุ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตไทยต้องระวังการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทสิงคโปร์ที่ไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตในจีนและนำเข้าสิงคโปร์ รวมถึงการที่บริษัทสิงคโปร์ประสบความสำเร็จในการจับคู่ธุรกิจการค้ากับบริษัทอเมริกาและยุโรปที่ผลิตรถยนต์ในประเทศจีนแล้ว โดยบริษัทสิงคโปร์สามารถที่จะร่วมลงทุนกับบริษัทต่างชาติ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในจีน เนื่องจากมีชื่อเสียงด้านการจัดหาสินค้าที่วางใจได้ในคุณภาพ และยังมีโรงงานผลิตในจีนด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ผลิตไทยแข่งขันได้ยากขึ้น

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ