ตามที่สหรัฐออกกฎหมาย Tom Lantos Block Burmese JADE Act 2008 ซึ่งห้ามนำเข้าสินค้าทับทิม หยก และ เครื่องประดับทับทิม/หยก รวมไปถึงสินค้าทับทิมและหยกที่นำไปเจียระไนในประเทศที่สาม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในพม่าโดยเด็ดขาด เข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ซึ่งมีผลบังคับนับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2551
บัดนี้ US Customs & Border Protection (CBP : www.cbp.gov) ได้ปรับปรุงกกฎหมายห้ามนำเข้าทับทิบและหยกจากพม่า(Tom Lantos Block Burmese Jade Act of 2008) เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ และมีบางตอนของกฎหมายจะส่วนที่เกี่ยวข้องต่อการปฎิบัติของผู้ส่งออกไทย สรุปได้ ดังนี้
1. ผู้ส่งออกในต่างประเทศรวมทั้งผู้ส่งออกไทยมีพันธะด้านการรับรอง (Certify) ว่าสินค้าทับทิม และหยกที่ส่งออก ไม่ปะปนหรือผสมกับกับทับทิบและหยกพม่า โดยจะต้องออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้นำเข้าระบุว่า ไม่เป็นทับทิบและหยกที่ได้มาจากแหล่ง กำเนิดในประเทศพม่า
2. ผู้ส่งออกในต่างประเทศรวมทั้งผู้ส่งออกไทยจะต้องจัดเก็บข้อมูลสินค้าเพื่อการตรวจสอบ “Verifiable Evidence” และต้องให้การรับรองข้อมูล (Warranty) ซึ่งทางสหรัฐฯ สามารถขอตรวจสอบได้
2.4 ผู้ส่งออกไทยจะต้องระบุชื่อพนักงาน/ลูกจ้างที่รับผิดชอบ (Responsive Employee) ซึ่งรู้เรื่องการติดต่อ/การซื้อขายลงในเอกสารกำกับ (Invoice) สินค้าเครื่องประดับ
2.5 การส่งออกหยก ทับทิบ และเครื่องประดับหยก/ทับทิบ ไปยังสหรัฐฯจะต้องระบุรหัสศุลการหมายใหม่ (HTS) ซึ่งศุลกากรสหรัฐกำหนดขึ้นโดยเฉพาะ ปรากฏในตอนท้ายของรายงาน
2.6 สินค้าเครื่องประดับและอัญมณีของไทยได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้อย่างรุนแรง ดังจะเห็นได้จาก การนำเข้าของสหรัฐฯจากไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่กฏหมายมีผลบังคับใช้แล้ว (ตุลาคม-ธันวาคม 2551) ลดลงไปถึงร้อยละ -35.19 หรือจากมูลค่า 383.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เป็นจำนวน 248.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2551 ในขณะที่การนำเข้าเครื่องประดับและอัญมณีของสหรัฐฯจากไทยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 28.60
3. เอกสาร Verifiable Evidence เป็นเอกสารจัดทำขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลเส้นทางการเดินทาง (Tracking) ของทับทิบและหยกจากแหล่งกำเนิดในประเทศที่สาม (Non-Burmese Mine) ที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ แยกเป็น 3 กรณี คือ
3.1 กรณีสินค้าออกพลอยร่วง (Loose Stones): เอกสารต้องระบุเส้นทางของพลอยร่วงตั้งแต่เหมืองพลอยไปจนถึงการส่งออกมายังประเทศไทย
3.2 กรณีสินค้าพลอยที่เจียระไนแล้ว (Polished Loose Gem): เอกสารต้องระบุเส้นทางของพลอยตั้งแต่เหมืองพลอย การเจียระไนขั้นสุดท้าย และการส่งออกมายังประเทศไทย
3.3 กรณีสินค้าเครื่องประดับ (Finished Jewelry): เอกสารต้องระบุเส้นทางของพลอยร่วง ตั้งแต่เหมืองพลอย การนำเข้ามายังประเทศไทย การเจียระไนขั้นสุดท้าย จนถึงการนำไปประกอบเป็นเครื่องประดับส่งออกไปยังสหรัฐฯ
การนำเข้าเครื่องประดับและอัญมณีของสหรัฐฯจากประเทศไทย
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ปี 2550 ปี 2551 เพิ่ม/ลด (%) มค. — กย. 643.37 827.40 28.60 ตุลาคม 157.76 114.51 -27.41 พฤศจิกายน 125.02 79.21 -36.64 ธันวาคม 100.65 54.48 -45.87 ตค. — ธค. 383.43 248.50 -35.19 รวมการนำเข้าทั้งปี 1,026.80 1,075.90 4.78 ความเห็นและข้อพิจารณา
1. กฎหมายฉบับปรับปรุงมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้นำเข้าและส่งออกในต่างประเทศมีความเข้าใจการปฏิบัติมากยิ่งขึ้น แต่ส่งผลให้เกิดความเข้มงวดมากขึ้นในด้านการปฏิบัติการหลีกเลี่ยง หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องจะส่งผลต่อ การส่งออกเครื่องประดับและอัญมณีไทยไปยังสหรัฐฯ
2. การเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยกเลิกหรือผ่อนคลายความเข้มงวดกฎหมายการบอยคอตพม่าฉบับนี้ คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากรัฐบาลประธานาธิบดี Barack Obama ยังคงต้องมุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศ อย่างไรก็ตาม นโยบายด้านต่างประเทศของประธานาธิบดี Barack Obama เน้นในด้านการเปลี่ยนศัตรูให้เป็นพันธมิตร (Foes to Friends) ดังนั้น เรื่องการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่าอาจะเป็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาได้ในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศไทยจะต้องติดตาม และร่วมมือกับประเทศคู่ค้ารายอื่นผลักดันให้สหรัฐฯ หันมาให้ความสนใจโดยเร็วที่สุด
3. ผู้ส่งไทยที่มีคำถามหรือข้อสงสัย สามารถสอบถาม ได้ที่ jade.act@cbp.dhs.gov
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th