ในระยะที่ผ่านมาตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นเทรนด์สินค้าที่มาแรง และมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลในปี 2550 ของ Organic Monitor และ IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements) มูลค่าการซื้อขายสินค้าเกษตรอินทรย์ในตลาดโลกมีมูลค่าประมาณ 40 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในประเทศเยอรมนีตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากผลการศึกษาเมื่อเดือนตุลาคม 2551 ร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวเยอรมันจะซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นบางครั้งหรือเป็นประจำ ด้วยจำนวนประชากร 82.5 ล้านคน ประเทศเยอรมนีจึงถือเป็นตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญ ตลาดหนึ่งของโลก
จากผลการศึกษาของกระทรวงโภชนาการเกษตรและคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศเยอรมนีเมื่อเดือนตุลาคม 2551 พบว่าตลาดสินค้าเกษตรอินทรย์ในประเทศเยอรมนีสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดสินค้าบริโภคได้อย่างคงที่ โดยอัตราส่วนผู้บริโภคชาวเยอรมันที่บริโภคและใช้ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรย์มีอัตราส่วนไม่ต่างจากปี 2550 มากนัก ร้อยละ 53 ของผู้ตอบแบบสอบถามจะซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นบางครั้ง ร้อยละ 17 ซื้อเป็น ประจำและร้อยละ 29 หรือประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่เคยซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ทางด้านยอดจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ในปี 2550 ยอดจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเยอรมนีมีมูลค่าประมาณ 5.3 พันล้านเหรียญยูโร เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ประมาณ 700 ล้านยูโรหรือร้อยละ 15 ทั้งนี้ร้อยละ 79 ของยอดขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นยอดขายจากร้านค้า/ซุปเปอร์มาร์เก็ตแบบ conventional retail food trade
ทางด้านช่องทางการตลาดและการกระจายสินค้าเกษตรอินทรย์ในประเทศเยอรมนีนั้นถึงแม้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่จะให้ความไว้วางใจในคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรอินทรย์ที่วางขายในซุปเปอร์มาเก็ตสินค้าเกษตรอินทรย์และร้านขายสินค้าเพื่อสุขภาพ (ร้อยละ 46—49) มากกว่าสินค้าในซุปเปอร์มาเก็ตconventional และซุปเปอร์มาเก็ตสินค้าราคาประหยัด (discount store) (ร้อยละ 8-10) แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงซื้อสินค้าเกษตรอินทรย์จากซุปเปอร์มาเก็ตแบบ conventional และซุปเปอร์มาเก็ตสินค้าราคาประหยัดมากกว่าจากร้านค้าแบบอื่น โดยจากแบบสอบถามพบว่า ผู้บริโภคซื้อสินค้าเกษตรอินทรย์จากซุปเปอร์มาเก็ต conventional มากที่สุด (ร้อยละ 77) รองลงมาคือซื้อจากซุปเปอร์มาเก็ตสินค้าราคาประหยัด (ร้อยละ 62) จากร้านสินค้าเพื่อสุขภาพ (ร้อยละ 28) และจากซุปเปอร์มาเก็ตสินค้าเกษตรอินทรย์ (ร้อยละ 19) เมื่อพิจารณาอัตราส่วนยอดขายในซุปเปอร์มาเก็ตแบบ conventional และแบบ discounter พบว่ามีอัตราส่วนเพื่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8
ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ในซุปเปอร์มาเก็ตแบบ conventional และแบบ discounter สินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นนี้ อาจเนื่องมาจากร้านค้าประเภทนี้สามารถเสนอสินค้าที่ได้รับตรารับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ในราคาที่ถูกกว่าแหล่งอื่น ประกอบกับผลจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้ความสำคัญกับราคาสินค้ามากขึ้น นอกจากนั้นประเภทสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้น ความหลากหลายของสินค้าที่มีทั้งสินค้า conventional และสินค้าเกษตรอินทรีย์ จำนวนร้านค้า ที่มีมากกว่าและมีที่ตั้งอยู่ในทำเลที่เข้าถึงผู้บริโภค ทำให้ซุปเปอร์มาเก็ตแบบ conventional และแบบ discounter นี้สามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์จากร้านค้าอาหารเพื่อสุขภาพและซุปเปอร์มาณ์เก็ตสินค้าเกษตรอินทรีย์มาได้
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
ที่มา: http://www.depthai.go.th