มณฑลกวางตุ้ง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีพื้นที่ 180,000 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอำดับที่ 15 ของประเทศจีนมีชายฝั่งทะเลยาว 3,368 กิโลเมตร มีประชากร 110 ล้านคน แบ่งเขตการปกครองเป็น 44 เมือง 41 อำเภอ และ 3 อำเภอปกครองตนเอง เมืองสำคัญๆ ในมณฑลกวางตุ้งมี เมืองกวางโจว เมืองเซินเจิ้น เมืองจูไห่ เมืองตงก่วน เมืองจงซาน เมืองซัวเถา เป็นต้น
มณฑลกวางตุ้งตั้งอยู่ในเขต มรสุมเขตร้อนชั้น อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 22 องศาเซลเซียส
ปี มูลค่า GDP อัตราขยายตัว(%) 2006 2,596,855 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 14.1% 2007 3,067,371 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 14.5% 2008 3,569,600 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 10.1% 4. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
ดัชนีราคาผู้บริโภคของมณฑลกวางตุ้งในปี 2008 คือ 105.6 เมื่อเทียบกับปี 2007 เพิ่มขึ้น 5.6%
ปี ประชาชนในเมือง อัตราขยายตัว(%) ประชาชนในชนบท อัตราขยายตัว(%) 2006 16,015 หยวน 8.40% 5,080 หยวน 8.30% 2007 17,699 หยวน 10.50% 5,624 หยวน 10.7% 2008 19,733 หยวน 11.50% 6,399 หยวน 13.8% 6. มูลค่าการค้าปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภค ปี มูลค่า อัตราขยายตัว(%) 2006 911,808 ล้านหยวน 15.70% 2007 1,059,814 ล้านหยวน 16.20% 2008 1,277,221 ล้านหยวน 13.50% 7. ตารางการผลิตสินค้าเกษตรกรรมที่สำคัญของมณฑลกวางตุ้ง รายการ 2007 (ล้านตัน) อัตราขยายตัว(%) 2008(ล้านตัน) อัตราขยายตัว(%) Grain 12.85 3.40% 12.43 -.032 Sugarcane 10.56 .106 - - Oil-bearing Crops 0.79 1.70% - - Vegetable 26.55 0.40% - - Fruits 9.51 6.40% - - Tea 0.049 3.20% - - Pork 2.51 3.50% - - Poultry 1.64 4.50% - - Aquatic Products 7.49 3.40% - - 8. อุตสาหกรรมของมณฑลกวางตุ้ง แบ่งเป็นทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
1. อุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่
1.1 อีเล็คโทรนิคส์และสื่อสาร
1.2 เครื่องจักรและอุปกรณ์ทางด้านอิเล็คทริค
1.3 น้ำมันปิโตรเลียมและเคมี
2. อุตสาหกรรมเก่า ได้แก่
2.1 สิ่งทอและเสื้อผ้า
2.2 อาหารและเครื่องดื่ม
2.3 วัสดุก่อสร้าง
3. อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ได้แก่
3.1 ผลิตกระดาษ
3.2 ผลิตยา
3.3 รถยนต์และมอเตอร์ไซค์
ปี 2008 การลงทุนทางด้านทรัพย์สินถาวรของมณฑลกวางตุ้งรวมทั้งหมด 1,118,138 ล้านหยวนเทียบกับปี 2007 เพิ่มขึ้น 16.5% ในจำนวนนี้ แยกเป็น
9.1 การลงทุนด้านการเกษตรรวมทั้งหมด 11,182 ล้านหยวน เทียบกับปี 2007
เพิ่มขึ้น 49.4%
9.2 การลงทุนด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งหมด 393,584 ล้านหยวน เทียบกับปี 2007
เพิ่มขึ้น 12.1%
9.3 การลงทุนด้านธุรกิจบริการ รวมทั้งหมด 713,372 ล้านหยวน เทียบกับปี 2007
เพิ่มขึ้น 18.7%
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
รายการ 2006 2007 2008 อัตราขยายตัว(%) มูลค่าการค้า 527,224 634,050 683,260 7.80% การส่งออก 301,954 369,246 404,100 9.40% การนำเข้า 225,270 264,803 279,160 5.40% กวางตุ้งได้ 76,684 104,443 124,940 19.6% ดุลการค้า 11. มูลค่าการนำเข้าส่งออกระหว่างมณฑลกวางตุ้ง-ประเทศไทย (ล้านเหรียญสหรัฐ) รายการ 2006 2007 2008 อัตราขยายตัว(%) มูลค่าการค้า 8,923 11,163.77 13,179.68 18.05% การส่งออก 2,362 2,972.06 3,710.01 24.82% การนำเข้า 6,561 8,191.71 9,469.67 15.60% ไทยได้ดุลการค้า 4,199 5,219.65 5,759.66 10.30% 13. ประเมินสถานการณ์การค้าและแนวโน้มเศรษฐกิจ ปี 2552
มณฑลกวางตุ้งเป็นคู่ค้าและเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย เช่น ข้าว ผลไม้สดและแห้ง อาหารแปรรูปต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะถูกนำเข้ามายังมณฑลกวางตุ้ง หลังจากนั้นจึงส่งกระจายไปยังตลาดในเมืองหรือมณฑลอื่น ๆ ของจีน
จากตัวเลขสถิติมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก ระหว่างมณฑลกวางตุ้ง-ประเทศไทย ของสำนักงานศุลกากร มณฑลกวางตุ้ง จะเห็นว่าในช่วง 3 ปี คือ ตั้งแต่ปี 2549-2551 มูลค่าการค้าระหว่างไทยและมณฑลกวางตุ้ง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ คือ 8,923 ล้านเหรียญสหรัฐ 11,163.7 ล้านเหรียญสหรัฐและ 13,179.68 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ18.05 ทั้งนี้ มณฑลกวางตุ้งมีการส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน คือ ปี 2549 มีมูลค่า 2,362 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2550 มีมูลค่า 2,972.06 ล้านเหรียญสหรัฐ และ ปี 2551 มีมูลค่า 3,710.01 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 24.82 ส่วนการนำเข้าก็เพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน กล่าวคือ ปี 2549 มีมูลค่า 6,561 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2550 มีมูลค่ารวม 8,191.71 ล้าน เหรียญสหรัฐ และปี 2551 มีมูลค่า 9,469.67 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 15.6 จะเห็นว่าประเทศไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า อย่างไรก็ตาม จากภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบไปยังตลาดต่างๆทั่วโลก ตลอดจนผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ บวกกับค่าเงินหยวนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของจีนด้วย รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งจึงมีนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตและส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้า สิ่งทอ และของเล่น เป็นต้น โดยการเพิ่มอัตรา TAX REBATE ให้แก่ ผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าวเพื่อช่วยลดต้นทุนหรือการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ในด้านเงินทุนหมุนเวียนนอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังมีมาตรการการกระตุ้น การบริโภคภายในประเทศ โดยการจ่ายเงินให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยรายละ 100-150 หยวน โดยเฉพาะ ประชาชนในชนบท เพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ประชาชน
นอกจากนี้ จากภาวะแนวโน้มทางเศรษฐกิจและสภาวะการณ์การค้าการลงทุนทั่วไปในจีนและปัญหาภัยแล้งที่จีนต้องประสบ ทำให้สินค้าเกษตรของจีนได้รับผลกระทบและเป็นที่คาดว่า ผลผลิตทางการเกษตรทั้งประเทศของจีน ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ข้าวสาลี ผลไม้ เป็นต้น จะประสบกับ ภาวะขาดแคลนและไม่เพียงพอ ต่อการบริโภคในประเทศ ซึ่งจะต้องมีการนำเข้า เพื่อชดเชยปริมาณความต้องการบริโภคในประเทศ สำหรับ ในภาคการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่จีนจะต้องใช้วัตถุดิบบางส่วนจากต่างประเทศ เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศไทยในการผลักดันและขยายตลาดสินค้าเกษตรสินค้าอาหารแปรรูปชนิดต่างๆ เข้าสู่ตลาดจีน สำหรับธุรกิจที่มีแนวโน้มสดใสในตลาดจีน ได้แก่ ธุรกิจด้านท่องเที่ยวและสุขภาพเช่น ธุรกิจร้านอาหาร สปา นวดแผนไทย และบริษัทนำเที่ยว เป็นต้น
ตามที่รัฐบาลจีนได้ประกาศเป้าหมายว่า ปี 2009 เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 8 ซึ่งแม้ว่าจะเป็นอัตราที่ต่ำกว่าการขยายตัวในปี 2008 แต่สูงกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลก ทั้งนี้ มณฑลกวางตุ้งได้ตั้งเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2009 ร้อยละ 8.5 เนื่องจากมณฑลกวางตุ้งเป็นมณฑลที่เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจระหว่างประเทศ เป็นเมืองท่าในการนำเข้าที่สำคัญทางตอนใต้ของจีน ผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจ ที่ซบเซา ทำให้มณฑลกวางตุ้งได้รับผลกระทบเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม จากพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและนโยบายตลอดจนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง จะทำให้ผลกระทบที่ได้รับน้อยลง การนำเข้าสินค้าเพื่อจำหน่ายในประเทศ หรือเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ยังคงได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือจากรัฐบาล นอกจากนี้ ทางรัฐบาลจีนก็ไม่มีนโยบายที่จะกีดกันสินค้าต่างประเทศหรือสนับสนุน/ส่งเสริมให้ผู้บริโภคชาวจีนใช้สินค้าเฉพาะที่ผลิตในประเทศจีน (Made in China) เท่านั้น ดังนั้น สินค้าจากประเทศไทยที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศจีน จะต้องมีการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพสินค้า การบรรจุหีบห่อ การรักษาคุณภาพสินค้า สำหรับสินค้าเกษตร ตลอดจนราคาสินค้าที่สามารถแข่งขันได้ในตลาด การนำกลยุทธ์ ทางการตลาด การประชาสัมพันธ์ มาใช้เพื่อให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันกับสินค้าชนิดเดียวกันของจีนและจากประเทศอื่นๆได้
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว
ที่มา: http://www.depthai.go.th