สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - รัสเซีย ปี 2551 (ม.ค.—ธ.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 26, 2009 11:26 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง              :   Moscow
พื้นที่                   :   17,075,200 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ            :   รัสเซีย
ประชากร               :   142.3 ล้านคน (2006) F
อัตราแลกเปลี่ยน          :   1US$  = 1.014 RUB (14/02/2009) F

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2008 ปี 2009

Real GDP growth (%)                               6.0         1.0
Consumer price inflation (av; %)                 14.1        12.6
Budget balance (% of GDP)                         5.5        -3.1
Current-account balance (% of GDP)                6.0        -4.0
Commercial banks' prime rate (year-end; %)       13.0        12.0
Exchange rate ฅ:US$ (av)                         24.9        34.5

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับรัสเซีย
                                   มูลค่า :           สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                    959.11           100.00         55.64
สินค้าเกษตรกรรม                      132.51            13.82          55.2
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              142.04            14.81         14.85
สินค้าอุตสาหกรรม                      683.68            71.28         68.43
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                     0.88             0.09         76.04
สินค้าอื่นๆ                                 0                0       -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับรัสเซีย
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               2,859.51          100.00       85.94
สินค้าเชื้อเพลิง                             1,180.73           41.29       81.52
สินค้าทุน                                      2.00            0.07      128.81
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   1,669.96           58.40       89.12
สินค้าบริโภค                                  6.05             0.21       93.19
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                   0.22             0.01    123,162.50
สินค้าอื่นๆ                                    0.55             0.02       40.21

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - รัสเซีย
                           2550           2551          D/%

(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             2,154.10     3,818.62         77.27
การส่งออก                   616.23       959.11         55.64
การนำเข้า                 1,537.87     2,859.51         85.94
ดุลการค้า                   -921.64    -1,900.40        106.20

2.          การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดรัสเซียเป็นอันดับที่ 17 มูลค่า 2,859.51 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  85.94
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                              มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                              2,859.51           100         85.94
1. เหล็ก เหล็กกล้า                              1,039.84          36.36        108.29
2. น้ำมันดิบ                                     852.02           29.8         36.19
3. เชื้อเพลิงอื่นๆ                                 311.85           10.91       1,154.31
4. ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืช และสัตว์                  225.05           7.87         138.58
5. สินแร่โลหะอื่นๆ                                219.38           7.67         19.81
อื่น ๆ                                           0.76            0.03         -55.47

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดรัสเซียเป็นอันดับที่ 41 มูลค่า 959.11 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.64 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออก                        959.11           100.00         55.64
1. รถยนต์ อุปกรณ์                      308.76            32.19         96.23
2. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์                 105.94            11.05        309.07
3. ข้าว                               78.07             8.14        125.28
4. เตาอบไมโครเวฟ                     43.70             4.56         24.47
5. ผลไม้กระป๋อง และแปรรูป               42.55             4.44         -5.86
             อื่น ๆ                    77.76             8.11         -7.38

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปรัสเซีย    ปี 2551 (มค.-ธค.) ได้แก่

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : รัสเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 13 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 106.42 9.14 259.10 และ 96.23 ตามลำดับ

เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ : รัสเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2548 และ 2549 มีอัตราการขยายตัวลดลง (-30.05% -59.25%) ในขณะที่ปี 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.37 และ 309.07 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ข้าว : รัสเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 23 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2548 และ 2549 มีอัตราการขยายตัวลดลง (-39.67% -15.82%) ในขณะที่ปี 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 149.09 และ 125.28 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า : รัสเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 433.86 8,739.9 21.26 และ 24.47 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

          ผลไม้กระป๋องและแปรรูป : รัสเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่  5  ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2551 เป็นปีแรกที่มีอัตราขยายตัวลดลง (-5.86%)ในขณะที่ปี 2548-2550 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ  72.30   20.58     และ 15.39    ตามลำดับ

4.2  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดรัสเซียปี 2551 (ม.ค.- ธ.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูง
โดยสูงกว่าร้อยละ 50 มีรวม 10 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                       มูลค่า         อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                                   ล้านเหรียญสหรัฐ            %
1.  รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ           308.76            96.23
2.  เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์                  105.94           309.07
3.  ข้าว                                 78.07           125.28
6.  อัญมณี และเครื่องประดับ                  41.72            89.15
7.  น้ำตาลทราย                           36.00           200.33
10. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                        22.03            58.53
12. เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์              17.01            62.17
18. เคมีภัณฑ์                               8.40            80.92
19. ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง                          7.77           178.40
21. ปลาแห้ง                               5.30           123.41

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดรัสเซียปี 2551 (ม.ค.- ธ.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม  7 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                          มูลค่า         อัตราการขยายตัว
                                       ล้านเหรียญสหรัฐ           %
5. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                     42.55            -5.86
8. เม็ดพลาสติก                              31.25           -11.51
9. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                29.30            -5.07
13.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                           14.39            -1.13
15.กุ้งสดแช่เย็น  แช่แข็ง                       12.59            -5.65
20.อาหารสัตว์เลี้ยง                            5.34           -40.76
25.เครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์และส่วน             4.59           -11.15

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ร่วมกับบริษัท เอ็มเอฟ โฮลดิ้งส์ จำกัด จัดตั้งบริษัท ไทย เอ็กซิม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และเปิดสาขาแรกที่กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เพื่อให้บริการค้ำประกันเงินมัดจำค่าสินค้า บริการประสานงาน หรือเป็นตัวกลางการค้าและบริการจับคู่ทางธุรกิจให้แก่ผู้ส่งออกไทยและรัสเซีย เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างกัน รวมถึงช่วยติดตามการชำระเงินค่าสินค้า และดูแลจัดการสินค้าตกค้างเมื่อเกิดปัญหา ตลอดจนสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจให้แก่ภาคเอกชนของทั้ง 2 ประเทศ รวมถึงเปิดตลาดใหม่และอนาคตจะขยายเครือข่ายไปตั้งสำนักงานที่ประเทศอื่นๆ ต่อไป อาทิ เวียดนาม อินเดีย ลาว สำหรับการจัดตั้งบริษัท ไทย เอ็กซิมฯ ครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนการทำธุรกิจได้อย่างสบายใจมากยิ่งขึ้น เพราะบริษัท เอ็กซิมฯ จะเข้าไปเป็นตัวกลางในการประสานการสื่อสารระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบการเงิน หรือภาษา และอื่นๆ คาดว่าจะทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น และทำให้เกิดมูลค่าการค้าขายระหว่างกันสูงขึ้นแน่นอน ซึ่งจะช่วยประคองการส่งออกของไทยให้เติบโตได้ทางหนึ่งซึ่งคาดว่าเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ จะเริ่มดำเนินการได้

กระทรวงพาณิชย์หารือร่วมกับกระทรวงการคลัง ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 17 ก.พ.นี้ ตามด้วยการเพิ่มมูลค่าจากการใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีตามกรอบเปิดเสรีทวิภาคีและพหุภาคี มาตรการเชิงรุก การประชาสัมพันธ์ และมาตรการเสริม เพื่อลดปัญหาถูกระงับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศชั่วคราว นอกจากนี้ การหารือร่วมกับเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ประจำประเทศไทยนั้น รัสเซียได้ขอให้ไทยสนับสนุนรัสเซียเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ซึ่งชี้แจงว่าไทยพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่ไทยก็ขอให้รัสเซียเปิดตลาดสินค้าไทยให้มากขึ้นเช่นกัน โดยขณะนี้รัสเซียยังนำเข้าสินค้าจากไทยในสัดส่วนที่น้อยมาก แต่ละปีมีมูลค่านำเข้าประมาณ 959 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ขณะที่ไทยนำเข้าจากรัสเซียสูงถึง 2,859 ล้านเหรียญสหรัฐ และไทยขาดดุลการค้าเพราะนำเข้าสินค้าหนัก ทั้งเหล็ก โลหะ และน้ำมัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ารัสเซียยังเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพนำเข้าสินค้าจากไทย เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจน้อยมาก โดยสินค้าไทยที่มีศักยภาพเจาะตลาดรัสเซียมีทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร เป็นต้น

จากการส่งออกของไทยไปยัง 4 ตลาดหลักประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียนเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างชัดเจนเห็นได้จากตัวเลขเดือนธันวาคม2551ที่ขยายตัวติดลบทุกตลาด เป็นเหตุผลให้ภาครัฐและเอกชนของไทยต้องเร่งหาตลาดใหม่ชดเชย หนึ่งในนั้นคือตลาดรัสเซียที่สินค้าไทยยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก เลขาธิการสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย เปิดเผยว่า ตลาดรัสเซีย ถือเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพของไทย สืบเนื่องจากรัสเซียมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้งน้ำมัน ป่าไม้ เหล็ก และแร่ธาตุต่างๆ และได้เริ่มพัฒนาเชิงพาณิชย์ ทำให้มีรายได้เข้าประเทศมหาศาล ส่งผลเศรษฐกิจรัสเซียขยายตัวต่อเนื่องโดยในปี 2551 มีอัตราการขยายตัวถึง 7% ปัจจุบันรัสเซียเป็นประเทศที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 3 รองจากจีนและญี่ปุ่น ประชาชนมีกำลังซื้อสูง ขณะที่วิกฤติทางการเงินของโลกไม่ได้ส่งผลกระทบต่อรัสเซียมากนัก ที่ผ่านมาภาครัฐและเอกชนของไทยได้มองข้ามตลาดเหล่านี้มาโดยตลอด โดยหลังจากอดีตสหภาพโซเวียตล่มสลายและแยกออกเป็นประชาคมรัฐเอกราช (ซีไอเอส) รวมทั้งสิ้น 12 ประเทศในระหว่าง

ช่วงปี 2534-2538 แต่ไทยก็ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะทำการค้าระหว่างกันอย่างจริงจัง อย่างไรก็ดีจากตลาดหลักของไทยที่มีปัญหาถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐและเอกชนของไทยจะต้องรุกเข้าไปขยายตลาดการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว รวมถึงมีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่างๆ กับรัสเซียอย่างจริงจัง ทั้งนี้ในส่วนของภาคเอกชนได้มีการจัดตั้งสภาธุรกิจไทย - รัสเซียขึ้นมาเมื่อปี 2551 และได้จัดคณะเดินทางเยือนรัสเซียเพื่อดูลู่ทางการค้าการลงทุน กับรัสเซียมาแล้วสองครั้งอุปสรรคทางการค้าของไทยกับรัสเซีย ที่ผ่านมานอกจากความสนใจของภาคธุรกิจไทยในตลาดนี้มีน้อยแล้ว ยังมีปัญหาด้านภาษา ระบบการเงิน ความไม่เข้าใจวัฒนธรรมความเป็นอยู่ การขาดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน ภาครัฐมีงบส่งเสริมการทำตลาดค่อนข้างน้อย แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วชาวรัสเซียรู้จักและให้ความนิยมสินค้าไทยมานานแล้ว ขณะที่ชาวรัสเซียรู้จักเมืองไทยดีจากสื่อตะวันตก ทำให้ในปัจจุบันชาวรัสเซียนิยมมาท่องเที่ยวประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ของการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยในปี 2550 ชาวรัสเซียเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยประมาณ 9.7 หมื่นคน และในปี 2551 ล่าสุดเข้ามาถึง 2 แสนคนหรือเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ซึ่งรัสเซียเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง อีกทั้งปัจจุบันชาวรัสเซียยังได้เข้ามาซื้อบ้านพักตากอากาศในแถบหัวหิน และมาร่วมลงทุนด้านโรงแรมแถวเกาะสมุยด้วย ซึ่งหากไทยสามารถดึงรัสเซียมาลงทุนในไทยได้เพิ่มขึ้นในธุรกิจอื่นๆ ก็จะเป็นช่องทางในการส่งออกสินค้ากลับไปขายยังรัสเซียได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอุปโภค-บริโภคในกลุ่มปัจจัยสี่มีแนวโน้มที่สดใส อาทิ อาหาร เสื้อผ้า เครื่องประดับตกแต่งบ้าน พรม ผ้าม่าน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือแพทย์ เป็นต้น เนื่องจากสินค้าเหล่านี้รัสเซียผลิตได้ ไม่เพียงพอกับความต้องการ จากตลาดรัสเซียที่กำลังบูม ขณะนี้ได้มีบริษัทเอกชนรายใหญ่ของไทยได้เข้าไปลงทุนในรัสเซียแล้วหลายบริษัท อาทิ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) หรือซีพีเอฟเข้าไปลงทุนฟาร์มสุกร และโรงงานอาหารสัตว์ บริษัท อิตาเลียนไทย จำกัด(มหาชน)ได้สัมปทานลงทุนด้านเหมืองแร่ เครือสหวิริยา นำเข้าแร่เหล็ก และเหล็กสำเร็จรูปมารีดร้อน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) นำเข้าวัตถุดิบด้านต่างๆ มาผลิตในไทย รวมถึงส่งวัสดุก่อสร้างไปจำหน่าย เป็นต้น

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ