สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - เวียดนาม ปี 2551 (ม.ค.-ธ.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 2, 2009 12:18 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง          :  โฮจิมินห์ซิตี้
พื้นที่               :  330,363  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ        :  Vietnamese
ประชากร           :  84  ล้านคน (October 2006)
อัตราแลกเปลี่ยน      :  VND :  USD  0.0020 (20/02/09)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2008 ปี 2009

Real GDP growth (%)                                                6.2         3.0
Consumer price inflation (av; %)                                  23.1         5.1
Budget balance (% of GDP)                                         -5.1        -7.3
Current-account balance (% of GDP)                               -11.4        -8.7
Commercial banks' prime rate (year-end; %)                        16.4        12.6
Exchange rate ฅ:US$ (av)                                      16,358.0    17,461.0

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับเวียดนาม
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   5,017.77         100.00         31.90
สินค้าเกษตรกรรม                       234.71           4.68         25.94
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               277.70           5.53         24.08
สินค้าอุตสาหกรรม                     3,502.31          69.80         25.63
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                  1,003.05          19.99         67.95
สินค้าอื่นๆ                              0.00            0.00       -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับเวียดนาม
                                         มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              1,446.22          100.00         30.07
สินค้าเชื้อเพลิง                              253.04           17.50        -12.91
สินค้าทุน                                   569.74           39.40         26.36
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                    405.56           28.04         71.66
สินค้าบริโภค                                166.92           11.54         77.52
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  50.94            3.52         28.60
สินค้าอื่นๆ                                    0.01            0.00        -98.11

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - เวียดนาม
                            2550          2551        D/%

(ม.ค.-ธค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม              4,916.02      6,463.98     31.49
การส่งออก                  3,804.11      5,017.77     31.90
การนำเข้า                  1,111.91      1,446.22     30.07
ดุลการค้า                   2,692.20      3,571.55     32.66

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดเวียดนาม เป็นอันดับที่ 25 มูลค่า 1,446.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.07 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม               1,446.22          100.00         30.07
1. เครื่องคอมพิวเตอร์               353.14           24.42         20.04
2. น้ำมันดิบ                       220.83           15.27        -16.46
3. เหล็ก เหล็กกล้า                 120.31            8.32        836.09
4. เครื่องจักรไฟฟ้า                 105.67            7.31         47.16
5. ด้าย และเส้นด้าย                 65.33            4.52         35.65
          อื่น ๆ                   97.00            6.71          3.58

3.  การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดเวียดนาม เป็นอันดับที่ 9 มูลค่า 5,017.77 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

                               มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม               5,017.77         100.00         31.90
1. น้ำมันสำเร็จรูป                 877.10           17.48        120.31
2. เม็ดพลาสติก                   404.45            8.06         18.16
3. เหล็ก เหล็กกล้า                324.07            6.46          1.14
4. เคมีภัณฑ์                      163.11            3.25         37.53
5. เครื่องยนต์สันดาป               157.28            3.13         22.21
          อื่น ๆ               1,157.95           23.08         12.33

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเวียดนาม ปี 2551 (มค.-ธค.) ได้แก่

น้ำมันสำเร็จรูป : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 29.34 25.32 9.11 และ 120.31 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา

เดียวกันของ ปีก่อนเม็ดพลาสติก : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 42.19 15.11 16.11 และ 18.16 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยพบว่า ปี 2549 และ 2551 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-23.62%) และ (-7.76%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.92 และ 154.64 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เคมีภัณฑ์ : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 7 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2548 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-0.02%) ในขณะที่ปี 2549 2550 2551 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.83 47.07 37.53 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องยนต์สันดาปภายใน : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 73.9 33.94 6.45 และ 22.21 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเวียดนาม ปี 2551 (มค.-ธค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 30 มีรวม 14 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                         มูลค่า          อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                                      ล้านเหรียญสหรัฐ            %
1. น้ำมันสำเร็จรูป                           877.10            120.31
4. เคมีภัณฑ์                                163.11             37.53
7. ผลิตภัณฑ์กระดาษ                          146.23             34.62
8. รถยนต์ อุปกรณ์                           142.63             56.08
9. ผลิตภัณฑ์ยาง                             140.77             44.06
10. รถจักรยานยนต์                          132.75             57.56
13. ยางพารา                              113.96             56.90
15. ผลิตภัณฑ์หนังฟอก                          91.21             36.43
16. เครื่องสำอาง  สบู่                        84.88             39.25
21. เครื่องซักผ้า                             68.36             47.98
22. เครื่องคอมพิวเตอร์                        61.88             67.79
23. ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์                51.02             36.71
24. รถจักรยาน                              50.61             66.70
25. ของเบ็ดเตล็ด                            45.52             47.57

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเวียดนาม ปี 2551 (ม.ค.- ธค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม  2 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ              มูลค่า         อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                           ล้านเหรียญสหรัฐ           %
19. เส้นใยประดิษฐ์                73.54           -4.04
20. ไม้ และผลิตภัณฑ์ไม้             69.17          -15.71

4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ( MARD) ได้ออกประกาศฉบับที่ 3762/ QD —BNN-ON มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 กำหนดให้อาหารที่ใช้เลี้ยงทารกสามารถมีส่วนประกอบของสารเมลามีนได้ไม่เกิน 2.5 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม โดยเป็นผลจากการหารือร่วมกันของกระทรวงเกษตรและกระทรวงสาธารณสุข โดยอิงมาตรฐานของประเทศพัฒนาแล้ว เช่นสหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหภาพยุโรป เป็นต้น แม้ว่าเวียดนามจะกำหนดปริมาณจำกัดของสารเมลามีนที่อนุญาตให้ปนเปื้อนในอาหารได้ แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ยังไม่อนุญาตให้มีปริมาณปนเปื้อนในอาหารไม่ว่าจะมีปริมาณเท่าใดก็ตาม รวมทั้งยังวางแผนจะควบคุมสินค้าทุกชนิดซึ่งมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเมลามีนอีกด้วย เช่นเดียวกับอาหารสัตว์ที่แม้จะมีการจำกัดปริมาณสารเมลามีนในอาหารสัตว์ แต่กระทรวงเกษตรฯ ก็ยังห้ามการนำเข้า การผลิต การค้าและการใช้อาหารสัตว์และวัตถุดิบของอาหารสัตว์ทุกชนิดที่มีสารเมลามีนปนเปื้อน ปัจจุบันมีแนวโน้มที่หลายประเทศจะใช้มาตรการกีดกันทางการค้าเพื่อปกป้องตลาดในประเทศ รวมทั้งเวียดนามที่ใช้มาตรการตรวจสอบ / ทดสอบคุณภาพของสินค้าที่จะนำเข้ามาจำหน่ายในตลาดเวียดนามอย่างเข้มงวดมากขึ้นอีกทั้งยังหมั่นส่งเจ้าหน้าที่ออกสุ่มตัวอย่างของสินค้าที่วางขายในตลาดไปทดสอบเสมอ ๆ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรตรวจสอบสินค้าส่งออกให้มั่นใจว่าไม่มีสารปนเปื้อนแม้จะในระดับต่ำกว่ามาตรฐานก็ตาม เพื่อมิให้เกิดประเด็นที่จะนำไปสู่การกีดกันทางการค้าได้

บริษัท สยามคูโบต้าอุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเครื่องจักรกลการเกษตร "คูโบต้า" เปิดเผยว่าปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐที่ลุกลามไปทั่วโลก ทำให้ราคาสินค้าเกษตรหลายชนิด เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ อ่อนตัวลดลงไปบ้างในช่วงปลายปีนี้ แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อการผ่อนชำระเงินค่าสินค้าของเกษตรกร หรือการส่งออกสินค้าคูโบต้า ไปจำหน่ายในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เขมร ลาว พม่า และอินเดีย แต่อย่างใดความจริงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้กลับส่งผลดีทำให้ภาวะราคาน้ำมัน รวมทั้งเหล็กที่เป็นวัตถุดิบสำคัญได้ปรับตัวลดลง ทำให้บริษัทมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงกว่าเดิม จากเดิมที่เคยประมาณการว่าอาจจะต้องปรับราคาจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ขณะนี้ถึงแม้ว่าสินค้าหลายตัวจะปรับราคาลดลงไปบ้าง แต่ภาวะราคาสินค้าเกษตรของไทยโดยรวมในปีนี้ถือว่าส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะราคาที่เกษตรกรเคยขายได้เมื่อ 3-4 ปีก่อน ช่วยทำให้เกษตรกรตัดสินใจที่จะเลือกซื้อสินค้าคูโบต้าได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ในปีนี้คาดว่าบริษัทจะมียอดรายได้รวม 25,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดจำหน่ายสินค้าเครื่องจักรกลขนาดเล็กทั้งในประเทศและส่งออกอยู่ที่ 80,000 เครื่อง รถแทรกเตอร์จำนวน 40,000 คัน ส่วนปีหน้าบริษัทเชื่อใจว่าจะผลักดันยอดขายให้เติบโตเพิ่มขึ้นไว้ที่ 20%

สำหรับแผนการตลาดในปีหน้าบริษัทจะมุ่งขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศเวียดนามเป็นหลัก เนื่องจากตลาดแห่งนี้มีประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก และมีความต้องการใช้สินค้าเครื่องจักรกลขนาดเล็กสูงกว่าปีละ 200,000 เครื่อง ทำให้สินค้ากลุ่มนี้มีอัตราเติบโตสูงเฉลี่ยปีละ 40-50% ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่สูงมาก ที่ผ่านมาบริษัทส่งออกสินค้าเครื่องจักรขนาดเล็กไปยังตลาดเวียดนามไม่ต่ำกว่าปีละ 200 ล้านบาท คาดว่าในปีหน้าจะผลักดันการส่งออกให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 20% ปัจจุบันเวียดนามมีความต้องการใช้รถแทรกเตอร์สำหรับใช้ในภาคการเกษตรเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่พึ่งพาการนำเข้ารถแทรกเตอร์มือสองจากญี่ปุ่นไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 คัน ล่าสุดคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ตัดสินใจร่วมทุนกับบริษัทสยาม คูโบต้าฯ จัดตั้งบริษัท คูโบต้า เวียดนาม จำกัด มูลค่ากว่า 270 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานประกอบรถแทรกเตอร์ในเวียดนาม ทดแทนการนำเข้ารถแทรกเตอร์มือสองจากประเทศญี่ปุ่น โดยโรงงานแห่งนี้จะพึ่งพาการนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องจักรส่วนใหญ่จากญี่ปุ่นและพึ่งพาชิ้นอุปกรณ์ 10-20% จากสยามคูโบต้าฯไปผลิตเป็นรถแทรกเตอร์ขนาด 30-50 แรงม้า จำนวน 5,000 คัน และรถเกี่ยวนวดข้าว 1,000 คันต่อปี คาดว่าโรงงานแห่งใหม่จะก่อสร้างเสร็จในเดือนกันยายน 2552 ในอนาคตโรงงานดังกล่าวจะสร้างยอดขายโดยรวม ไม่ต่ำกว่าปีละ 17,000 ล้านบาท

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ