สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ซาอุดิอาระเบีย ปี 2551 (ม.ค.-ธ.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 11, 2009 17:23 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง          :  Riyadh
พื้นที่               :  2.15 ล้านตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ        :  Arabic
ประชากร           :  24.2 ล้านคน (2007)
อัตราแลกเปลี่ยน      :  SAR 9.545 : US$1 (09/03/52)

เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2008 ปี 2009

Real GDP growth (%)                       4.20        0.40
Consumer price inflation (av; %)          9.50        1.30
Budget balance (% of GDP)                33.60      -11.80
Current-account balance (% of GDP)       26.20      -11.70
Exchange rate ฅ:US$ (av)                  3.75        3.75

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับซาอุดิอาระเบีย
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   1942.66          100.00          40.62
สินค้าเกษตรกรรม                      124.64            6.42         128.94
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              126.01            6.49          32.21
สินค้าอุตสาหกรรม                     1652.76           85.08          34.50
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    39.25            2.02       6,622.34
สินค้าอื่นๆ                               0.0             0.0        -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับซาอุดิอาระเบีย
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               7,263.49         100.00         58.77
สินค้าเชื้อเพลิง                             6,468.77          89.06         62.17
สินค้าทุน                                      0.41           0.01         40.92
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                     792.87          10.92         35.63
สินค้าบริโภค                                   1.41           0.02         94.28
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                    0.03           0.00        611.65
สินค้าอื่นๆ                                     0.00           0.00       -100.00

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ซาอุดิอาระเบีย
                            2550          2551          D/%

(ม.ค.-ธค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม              5,956.23      9,206.16      54.56
การส่งออก                  1,381.46      1,942.66      40.62
การนำเข้า                  4,574.76      7,263.49      58.77
ดุลการค้า                  -3,193.30     -5,320.83      66.62

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดซาอุดิอาระเบีย  เป็นอันดับที่ 12  มูลค่า  7,263.49 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 58.77  สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                     7263.49          100.00         58.77
1.น้ำมันดิบ                            6269.15           86.31         78.74
2.เคมีภัณฑ์                             381.88            5.26         17.77
3.ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชฯ                 366.48            5.05         52.33
4.ก๊าซธรรมชาติ                         117.17            1.61
5.น้ำมันสำเร็จรูป                         82.04            1.13        -78.83
             อื่น ๆ                      0.16            0.00        -99.83

3.  การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดซาอุดิอาระเบีย  เป็นอันดับที่  20 มูลค่า  1,942.66 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.62  สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                  มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้ารวม

1.รถยนต์ อุปกรณ์และฯ                813.19          41.86         24.34
2.เหล็ก เหล็กกล้าและฯ               232.53          11.97        165.28
3.ข้าว                            100.97           5.20        173.41
4.อาหารทะเลกระป๋องและฯ             79.14           4.07         26.34
5.เครื่องปรับอากาศและฯ               75.66           3.89         72.96
อื่น ๆ

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปซาอุดิอาระเบีย   ปี 2551 (มค.- ธค.) ได้แก่

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : ซาอุดิอาระเบีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทย เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 207.83 31.04 5.69 และ 24.34 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เหล็ก เหล็กกล้าและฯ : ซาอุดิอาระเบีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 9 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 22.82 283.37 15.18 และ 165.28 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ข้าว : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2551 (มค.-ธค.) พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 173.41 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปีก่อน

อาหารทะเลกระป๋องและฯ : ซาอุดิอาระเบียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี2551(มค.-ธค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 12.96 32.85 21.26 และ 26.34 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องปรับอากาศและฯ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก ปี 2551 (มค.-ธค.) มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.965 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดซาอุดิอาระเบีย ปี 2551 (มค.-ธค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 11 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                             มูลค่า          อัตราการขยายตัว       หมายเหตุ
                                          ล้านเหรียญสหรัฐ            %
2. เหล็ก เหล็กกล้าผลิตภัณฑ์                        232.53            165.28
3. ข้าว                                       100.97            173.41
5. เครื่องปรับอากาศและส่วนฯ                       75.66             72.96
6. ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ                    73.45             62.55
7. เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ         39.63             51.55
8. ผลิตภัณฑ์ยาง                                  39.51             88.09
12.เคมีภัณฑ์                                     31.11            156.89
16.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้                              22.41             63.35
17.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                               17.73             44.35
23.ปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง                           9.17             51.44
25.น้ำตาลทราย                                   8.17            179.28

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาด ซาอุดิอาระเบีย ปี 2551 (ม.ค.-ธค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 7 รายการ คือ
    อันดับที่ / รายการ                              มูลค่า          อัตราการขยายตัว
                                            ล้านเหรียญสหรัฐ            %
10. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล         38.19            -7.75
11. เม็ดพลาสติก                                   32.28            -1.60
13. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                25.30            -3.53
14. กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ                       23.71            -4.45
15. ทองแดงและของทำด้วยทองแดง                     23.21           -10.53
18. ผ้าผืน                                        16.32            -7.89
21. อัญมณีและเครื่องประดับ                           9.60            -50.60

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

สถานการณ์เศรษฐกิจในตะวันออกกลางมีจุดแข็ง คือ เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราสูง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน คาดว่าเศรษฐกิจในกลุ่มรัฐอ่าวอาหรับ 6 ประเทศ จะมีขนาดใหญ่กว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2008 และราคาน้ำมันก็ยังไม่มีท่าทีจะลดลงมีความพยายามที่จะทำเศรษฐกิจให้หลากหลายไม่พึ่งน้ำมันอย่างเดียว เช่น การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม ธุรกิจการเงินการธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ขณะเดียวกันจะต้องแก้ไขจุดอ่อน ได้แก่ เครื่องมือการเงินในการดูแลการเคลื่อนไหวเงิน เช่น ในปัจจุบันกลุ่มรัฐอ่าวอาหรับยังไม่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเงินต่างประเทศที่ไหลบ่าเข้ามา นโยบายค่าเงินที่เหมาะสม เช่น การเลิกผูกค่าเงินกับเงินเหรียญสหรัฐ การสร้างเงินสกุลใหม่สำหรับกลุ่มประเทศรัฐอ่าวอาหรับ การขจัดคอขวดทางโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ และการจัดการปัญหาอาหาร การแก้ปัญหาความแตกแยกและการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างเป็นขั้นตอน ตะวันออกกลางเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจใหญ่ระดับโลก ที่คาดหมายว่าจะเลวร้ายกว่านี้อีก ในการเอาตัวให้รอดต้องสร้างเครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ความสามารถในการบริการการเงิน ความสามารถในการปฏิบัติเมกะโปรเจกต์ ความสามารถในการแก้ปัญหาการว่างงาน ความสามารถในการสร้างสกุลเงินที่ใหญ่ขึ้น เช่น ในกลุ่มรัฐอ่าวอาหรับ ความสามารถในการสนองอาหาร ความสามารถในการสร้างเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้นในภูมิภาค

กระทรวงพาณิชย์ เร่งผลักดันเอสเอ็มอีไทยเปิดตลาดใหม่ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มสุขภาพ ยังมีโอกาสเปิดอีกกว้าง โดยประเทศในตะวันออกกลาง ได้แก่ คูเวต กาตาร์ บาห์เรน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พร้อมเดินหน้าทำการค้ากับไทย โดยจะมีการจับคู่ทางธุรกิจระหว่างกัน เน้นธุรกิจสุขภาพ แฟรนไชส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน อาหารและอาหารสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋อง และเครื่องทำความเย็น ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์จะมีการนำผู้ประกอบการรายใหญ่และผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรมจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าซึ่งจะมีความแข็งแกร่ง โดยเน้นภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ไปเปิดตลาดในประเทศเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งแต่ละปีมูลค่าการค้าทั้งสี่ประเทศรวมกัน 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 40-50 ถือว่าน้อยมาก หากเปรียบเทียบกับโอกาสทางการตลาด และศักยภาพในการซื้อของประเทศเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้นำเอสเอ็มอีมาเยือนเพื่อเปิดตลาด โดยการเยือนครั้งล่าสุด ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะนอกจากจะกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตแล้ว ยังเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันให้สูงขึ้น ซึ่งโอกาสที่ไทยจะเติบโตในตลาดตะวันออกกลางยังมีอีกมาก ทั้งนี้ บางประเทศใน 4 ประเทศได้ขอให้ไทยจัดทำการค้าแบบบาร์เตอร์เทรด หรือรัฐต่อรัฐ โดยตะวันออกกลางยังต้องการสินค้าไทย เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และอยากให้ไทยแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น น้ำมัน แก๊ส และปุ๋ย โดยกระทรวงพาณิชย์จะเสนอแผนให้รัฐบาลพิจารณาต่อไป พร้อมกันนี้ไทยจะเดินหน้าจัดงานไทยแลนด์เอ็กซิบิชั่น และเทรดแฟร์ต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง เพื่อให้รับรู้ว่าสินค้าไทยมีคุณภาพและหลากหลาย

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ