สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ออสเตรเลีย ปี 2551 (ม.ค.-ธ.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 3, 2009 15:08 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง           :   Canberra
พื้นที่                :   7,682,400  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ         :   English
ประชากร            :   21,017,200 คน (June 2007)
อัตราแลกเปลี่ยน       :   AUD : Baht 22.643 (02/03/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2008 ปี 2009

Real GDP growth (%)                                  2.2        0.5
Consumer price inflation (av; %)                     4.7        3.1
Federal government budget  balance (% of GDP)       -0.3       -1.1
Current-account balance (% of GDP)                  -5.0       -4.8
US$ 3-month commercial paper rate (av; %)            5.0        3.1
Exchange rate ฅ:US$ (av)                             1.2        1.6

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับออสเตรเลีย
                                     มูลค่า :       สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                     7,982.49       100.00         34.44
สินค้าเกษตรกรรม                         195.18         2.45         28.82
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร                 429.02         5.37         31.29
สินค้าอุตสาหกรรม                       7,027.98        88.04         32.59
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                      330.32         4.14        122.48
สินค้าอื่นๆ                                 0.00         0.00       -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับออสเตรเลีย
                                         มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               5,160.22         100.00        35.78
สินค้าเชื้อเพลิง                             1,364.41          26.44        25.35
สินค้าทุน                                    173.09           3.35        23.20
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   3,303.29          64.01        41.66
สินค้าบริโภค                                 281.02           5.45        40.18
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                   38.05           0.74        15.31
สินค้าอื่นๆ                                     0.36           0.01       -94.03

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ออสเตรเลีย
                                2550            2551         D/%

(ม.ค.- ธค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม                   9,737.85      13,142.71      34.97
การส่งออก                       5,937.42       7,982.49      34.44
การนำเข้า                       3,800.42       5,160.22      35.78
ดุลการค้า                        2,137.00       2,822.28      32.07

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดออสเตรเลียเป็นอันดับที่ 11 มูลค่า 5,160.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.78  สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                        มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                        5,160.22          100.00         35.78
1. สินแร่โลหะอี่น ๆ เศษโลหะ                1,294.39           25.08         13.32
2. น้ำมันดิบ                              1,176.09           22.79         30.83
3. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี                    993.85           19.26         97.23
4.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                  422.16            8.18         79.24
5. พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช                      221.63            4.30        129.29
              อื่น ๆ                       127.73            2.48          8.51

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดออสเตรเลีย เป็นอันดับที่ 7 มูลค่า 7,982.49 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.44 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                      มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                      7,982.49         100.00         34.44
1.รถยนต์ อุปกรณ์ฯ                       2,718.11          34.05          8.82
2. อัญมณีและเครื่องประดับ                 1,431.64          17.93        137.22
3. เหล็ก เหล็กกล้าฯ                       356.53           4.47         78.88
4. เครื่องปรับอากาศและส่วนฯ                297.02           3.72         -2.89
5.เม็ดพลาสติก                            291.96           3.66         94.92
             อื่น ๆ                      861.97          10.80         14.58

4. ข้อสังเกต
4.1  สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปออสเตรเลีย ได้แก่

รถยนต์ อุปกรณ์ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 66.22 21.38 64.62 และ 8.82 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้สภาอุตสาหกรรมไทยคาดไว้ว่า ตลาดออสเตรเลียจะหด ตัวถึงร้อยละ 20 ถึง 25 ในปีนี้จะทำให้มูลค่าการส่งออกรถยนต์ ไทยปีนี้ลดลงถึงประมาณ 35,000 ถึง 48,000 ล้านเหรียญสหรัฐทีเดียว ทั้งนี้ยังไม่รวมตลาดนำเข้าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น อาเซียน อเมริกากลางและใต้ ที่มีทิศทางหดตัวลงเช่นเดียวกัน

อัญมณีและเครื่องประดับ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 415.94 110.57 และ 137.22 ตามลำดับมีเพียงปี 2548 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 41.51

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 8 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 50.58 31.36 และ 39.91 ตามลำดับ มีเพียงปี 2549 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 23.59

เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 13 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 34.35 12.49 และ 6.61 ตามลำดับ มีเพียงปี 2548 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 12.27

เม็ดพลาสติก : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 57.25 65.70 และ 94.92 ตามลำดับ มีเพียงปี 2548 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 1.86

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดออสเตรเลีย ปี 2551 (มค.-ธค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 30 มีรวม 9 รายการ คือ
    อันดับที่ / รายการ                      มูลค่า       อัตราการขยายตัว      หมายเหตุ
                                    ล้านเหรียญสหรัฐ          %
2. อัญมณีและเครื่องประดับ                  1,431.64         137.22        แม้ว่าออสเตรเลียจะมีการเลี้ยงกุ้งแต่ก็ไม่สามารถเลี้ยง
3. เหล็ก เหล็กกล้า                         356.53          78.88        ได้ตลอดทั้งปี จึงยังมีช่องทางการตลาดสำหรับกุ้งไทย
5. เม็ดพลาสติก                            291.96          94.92        อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินออสเตรเลียอ่อนค่า อีกทั้งคน
6. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป              243.93          36.26        ออสเตรเลียนิยมบริโภคกุ้งในประเทศ รวมทั้งมาตรการ
7. น้ำมันสำเร็จรูป                          208.90         563.76        กีดกันทางการค้าของออสเตรเลียค่อนข้างเข้มข้น
9. ผลิตภัณฑ์พลาสติก                         166.41          41.72        นับเป็นปัญหาสำคัญในการเจาะขยายตลาดผลิตภัณฑ์กุ้ง
11.เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง               122.44         149.23        ของไทย
15.ข้าว                                   98.98         118.22
16.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                     88.99          33.19

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดออสเตรเลีย ปี 2551 (ม.ค.- ธค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม  3 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                   มูลค่า          อัตราการขยายตัว
                                 ล้านเหรียญสหรัฐ          %
4.  เครื่องปรับอากาศและส่วนฯ           297.02            -2.89
13. น้ำมัน                           108.76            -0.59
18. กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ           66.53            -0.30

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า จากการที่ไทยได้จัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ)และมีการลงนามความตกลงมีผลบังคับใช้แล้ว 5 ฉบับ ประกอบด้วย ไทย-จีน(ภายใต้กรอบอาเซียน-จีน) ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-อินเดีย(82 รายการ) และไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA)ในช่วงที่ผ่านมาถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการส่งออกของไทย ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ การค้ากับทุกประเทศในปี 2550 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยการค้าโดยรวม(ส่งออก-นำเข้า)กับจีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และญี่ปุ่น(มีผลบังคับใช้ 11 พ.ย.2550) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 11.15, 11.40, 10.37, 25.26 และ 0.24% ตามลำดับ ขณะเดียวกันในภาพรวมไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย นอกจากนี้ ยังพบว่า การส่งออกสินค้าไปยังประเทศคู่เจรจาเอฟทีเอมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในตลาดออสเตรเลีย สินค้าไทยที่สามารถเข้าไปเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และขยายตลาดได้มากขึ้น ได้แก่ รถปิกอัพ เครื่องปรับอากาศ ทูน่ากระป๋อง และเครื่องประดับต่างๆ ส่วนผลไม้ไทยที่เคยติดมาตรการสุขอนามัย(SPS)ที่เข้มงวด ขณะนี้สามารถส่งเข้าไปในออสเตรเลียได้แล้ว เช่น มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย และผลไม้ที่แกะเปลือก เช่น สับปะรด ทุเรียน และส้มโอ

ออสเตรเลีย เป็นช่องทางส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทยโดยเฉพาะสินค้ากุ้ง และผลิตภัณฑ์มีโอกาสสูงมากที่จะเข้าไปตีตลาดในออสเตรเลีย ซึ่งอนาคตมีแนวโน้มค่อนข้างสดใส ถึงแม้ออสเตรเลีย จะมีกฎระเบียบ เงื่อนไขและมาตรการควบคุมการนำเข้าอย่างเข้มงวดจากกระบวนการผลิตสินค้ากุ้งไทยที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยทางด้านอาหาร (Food Safety) เชื่อว่ากุ้งไทยจะได้รับยอมรับและสามารถเข้าไปในตลาดออสเตรเลียได้อย่างสง่างาม ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า Sydney Fish Market เป็นตลาดค้าส่งสินค้าอาหารทะเลสำคัญที่สุดของนครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ตลาดดังกล่าวเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าทะเลที่มีความหลากหลายแหล่งใหญ่เป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่นซึ่งได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย มีการบริหารจัดการซื้อขายสินค้าโดยใช้ระบบประมูล ซึ่งทำให้เกิดความรวดเร็ว โปร่งใส ได้ราคาที่เหมาะสมทั้งผู้ขายและผู้ซื้อการประมูลแต่ละครั้งใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง มีปริมาณการประมูลมากกว่า 65ตัน/วัน หรือกว่า 13,000 ตัน/ปี ในจำนวนนี้มีสินค้ากุ้งที่นำเข้าจากประเทศไทยบางส่วนถูกประมูลผ่านตลาดแห่งนี้ด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมงาน Thai Food Festival ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยสถานกงสุลใหญ่ซิดนีย์และสมาคมร้านอาหารไทย เพื่อประชาสัมพันธ์อาหารไทยและร้านอาหารไทย สำหรับปีนี้ใช้ชื่องานว่า "Thai Food Festival : Thai Prawn Showcase 2008" เนื่องจากเน้นเรื่องของการประชาสัมพันธ์กุ้งไทยโดยใช้กุ้งเป็นวัตถุดิบหลักในเมนูอาหารไทยพร้อมทั้งนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง และกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยให้ออสเตรเลียทราบว่า มีการระบบการรผลิตที่ถูกต้องตามสุขอนามัยและได้มาตรฐานระดับสากลขณะเดียวกัน ยังแสดงให้เห็นศักยภาพการผลิต การแปรรูปและกระบวนการตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก เพื่อให้สื่อมวลชนของออสเตรเลียเกิดความเชื่อมั่นในสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของกุ้งไทยด้วย อนาคตคาดว่า จะสามารถช่วยผลักดันการส่งออกสินค้ากุ้งไทยไปยังออสเตรเลียได้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังจะทำให้อาหารไทยและร้านอาหารไทยในออสเตรเลียเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการนำเข้าวัตถุดิบ สินค้าเกษตรและอาหารจากไทยมากขึ้นด้วย เป็นผลให้ราคาพืชผลทางการเกษตรในประเทศขยับตัวสูงขึ้น และช่วยลดปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมาไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ไปออกเตรเลียประมาณ 1,600 ล้านบาท และตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2551 ส่งออกแล้วประมาณ 5,225 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,260 ล้านบาบ จากการที่กระทรวงเกษตรฯ ได้หารือกับสมาคมและผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารไทยในนครซิดนีย์ อาทิ ร้านเจ้าพระยา ร้านชาติไทย และร้าน Spice I am ได้ผลสรุปว่า ผู้ประกอบการต้องการให้กระทรวงเกษตรฯ ช่วยเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตรชนิดใหม่ๆ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน โดยเฉพาะข้าวกล้อง ซึ่งปัจจุบันออสเตรเลียยังไม่อนุญาตให้นำเข้า ทั้งนี้ มกอช. ได้ประกาศใช้มาตรฐานสินค้าหน่อไม้ฝรั่งและมาตรฐานสินค้าข้าวโพดฝักอ่อนไปแล้ว และจะได้ ดำเนินการส่งเสริมมาตรฐานดังกล่าว เพื่อให้เกษตรกรนำไปพัฒนาการผลิตหน่อไม้ฝรั่งและข้าวโพดฝักอ่อนให้ได้คุณภาพมาตรฐานและสามารถส่งออกไปยังออสเตรเลียได้ อันจะส่งผลให้ สามารถขยายช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรไทยได้เพิ่มมากขึ้น

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ