สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศของเยอรมนีปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 30, 2009 14:51 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้ารวม
1.1 มูลค่าการค้ารวม เยอรมนี - ทั่วโลก
                           2550            2551         D/%

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            2,379,679      2,671,010        12.2
การส่งออก                1,323,741      1,466,321        10.8
การนำเข้า                1,055,938      1,204,690        14.1
ดุลการค้า                   267,803        261,631        -2.3

1.2  มูลค่าการค้ารวม เยอรมนี - ไทย
                           2550          2551         D/%

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม              7,722         8,680        12.4
การส่งออก                  3,331         3,198        11.6
การนำเข้า                  4,390         4,964        13.1
ดุลการค้า                  -1,059        -1,248        17.8

2. การนำเข้า
2.1  แหล่งนำเข้าสำคัญของเยอรมนี 5 ประเทศแรก
                             มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม            1,204,689          100.0         14.09
1. เนเธอร์แลนด์                105,979           8.80         24.55
2. ฝรั่งเศส                     98,297           8.16         14.12
3. จีน                         86,730           7.20         11.95
4. อิตาลี                       67,811           5.63         10.67
5. สหรฐอเมริกา                 67,695           5.62          7.45
42. ไทย                        4,964           0.41         13.10
         อื่น ๆ                773,211          64.18         13.96

2.2 สินค้านำเข้าของเยอรมนีจากทั่วโลก  5  อันดับแรก
                                             มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                            1,204,689         100.00         14.09
1. น้ำมันดิบ แก็สธรรมชาติ                         121,166          10.06         43.65
2. ตัวถัง ส่วนประกอบรถยนต์                        55,063           4.57          4.74
3. รถยนต์นั่ง รถแค็มปิ้ง                            43,712           3.63         -3.49
4. เวชภัณฑ์                                     43,522           3.61         13.04
5. เครื่องไฟฟ้าสนง. คอมพิวเตอร์..                  41,831           3.47         -5.43
                 อื่น ๆ                        899,395          74.66         13.70

2.3  สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรกของเยอรมนี จากไทยปี 2551
                                                    มูลค่า :        สัดส่วน %     % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย                              4,964.0         100.00       13.06
1. เครื่องไฟฟ้าสนง. คอมพิวเตอร์..                         787.0          15.86       11.62
2. แผงวงจรไฟฟ้า                                       370.0           7.45       23.94
3. วิทยุ ทีวี วีดีโอ...                                    273.0           5.51       33.95
4. อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องรับส่งวิทยุ ..                        255.0           5.14       13.74
5. เครื่องประดับ ของใช้ทำด้วยโลหะมีค่า                      233.0           4.69        6.77
            อื่น ๆ                                     420.9          61.35       11.14

3.  การส่งออก
3.1  ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกของเยอรมนี
                             มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม            1,466,320         100.00          10.8
1. ฝรั่งเศส                    142,639           9.73          13.5
2. สหรัฐฯ                     105,213           7.18           4.7
3. สหราชอาณาจักร               98,713           6.73           3.3
4. เนเธอร์แลนด์                 96,720           6.60          12.0
5. อิตาลี                       94,392           6.44           6.8
38. ไทย                        3,716           0.25          11.6
         อื่น ๆ                924,925          63.08          10.8

3.2  สินค้าส่งออกของเยอรมนี 5 อันดับแรก
                                      มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                    1,466,320         100.00         10.77
1. รถยนต์นั่ง รถแค็มปิ้ง                   140,158           9.56         -0.17
2. ตัวถัง ส่วนประกอบรถยนต์                82,734           5.64          1.65
3. เวชภัณฑ์                             61,891           4.22         15.93
4. อุปกรณ์ผลิด แจกจ่ายไฟฟ้า                59,318           4.05         13.55
5. เครื่องจักรกลอื่นๆ                      51,190           3.49         10.91
             อื่น ๆ                  1,071,029          73.04         12.72

3.3  สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เยอรมนีส่งออกไปไทย
                                      มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกไปไทย                     3,716           100.00         11.56
1. แผงวงจรไฟฟ้า                         235             6.33          -1.74
2. เครื่องจักรกลอื่นๆ                       234             6.31           8.97
3. อากาศยาน                            207             5.60        1041.02
4. รถยนต์นั่ง รถแค็มปิ้ง                     182             4.90          65.12
5. อุปกรณ์ผลิด แจกจ่ายไฟฟ้า                 167             4.50           0.40
             อื่น ๆ                    2,689            72.36           4.18

4. ข้อสังเกต

4.1 สินค้าสำคัญที่เยอรมนีนำเข้า ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซปิโตรเลียม คิดเป็นส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 10 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้งสิ้น รองลงมาเป็นส่วนประกอบ ตัวถังและอุปกรณ์รถยนต์ ส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 5 รถยนต์และยานยนต์อื่นๆ เวชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้าใช้ในสำนักงานฯ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เป็นต้น

4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเยอรมนี ได้แก่ รถยนต์และยานยนต์อื่นๆ คิดเป็นส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 9 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้งสิ้น รองลงมาเป็นส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ผลิต แจกจ่ายไฟฟ้า เครื่องจักรกลอื่นๆ

4.3 แหล่งนำเข้าสำคัญของเยอรมนี ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส มีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 9 และ 8 ตามลำดับ จีน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7 อิตาลี และสหรฐอเมริกา สำหรับประเทศไทย มีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 38 สัดส่วนร้อยละ 0.41

4.4 ตลาดส่งอออกหลักของเยอรมนี ได้แก่ ฝรั่งเศส ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10 สหรัฐอเมริกา ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8 สหราชอาณาจักร ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7 เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี สำหรับประเทศไทย มีการส่งออกเป็นอันดับที่ 47 สัดส่วนร้อยละ 0.25

5. การค้ากับประเทศไทย

5.1 สินค้านำเข้าสำคัญ

ไทยและเยอรมนีมีมูลค่าการค้ารวมเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 8,680 ล้านยูโร เป็นการนำเข้า 4,964 ล้านยูโร ส่งออก 3,716 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 และ 11.6 ตามลำดับ สินค้านำเข้าสำคัญๆ ได้แก่

  • เครื่องไฟฟ้าใช้ในสำนักงานฯ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 41,831 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.4 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 13 สัดส่วนร้อยละ 1.88 มูลค่า 787 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.62 สินค้าของไทยส่วนใหญ่จะเป็น แผ่นแม่เหล็กบันทึกข้อมูล (Hard disk) แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ จีนนำเข้ามูลค่า 14,771 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.3 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 กว่าครึ่งหนึ่งของสินค้านำเข้าจากจีนจะเป็น คอมพิวเตอร์ Note book แหล่งนำเข้ารองลงมา คือ ญี่ปุ่น นำเข้ามูลค่า 4,852 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.6 มูลค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.8 จากสหรัฐฯ นำเข้าเป็นมูลค่า 3,130 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7.5 มูลค่าลดลงร้อยละ 12.3
  • แผงวงจรไฟฟ้า เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 27,534 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากไทยนำเข้าเป็นอันดับ 14 มูลค่า 370 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.34 สินค้าสำคัญของไทย ได้แก่ พิกัด 8534 00 (วงจรพิมพ์แบบหลายชั้น) และ พิกัด 8542 39 (Memory-Stick) มีส่วนแบ่งร้อยละ 40 และ 20 ตามลำดับ แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ จีนนำเข้ามูลค่า 4,785 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 17.4 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 สินค้าที่นำเข้าจากจีนจะเป็น พิกัด 8541 40 (Photovoltaic cells) มีส่วนแบ่งกว่าร้อยละ 60 รองลงมา คือ สหรัฐฯ มีการนำเข้ามูลค่า 4,477 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16.3 มูลค่าลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.11 สินค้าสำคัญจากสหรัฐฯ จะเป็น พิกัด 8542 32 D-Ram memories และ พิกัด 8541 40 (Photovoltaic cells) มีส่วนแบ่งร้อยละ 35 และ 20 ตามลำดับ จากญี่ปุ่น นำเข้ามูลค่า 2,817 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.2 สินค้าหมวดนี้จะเป็นพิกัด 8542 32 D-Ram memories และพิกัด 8541 40 (Photovoltaic cells) มีส่วนแบ่งร้อยละ 40 และ 20 ตามลำดับ
  • เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ วีดีโอ...เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 16,756 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 จากไทยนำเข้าเป็นอันดับ 14 มูลค่า 274 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.9 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.63 สินค้าสำคัญของไทย ได้แก่ พิกัด 852990 (ส่วนประกอบวิทยุสื่อสาร) และ พิกัด 852871 (Video Turners) มีส่วนแบ่งร้อยละ 30 และ 25 ตามลำดับ แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ จีน นำเข้าเป็นมูลค่า 3,839 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 22.9 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 สินค้าที่นำเข้าจากจีนจะเป็น พิกัด 8529 90 (กล้องและส่วนประกอบกล้องถ่ายโทรทัศน์) มีส่วนแบ่งร้อยละ 35 จากญี่ปุ่น นำเข้ามูลค่า 2,170 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13.0 สินค้าสำคัญในหมวดนี้จะเป็นพิกัด 8529 90 (กล้องและส่วนประกอบกล้องถ่ายโทรทัศน์) มีส่วนแบ่งร้อยละ 40 จากเกาหลีใต้นำเข้ามูลค่า 1,758 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.5 มูลค่าลดลงร้อยละ 6.1 ส่วนใหญ่จะเป็นพิกัด 8529 90 (กล้องและส่วนประกอบกล้องถ่ายโทรทัศน์) มีส่วนแบ่งกว่าร้อยละ 70

5.2 สินค้าอาหาร

สำหรับสินค้าอาหารที่เยอรมนีนำเข้ามากจากไทย ได้แก่

  • อาหารทะเลแปรรูป (กุ้งกระป๋องและแช่แข็ง ปลาทูน่า) เยอรมนีนำเข้าเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4,283 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.62 แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ โปแลนด์ จีน และเดนมาร์ค มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12, 11 และ 10 ตามลำดับ ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.2 สินค้าสำคัญของไทย ได้แก่ กุ้งกระป๋องมีส่วนตลาดร้อยละ 30 กุ้งแช่แข็ง 25 และปลาทูน่ากระป๋อง มีส่วนแบ่งร้อยละ 20 ของสินค้าหมวดนี้
  • นื้อสัตว์แปรรูป เยอรมนีนำเข้าเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 8,428 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และเดนมาร์ค มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 18, 12 และ 10 ตามลำดับ ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.3 มูลค่าเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 36 สินค้าของไทยเกือบทั้งหมดจะเป็น พิกัด 1602 32 และ 39 ไก่แปรรูปคลุกเกลือ แหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆ ได้แก่ บราซิล เนเธอร์แลนด์ และฮังการี
  • ผลไม้แปรรูปและกระป๋อง เยอรมนีนำเข้าเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,559 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ โปแลนด์ กรีก และจีน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 15, 8 และ 7 ตามลำดับ ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.8 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 สินค้าของไทยเกือบทั้งหมดจะเป็น สับปะรดกระป๋อง พิกัด 2008 20 คู่แข่งสำคัญ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เคนยา และอินโดนีเชีย

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ กรุงเบอร์ลิน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ