สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.—ก.พ.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 31, 2009 09:58 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง             :  Washington , DC
พื้นที่                  :  9,161,923  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ           :  English
ประชากร              :  301.6 ล้านคน (1 ก.ค. 2550)
อัตราแลกเปลี่ยน         :  US$ : 35.266 บาท (26/03/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                               2.00        1.80
Consumer price inflation (av; %)                  2.90        4.50
Budget balance (% of GDP)                        -1.20       -2.50
Current-account balance (% of GDP)               -5.30       -4.70
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        5.00        2.20
Exchange rate ฅ:US$ (av)                          1.37        1.51

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหรัฐอเมริกา
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  2,375.06          100.00        -26.25
สินค้าเกษตรกรรม                      230.29            9.70         -4.04
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              274.38           11.55         -3.95
สินค้าอุตสาหกรรม                    1,836.51           77.32        -29.63
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    33.88            1.43        -60.10
สินค้าอื่นๆ                              0.00            0.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหรัฐอเมริกา
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              1,210.09          100.00         -38.99
สินค้าเชื้อเพลิง                               29.64            2.45         -21.86
สินค้าทุน                                   432.83           35.77         -44.34
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                    555.46           45.90         -41.48
สินค้าบริโภค                                162.52           13.43         -19.52
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  24.06            1.99          75.42
สินค้าอื่นๆ                                    5.60            0.46          85.44

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหรัฐอเมริกา
                           2551          2552         D/%

(ม.ค.-กพ.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             5,203.83      3,585.15     -31.11
การส่งออก                 3,220.51      2,375.06     -26.25
การนำเข้า                 1,983.32      1,210.09     -38.99
ดุลการค้า                  1,237.18      1,164.96      -5.84

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 1,210.09 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ -38.99 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                       มูลค่า :          สัดส่วน %        % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                      1,210.09           100.00         -38.99
1.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ               146.91            12.14         -16.24
2.แผงวงจรไฟฟ้า                          118.71             9.81         -44.56
3.พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช                     104.52             8.64           4.37
4.เคมีภัณฑ์                                88.61             7.32         -54.08
5.เครื่องคอมพิวเตอร์                        84.49             6.98         -40.23
         อื่น ๆ                          139.93            11.56         -30.40

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปเป็นสหรัฐอเมริกา อันดับที่ 1 มูลค่า  2,375.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -26.25 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :         สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                     2,375.06         100.00        -26.25
1.เครื่องคอมพิวเตอร์                      423.34          17.82        -27.04
2.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                        200.85           8.46        -21.41
3.อาหารทะเลกระป๋อง                     146.04           6.15         -2.84
4.ผลิตภัณฑ์ยาง                           128.48           5.41         -9.93
5.อัญมณี                                 97.44           4.10        -36.25
          อื่น ๆ                        451.80          19.02        -32.76

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (มค.-กพ.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่า ปี 2552 (มค.-กพ.) เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง 25.75 ในขณะที่ปี 2549 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 43.23 15.20 และ 2.97 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เสื้อผ้าสำเร็จรูป : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-กพ.) พบว่ามีอัตราการขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ -2.26 -5.81 -8.09 และ - 21.41 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อาหารทะเลกระป๋องฯ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2550 และ ปี 2552(มค.-กพ.)ที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-6.04% และ -2.84%) ในขณะที่ปี 2549 2551 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.25 และ 14.18 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ผลิตภัณฑ์ยาง : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2552(มค.-กพ.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (-9.93%) ในขณะที่ปี 2549-2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 23.36 11.87 และ 11.22 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อัญมณีและเครื่องประดับ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2549 และ ปี 2552(มค.-กพ.) ที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-1.84% และ -36.25%) ในขณะที่ปี 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 และ 4.78 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกาปี 2552(ม.ค.-กพ.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 30 มีรวม 2 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                             มูลค่า          อัตราการขยายตัว       หมายเหตุ
                                          ล้านเหรียญสหรัฐ            %
8. ข้าว                                        70.91             36.84
14.รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ                    43.38             47.29

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.-กพ.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 23 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                                มูลค่า          อัตราการขยายตัว
                                             ล้านเหรียญสหรัฐ           %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์                                423.34           -27.04
2.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                  200.85           -21.41
3.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                       146.04            -2.84
4.ผลิตภัณฑ์ยาง                                     128.48            -9.93
5.อัญมณีและเครื่องประดับ                              97.44           -36.25
6.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ                    94.44           -23.00
7.แผงวงจรไฟฟ้า                                    74.13           -43.52
9.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                             67.65           -11.47
10.ยางพารา                                       62.53           -26.56
11.กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                               61.21            -4.00
12.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์13.น้ำมันดิบ                60.20           -18.23
13.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                        44.96            -5.57
15.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนฯ                       39.34           -61.98
16.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                     38.61            -6.37
17.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                  36.35           -33.35
18.เครื่องโทรศัพท์ เครื่องตอบรับ                        35.12           -13.23
19.เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน              33.69            -7.73
20.น้ำมันดิบ                                        33.36           -60.45
21.ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน                32.78           -61.45
22.รองเท้าและชิ้นส่วน                                26.40           -29.28
23.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                             24.39           -36.27
25.เลนซ์                                          23.95           -34.98
25.เครื่องยกทรง รัดทรง                              23.70           -12.81

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

การส่งออกไทย ปี 2551 ใช้สิทธิ GSP มีมูลค่า 3,533.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62 ของมูลค่าส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP สินค้าที่ไทยใช้สิทธิ GSP สูง 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องรูปพรรณอื่น ๆ ทำด้วยโลหะเงิน ยางเรเดียล รถบรรทุก ยางเรเดียลรถยนต์นั่ง อาหารปรุงแต่ง และชุดสายไฟชนิดที่ใช้กับยานยนต์ นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่ไทยใช้สิทธิ GSP น้อย สินค้าอีกหลายรายการที่สหรัฐฯ ให้สิทธิ GSP แต่ผู้ส่งออกไทยยังไม่มีการขอใช้สิทธิ หรือใช้สิทธิเพียงเล็กน้อย เช่น กระจกแผ่น รถจักรยานยนต์กระบอกสูบเกิน 800 ลบ.ซม.หูฟังโทรศัพท์ อุปกรณ์สำหรับควบคุมอัตโนมัติ กล้องถ่ายโทรทัศน์ และไม้ตีกอล์ฟ เป็นต้น นับเป็นการเสียโอกาสของผู้ส่งออกไทยในการเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดสหรัฐฯ จากสถิติไทยนำเข้าสหรัฐฯ ปี 2551 ปรากฎว่ามีสินค้าที่ไทยนำเข้าสหรัฐฯ เกิน CNL ที่สหรัฐฯ กำหนดซึ่งกรมการค้าต่างประเทศจะได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิ GSPกรณี De Minimis Waiver จำนวน 5 รายการ คือ ดอกกล้วยไม้สด ทุเรียนสด มะละกอตากแห้ง มะขามตากแห้ง มะละกอแปรรูป โดยเท่าที่ผ่านมาการขอผ่อนผันกรณีนี้ สหรัฐฯ จะผ่อนผันไม่ระงับสิทธิ GSP ให้เป็นประจำทุกปีและขอคืนสิทธิ GSP กรณี Redesignation จำนวน 5 รายการ คือ กระเบื้องปูพื้นและผนัง แผ่นฟิล์มทำจากโพลิเมทิล แป้งธัญพืช ลิ้นจี่ ลำไยกระป๋อง และเม็ดพลาสติก ในทันทีที่สหรัฐฯ เปิดโอกาสให้ดำเนินการได้ซึ่งคาดว่า USTR จะออกประกาศประมาณเดือนมีนาคม 2552 จากสถานการณ์ปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าผู้ส่งออกไทยต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลต่อการส่งออกโดยรวมของประเทศ ผู้ส่งออกไทยจึงควรใช้ประโยชน์จากสิทธิ GSP ที่ยังคงได้รับอยู่ให้มากที่สุด เนื่องจากปรากฏว่ามีสินค้าหลายรายการที่ไทยยังไม่ขอใช้สิทธิ หรือใช้สิทธิเพียงเล็กน้อย ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต โดยผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง และลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด รวมทั้งมีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการส่งออก และพยายามหาตลาดใหม่เพื่อขยายฐานการส่งออก เพื่อเตรียมพร้อมที่จะปรับตัวให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยลดการพึ่งพา GSP ซึ่งนับวันจะลดน้อยลง

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ปี 2552 นี้ ได้มีแผนส่งเสริมผลักดันการส่งออกสินค้าฮาลาลไปยังทวีปอเมริกาเหนือทั้งในประเทศแคนาดาและสหรัฐ อเมริกา ซึ่งผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศ มีประชากรมุสลิมรวมกันมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีแนวโน้มค่อนข้างสดใส ประเทศไทยจึงมีโอกาสสูงที่จะขยายตลาดสินค้าฮาลาลเนื่องจากไทยมีความสามารถในการผลิตสินค้าให้เป็นไปตามศาสนบัญญัติ รวมทั้งมีคุณภาพและราคาที่สามารถแข่งขันได้ทั้ง สินค้าที่เป็นอาหาร เช่น ไก่ปรุงสุก ซอสปรุงรส เครื่องดื่ม และน้ำผลไม้ รวมทั้งสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เช่น เครื่องสำอางและ เสื้อผ้า เป็นต้น ขณะนี้ไทยกำลังเร่งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของตลาดสินค้าอาหารฮาลาล ทั้งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เช่น รสนิยม พฤติกรรมการบริโภค ซึ่งจะ ช่วยให้ไทยสามารถผลิตสินค้าอาหารฮาลาลเจาะตลาดได้ตรงความต้องการของผู้บริโภคในทวีปอเมริกาเหนือนอกจาก นี้แคนาดาและสหรัฐฯ ไม่ได้กำหนดกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าฮาลาลเป็นมาตรการภาคบังคับ และไม่ต้องตรวจสอบกระบวนการผลิตก่อนส่งออก ดังนั้น จึงมี ความเป็นไปได้สูงโดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ ซึ่งคาดการณ์ว่ามีมูลค่าสินค้าฮาลาลสูงถึง 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี หรือกว่า 396,000 ล้านบาท ขณะที่สินค้าไก่และผลิตภัณฑ์ในแคนาดาก็มีแนวโน้มสดใสศึกษาการตลาดเพิ่มเติม โดยเฉพาะเรื่องรสนิยมของผู้บริโภค เพื่อผู้ประกอบการจะได้ผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งจะช่วยผลักดัน ส่งออกสินค้าฮาลาลไทยไปสู่ตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้น

การที่สมาคมผู้นำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของสหรัฐเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐทบทวนนโยบายการค้าเครื่องนุ่งห่ม โดยให้กำหนดมาตรการนำเข้าสินค้าทุกประเภทให้เป็นรูปแบบเดียวกัน ทั้งการเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูง,การกำหนดโควตานำเข้า และกฎเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าสิ่งทอฯของสหรัฐ หลังการที่มีการจำกัดโควตานำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจีน 22รายการ สิ้นสุดลงไปเมื่อ 31 ธันวาคม ที่ผ่านมาถ้ารัฐบาลสหรัฐฯเห็นชอบข้อเรียกร้องนี้ นอกจากจะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภคชาวสหรัฐครัวเรือนละ 800 เหรียญสหรัฐต่อปีแล้ว ยังจะทำให้ผู้ส่งออกไทยต้องประสบปัญหาการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในตลาดสหรัฐ เพราะจีนถือเป็นคู่แข่งสำคัญของไทย นอกจากนี้ ในปีนี้ผู้ประกอบการไทยยังต้องเตรียมรับมือสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่คาดว่าจะต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปี ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคและคำสั่งซื้อจากผู้นำเข้า ดังนั้นผู้ประกอบการต้องปรับตัว เพื่อรับมือสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น รวมถึงต้องพยายามช่วงชิงและรักษาส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐไว้ให้ได้สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตได้แก่ ชุดชั้นใน กางเกง เสื้อสเว็ตเตอร์ เสื้อผ้าเด็ก และเส้นด้าย ซึ่งนอกจากจีนแล้ว เวียดนามและอินโดนีเซียยังเป็นคู่แข่งของไทยในตลาดสหรัฐเช่นกัน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ