ภาวะตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในเยอรมนี

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 17, 2009 17:19 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ขอบเขตสินค้าและภาษีนำเข้า

รายการ                                               พิกัด H.S       อัตราภาษีนำเข้า
1. อัญมณี                 1. เพชร                       7102              0%
                        2. พลอย                       7103              0%
                        3. ไข่มุก                       7101              0%
2. เครื่องประดับแท้         1. ทำด้วยเงิน                   7113 11         2.5%
                        2. ทำด้วยทองคำ                 7113 19         2.5%
                        3. ทำด้วยโลหะมีค่าอื่นๆ            7113 20         4.0%
3. เครื่องประดับเทียม                                     7117            4.0%
4. อัญมณีสังเคราะห์                                       7104              0%
5. ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป                                    7108              0%
6. โลหะมีค่า และของ อื่น ๆ ที่หุ้มด้วยโลหะมีค่า       7105, 7106, 7107, 7109,      0%

7110, 7111, 7112, 7118

                                                      7114            2.0%
                                                      7115            3.0%
                                                      7116            2.5%
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก และกรมศุลกากรไทย อัตราภาษี ศุลกากรเยอรมัน

2. การผลิต

การผลิตเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งในเยอรมนีที่มีชื่อเสียงมาก เพราะมีช่างฝีมือที่มีความชำนาญด้านเจียรนัย การตกแต่งและออกแบบเครื่องประดับ แหล่งผลิตเครื่องประดับที่สำคัญ ๆ ของเยอรมนีส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ได้แก่ เมืองอีดาร์โอเบอร์ชไตน์ ชตุทการ์ท และฟอร์ซไฮม์ เป็นต้น จากตัวเลขสถิติที่สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี แสดงมูลค่าการผลิต และส่งออกสินค้าอัญมณี เครื่องประดับต่าง ๆ และเครื่องใช้ทำด้วยโลหะมีค่าในประเทศ ดังนี้

ตารางที่ 1
มูลค่าการการส่งออกอัญมณี เครื่องประดับและเครื่องใช้มีค่าของเยอรมนี ในปี พ.ศ.2549-2551

มูลค่า = ล้านเหรียญสหรัฐ

  รายการ                            พิกัด H.S           2549       2550       2551    %มูลค่าเพิ่ม/ลด
1. อัญมณี                1. เพชร       7102            72.48      72.81      88.31       21.28
                       2. พลอย       7103           177.28     217.01     233.59        7.64
                       3. ไข่มุก       7101            17.94      22.22      19.90      -10.42
2. เครื่องประดับแท้                 7113 11, 7113 19
(เงิน ทองคำ โลหะมีค่าอื่น ๆ )          7113 20           654.35     782.60     834.91        6.68

3. เครื่องประดับเทียม                    7117           158.56     184.06     192.13        4.39
4. อัญมณีสังเคราะห์                      7104            26.94      25.53      27.95        9.48
5. ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป                   7108           124.54     128.43     214.20       66.77
6. โลหะมีค่า และของอื่น ๆ                7105             4.52       1.09       1.26       16.17
ที่หุ้มด้วยโลหะมีค่า                        7107            26.45      30.55      30.55       -0.02
                                     7109             3.06       2.96       2.51      -15.02
                                     7110         2,409.54   2,756.96   3,018.28        9.48
                                     7111             2.43       3.72       3.12      -16.03
                                     7112           816.86   1,461.65   1,963.86       34.36
                                     7114            48.94      39.27      49.69       26.53
                                     7115           739.03     755.74     825.89        9.28
                                     7116            17.06      22.61      20.57        9.05
                                     7118           105.68     142.59     197.54       38.54
ที่มา : Eurostat

3. การนำเข้า

ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา (2549-2551) เยอรมนีนำเข้าสินค้าอัญมณี เครื่องประดับและเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะ มีค่ามูลค่ารวมทั้งสิ้นโดยเฉลี่ยปีละ 11,583.94 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับปีก่อนระยะเดียวกันมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.71 แหล่ง นำเข้าที่สำคัญได้แก่ เบลเยี่ยม ซึ่งมีการนำในปี พ.ศ. 2551 เป็นมูลค่า 1,819.16 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งของตลาด ร้อยละ 12.36 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.83 สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นโลหะมีค่า ได้แก่ พลาตินัม ทองคำและอัญมณีแท้ เป็นต้น รองลงมามีการนำเข้ามาจากสวิตเซอร์แลนด์ เป็นมูลค่า 1,559.20 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 10.60 มูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ85.73 สินค้านำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นโลหะมีค่าต่าง ๆ ได้แก่ โลหะมีค่า ทองคำและอัญมณีแท้ เป็นต้นอันดับ 3 จาก สหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 1,455.96 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ9.90 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.64 สินค้านำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นโลหะมีค่า อัญมณี พลาตินัม และเพชรเป็นต้น สำหรับประเทศไทย มีการนำเข้าในปี พ.ศ. 2551 เป็นอันดับ 12 เป็นมูลค่า 257,63 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นส่วนแบ่งของตลาดร้อยละ 1.80 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.51 สินค้านำเข้าจากไทยส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องอัญมณี เครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินและทอง เป็นต้น

ตารางที่ 2
สถิติการนำเข้าอัญมณี เครื่องประดับและเครื่องใช้มีค่าของเยอรมนี ในปี 2549-2551

มูลค่า = ล้านเหรียญสหรัฐ

 ลำดับประเทศ                         ปี พ.ศ.               เพิ่ม/ลด(%)
                       2549         2550         2551
1. เบลเยี่ยม          135,594    1,641,289    1,819,059      10.83
2. สวิตเซอร์แลนด์      589,849      839,506    1,559,201      85.73
3. สหรัฐอเมริกา      1,032,30    1,365,327    1,455,958       6.64
4. อัฟริกาใต้         702,9540    8,376,755   12,416,534      48.23
5. รัสเซีย          4,057,685    4,272,069      770,048      80.25
6. ออสเตรีย        3,979,638      479,841      741,274      54.48
......
12. ไทย              20,481      239,642    2,576,323       7.51
ที่มา : World Trade atlas

4. การส่งออก

สินค้าสำคัญของรายการนี้ ที่เยอรมนีส่งออกมากที่สุด คือโลหะมีค่า และของ อื่น ๆ ที่หุ้มด้วยโลหะมีค่า ได้แก่ พลาตินัม อัญมณีแท้ และเงิน โดยมีการส่งออกในปี 2551 เป็นมูลค่า 10,360.96 ล้านเหรียญสหรัฐหรือร้อยละ 86.54 ของมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับแท้ และเทียม มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.20 ตลาด ส่งออกหลักได้แก่ เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และ อังกฤษรองลงมาเป็นเครื่องประดับแท้ จำพวกเงิน มี การส่งออกเป็นมูลค่า 834.91 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 6.97 ของมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น มูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.68 ตลาดส่งออกหลักได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และ อังกฤษ รองลงมา เป็นอัญมณีมีค่า มีการ ส่งออกในปี พ.ศ. 2551 เป็นเงิน 341.80 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 2.86 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.17 ตลาดส่งออกสำคัญ ๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ และ ฝรั่งเศส

5. การนำเข้าจากไทย

สินค้าอัญมณี เครื่องประดับแท้ เทียมและเครื่องใช้ทำด้วยโลหะมีค่าการนำเข้าในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา (2549-2551) เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ234.3 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.80เทียบกับปีก่อนระยะ เวลาเดียวกันมูลค่าการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.51 สินค้าที่มีการนำเข้าจากไทยมากได้แก่ เครื่องประดับแท้ทำ ด้วยเงิน ทองคำ และโลหะมีค่าอื่น มีการนำเข้าในปี 2551 เป็นมูลค่า 192.82 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 74.85 ของการนำเข้าสินค้ารายการนี้จากไทย โดยมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 9.02 รองลงมาเป็นพวกโลหะมีค่า มีการนำเข้า เป็นมูลค่า 26.27 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 10.20 โดยมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 12.34 และ อัญมณีแท้ มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 19.74 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 7.66 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.62

6. มาตราการด้านภาษีและมิใช่ภาษี

6.1 ปัจจุบันการตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในเยอรมนี มีความเสรี ไม่มีข้อจำกัด หรือมาตราการ NTB ใด ๆ ที่จะเป็นการกีดกันทางการค้า สินค้านำเข้ารายการนี้ ส่วนใหญ่จะนำเข้าได้โดยเสรีและมีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 0 ได้แก่ สินค้าที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตเครื่องประดับ เช่น อัญมณี พลอยร่วง เงินและทองคำ เป็นต้น

6.2 เกี่ยวกับอัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าเครื่องประดับแท้และเครื่องประดับเทียมนั้น มีอัตราระหว่าง 2-4 โดยจะมีแน้วโน้มลดต่ำลงเป็น 0 ตามข้อตกลงของ WTO ปัจจุบันอัตราภาษีของสินค้าพิกัด 7113 20 00, 7117 19 10, -91 และ -99 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 สำหรับพิกัด 7113 19 00, 7116 20 19 และ 7116 20 90 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.5

6.3 เดิมเยอรมนีมีข้อกำหนดอนุญาตให้ผลิตเครื่องประดับใช้เงินและทองเป็นส่วนผสมมากน้อยได้อย่างเสรี ในกรณี ที่ประสงค์จะตีตราประทับแจ้งส่วนผสมของเงินและทอง มีข้อกำหนดให้ใช้อัตราส่วน 1000 โดยกำหนดให้ใช้กับสินค้าต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของเงินตั้งแต่ 800 และสำหรับทองตั้งแต่ 585/1000 ขึ้นไป หากมีส่วนผสมต่ำกว่านี้ไม่อนุญาตให้ตีตราประทับแจ้ง สัดส่วนของส่วนผสม ต่อมาตามระเบียบของสหภาพยุโรป เยอรมนีได้ยินยอมให้ตีตราประทับได้สำหรับสินค้าที่มีส่วนผสม 330, 375 และ 500/1000

สำหรับสินค้าที่นำเข้า ถึงแม้จะมีการตีตราแจ้งส่วนผสมเป็นอย่างอื่น เช่น เครื่องทองของไทยที่มีการตีตราแจ้งส่วน ผสมเนื้อทองเป็นร้อยละ ก็ได้รับการอนุโลม อนุญาตให้นำเข้าและมิได้มีการบังคับให้ตีตราแจ้งสัดส่วนของส่วนผสมที่เป็นเงินและ ทองตามข้อกำหนดของเยอรมนี/สหภาพยุโรปแต่อย่างใด

6.4 ปัจุบันผู้บริโภคจำนวนหนึ่งมีอาการแพ้สารโลหะที่เป็นส่วนผสมของเครื่องประดับ เช่น สารนิเกิ้ล ซึ่งหากสถาน การณ์มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อาจจะถูกนำมาเป็นข้ออ้าง ห้ามมิให้นำเข้าได้ แต่โดยทั่วไปไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่มากเพียงพอ สำหรับการนำมาใช้เป็นข้ออ้างห้ามนำเข้า

6.5 กล่าวโดยรวม ในปัจจุบันเยอรมนีไม่มีนโยบาย หรือมาตราการต่าง ๆ ใด ๆ ที่จะเป็นการกีดขวางทางการค้า ทั้งที่เป็นภาษีและมิใช่ภาษี และตามข้อตกลงของ WTO ซึ่งเยอรมนีเป็นสมาชิกและจะต้องปฏิบัติตาม มีข้อกำหนดการลดอัตราภาษี สำหรับสินค้าต่าง ๆ ให้ต่ำลงทุกปี รวมทั้งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับนี้ที่คาดว่าในช่วง 5-7 ปีข้างหน้าน่าจะมีอัตราภาษีนำเข้า เป็นร้อยละ 0

7. ช่องทางตลาดและรสนิยมของผู้บริโภค

7.1 สินค้าเครื่องประดับต่าง ๆ ที่ผลิตภายในประเทศ และที่นำเข้าจากต่าง ๆ ประเทศ จะโดยผู้ค้าเครื่องประดับ หรือโดยผู้นำเข้าสินค้ารายการนี้โดยเฉพาะก็ตาม จะมีวางจำหน่ายกันมากตามเมืองใหญ่ ทั่วประเทศ เช่น มิวนิค โคโลญจน์ ดุสเซิลดอร์ฟ แฮมเบอร์ก และเบอร์ลิน เป็นต้น เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ ในเมืองดังกล่าวมีรายได้สูง ปัจจุบันในเยอรมนี มีร้านค้าขายปลีกเครื่องประดับซึ่งจะมีจำหน่ายนาฬิกาควบคู่กันไปด้วยกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 70 ช่องทางอื่น ๆของการจำหนายเครื่องประดับ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ประมาณ ร้อยละ 15 ทางอินเตอร์เน็ต และ TV-Shopping อีกร้อยละ 15

7.2 ภาวะตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในเยอรมนีในปัจจุบันนี้ ยังคงกล่าวได้ว่า ไม่ค่อยแจ่มใสนัก เนื่องจากภาวะ ผลกระทบจาก World Economics Crisis ทำให้ผู้บริโภคประหยัดเพิ่มมากขึ้น และมีแน้วโน้มการขยายตัวลดลง แต่ในขณะเดียวกัน สินค้าที่มีราคาย่อมเยาว์จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภค โดยเฉพาะประเภทวัยรุ่นมากเป็นพิเศษ ส่วนผู้บริโภคที่มีรายได้เฉลี่ยสูง จะนิยมเครื่องประดับแท้ ประดับเพชร พลอยและอัญมณีที่มีค่า อื่น ๆ ที่มีรูปแบบสวย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทำด้วยทองคำหรือพลาตินัม ส่วนผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ กลุ่มวัยรุ่น จะซื้อเครื่องประดับที่มีราคาปานกลาง หรือราคาถูก จะเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ ทำด้วยเงินประดับอัญมณีเทียมต่างๆ เป็นต้น

8. โอกาสตลาดของสินค้าไทย

8.1 สินค้าประดิษฐ์แท้ทำด้วยเงินของไทยยังคงมีการนำเข้ามาจากไทยมากเป็นอันดับแรก มีส่วนแบ่งของตลาดที่สูงกว่า ประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ตลอดมา คู่ค้าสำคัญอื่น ๆ ของเยอรมนี ได้แก่ จีน ตุรกี และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป มีการพัฒนารูปแบบ ผลิต สินค้าตรงตามรสนิยมของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าจากจีน มีปริมาณมากและมีราคาต่ำ แต่ในด้านคุณภาพยังด้อยกว่าสินค้าไทย สำหรับตุรกีและประเทศอื่นๆ ในยุโรป ได้เปรียบเพราะว่าอยู่ใกล้ตลาด สามารถส่งมอบสินค้าให้ได้อย่างรวดเร็ว

8.2 ตลอดทั้งปี 2551 สินค้าของไทยในตลาดเยอรมนียังคงมีแนวโน้มที่ดีอยู่ การนำเข้าสินค้าไทยจะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าผลผลิตในเยอรมนีจะมีแน้วโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่สินค้าไทยยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด อย่างไรก็ตามผู้ส่งออกของไทย ยังคงต้องระวัง และคอยจับตาดูประเทศคู่แข่งอื่นที่สำคัญๆ ด้วย ได้แก่ จีน ฮ่องกง และตุรกี ซึ่งเร่งการผลิตสินค้าชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น และมีแน้วโน้มการส่งออกเข้าไปในประเทศเยอรมนีเพิ่มสูงขึ้นตลอดมาในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ โดยสินค้าจากประเทศเหล่านี้ มีคุณภาพและความประณีตก็ไม่ด้อยไปกว่าสินค้าของไทยเท่าใดนัก

8.3 ในปีที่ผ่านมานี้ได้เกิดปัญหาเศรษฐกิจโลก ไม่เว้นแต่ประเทศมหาอำนาจอย่าง สหรัฐยังต้องมีการปลดพนักงาน ออกหลาย ๆตำแหน่ง บริษัทปิดกิจการไปหลายบริษัทและ ในประเทศในทวีปยุโรปเองก็เช่นกัน อย่างที่เป็นข่าวเมื่อไม่นานมานี้ หลาย บริษัทจำเป็นต้องปลดพนักงงานออกเป็นบางส่วน เพื่อลดค่าใช้จ่าย ที่ฝรั่งเศสมีประชากรหลายคนได้ประท้วงเพื่อขอขึ้นค่าแรง ปัญหา เหล่านี้นับวันยิ่งทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชน ผู้คนมีกำลังซื้อที่น้อยลงประกอบกับราคาสินค้าเองก็มี มูลค่าแพงขึ้นเรื่อย ๆ ฉะนั้นแล้วผู้คนจะต้องคิดไตร่ตรองอยู่เสมอเมื่อใดที่จะซื้อสินค้าราคาแพงอย่างเช่น เครื่องอัญมณีหรือเครื่อง ประดับราคาแพง

อย่างไรก็ตามเนื่องจากผู้ซื้อสินค้ารายการนี้ส่วนใหญ่มักจะมีฐานะค่อนข้างดีอยู่แล้ว จึงคาดว่าปัญหาเศรษฐกิจโลกใน ขณะนี้ก็ยังคงยังส่งผลกระทบที่ไม่ร้ายแรงมากนัก หากแต่ว่าไทยเองต้องเน้นผลิตสินค้าที่ประกอบไปด้วย คุณภาพ ความประณีตในการ ประดิษฐ์ ดีไซน์และการออกแบบที่เป็นเอกลักษณด์ งดูดลูกค้า

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ