การบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ในเยอรมนีเริ่มมีมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 โดยในช่วงแรก จะเป็นการผลิต การเพาะปลูก การค้าขายเฉพาะในท้องที่ พื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น แต่ในช่วงเวลาต่อๆ มาการขนส่งสินค้าทำได้สะดวกมกาขึ้น และโดยเฉพาะเมื่อเกิดมีปัญหาด้านสุขภาพ สุขอนามัยกับสัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นอาหาร ได้แก่ โรควัวบ้า (BSE) การปนเปื้อนสารพิษ สารเคมีอันตรายตกค้างในอาหารเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งโรคไข้หวัดนก เหล่านี้จึงทำให้ตลาดให้ความสนใจและนิยมบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นมาโดยตลอด นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลเยอรมัน รวมทั้งสหภาพยุโรป ยังได้ให้การสนับสนุน ส่งเสริมการเกษตรแบบนี้อีกด้วย เพื่อให้เป็นการผลิตแบบยั่งยืน เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพิ่มคุณภาพสินค้าควบคู่กันไปด้วย ทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นสินค้าที่ตลาดมีความต้องการต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้นมาโดยตลอด
ในปี 2551 เยอรมนีมีเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์จำนวนทั้งสิ้น 19,824 ราย บนพื้นที่ 911,385 เฮกเตอร์ เทียบกับปีก่อนจำนวนกิจการและพื้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 และ 5.3 ตามลำดับ มียอดการจำหน่ายเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5,800 ล้านยูโร (ประมาณ 266,800 ล้านบาท) หรือร้อยละ 3.5 ของยอดการตลาดสินค้าอาหารทั้งสิ้น ถึงแม้ว่ามูลค่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ก็ตามแต่เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้จะเป็นอัตราการขยายตัวที่ลดลง กล่าวคือ ในปี 2549 และ 2550 ขยายตัวร้อยละ 18 และ 15 ตามลำดับ เหตุที่การขยายตัวในปี 2551 ลดลงมิใช่เกิดจากการบริโภคน้อยลง แต่เป็นเพราะในช่วงกลางปี สินค้าผักและผลไม้สดขาดตลาด เพราะมีปัญหาในการผลิต ทำให้มูลค่าตลาดตลอดปีขยายตัวในอัตราที่ลดลง จำแนกตามประเภทของอาหาร สามารถจัดลำดับส่วนตลาดของสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้ ดังนี้
สินค้า ส่วนแบ่ง/อาหารทั่วไป (ร้อยละ) 1. ไข่ไก่ 11.5 2. มันฝรั่ง 8.5 3. ธัญพืช ขนมปัง 7.1 4. ผัก 6.9 5. ผลไม้ 6.0 6. นมสด 5.6 7. เนื้อวัว 2.5 8. เนื้อสุกร 1.0 รวมทั้งสิ้น 3.2 3. การนำเข้า - การส่งออก
ปัจจุบันยังไม่มีการแยกปริมาณและมูลค่าการนำเข้า/ส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นสถิติออกมาโดยเฉพาะ เนื่องจากสินค้าที่นำเข้า/ส่งออกเป็นตัวเลขที่น้อยมาก แหล่งนำเข้าและตลาดส่งออกที่สำคัญๆ ของเยอรมนีจะเป็นประเทศอื่นๆ ในยุโรป โดยเฉพาะจาก อิตาลี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสเปน จากประเทศที่สามอื่นๆ ได้แก่ บราซิล (กาแฟ) นิวซีแลนด์ (ผลกีวี่) คอสตาริกา (กล้วย) อินเดีย (ใบชา) เป็นต้นจากไทย มีการนำเข้าอาหาร Ready to Eat และข้าว เป็นสำคัญ
จากผลผลิตในประเทศและสินค้านำเข้าทำให้ในเยอรมนีมีสินค้าเกษตรอินทรีย์เสนอขายได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะผลไม้เมืองร้อน ดังนี้
- ผักสด เครื่องเทศ เสนอขายตามฤดูกาลราว 70 ชนิด
- นมและผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตราว 60 กิจการ
- ขนมปัง เค๊ก คุกกี้ เสนอขายในท้องที่นั้นๆ
- เนื้อและผลิตภัณฑ์ ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นหลังจากเกิดปัญหา BSE
- อาหารทะเล อาหารแช่แข็ง (ผัล ผลไม้ ไอศกรีม เป็นต้น)
- อาหารสำเร็จรูปอื่นๆ
- เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ ไวน์ แชมเปญ
- ชา และกาแฟ
- เห็ด ชำปิงยอง
จากการสำรวจของกระทรวงเกษตร โภชนาการและคุ้มครองผู้บริโภค ของเยอรมนีพบว่า สินค้าเกษตรอินทรีย์มีส่วนตลาดที่คงที่ ผู้บริโภคสินค้าประเภทนี้มีจำนวนไม่ต่างจาก ปี 2550 มากนัก กล่าวคือ ร้อยละ 17จะซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นประจำ ร้อยละ 17 จะซื้อเป็นครั้งคราว และร้อยละ 29 ไม่เคยสนใจซื้อสินค้านี้
สำหรับสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ นั้น ในปัจจุบันจะพบได้ในร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าอาหารทั่วๆ ไป เนื่องจากราคาของสินค้าเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างไปจากสินค้าอาหารอื่นๆ เท่าใด ยกเว้นเนื้อสัตว์ที่ยังมีราคาสูงกว่าประมาณร้อยละ 10 — 15 ส่วนแบ่งตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในร้านค้าแต่ละประเภทมี ดังนี้
1. ซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วๆ ไป ร้อยละ 40 2. Discount store “ 32 3. ร้านค้าสินค้าเพื่อสุขภาพ (Reform House) “ 23 4. ซุปเปอร์มาณ์เก็ตสินค้า เกษตรอินทรีย์ “ 5
โดยส่วนแบ่งตลาดของร้านซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป และแบบ discount store จะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอดเนื่องจากร้านค้าประเภทนี้สามารถเสนอขายสินค้าในราคาที่ถูกกว่าร้านค้าประเภทอื่นๆ นอกจากนี้ เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในสภาวะซบเซาถดถอย จึงทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่พิจารณาราคาของสินค้ามากขึ้น
เกี่ยวกับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แบบเกษตรอินทรีย์ มีระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้ในแนวทางการปฏิบัติของ Bioland (เป็นสมาคมฯ ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี มีสมาชิกเป็นเกษตรกรเพาะปลูกสินค้าเกษตรอินทรีย์ 4,967 ราย บนพื้นที่เพาะปลูก 243,966 เฮคเตอร์) โดยยึดถือตามข้อกำหนดของ EU
- Regulation 2092/91 (24 มิถุนายน ค.ศ. 1991) Organic production
- Directive 2001/18/EC Genetic modified organisms
- Regulation 837/2007 Organic production and labelling..
- Regulation 967/2008 Organic production...
- Regulation 889/2008 Organic production...
- Regulation 1254/2008 Organic production..
ตามแนวทางการปฏิบัติของสมาคม Bioland ประกอบด้วยข้อกำหนดเกี่ยวกับ
- การเพาะปลูกพืชพันธุ์ไม้
- กิจการปศุสัตว์
- การแปรรูปเป็นสินค้าเพื่อการจำหน่าย
โดยมีสาระสำคัญๆ สรุปได้ ดังนี้
5.1 การเพาะปลูกพืชพันธุ์ไม้
ห้ามใช้พืชที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม สารเคมี ปุ๋ยเคมีต่างๆ การเพาะปลูกต่างๆ พยายามให้เหมาะสมกับพื้นที่ในเขตนั้นๆ พยายามอนุรักษ์ ดูแลให้พื้นที่เพาะปลูกมีความอุดม สมบูรณ์ โดยใช้ปุ๋ยธรรมชาติ ปราบแมลง วัชพืชต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมกับการผลิต รวมทั้งการทำให้ผลผลิตมีคุณภาพสูง การคำนึงถึงสภาพแวดล้อม การใช้ทรัพยากร ดินและน้ำที่เหมาะสม ประหยัด และไม่ทำให้เกิดอันตรายกับสภาพแวดล้อม
5.2 กิจการปศุสัตว์
การเลี้ยงสัตว์เป็นกิจการที่เหมาะสมกับการทำการเกษตรอินทรีย์ กำหนดให้การเลี้ยงเป็นไปตามธรรมชาติมากที่สุด การจัดสร้างคอก บริเวณที่เลี้ยง สัดส่วน ปริมาณของสัตว์เลี้ยงต่อพื้นที่ เช่น
- ไก่ไข่ในคอก 6 ตัว กลางแจ้ง 4 ตัว/ตารางเมตร
- สัตว์ปีกอื่นๆ ในคอก 10 — 16 ตัว/ตารางเมตร
- วัวเนื้อหนักไม่เกิน 100 กก. มีพื้นที่ 1.5 ตารางเมตร/ตัว
- วัวเนื้อหนักไม่เกิน 350 กก. มีพื้นที่ 4 ตารางเมตร/ตัว
- วัวนม มีพื้นที่ 6 ตารางเมตร/ตัว
- สุกร 7.5 ตารางเมตร/ตัว
- ประเภทกระต่าย 0.3 — 0.8 ตารางเมตร/ตัว
5.3 การแปรรูปเป็นสินค้าเพื่อการจำหน่าย
1) จุดประสงค์หลัก คือ การทำให้อาหารมีคุณค่าสูงสุด และมีรสชาดเป็นธรรมชาติที่สุดจะอนุญาตให้ใช้วัตถุดิบจากกิจการที่ผลิตสินค้าตามแนวทางการปฏิบัตของสมาคมฯ การใช้สารประกอบสารผสมต้องเป็นไปตามระเบียบ EU 2092/91 วัสดุ หีบห่อ บรรจุภัณฑ์ควรเป็นประเภทที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่ หรือเป็นภาชนะที่ไม่เกิดปัญหา ภาระต่อสิ่งแวดล้อมมากเกินความจำเป็น
2) ป้ายฉลาก ที่ติดกำกับสินค้า ทำให้เห็นได้ชัดเจน และมีขนาดตัวอักษรตามที่กำหนดไว้ใน Food law ของเยอรมนี เช่น
ขนาดบรรจุ ความสูง 5 — 50 กรัม 2 มิลลิเมตร 50 — 200 กรัม 3 “ 200 — 1000 กรัม 4 “ เกิน 1000 กรัม 6 “
5.4 การตรวจสอบ
สมาคม Bioland จะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ดูแลความถูกต้องของพื้นที่ทำการเกษตร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีสำนักงานสาขาตั้งในแคว้นต่างๆ ของเยอรมนี ในส่วนของผู้ประกอบการ จะต้องปฏิบัติตามแนวทางที่สมาคมฯ กำหนดไว้ อย่างเคร่งครัด การเปลี่ยนแปลงใดๆ ผู้ประกอบการการจะต้องแจ้งให้สมาคมฯ ทราบและได้รับการตรวจสอบก่อน นอกจากนี้จะต้องทำบัญชี บันทึกการทำงาน ปัญหาและการแก้ไขปัญหาในการผลิตรวบรวมไว้พร้อมที่จะให้สมาคมฯ ตรวจสอบได้อีกด้วย
5.4 ตราสัญลักษณ์
สินค้า Bio ของแต่ละกิจการต่างมีเครื่องหมายการค้า ยี่ห้อ ของตนเอง ขณะเดียวกันสามารถใช้ตราสัญลักษณ์ของทางการติดประทับเพิ่มเติมได้ เมื่อมีกระบวนการผลิตถูกต้องตามวิธีการของสมาคมฯ
6. ผู้บริโภคให้ความสนใจเกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้นและให้ความใส่ใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของสินค้าแหล่งที่มา ขั้นตอนการผลิต รวมทั้งระมัดระวังสินค้าที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (genetic modification)เพิ่มมากขึ้น และจากการที่มีระบบโลจิสติก การขนส่งสินค้าที่สะดวกรวดเร็ว ทำให้มีสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่นำเข้าจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลกเสนอขายตามท้องตลาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ในเยอรมนีมีสินค้าประเภทนี้เป็นจำนวนหลายหมื่นชนิด วางจำหน่ายตามร้านค้าต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยที่มีวางจำหน่ายในร้านค้าของชำอาหารเอเชียเป็นส่วนใหญ่ปัจจุบันตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์มีมูลค่า 5,800 ล้านยูโร หรือร้อยละ 5.3 ของมูลค่าตลาดสินค้าอาหาร เป็นมูลค่าที่น้อยและยังมีโอกาสที่จะขยายตัวได้อีกมาก โดยเฉพาะในเยอรมนีที่ถือเป็นตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ที่สำคัญตลาดหนึ่งของโลก
7.1 Bioland Bundesverband
Kaiserstr. 18
55116 Mainz
Tel. +49 (0) 6131 - 239 790
Fax. +49 (0) 6131 - 239 7927
Website: www.bioland.de
7.2 Demeter
Brandschneise 2
64295 Darmstadt
Tel. +49 (0) 6155 - 8469 55
Fax +49 (0) 6155 - 8469 11
Website: www.demeter.de
7.3 Naturland e.V.
Kleinhaderner Weg 1
82166 Grafelfing
Tel. +49 (0) 89 - 8980 820
Fax +49 (0) 89 - 8082-90
Website: www.naturland.de
7.4 Bundesverband Naturkost Naturwaren
Herstellung und Handel eV (BNN)
(Organic Processors and Traders Association)
Albrechtstr. 22
D-10117 Berlin
Tel. +49 (0) 30 - 847 122 444
Fax +49 (0) 30 - 847 122 440
E-Mail: kontakt@n-bnn.de
Website: www.n-bnn.de
7.5 Bund Oekologische Lebensmittelwirtschaft
Marienstrasse 19-20
10117 Berlin
E-Mail info@boelw.de
Website: www.boelw.de
7.6 Bundesfachverband der Reformhauser
Ernst-Litfass-Strabe 16
19246 Zarrentin
Teln: +49 (0) 38851 - 51 110
Fax: +49 (0) 38851 - 51 299
Website: www.refo.de
E-Mail: kontakt@refo.de
7.7 GAA e.V.
Arndtstrabe 11
D-01099 Dresden
Tel.: +49 (0) 351 — 401 2389
Fax: +49 (0) 351 — 401 5519
Website: www.gaea.de
7.8 Alnatura
Darmstadterstr. 3
64404 Bickenbach
Tel. +49 (0) 6207 - 93220
Fax: +49 (0) 6207 - 923344
Website: www.alnatura.de
7.9 Frosta AG
Am Lunedeich 116
27572 Bremerhaven
Tel. +49 (0) 471 - 9736125
Fax +49 (0) 471 - 74349
Website: www.frosta.de
- http://ec.europa.eu/agriculture/organic/home_en (สินค้าเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป)
- www.oekolandbau.de (สำหรับผู้บริโภค ผู้ผลิตและแปรรูป)
- www.ifoam.de (สมาคมหลัก สินค้า Bio)
- www.soel.de (ข้อมูลการเพาะปลูก)
- www.fibl.de (สถาบันวิจัยสินค้า Bio)
9.1 รายชื่อผู้ค้า นำเข้า
9.2 ระเบียบสหภาพยุโรปเกี่ยวกับสินค้าเกษตรอินทรีย์รวม 5 ฉบับ
9.3 ระเบียบเกี่ยวกับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ กรุงเบอร์ลิน
ที่มา: http://www.depthai.go.th