เมืองหลวง : Doha พื้นที่ : 11,521 ตารางกิโลเมตร ภาษาราชการ : Arabic ; English widely used ประชากร : 820,000 คน (mid 2006) อัตราแลกเปลี่ยน : QR 3.64 : US$ 1 (6/04/52) (1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2008 ปี 2009
Real GDP growth (%) 11.2 11.6 Consumer price inflation (av; %) 14.8 9.2 Budget balance (% of GDP) 6.8 -6.8 Current-account balance (% of GDP) 18.2 -2.9 Exchange rate QR:US$ (av) 3.64 3.64 Exchange rate QR: (av) 5.35 4.9 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับกาตาร์ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 94.40 100.00 137.49 สินค้าเกษตรกรรม 1.75 1.85 6.40 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 1.47 1.56 23.65 สินค้าอุตสาหกรรม 91.12 96.53 147.13 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 0.05 0.05 27.72 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับกาตาร์ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 153.47 100.00 -71.33 สินค้าเชื้อเพลิง 138.34 90.15 -70.67 สินค้าทุน 0.0 0.0 -77.63 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 15.10 9.84 -76.23 สินค้าบริโภค 0.02 0.02 -13.87 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ฯ 0.0 0.0 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -200 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - กาตาร์ 2550 2551 D/%
(ม.ค.-ก.พ.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 574.94 247.86 -56.89 การส่งออก 39.75 94.40 137.49 การนำเข้า 535.19 153.47 -71.33 ดุลการค้า -495.44 -59.07 -88.08 2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดกาตาร์เป็นอันดับที่ 23 มูลค่า 153.47 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ -71.3 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 153.47 100.00 -71.30 1.น้ำมันดิบ 138.34 90.15 -70.67 2.ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชฯ 9.05 5.90 -83.94 3.เคมีภัณฑ์ 6.04 3.94 -15.61 4.ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 0.01 0.01 81.20 5.ผลิตภัณฑ์กระดาษ 0.01 0.0 -1.52 อื่น ๆ 0 0.0 -97.30 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปตลาดกาตาร์เป็นอันดับที่ 34 มูลค่า 94.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 137.4 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออก 94.40 100.00 137.40 1.เหล็ก เหล็กกล้า 36.30 38.45 516.74 2.รถยนต์ อุปกรณ์และฯ 23.21 24.59 52.44 3.อัญมณีและเครื่องประดับ 14.93 15.82 404.26 4.สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล 5.31 5.63 2,000 5.เครื่องปรับอากาศฯ 2.80 2.97 9.54 อื่น ๆ 2.02 2.14 1.24 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปกาตาร์ ปี 2551 (มค.-กพ.) ได้แก่
เหล็ก เหล็กกล้า : กาตาร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-กพ.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 47.88 18.62 22.74 และ 516.74 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : กาตาร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 15 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-กพ.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 162.13 7.34 20.62 และ 52.44 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
อัญมณีและเครื่องประดับ : กาตาร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 14 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-กพ.)พบว่า ปี 2549 และ 2550 มีอัตราการขยายตัวลดลง(-3.10% -60.97%) ในขณะที่ปี 2551 2552 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 344.68 และ 404.26 ตามลำดับเมื่อ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-กพ.) พบว่าปี 2551 มีอัตราการขยายตัวลดลง (-60.37% ) ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2552 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.58 4,553.56 และ 2,000 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เครื่องปรับอากาศฯ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-กพ.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 2.31 6.42 50.25 และ9.54 ตามลำดับเมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว หมายเหตุ ล้านเหรียญสหรัฐ % 1.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 36.30 516.74 2.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 23.21 52.44 3.อัญมณีและเครื่องประดับ 14.93 404.26 4.สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล 5.31 2,000.00 16. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 0.28 365.69 18.ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปฯ 0.20 101.11 19.รองเท้าและชิ้นส่วน 0.18 106.49 21.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ 0.14 57.03 22.เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวฯ 0.13 80.32 24.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 0.12 108.51 25.ทองแดงและของทำด้วยทองแดง 0.12 1,035.37 4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดกาตาร์ปี 2551 (ม.ค.- ก.พ.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงรวม 9 รายการ คือ อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว ล้านเหรียญสหรัฐ % 7.ปูนซิเมนต์ 1.64 -49.24 9.กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 0.60 -7.36 10.ผลิตภัณฑ์ยาง 0.47 -53.27 11.เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งฯ 0.46 -9.19 12.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 0.40 -17.05 13.ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 0.39 -49.48 15.ผลิตภัณฑ์เซรามิก 0.28 -1.07 20.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 0.17 -45.22 23. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 0.12 -58.35 4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
ในขณะที่ทั่วโลกประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากสหรัฐอเมริกาก่อนที่จะลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ในหลายภูมิภาค ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศต่างๆ ลดลง ประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าจึงต้องพยายามแสวงหาตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ หนึ่งในนั้น คือ ตลาดในแถบตะวันออกกลาง โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม GCC (Gulf Cooperation Councill) ซึ่งประเทศที่นับว่าเป็นดาวเด่นและน่าสนใจที่สุดในปัจจุบัน คือ กาตาร์ จากรายงานของ IMF Country Report No. 09/28 (January 2009) ระบุว่า ในปี 2552 กาตาร์จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 29 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.4 ในปีก่อนหน้า จึงนับเป็นอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 10 ปี ทั้งนี้ IMF คาดว่ากาตาร์จะเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในภูมิภาค ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตก๊าซธรรมชาติเพิ่มได้เป็น 2 เท่า นอกจากนั้น รัฐบาลกาตาร์ยังสามารถรับมือกับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะมีจำนวนประชากรเพียง 1.3 ล้านคน แต่กาตาร์มีจุดเด่นอยู่ที่การมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี ประชาชนภายในประเทศโดยรวมมีความมั่งคั่ง ดังนั้น ความต้องการบริโภคสินค้าราคาแพงอย่างอัญมณีและเครื่องประดับจึงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งในภาคการผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของกาตาร์ยังถือได้ว่าเป็นเพียงอุตสาหกรรมขนาดเล็กโดยมักเป็นร้านหรือเวิร์คชอปที่ทำการปรับแก้ขนาด/ซ่อมแซมสินค้าให้กับลูกค้าเป็นหลัก ส่วนการผลิตเครื่องประดับทั้งชิ้นมีบ้างในช่วงเทศกาลสำคัญซึ่งจะเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้ารวมไปถึงการนำปากกามาประดับเพชร ตลอดจนการผลิตกระดุมข้อมือเสื้อประดับพลอยสีและเพชร กิจการเครื่องประดับเพชร ตลอดจนการผลิตกระดุมข้อมือเสื้อประดับพลอยสีและเพชร กิจการเครื่องประดับส่วนใหญ่ไม่นิยมผลิตเครื่องประดับขึ้นเองและมีแนวโน้มนำเข้าเครื่องประดับเพิ่มสูงขึ้นจากการที่ชาวกาตาร์รุ่นใหม่หันมานิยมรูปแบบเครื่องประดับที่ทันสมัยจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงน่าจะเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับจากไทย ในการเจาะตลาดอัญมณีและเครื่องประดับกาตาร์อาจจะใช้ส่วนผสมทางการตลาด ที่เหมาะสมดังนี้
สินค้า: สินค้าที่ควรนำเสนอให้แก่ผู้บริโภคชาวกาตาร์คือ เครื่องประดับทองคำโดยเฉพาะ เครื่องประดับทองขาว และเครื่องประดับแพลทินัมคุณภาพสูง โดยเครื่องประดับดังกล่าวควร ตกแต่งด้วยอัญมณีที่มีขนาดใหญ่ มีสีสันสดใส และควรนำเสนอเครื่องประดับเป็นชุดได้แก่ สร้อยคอ ต่างหู แหวน สร้อยข้อมือ หากเป็นไปได้ควรออกแบบเครื่องประดับให้เข้าชุดกับ นาฬิกาประดับอัญมณีแบรนด์เนมชั้นนำเพื่อกระตุ้นยอดขายอีกทางหนึ่งด้วย
ราคาสินค้า: ระดับราคาอาจไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคชาวกาตาร์มากนัก ปัจจัยสำคัญที่มักถูกพิจารณาเป็นหลักก็คือ รูปแบบและคุณภาพ แม้ว่ากาตาร์ไม่มีกฎหมายบังคับให้เครื่องประดับที่จำหน่ายในประเทศต้องประทับเครื่องหมายรับรองค่าความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่าบนตัวเรือนเครื่องประดับ แต่เครื่องประดับคุณภาพสูงส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในกาตาร์เป็น สินค้านำเข้าซึ่งมักผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพจากห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ที่มี ชื่อเสียงอีกทั้งยังจัดจำหน่ายผ่านผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจใน คุณภาพสินค้า ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรส่งสินค้าผ่านผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องประดับรายใหญ่เพื่ออาศัยช่องทางการกระจายสินค้าและฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่แล้ว อีกทั้งควรตรวจสอบคุณภาพเครื่องประดับให้ได้มาตรฐานพร้อมประทับตรารับรองคุณภาพความบริสุทธิ์และตราประทับของผู้ผลิตไทยเพื่อโอกาสในการพัฒนาฐานลูกค้าของตนเองในอนาคต
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงธุรกิจการค้าของประเทศกาตาร์ว่า ทั้ง 2 ประเทศเห็นพ้องต้องกันที่จะกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าให้แน่นแฟ้นขึ้นในระดับของผู้นำ โดยเห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้ากาตาร์ขึ้น โดยให้มีนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจเป็นประธาน เพื่อเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น รวมทั้งเชิญชวนให้นักลงทุนจากกาตาร์เข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทย และใช้บริการธุรกิจสุขภาพท่องเที่ยว ซึ่งกาตาร์ถือเป็นประเทศคู่ค้าที่มีอนาคตดี เนื่องจากมีรายได้ต่อหัวสูงติด 1 ใน 3 ของโลก นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังกล่าวอีกว่าเร็วๆ นี้ นายกรัฐมนตรีของไทยมีแผนการที่จะเดินทางเยือนประเทศกาตาร์อย่างเป็นทางการ เพื่อทำให้การค้าระหว่างไทยกับกาตาร์มีมูลค่าที่สมดุลมากขึ้น จากที่ปัจจุบันประเทศไทยเป็นฝ่ายขาดทุนทางการค้ากับกาตาร์มาโดยตลอดจากการนำเข้าน้ำมัน ทั้งนี้ สภานักธุรกิจกาตาร์ ว่า ทางสภาธุรกิจกาตาร์ ต้องการสร้างกลไกให้การทำธุรกิจของ 2 ประเทศ มีระบบอย่างต่อเนื่อง โดยยืนยัน รัฐบาลไทยจะให้การสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภานักธุรกิจร่วมของ 2 ประเทศขึ้น เพื่อให้เป็นช่องทางในการกระชับความสัมพันธ์ และแนะนำสินค้าของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จัก และยอมรับในตลาดกาตาร์ ผ่านงานแสดงสินค้าต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้มีโอกาสหารือร่วมกับ ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมกาตาร์ ซึ่งทางหอการค้าประเทศกาตาร์ พร้อมจะให้ความร่วมมือกับทาง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้า และเดินทางเยือนหอการค้าไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อขยายมูลค่าการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th