สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ออสเตรเลีย ปี 2552 (ม.ค.-ก.พ.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 27, 2009 17:30 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง         :  Canberra
พื้นที่              :  7,682,400  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ       :  English
ประชากร          :  21,017,200 คน (June 2007)
อัตราแลกเปลี่ยน     :  AUD : Baht 24.171 (01/04/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2008 ปี 2009

Real GDP growth (%)                                  2.2        0.5
Consumer price inflation (av; %)                     4.7        3.1
Federal government budget  balance (% of GDP)       -0.3       -1.1
Current-account balance (% of GDP)                  -5.0       -4.8
US$ 3-month commercial paper rate (av; %)            5.0        3.1
Exchange rate ฅ:US$ (av)                             1.2        1.6

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับออสเตรเลีย
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   1,570.11           100         20.65
สินค้าเกษตรกรรม                       22.4            1.43         -5.44
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               59.9            3.81         -1.47
สินค้าอุตสาหกรรม                     1,454.61          92.64        26.07
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    33.2            2.11         -47.32
สินค้าอื่นๆ                              0                0

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับออสเตรเลีย
                                         มูลค่า :        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               333.44          100.00        -49.10
สินค้าเชื้อเพลิง                              81.21           24.35        -30.15
สินค้าทุน                                   16.07            4.82        -37.23
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   200.51           60.14        -57.19
สินค้าบริโภค                                33.33           10.00        -14.95
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ฯ                     2.28            0.68        -59.01
สินค้าอื่นๆ                                   0.03            0.01        177.32

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ออสเตรเลีย
                           2551            2552          D/%

(ม.ค.- ก.พ.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             1,956.37        1,903.54       -2.70
การส่งออก                 1,301.32        1,570.11       20.65
การนำเข้า                   655.04          333.44      -49.10
ดุลการค้า                    646.28        1,236.67       91.35

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดออสเตรเลียเป็นอันดับที่ 14 มูลค่า 333.44 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 49.1 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                         มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                         333.44          100.00        -49.10
1. สินแร่โลหะอี่น ๆ เศษโลหะ                  83.02           24.90        -50.16
2. พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช                      50.74           15.22         28.42
3. น้ำมันดิบ                                46.50           13.94        -51.91
4. ถ่านหิน                                 34.11           10.23         80.12
5. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินฯ               32.21            9.66        -60.31
          อื่น ๆ                           12.63            3.79        -50.37

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดออสเตรเลีย เป็นอันดับที่ 4 มูลค่า 1,570.11 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.65 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                   1,570.11         100.00         20.65
1. อัญมณีและเครื่องประดับ                849.67          54.12        185.52
2. รถยนต์ อุปกรณ์ฯ                     241.70          15.39        -49.38
3. เหล็ก เหล็กกล้าฯ                     68.21           4.34        150.89
4. อาหารทะเลกระป๋อง                   34.43           2.19          4.24
5. น้ำมันสำเร็จรูป                       31.49           2.01        -31.05
            อื่น ๆ                     90.87           5.79        -36.28

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปออสเตรเลีย ได้แก่

อัญมณีและเครื่องประดับ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 (มค.-กพ.)พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 415.94 110.57 137.22 และ 185.52 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

รถยนต์อุปกรณ์ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2552(มค.-กพ.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (-49.38%) ในขณะที่ปี 2549-2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 21.38 64.62 และ 8.82 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 16 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2549 และ 2552 (มค.-กพ.) มีอัตราการขยายตัวลดลง(-23.59% และ 68.77%) ในขณะที่ปี 2550-2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.36 และ 39.91 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อาหารทะเลกระป๋องฯ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 7.82 12.99 36.26 และ 4.24 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

น้ำมันสำเร็จรูป : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 281.50 27.22 และ 563.76 ตามลำดับ มีเพียงปี 2552 (มค.-กพ.) เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 31.05

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดออสเตรเลีย ปี 2552 (มค.-กพ.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 25 มีรวม 6 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                     มูลค่า           อัตราการขยายตัว       หมายเหตุ
                                   ล้านเหรียญสหรัฐ            %
2. อัญมณีและเครื่องประดับ                  849.67            185.52
3. เหล็ก เหล็กกล้า                        68.21            150.89
8. เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง              22.15             80.72
15.เครื่องทำสำเนา                         9.97            187.66
22.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                         4.84             27.22
24.กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง                       3.72             37.02

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดออสเตรเลีย ปี 2552 (ม.ค.- ก.พ.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม  17 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                          มูลค่า          อัตราการขยายตัว
                                       ล้านเหรียญสหรัฐ            %
2.รถยนต์ และส่วนประกอบ                       241.70           -49.38
5.น้ำมันสำเร็จรูป                               31.49           -31.05
6.เม็ดพลาสติก                                 30.95           -23.91
7.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                 29.62           -13.64
9.ผลิตภัณฑ์ยาง                                 20.96            -6.06
10.เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ               19.26           -10.08
11.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                             18.14           -27.30
12.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                   15.61            -8.82
13.เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว            14.89            -4.30
14.ข้าว                                      10.52            -2.01
16.กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ                     9.01           -11.20
17.เคมีภัณฑ์                                    8.51           -22.11
18.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                         7.49           -41.05
19.เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ                 7.35           -38.51
21.อาหารสัตว์เลี้ยง                              6.06            -1.70
23.แก้วและกระจก                               3.86           -28.77
25.เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน          3.48            -8.46

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (Thailand-Australia Free Trade Agreement : TAFTA) เป็นความตกลงการค้าเสรี ฉบับแรกของไทยที่ทำกับประเทศที่พัฒนาแล้วผ่านไป 4 ปี นับตั้งแต่ปี 2548 การค้าระหว่างไทยกับออสเตรเลียขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรของไทย ภายใต้ความตกลง TAFTA (ปี 2548-2551) การค้าระหว่างไทยกับออสเตรเลียมีมูลค่าเฉลี่ย 9,211 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 158.78% เป็นมูลค่าการส่งออกเฉลี่ย 5,308.67 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 178.24% และเป็นมูลค่าการนำเข้าเฉลี่ย 3,902.58 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 136.25% เมื่อเทียบกับมูลค่าเฉลี่ย 4 ปี (ปี 2544-2547) ก่อนทำ TAFTA สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกเพิ่มขึ้น เช่นรถยนต์และอุปกรณ์ อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็กและเหล็กกล้า เม็ดพลาสติก เป็นต้น ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีความเข้มงวดมากในเรื่องมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measure : SPS) ในอดีตสินค้าเกษตรไทยไม่สามารถเข้าตลาดออสเตรเลียได้ เพื่อแก้ไขหรือลดปัญหาดังกล่าวระหว่างกัน ภายใต้ TAFTA จึงได้มีการจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญร่วมสองฝ่ายด้าน SPS ส่งผลให้ ขณะนี้สินค้าเกษตรไทยสามารถเข้าตลาดออสเตรเลียได้แล้ว เช่น มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ สัปปะรด ทุเรียน ส้มโอแกะเปลือก ปลาสวยงาม และกุ้งปรุงสุกและแปรรูป เป็นต้น โดยในปี 2551 สินค้าดังกล่าวรวมส่งออกไปออสเตรเลียมีมูลค่าถึง 35.44 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังมีสินค้าไทยอีกกลุ่มหนึ่งที่รอการตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยงจากออสเตรเลียได้เพิ่มอีก ในขณะเดียวกันส้มและมันฝรั่งของออสเตรเลียสามารถนำเข้าไทยได้ โดยในปี 2551 มีการนำเข้าสินค้านี้รวมเป็นมูลค่า 1.53 ล้านเหรียญสหรัฐ และอยู่ระหว่างการตรวจวิเคราะห์ของไทย ได้แก่ เนื้อหมู โคพันธุ์ และม้า การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ TAFTA โดยการขอใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ในปี 2548-2551 มีการใช้สิทธิประโยชน์ด้านการส่งออก คิดเป็นสัดส่วน 68% 63% 69% และ 62% ของมูลค่าการส่งออกไปออสเตรเลียทั้งหมดตามลำดับ สำหรับสินค้าที่ขอใช้สิทธิมากที่สุด ได้แก่ รถบรรทุกชนิดแวนและปิกอัพ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างหรือผนัง ปลาที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ในขณะที่การใช้สิทธิประโยชน์ด้านการนำเข้า คิดเป็นสัดส่วน 15% 14% 11% และ 10% ของมูลค่าการนำเข้าจากออสเตรเลียทั้งหมดสินค้านำเข้าที่ขอใช้สิทธิประโยชน์มากที่สุด ได้แก่ สินแร่ อลูมิเนียม มอลต์ ไหม และธัญพืช เป็น

"ออสเตรเลีย" เป็นช่องทางส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทยโดยเฉพาะสินค้ากุ้ง และผลิตภัณฑ์มีโอกาสสูงมากที่จะเข้าไปตีตลาดในออสเตรเลีย ซึ่งอนาคตมีแนวโน้มค่อนข้างสดใส ถึงแม้ออสเตรเลีย จะมีกฎระเบียบ เงื่อนไขและมาตรการควบคุมการนำเข้าอย่างเข้มงวดจากกระบวนการผลิตสินค้ากุ้งไทยที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยทางด้านอาหาร (Food Safety) เชื่อว่ากุ้งไทยจะได้รับยอมรับและสามารถเข้าไปโลดแล่นในตลาดออสเตรเลียได้อย่างสง่างาม สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า Sydney Fish Market เป็นตลาดค้าส่งสินค้าอาหารทะเลสำคัญที่สุดของนครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลียตลาดดังกล่าวเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าทะเลที่มีความหลากหลายแหล่งใหญ่เป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่นซึ่งได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย มีการบริหารจัดการซื้อขายสินค้าโดยใช้ระบบประมูล ซึ่งทำให้เกิดความรวดเร็ว โปร่งใส ได้ราคาที่เหมาะสมทั้งผู้ขายและผู้ซื้อการประมูลแต่ละครั้งใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง มีปริมาณการประมูลมากกว่า 65ตัน/วัน หรือกว่า 13,000 ตัน/ปี ในจำนวนนี้มีสินค้ากุ้งที่นำเข้าจากประเทศไทยบางส่วนถูกประมูลผ่านตลาดแห่งนี้ด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมงาน Thai Food Festival ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยสถานกงสุลใหญ่ซิดนีย์และสมาคมร้านอาหารไทย เพื่อประชาสัมพันธ์อาหารไทยและร้านอาหารไทย สำหรับปีนี้ใช้ชื่องานว่า "Thai Food Festival : Thai Prawn Showcase 2008" เนื่องจากเน้นเรื่องของการประชาสัมพันธ์กุ้งไทยโดยใช้กุ้งเป็นวัตถุดิบหลักในเมนูอาหารไทยพร้อมทั้งนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง และกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยให้ออสเตรเลียทราบว่า มีการระบบการผลิตที่ถูกต้องตามสุขอนามัยและได้มาตรฐานระดับสากลขณะเดียวกัน ยังแสดงให้เห็นศักยภาพการผลิต การแปรรูปและกระบวนการตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก เพื่อให้สื่อมวลชนของออสเตรเลียเกิดความเชื่อมั่นในสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของกุ้งไทยด้วย อนาคตคาดว่า จะสามารถช่วยผลักดันการส่งออกสินค้ากุ้งไทยไปยังออสเตรเลียได้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังจะ ทำให้อาหารไทยและร้านอาหารไทยในออสเตรเลียเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการนำเข้าวัตถุดิบ สินค้าเกษตรและอาหารจากไทยมากขึ้นด้วย เป็นผลให้ราคาพืชผลทางการเกษตรในประเทศขยับตัวสูงขึ้น และช่วยลดปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมาไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ไปออสเตรเลียประมาณ 1,600 ล้านบาท และตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2551 ส่งออกแล้วประมาณ 5,225 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,260 ล้านบาท

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ