สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สหราชอาณาจักรในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552 สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 18, 2009 15:26 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง           :   London
พื้นที่                :   244,100 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ         :   English
ประชากร            :   60.6 ล้านคน (2006)
อัตราแลกเปลี่ยน       :   1 GBP = 52.207 บาท (14/05/52)

เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                       0.7        -3.6
Consumer price inflation (av; %)          3.6         0.4
Budget balance (% of GDP)                -5.3       -11.3
Current-account balance (% of GDP)       -1.8        -2.8
Exchange rate ฅ:US$ (av)                 1.85        1.49

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหราชอาณาจักร
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                    662.54          100.00        -29.49
สินค้าเกษตรกรรม                      119.03           17.97        -10.98
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               66.84           10.09         -4.84
สินค้าอุตสาหกรรม                      424.74           64.11        -36.20
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    51.93            7.84        -25.70
สินค้าอื่นๆ                               0.0             0.0       -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหราชอาณาจักร
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               321.95           100.00         -24.19
สินค้าเชื้อเพลิง                              14.93             4.64       1,477.96
สินค้าทุน                                  143.06            44.44          -8.69
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                    82.31            25.57         -48.65
สินค้าบริโภค                                72.19            22.42         -21.64
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  8.73             2.71         -39.90
สินค้าอื่นๆ                                   0.72             0.22         776.50

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหราชอาณาจักร
                           2551           2552        D/%

(ม.ค.-มีค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            1,364.27         984.49     -27.84
การส่งออก                  939.62         662.54     -29.49
การนำเข้า                  424.66         321.95     -24.19
ดุลการค้า                   514.96         340.59     -33.86

2. การนำเข้า
สหราชอาณาจักร เป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 22 มีมูลค่า 321.95 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 24.16 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                     321.95           -24.19         100.00
1. เครื่องจักรกล                        86.43            26.85          43.24
2. เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่                 23.53             7.31         -41.51
3. เคมีภัณฑ์                            20.87             6.48         -35.19
4. เครื่องคอมพิวเตอร์                    17.65             5.48         -44.73
5. ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและฯ                 16.47             5.12           9.50
             อื่น ๆ                    30.31           -59.47           9.41

3. การส่งออก
สหราชอาณาจักร เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 12 มีมูลค่า 662.54 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 29.49 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                     662.54           -29.49         100.00
1. ไก่แปรรูป                           89.29            13.48          -3.11
2. น้ำมันสำเร็จรูป                       51.72             7.81         -25.98
3. อัญมณี และเครื่องประดับ                50.94             7.69           3.70
4. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                      39.20             5.92          -6.98
5. เครื่องคอมพิวเตอร์                    33.00             4.98         -45.45
             อื่น ๆ                   119.52           -39.70          18.04

4. ข้อสังเกต
4.1  สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหราชอาณาจักร ในไตรมาสแรก(ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552 ได้แก่

ไก่แปรรูป : สหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่าในไตรมาสแรกของปี 2552 (มค.-มีค.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-3.11) ในขณะที่ระหว่างปี 2548 — 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่องร้อยละ 25.34 25.34 และ 49.60 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

น้ำมันสำเร็จรูป : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2552 (มค.-มีค.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-25.98)

อัญมณีและเครื่องประดับ : สหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 7 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ในอัตรา 33.59 12.97 25.68 และ 3.70 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เสื้อผ้าสำเร็จรูป : สหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก ปี 2548- 2552 พบว่าปี 2550 และปี 2552 (มค.-มีค.) ที่มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ (-5.04 และ -6.98) ในขณะที่ปี 2549 และ 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.69 และ 7.88 ตามลำดับเมื่อ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก ปี 2552 (มค.-มีค.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ (-45.45) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหราชอาณาจักร ในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552

25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 20 มีรวม 2 รายการ คือ

อันดับที่ / รายการ           มูลค่าล้าน       อัตราการขยายตัว           หมายเหตุ
                        เหรียญสหรัฐ            %
16.    เลนส์                10.97          21.38
18.    เครื่องสำอาง สบู่ฯ      10.55          62.10

4.3   ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหราชอาณาจักร  ในไตรมาสแรก   (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552
25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม  12 รายการ คือ
 อันดับที่ / รายการ                       มูลค่า            อัตราการขยายตัว
                                   ล้านเหรียญสหรัฐ            %
1. ไก่แปรรูป                            89.29              -3.11
2. น้ำมันสำเร็จรูป                        51.72             -25.98
4. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                       39.20              -6.98
5. เครื่องคอมพิวเตอร์                     33.00             -45.45
6. แผงวงจรไฟฟ้า                        32.66             -19.54
9. เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                  25.43             -34.43
10.รถยนต์ อุปกรณ์                        16.74             -83.94
11.ผลิตภัณฑ์ยาง                          15.08             -12.83
12.รองเท้า และชิ้นส่วน                    14.40              -0.24
13.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                       12.87             -44.78
15.เครื่องใช้ไฟฟ้า                        11.20             -27.15
17.เครื่องจักรกลและส่วนฯ                  10.70             -66.65
20.เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร                   8.66             -28.84
21.เหล็ก เหล็กกล้า                        8.59             -23.81
22.เครื่องปรับอากาศ                       8.20             -36.60
23.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้                       7.23             -16.20
24.กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                     6.52             -17.59

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

จากการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทำให้การบริโภคเนื้อสุกรลดลงแล้วหันมาซื้ออาหารชนิดอื่นแทน อาทิ ไก่แปรรูป ปรุงสุก-อาหารทะเล ทำให้ยอดสั่งซื้อเนื้อไก่จากอียูและญี่ปุ่นเพิ่ม 10% ปัจจุบันหลายประเทศในสหภาพยุโรป (อียู) เพิ่มการสั่งซื้อสินค้าเนื้อไก่ปรุงสุกจากไทย เพื่อเก็บสต๊อกไว้เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร หากกรณีสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคต ทั้งนี้ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้บริโภคทั่วโลกตื่นตระหนกและลดการบริโภคเนื้อสุกรแล้วหันมาซื้อโปรตีนชนิดอื่นแทน ซึ่งน่าจะส่งผลดีกับการส่งออกสินค้าอาหารไทย อาจจะทำให้เป้าหมายเดิมที่คาดการณ์ว่าจะติดลบ 15% ในปีนี้ ปรับดีขึ้น และขณะนี้ ผู้ผลิตไก่แปรรูป-ปรุงสุกต่างเพิ่มกำลังการผลิตเต็มที่ เพื่อรองรับความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นจากตลาดหลักคือ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป อาจจะทำให้ปริมาณสินค้าไก่ภายในประเทศไม่เพียงพอและมีโอกาสที่ราคาจะปรับสูงขึ้นได้ ส่วนอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปอาจได้รับผลดีจากการส่งออกไม่มากเท่าที่ควร เพราะมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ปลา-กุ้งที่ได้จากธรรมชาติลดลง และกำลังเข้าสู่ฤดูมรสุม เพราะราคาอาจจะสูงขึ้นจากช่วงต้นปีที่ราคาวัตถุดิบได้ปรับลดลงบ้างแล้วจากราคาน้ำมัน ส่วนสัตว์น้ำเลี้ยงมีการผลิตเต็มที่ เพียงพอกับความต้องการและมีต้นทุนลดลงจากราคาอาหารสัตว์ที่ปรับลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

การพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ตามมติของคณะอนุกรรมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการนำเสนอแผนพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (National Roadmap for the Biodegradable Plastics Industry Development) ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2551-2555) และหลังจากที่มีการตั้งโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพแล้ว ผลที่จะตามมาในอุตสาหกรรมพลาสติกมีในหลายด้านด้วยกัน เช่น เกิดทางเลือกใหม่ๆ ในการใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น บรรจุภัณฑ์ ของเล่นกีฬา ชิ้นส่วนและวัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนยานยนต์และพาหนะ เครื่องใช้ภายในบ้านและใยสังเคราะห์ โดยเฉพาะในภาคของการส่งออก ก่อนหน้านี้พลาสติกชีวภาพ (อีโคเทรนด์)กลายเป็นมาตรการที่อียูนำมาใช้จัดการกับอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และพลาสติกชีวภาพจะเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่สามารถจะเข้าไปสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ในการส่งออกได้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ พยายามเตรียมความพร้อมให้มากที่สุดตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ เพราะสิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจก็คือเรื่องของกระบวนการวิจัยพัฒนาที่จะแปรสภาพมันสำปะหลังให้เป็นวัตถุดิบก่อนที่จะผลิตเป็นเมล็ดพลาสติก ซึ่งในกระบวนการการผลิตเมล็ดพลาสติกนั้น บริษัทในต่างประเทศมีความพร้อมอยู่แล้วในการที่จะนำเครื่องจักรมาผลิตได้เลย ในหลายประเทศตื่นตัวและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก อาทิ ประเทศญี่ปุ่นเองก็มีการออกพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พ.ร.บ.การนำกลับมาใช้ เพื่อต้องการให้บริษัทนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไปแล้วนำกลับมาใช้อีก ลดวัสดุและเพิ่มอายุผลิตภัณฑ์ พ.ร.บ.ที่กำหนดให้บริษัทต้องรายงานปริมาณสารเคมีและของเสียที่ปล่อยออกมาต่อรัฐบาล ในกลุ่มยุโรป ประเทศเยอรมนีระบุว่าถุงที่ย่อยสลายได้จะได้รับการยกเว้นภาษี ในอิตาลี เมืองฟลอเรนซ์ มีการห้ามซื้อขายภาชนะบรรจุอาหาร ที่ผลิตจากพลาสติกไม่ย่อยสลาย เดนมาร์กประกาศห้ามใช้ภาชนะบรรจุเครื่องดื่มที่ทำจากพลาสติกที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และนอร์เวย์มีแนวทางลดการบริโภคถุงพลาสติกจากปิโตรเคมี โดยให้ร้านค้าเก็บค่าถุงพลาสติกจากผู้บริโภค ในไอร์แลนด์จัดให้มีการเรียกเก็บภาษี 15 เซนต์ต่อถุง ซึ่งทำให้เกิดการลดปริมาณการใช้ถุงลงถึงร้อยละ 95 ในขณะที่อังกฤษ ในร้านสหกรณ์ และผู้ค้าปลีกในอังกฤษมีการนำเอาถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ ร้อยละ 100 ตามมาตรฐานพลาสติกที่ย่อยสลายได้ของสหภาพยุโรป

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศกฎเกณฑ์ทางนิเวศน์วิทยาสำหรับการปิดฉลาก eco — label สินค้าโทรทัศน์ ซึ่งมีการทบทวนใหม่เพื่อใช้แทนคำตัดสินคณะกรรมาธิการฯ ที่ 2002/255/EC ลงวันที่ 25 มีนาคม 2545 ภายใต้ระเบียบ Regulation (EC) No 1980/2000 ว่าด้วยการกำหนดโครงการ eco — label award สรุปได้ดังนี้

1. สหภาพยุโรป จะใช้กฎเกณฑ์ทางนิเวศน์วิทยาสำหรับการปิดฉลาก eco — label สินค้าโทรทัศน์ รวมทั้งข้อกำหนดการประเมินและการตรวจพิสูจน์ที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และการตลาด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 — 31 ตุลาคม 2556

2. การทดสอบควรจะดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน EN ISO 17025

3. ข้อกำหนดทางเทคนิคประกอบด้วย

  • การประหยัดพลังงาน (Energy Savings) มีข้อกำหนดเรื่อง Passive Stanby การใช้พลังงานสูงสุด และประสิทธิภาพพลังงาน
  • ปริมาณปรอทของหลอดฟลูออเรสเซนท์
  • อายุการใช้งานที่อยู่ภายใต้การประกันของโรงงาน
  • ข้อกำหนดในเรื่องโลหะหนัก เช่น แคดเมี่ยม ตะกั่ว โครเมี่ยม 6+ (PBB หรือ PBDE) ที่เป็นวัตถุทนไฟ
  • คำแนะนำ / คู่มือการใช้ ที่มีข้อมูลการใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • ข้อมูลที่ต้องปรากฎบนฉลาก eco — label

กลุ่มงานวิเคราะห์สารสนเทศศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ