สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ซาอุดิอาระเบีย ปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 19, 2009 14:03 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง          :  Riyadh
พื้นที่               :  2.15 ล้านตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ        :  Arabic
ประชากร           :  24.2 ล้านคน (2007)
อัตราแลกเปลี่ยน      :  SAR 9.384 : US$1 (24/04/52)

เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2008 ปี 2009

Real GDP growth (%)                       4.20       0.40
Consumer price inflation (av; %)          9.50       1.30
Budget balance (% of GDP)                33.60     -11.80
Current-account balance (% of GDP)       26.20     -11.70
Exchange rate ฅ:US$ (av)                  3.75       3.75

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับซาอุดิอาระเบีย
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   439.11          100.00         15.62
สินค้าเกษตรกรรม                      41.66            9.49        137.28
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              23.06            5.25         -5.76
สินค้าอุตสาหกรรม                     373.75           85.12         10.69
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    0.64            0.14        487.88
สินค้าอื่นๆ                              0.0             0.0

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับซาอุดิอาระเบีย
                                         มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                                713.23          -54.48        -54.48
สินค้าเชื้อเพลิง                              595.32          -57.30        -57.30
สินค้าทุน                                     0.06          -83.05        -83.05
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                    117.64          -31.51        -31.51
สินค้าบริโภค                                  0.22          -41.32        -41.32
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                    0.0          -75.88        -75.88
สินค้าอื่นๆ                                     0.0         -150.00       -150.00

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ซาอุดิอาระเบีย
                           2551            2552          D/%

(ม.ค.-มีค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             1,946.55        1,152.34      -40.80
การส่งออก                   379.79          439.11       15.62
การนำเข้า                 1,566.77          713.23      -54.48
ดุลการค้า                 -1,186.98         -274.12      -76.91

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดซาอุดิอาระเบีย เป็นอันดับที่ 12 มูลค่า 713.23 ล้านเหรียญสหรัฐ  ลดลงร้อยละ 54.48
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                      713.23         100.00        -54.48
1. น้ำมันดิบ                            581.06          81.47        -58.32
2. ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชฯ                 71.59          10.04         -5.59
3. เคมีภัณฑ์                             40.04           5.61        -52.05
4. น้ำมันสำเร็จรูป                        14.07           1.97
5. เครื่องเพชรพลอย                       1.77           0.25         -9.39
             อื่น ๆ                      0.01            0.0        -99.87


3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดซาอุดิอาระเบีย เป็นอันดับที่ 18 มูลค่า 439.11 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.62 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

                                            มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                             439.11          100.00         15.62
1. รถยนต์ อุปกรณ์และฯ                          242.88           55.31         35.25
2. ข้าว                                       37.62            8.57        222.41
3. เครื่องปรับอากาศและฯ                         15.39            3.51         -6.30
4. เหล็ก เหล็กกล้าและฯ                          14.02            3.19        -21.14
5. เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งฯ                   11.90            2.71         13.90
                อื่น ๆ                         25.71            5.86        -33.32

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปซาอุดิอาระเบีย ปี 2552 (ม.ค.- มี.ค.) ได้แก่

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : ซาอุดิอาระเบีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากออสเตรเลีย เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 (มค.-มีค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 31.04 5.69 24.34 และ 35.25 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

ข้าว : ซาอุดิอาระเบีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (ม.ค.-มี.ค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 16.47 56.28 173.41 และ 222.41 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องปรับอากาศและฯ : ซาอุดิอาระเบีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 14 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มีค.) พบว่า ปี 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงปีเดียว (72.96%) ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2552 (มค.มีค.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 6.35 29.14 และ 6.30 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เหล็ก เหล็กกล้าและฯ : ซาอุดิอาระเบีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 19 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มีค.) พบว่า ปี 2552 (มค.-มีค.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (-21.14%) ในขณะที่ปี 2549-2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 283.37 15.18 และ 165.28 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มีค.) พบว่าปี 2550 มีอัตราการขยายตัวลดลงเพียงปีเดียว (-20.27%)ในขณะที่ปี 2549 2551 และ 2552 (มค.-มีค.) มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 14.81 51.55 และ 13.90 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดซาอุดิอาระเบีย ปี 2552 (มค.-มีค.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูง

โดยสูงกว่าร้อยละ 20 มีรวม 7 รายการ คือ

  อันดับที่ / รายการ                             มูลค่าล้าน       อัตราการขยายตัว        หมายเหตุ
                                            เหรียญสหรัฐ            %
1. รถยนต์อุปกรณ์ฯ                                242.88           35.25
2. ข้าว                                         37.62           22.41
9. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบฯ                      8.26           59.65
12.น้ำตาลทราย                                    4.97          60,484
14.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                 4.34           23.04
23.สิ่งทออื่น ๆ                                     1.97           38.91
25.เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น            1.59           25.30

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาด ซาอุดิอาระเบีย ปี 2552 (ม.ค.-มีค.) 25 รายการแรก
สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม  12 รายการ คือ

     อันดับที่ / รายการ                             มูลค่า         อัตราการขยายตัว
                                            ล้านเหรียญสหรัฐ           %
3. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                    15.39            -6.30
4. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                        14.02           -21.14
6. ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ                      10.74           -32.98
8. เคมีภัณฑ์                                        8.49           -23.12
10.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                       7.81           -41.00
11.กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ                         5.34           -22.71
16.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้                                 3.39           -47.30
19.ผ้าผืน                                          2.65           -18.50
20.เม็ดพลาสติก                                     2.61           -69.15
21.อาหารสัตว์เลี้ยง                                  2.32           -28.39
22.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ              2.17            -4.89
24.อัญมณีและเครื่องประดับ                             1.88            -2.56

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

อุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีสัญญาณที่ดีขึ้นบ้างเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดรถยนต์ในประเทศและส่งออก ด้วยการเติบโต 20% สำหรับยอดขายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศมีอัตราเพิ่มขึ้น 0.3% ในส่วนของปัญหาอุตสาหกรรมยานยนต์ ตลาดส่งออกคงไม่สามารถไปกำหนดอะไรได้มาก เพราะจะไปกำหนดการสั่งซื้อของคู่ค้าประเทศนั้นๆ ไม่ได้ ขึ้นอยู่สภาวะเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้เร็วแค่ไหน แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่นิ่ง หรือประเทศจีนก็ดีขึ้น ทำให้น่าจะเป็น ในจำนวนการส่งออกรถยนต์ทั่วโลกจากไทย ทุกภูมิภาคติดลบหมดไม่ว่าจะเป็นตลาดใหญ่สุดออสเตรเลียลดลง 42% และโดยเฉพาะยุโรปลดลงถึง 60% มีเพียงตลาดตะวันออกกลางที่เติบโตเป็นบวก 36% ทำให้ขยับขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทยแทนออสเตรเลีย ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วนการส่งออกปัจจุบันอยู่ที่ 34% ซึ่งน่าจะมาจากตะวันออกกลางได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกน้อยที่สุด จึงเป็นตลาดที่หลายสินค้าพยายามจะเข้าไปเจาะมากขึ้น

บริษัทอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด ศูนย์รวมเฟอร์นิเจอร์ ของใช้และของตกแต่งบ้าน เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทจะรุกขยายตลาดต่างประเทศในรูปของการขายแฟรนไชส์มากขึ้น นำร่องที่ตลาดตะวันออกกลาง ดูไบ อาบูดาบี โอมาน บาห์เรน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และอินเดียก่อน หลังพบว่ามีโอกาสในการทำตลาดสูง เพราะเป็นตลาดใหญ่ ประชากรมีกำลังซื้อสูงและมีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ที่จำนวนมาก เฉพาะที่ดูไบมีต่างชาติอาศัยอยู่ประมาณ 60% เป็นคนท้องถิ่น 40% คาดว่าภายใน 3-5 ปีจะเปิดสาขาอินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ไม่ต่ำกว่า 8-10 สาขา ใช้เงินลงทุน 1,200-2,000 ล้านบาท จากนั้นจะลุยเปิดสาขาแฟรนไชส์ไปประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ล่าสุดวันที่ 15 ก.ค. 52 นี้ มีแผนเปิด "อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์" สาขาต้นแบบ ขนาดพื้นที่ 5,000 ตารางเมตร ใน "ดูไบมอลล์" ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ในดูไบ ใช้เงินลงทุน 150-200 ล้านบาท ซึ่งน่าจะประสบความสำเร็จในการทำตลาดเกินคาดแม้ทั่วโลกรวมถึงตะวันออกกลางจะประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจขาลง แต่กำลังซื้อของกลุ่มประเทศดังกล่าวยังมีอยู่มาก เพราะประชากรมีรายได้ต่อหัวสูง ขณะที่พันธมิตร คือ กิล แคปปิตอลที่เป็นแฟรนไชส์ของบริษัทมีความเชี่ยวชาญและแข็งแกร่งมาก

นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า มีแนวคิดที่จะผลักดันธุรกิจบริการรถยนต์ (คาร์แคร์) และธุรกิจบริการเครื่องปรับอากาศ (แอร์แคร์) ของไทยไปลงทุนในตะวันออกกลางให้มากขึ้น ภูมิภาคดังกล่าวเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพ ทั้งในด้านการลงทุนและกำลังซื้อ ที่สำคัญตลาดยังขยายตัวได้อีกมาก เพราะมีผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจทั้งสองธุรกิจค่อนข้างน้อยมาก อีกทั้งเป็นประเทศที่มีฝุ่นทรายมาก คาดว่าเมื่อธุรกิจไทยไปเปิดแล้วน่าจะได้รับความนิยม ผู้ประกอบการไทยจึงควรหันมาสนใจหาข้อมูลในตลาดภูมิภาคนี้ พร้อมกันนี้จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทย เจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องกรองอากาศแบบเสียบจมูก ไปจดสิทธิบัตรในตะวันออกกลางด้วย ก่อนที่จะทำตลาดสินค้าดังกล่าวในตะวันออกกลาง เพื่อปกป้องสิทธิป้องกันการลอกเลียนแบบ หากเกิดกรณีสินค้าขายดี จะได้ไม่เกิดความเสียหาย โดยให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมื่องดูไบ วิจัยตลาดธุรกิจคาร์แคร์และแอร์แคร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะตะวันออกกลางมีฝุ่นทรายมากเศษทรายเข้าไปติดตามห้องเครื่องรถยนต์และในเครื่องปรับอากาศมาก แต่คนทำธุรกิจนี้ยังมีไม่มากนัก น่าจะเป็นโอกาสที่ธุรกิจไทยจะขยายการลงทุนได้ โดยจะทำในลักษณะการขายแฟรนไชส์ สำหรับเครื่องกรองอากาศแบบเสียบจมูกก็น่าจะขายได้ดี นอกจากจะผลักดันให้ไปจดสิทธิบัตรในตะวันออกกลางแล้ว ยังจะให้ไปจดที่เมืองใหญ่ๆ ที่มีมลพิษสูง เช่น ญี่ปุ่น จีน สหรัฐ และประเทศที่มักมีไฟไหม้ป่า นอกจากนี้ ยังจะร่วมมือกับกลุ่มนาคิว ซึ่งก็คือกลุ่มดูไบเวิลด์ ทำไทยแลนด์ มอลล์ หรือศูนย์กระจายสินค้าไทยในดูไบ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าไทยไปยังประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลาง รวมถึงในเอเชียใต้และยุโรปใต้ คาดว่าจะมีสินค้าประมาณ 1,000-2,000 รายการ รวมถึงกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่ไทยจะค้าขายสินค้าแบบแคช แอนด์ แคร์รี หรือร้านขายสินค้าขนาดเล็กในจุดที่เป็นท่าเรือของดูไบ เพราะมีเรือสินค้าขนส่งสินค้าจำนวนมาก เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะกระจายสินค้าไทยได้มากขึ้น

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ