สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - มาดากัสการ์ ในไตรมาสแรกของปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 22, 2009 12:27 —กรมส่งเสริมการส่งออก

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับมาดากัสการ์
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   228.47          100.00       2,116.32
สินค้าเกษตรกรรม                       0.04            0.02         -97.78
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               3.74            1.64         695.08
สินค้าอุตสาหกรรม                     224.69           98.34       2,764.64
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                     0.0             0.0         -99.83
สินค้าอื่นๆ                              0.0             0.0

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับมาดากัสการ์
                            มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                    0.60           100.00          46.96
สินค้าทุน                       0.01             2.15         621.86
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป        0.56            92.77          40.63
สินค้าบริโภค                    0.03             5.08         184.83
สินค้าอื่นๆ                       0.0              0.0        -100.00

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - มาดากัสการ์
                           2551           2552           D/%

(ม.ค.-มีค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม              10.72          229.08       2,037.80
การส่งออก                  10.31          228.47       2,116.20
การนำเข้า                   0.41            0.60          46.96
ดุลการค้า                    9.90          227.87       2,202.20

2. การนำเข้า
มาดากัสการ์เป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 117 มีมูลค่า 0.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.96  สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                      มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                        0.60           100.00          46.96
1. สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง ฯ               0.51            84.11          66.36
2. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี                  0.05             7.86         -48.96
3. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                        0.03             4.91         345.46
4. ผลิตภัณฑ์โลหะ                          0.01             2.15             -
5. แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่                     0.0             0.74             -
        อื่น ๆ                            0.0              0.0        -100.16

3. การส่งออก
มาดากัสการ์ เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 28 มีมูลค่า 228.47 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2,116.3 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

                                        มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                         228.47          100.00       2,116.30
1. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                218.23           95.52        100,837
2. น้ำตาลทราย                              3.54            1.55          1,460
3. เคหะสิ่งทอ                               2.65            1.16            -
4. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ                     1.89            0.83         -20.73
5. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                           0.46            0.20         137.04
         อื่น ๆ                             0.08            0.04         -89.40

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปมาดากัสการ์ในไตรมาสแรก  (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552 ได้แก่

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก ปี 2548- 2552 (มค.-มีค.) พบว่าปี 2550 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ (-91.18) ในขณะที่ปี 2549 2551 และ 2552 (มค.-มีค.) มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3,139.5 18,235 และ 100.837 ตามลำดับเมื่อ เทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเมื่อ

น้ำตาลทราย : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2550 — 2552 (มค.-มีค.) พบว่า มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ในอัตรา 645.62 67.02 และ 1,460.5 โดยมีมูลค่าการส่งออก 2.75 4.59 0.23 และ 3.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปี 2548 ยังไม่เคยมีการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังมาดากัสการ์มาก่อน

เคหะสิ่งทอ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก พบว่า ในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 2.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯในขณะที่ปี2551 ยังไม่เคยมีการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังมาดากัสการ์มาก่อน

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก ปี 2548- 2552 พบว่า ปี 2549 และในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552 มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ(63.43)และ(-20.73)ในขณะที่ปี 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 211.87 และ 15.87 ตามลำดับเมื่อ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เสื้อผ้าสำเร็จรูป : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก ปี 2548- 2552 พบว่าปี 2551 เพียงปีเดียวที่มีอัตราขยายตัวลดลง (ร้อยละ -43.19) ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2552 (มค.-มีค.)มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.92 6.21 และ 137.04 ตามลำดับเมื่อ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดมาดากัสการ์ ในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552

25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 100 มีรวม 8 รายการ คือ

อันดับที่ / รายการ                     มูลค่าล้าน         อัตราการขยายตัว           หมายเหตุ
                                  เหรียญสหรัฐ              %
1.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์            218.23           100,837.21
2.น้ำตาลทราย                          3.54             1,460.56
5.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                       0.46               137.04
9.ยานพาหนะอื่น ๆ และฯ                  0.15             4,746.82
16.รถจักรยานยนต์                       0.03             4,184.25
17.อาหารสัตว์เลี้ยง                      0.03               183.21
19.เครื่องสำอาง สบู่ และฯ                0.02               283.62
21.อาหารทะเลกระป๋อง ฯ                 0.01            16,926.51

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดมาดากัสการ์ ในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552
25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม  14 รายการ คือ

     อันดับที่ / รายการ                        มูลค่า            อัตราการขยายตัว
                                       ล้านเหรียญสหรัฐ              %
4. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                  1.89              -20.73
6. เม็ดพลาสติก                                0.38              -23.46
7. ผ้าผืน                                     0.27              -80.32
8. ผลิตภัณฑ์พลาสติก                             0.27              -46.12
10.ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์                   0.13               -8.59
11.รองเท้าและชิ้นส่วน                           0.06              -64.79
13.กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ                    0.05              -92.69
14.เคมีภัณฑ์                                   0.05              -94.88
15.ข้าว                                      0.04              -97.76
18.ผลิตภัณฑ์เซรามิก                             0.02              -26.61
20.ผักกระป๋องและแปรรูป                         0.02              -48.92
23.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                        0.01              -78.87
24.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                0.01              -89.99
25.ผลิตภัณฑ์ยาง                                0.01              -73.13

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม
นโยบายเศรษฐกิจมาดากัสการ์รัฐบาลมุ่งประเด็นต่างๆ ดังนี้

1. Macroeconomic Level เข้มงวดวินัยนโยบายการเงินเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อและดำเนินนโยบายเพิ่มงบประมาณ

2. Microeconomic Level ลดผลกระทบจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ปรับปรุงระบบการเงินการธนาคาร สอดส่องให้มีการแข่งขันสอดคล้องตามกฎหมาย

3. Political Level ให้อำนาจและอิสระแก่หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น กระตุ้นความรับผิดชอบ ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม เช่น การแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 22 ภูมิภาค (region)

รัฐบาลรับรู้ปัญหาและเร่งแก้ไขตามมาตรการการเงินการคลังที่เสนอโดย IMF เช่น การคงอัตราเงินเดือน (แม้ค่าครองชีพจะสูงต่อเนื่อง) ลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานลง 10% ยกเลิกเงินตราต่างประเทศสกุลเดียวหันไปใช้อัตราอ้างอิงสกุลยูโรและดอลลาร์สหรัฐควบคู่กัน ห้ามการหักโอนบัญชีเงินตราสกุลต่างประเทศทั้งระหว่างผู้มีถิ่นฐานในมาดากัสการ์ด้วยกันเองหรือระหว่างผู้มีถิ่นในมาดากัสการ์กับคนต่างด้าว การที่มาดากัสการ์ประสบปัญหาภาวะเงินเฟ้อเนื่องจากตลาดการเงินและการเสื่อมค่าของสกุล ในทางทฤษฎี การขาดดุลการค้าของมาดากัสการ์จะส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนและค่าเงินสกุลอาเรียรีอย่างมาก แต่ในทางปฏิบัติมาดากัสการ์ได้รับการชดเชยผลกระทบจากการได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และการได้รับการยกเลิกหนี้สินต่างประเทศเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี การขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องทำให้รัฐบาลต้องเร่งปรับปรุงนโยบายการเงิน การลดอัตราเงินเฟ้อจะสนับสนุนภาคการผลิตให้เกิดขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่เหมาะสมจะอยู่ที่ร้อยละ 3 จึงจะทำให้นักลงทุนกู้เงินลงทุนจากธนาคารได้ นอกจากนี้ การสร้างและพัฒนาระบบการเงินให้เกิดขึ้น เช่น จัดให้มีตลาดเงินตลาดทุน จะแก้ปัญหาที่แท้จริงที่มาดากัสการ์ประสบอยู่ในขณะนี้ เศรษฐกิจมาดากัสการ์ขาดกฎระเบียบที่สามารถนำมาใช้ได้ในทางความจริง เพราะกฎระเบียบไม่ชัดเจน การแข่งขันจะทำให้ระบบเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพ ดังนั้น รัฐบาลต้องส่งเสริมภาคเอกชนให้เกิดการลงทุนและการแข่งขัน แต่ยังมีปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขได้แก่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารที่อยู่ในระดับสูง และพัฒนาตลาดเงินทุนโดยใช้เงินออมจากภาคครัวเรือน ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยี ลดอุปสรรคด้านสินเชื่อ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาตลาดทั้งในและต่างประเทศวิทยาการล้าสมัยมาดากัสการ์อยู่ระหว่างปรับตัวและก้าวไปให้ทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ ระบบเศรษฐกิจเริ่มนำระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยงานบ้าง ในขณะที่ภาคการเกษตรยังล้าหลังและขาดเทคโนโลยีทรัพยากรไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์แม้มาดากัสการ์จะอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ แต่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์หรือสร้างมูลค่าเพิ่ม เนื่องด้วยปัจจัย 4 ประการ คือ

1) ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน การดำเนินการควรต้องทำโดยบริษัทเอกชน โดยให้ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมหรือได้รับประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ จัดให้มีระบบสัมปทานหรือค่าภาคหลวง

2) ขาดตลาดและช่องทางจำหน่าย เป็นผลจากการไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ การขาดข้อมูลว่ามีทรัพยากรใดในพื้นที่ใดบ้าง สภาพถนนที่ย่ำแย่เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด อาจแก้ได้โดยการใช้เทคโนโลยีสื่อสารหรือการจัดให้มีระบบการชำระค่าบริการจากการใช้ประโยชน์สาธารณูปโภคต่างๆ

3) ขาดการแข่งขัน การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการจะช่วยสร้างตลาดวัตถุดิบ ตลาดสินค้า การให้บริการขนส่งและบริการจำหน่ายสินค้า รวมทั้งก่อให้เกิดการพัฒนาตลาด การเงินจะช่วยประหยัดต้นทุนนักลงทุนโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในปี 2552 อาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วง ขาลง ปัญหาการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ จากการที่แหล่งวัตถุดิบสำคัญอย่างพม่าและมาดากัสการ์มีอุปสรรคในการนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากมาตรการทางการค้าทางตรงและทางอ้อมของประเทศคู่ค้าของไทยที่อาจจะเป็นการซ้ำเติมให้การค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตลาดโลกเป็นไปด้วยความยากลำบากมากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในปี 2552 อาจจะเติบโตไม่เกินร้อยละ 20 ซึ่งชะลอตัวลงจากปี 2551 ที่เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 48 เมื่อเทียบกับปี 2550 ทั้งนี้มูลค่าการนำเข้าและส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปอาจจะยังคงเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้มูลค่าการนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวมเปลี่ยนแปลง และคาดว่าไทยจะยังคงขาดดุลการค้าในสินค้าประเภทนี้ต่อเนื่องจากปี2551 ขณะที่มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยโดยไม่นับรวมการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปนั้น คาดว่าน่าจะมีอัตราการเติบโตชะลอตัวลงจากปี 2551 ที่เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.99 ด้วยการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นเลขหลักเดียวในระดับที่ ไม่เกินร้อยละ 10 ในกรณีที่ภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เพราะมีความเป็นไปได้ว่าสินค้ากลุ่มดังกล่าวจะมีความอ่อนไหวต่อภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดีหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละประเทศคู่ค้าของไทยเป็นไปด้วยดี หรือสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้างภายในครึ่งหลังปี 2552 ก็มีความเป็นไปได้ว่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยที่ไม่นับรวมการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปอาจจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-15 ดังนั้น การดำเนินกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ด้วยการสร้างความแตกต่างของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในเรื่องของคุณภาพการออกแบบ ให้มีความหลากหลายและตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย พร้อมกับการนำเสนอสินค้าที่หลากหลายภายใต้ระดับราคาที่เหมาะสม เพื่อรองรับภาวะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีงบประมาณอันจำกัด และการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อให้เห็นคุณค่าและความมีระดับของผู้ที่ได้สวมใส่ จึงน่าจะเป็นทางรอดสำหรับผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยในการฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ก้าวเข้าสู่ภาวะถดถอยเช่นปัจจุบัน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ