สถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ในแคนาดา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 25, 2009 12:27 —กรมส่งเสริมการส่งออก

จากกระแสการตื่นตัวเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม การจุดประกายเรื่องโลกร้อน (Global Warming) ของนาย David Suzuki นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักสิ่งแวดล้อมที่มีชื่อเสียงในแคนาดา และกระแสการใส่ใจรักษาสุขภาพโดยหันมาบริโภคอาหารและสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดสารเคมีมากขึ้นทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์กลายเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากขึ้น แคนาดาก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสดังกล่าว ส่งผลตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในแคนาดามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น จากข้อมูลหน่วยงาน Organic Agriculture Centre of Canada (OACC) ได้มีการประเมินว่ามูลค่าตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในแคนาดา มีมูลค่ารวม 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (83.2 พันล้านบาท)โดยมีสัดส่วน 2% ของมูลค่ารวมของตลาดสินค้าอาหารทั้งหมดในแคนาดา ทั้งนี้ สินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์มีอัตราเพิ่มขึ้นปีละ 15-20% ทั้งสินค้าเกษตรอินทรีย์มิได้จำกัดอยู่ในกลุ่มอาหารเท่านั้น โดยได้ขยายตลาดสินค้าไปยังสินค้าเครื่องสำอาง (Cosmetics) สินค้าสปา เครื่องนุ่งห่ม อาทิ เสื้อผ้าฝ้ายที่ผลิต Organic Cotton เป็นต้น

สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เป็นที่นิยมในตลาดแคนาดา ได้แก่ อาหารได้แก่ สินค้าอาหารผัก/ผลไม้สด และสินค้าเครื่องสำอาง สปา

ภาคการผลิตในประเทศแคนาดา

แคนาดาเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์รายสำคัญของโลก อาทิ ข้าวสาลี ถั่วเหลือง คาโนลา (Canola Seed) โดยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของแคนาดา โดยในปี 2449 มีไร่เพาะปลูกในแคนาดาที่ได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Products) จำนวน 3,782 ราย

สินค้าเกษตรอินทรีย์ในแคนาดา มีความหมาย/นิยามที่คลอบคลุมมากกว่าสินค้าปลอดสารพิษ โดยต้องไม่มีการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอน/ระบบการผลิตแล้ว การผลิตนั้นต้องไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อมอาทิเช่น ไม่มีการปล่อยของเสีย/สารพิษ ในบริเวณสถานที่ผลิตและสถานที่ใกล้เคียงในรัศมี 8 เมตร (25 ฟุต) รวมทั้ง การจ้างงานที่จ่ายค่าแรงอย่างเป็นธรรม (Fair Trade) เช่น การซื้อเมล็ดกาแฟ ที่เป็นเกษตรอินทรีย์จากทวีปแอฟริกา คนท้องถิ่นในทวีปแอฟริกา ต้องได้รับค่าจ้างแรงงานอย่างเป็นธรรม

ราคาของสินค้าเกษตรอินทรีย์ ถูกจัดว่าเป็นสินค้าระดับสูง (Premium) ที่จำหน่ายได้ในราคาสูง

มณฑล Saskatchewan (ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ ในเขตอาณาของ สคต แวนคูเวอร์) เป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยมีมูลค่า 1 ใน 3 ของตลาดทั้งหมด มณฑลที่ผลิตรองลงมาคือมณฑล Quebec, Ontario และ British Columbia

สินค้าข้าวสาลี เกษตรอินทรีย์ (Organic Wheat) เป็นสินค้าหลักในการผลิต/ส่งออกจากแคนาดาโดยมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 187,000 เอเคอร์ (467,500 ไร่) มีผลผลิตประมาณ 93,500 ตัน

  • แคนาดามีการผลิต สินค้าเนื้อสัตว์เกษตรอินทรีย์ในแคนาดา โดยนิยมเลี้ยงวัว (ที่เป็นเกษตรอินทรีย์) สุกร และไก่ ตามลำดับ ที่มีการเพิ่มการผลิตเฉลี่ยปีละประมาณ 15% ทั้งนี้การจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่เป็นเกษตรอินทรีย์นั้นส่วนใหญ่จะจำหน่ายในร้านเฉพาะ (Specialty Meat Store)การผลิตเนื้อสัตว์เกษตรอินทรีย์ในแคนาดา ปี 2548
หน่วย:ตัว     BC      AB     SK      MB     ON     QC    NB     NS    PE    YK    Canada
วัว       2,374  10,288   7,172  2,198  3,189  1,628    48    205    59     -    27,161
สุกร        578     865     525    174    623  2,598    20    125     -     -     5,508
ไก่           -       -       -      -      -      -     -  2,500    16   640     3,156

ขณะนี้ ชาวไร่/ผู้ประกอบการแคนาดาในอุตสาหกรรมอาหาร ได้เริ่มปรับเปลี่ยน สายการปลูก/ผลิตให้เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร (Value Added) โดยผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในแคนาดา ในปี 2549 มีจำนวนรวม 3,782 ราย ดังนี้

มณฑล                    จำนวนผู้ผลิต      จำนวนผู้ผลิตที่อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยน      พื้นที่เพาะปลูก หน่วย:เอเคอร์
                                            Number in Transition              (ประมาณการณ์)
British Columbia            455                    201                           33,208
Alberta                     231                     64                          397,244
Saskatchewan               1104                    105                          654,150
Manitoba                    181                     49                           91,333
Ontario                     669                     90                          100,723
Quebec                      988                    485                           88,865
New Brunswick                46                      8                            5,000
Nova Scotia                  57                      6                            2,300
Prince Edward Island         43                      3                            1,713
Newfoundland                 45                      -                               Na
Yukon                         3                      1                               Na
รวม (ประเทศแคนาดา)        3,782                   1,012                       1,374,536

ภาวะการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ในแคนาดา

จากการสอบถามข้อมูลจากผู้นำเข้าพบว่า สินค้าเกษตรอินทรีย์ในแคนาดาส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศสหรัฐฯ เป็นหลัก (เนื่องจากระยะทางที่ใกล้และเป็นสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ได้แก่ สินค้าประเภท Perishable อาทิ ผักและผลไม้)

กรมศุลกากรแคนาดาได้เริ่มเก็บข้อมูลสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยได้เริ่มใช้รหัส HS Code (Harmonized System) ในปี 2551 โดยเป็นช่วงการทดลอง โดยการจัดหมวดสินค้านั้นยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์โดยคาดว่าจะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในอนาคต

Dairy Products - Customs Tariff Chapter 4
0403.10.10.10           Yogourt, within access commitment
0403.10.20.10           Yogourt, over access commitment

Fresh vegetables - Customs Tariff Chapter 7
0701.90.00.10           Potatoes, except seed
0702.00.29.10           Tomatoes, cherry
0702.00.99.21           Tomatoes, roma
0702.00.99.29           Tomatoes, other
0703.10.99.10           Onions, other
0703.10.39.10           Onions or shallots, green
0704.10.90.10           Cauliflower
0704.90.29.10           Broccoli
0704.20.90.10           Brussels Sprouts
0704.90.39.10           Cabbage
0704.90.49.10           Cabbage, chinese
0705.11.90.20           Lettuce, head
0705.19.90.20           Lettuce, other
0706.10.40.10           Carrots, other
0706.90.30.10           Beets
0706.90.59.10           Radishes
0707.00.99.20           Cucumbers and Gherkins
0709.20.99.10           Asparagus
0709.30.00.10           Eggplant (Aubergines)
0709.40.90.10           Celery
0709.60.90.20           Peppers of the genus Capsicum or Pimenta
0709.90.40.10           Sweet corn-on-the-cob

Packaged fresh salad cut mixes
0705.19.90.21           Not exceeding 1 kg each
0705.19.90.22           Exceeding 1 kg each

Baby carrots
0706.10.20.11           In packages not exceeding 1 kg each
0706.10.20.12           In packages exceeding 1 kg each
0708.10.99.10           Peas (Pisum sativum)

Spinach, packaged fresh cut
0709.70.00.11           In packages not exceeding 1 kg each
0709.70.00.12           In packages exceeding 1 kg each

Fresh Fruit - Customs Tariff Chapter 8
0803.00.00.11           Bananas
0804.30.00.11           Pineapples
0805.10.00.12           Oranges except Temple
0805.40.00.10           Grapefruit
0805.50.00.11           Lemons
0805.50.00.12           Limes
0807.11.00.10           Watermelons
0807.20.00.10           Papayas
0808.10.10.81           Apples, Golden Delicious
0808.10.10.82           Apples, Red Delicious
0808.10.10.83           Apples, Granny Smith
0808.10.10.84           Apples, Gala
0808.10.10.89           Apples, other
0808.20.29.10           Pears
0809.30.29.10           Peaches
0810.40.10.22           Blueberries, cultivated
0809.20.39.10           Cherries
0810.10.99.10           Strawberries
0810.20.19.10           Raspberries and Loganberries
0810.40.10.11           Cranberries

Coffee, Tea, Mate and Spices - Customs Tariff Chapter 9
Green tea (no fermented)
0902.10.10.10           In bags for individual servings
0902.10.90.10           In packages not exceeding 3 kg
0902.20.00.10           In packages exceeding 3 kg

Black tea (fermented & partly fermented)
0902.30.10.11           Not decaffeinated, in bags for individual serving
0902.30.90.11           Not decaffeinated, in packages exceeding 3 kg

Medicinal plants - Customs Tariff Chapter 12
Herbal tea
1211.90.10.10           In bags for individual servings

Oils - Customs Tariff Chapter 15
1509.10.00.11           Olive oil, virgin in container sizes less than 18 kg

Prepared foods - Customs Tariff Chapter 19
1901.10.20.10           Containing more than 10% on a dry weight basis of milk sold for infant use, retail sale

Prepared foods - Customs Tariff Chapter 21
2103.20.90.91           Tomato Sauces

Beverage containing milk - Customs Tariff Chapter 22
2202.90.49.10           Milk beverages

กฏระเบียบสินค้าเกษตรอินทรีย์ในแคนาดา

หน่วยงาน Canadian Food Inspection Agency (CFIA) เป็นหน่วยงานภาครัฐฯ แคนาดาที่มีหน้าที่ควบคุมและออกกฏระเบียบการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ในแคนาดา (Canada Organic Products Regulations) โดยได้กำหนดเริ่มใช้กฏระเบียบดังกล่าว ตั้งแต่ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 (จากเดิมกำหนดไว้ว่าจะบังคับใช้วันที่ 14 ธันวาคม 2551) ซึ่งมีหลักการ ข้อกำหนดเกี่ยวกับสินค้าเกษตร อินทรีย์ ในเบื้องต้นสรุปได้ดังนี้

  • สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก CFIA นั้น และอนุญาตให้ใช้โลโก้ Organic หรือ Canada Organic บนผลิตภัณฑ์สินค้า จะต้องมีส่วนผสม/ประกอบ Organic อย่างน้อย 95%
  • สินค้าที่มีส่วนผสม/ประกอบเกษตรอินทรีย์ 70%-95% ภาครัฐฯ แคนาดาอนุญาตให้ผู้ผลิตสามารถเคลมส่วนผสมได้ตามสัดส่วนจริง (% organic products) แต่ไม่อนุญาตให้ใช้โลโก้ Organic ได้
  • การนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์มาจำหน่ายในแคนาดานั้น สินค้าดังกล่าวะต้องผ่านมาตรฐานของแคนาดา (Canada Organic Standard) หรือสินค้านั้นจะต้องมีมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ (จากประเทศผู้ผลิต/ส่งออก) ที่มีมาตรฐานเทียบเท่ากับของแคนาดาและมีข้อตกลงกับภาครัฐแคนาดา
  • ในเบื้องต้นกฏระเบียบสินค้าเกษตรอินทรีย์ในแคนาดา ( Canada Organic Products Regulations)ที่ออกโดย CFIA ไม่ครอบคลุมถึงสินค้าสัตว์น้ำ (Aquaculture) เครื่องสำอาง (Cosmetics) หรืออาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ (Natural Product)
  • กฏระเบียบสินค้าเกษตรอินทรีย์ในแคนาดา

http://gazette.gc.ca/rp-pr/p1/2009/2009-02-14/html/reg1-eng.html

มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์

Organic Production Systems General Principles and Management Standards

http://www.cog.ca/documents/310.pdf

  • การนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศแคนาดาไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตเฉพาะ (พิเศษ) แต่ผู้นำเข้าจะต้องมีการจดทะเบียนใบอนุญาตในการนำเข้า Import License
  • หน่วยงาน Canadian General Standard Board ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐบาลแคนาดา ได้จัดระเบียบมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคการผลิต (สินค้าการเกษตร) และ สารที่ โดยการออกข้อกำหนดเกี่ยวการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ดังนี้
1 Part I (Organic Production Systems General Principals and Management Standards) CAN/CGSB-32.310-2006) - ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานรูปแบบ/ขั้นตอนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยสรุปโดยย่อได้ดังนี้

รายละเอียดข้อมูล http://www.pwgsc.gc.ca/cgsb/on_the_net/organic/032_0310_2006-e.pdf

1.1 อาหารและสินค้าจากเกษตรกรรมที่จัดว่าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์จะต้องมาจากการเพาะปลูกเลี้ยงดูจากระบบที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่จะก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในการผลิต และการจัดเตรียมวัชพืช ศัตรูพืชและการควบคุมโรคด้วยวิธีการที่มีสัตว์และพืชหลากหลายและจำนวนมาก การนำส่วนที่ตกค้างอยู่ของพืชและสัตว์กลับมาใช้ใหม่ การเลือกพืชผลและการปลูกพืชหมุนเวียน การจัดการระบบน้ำ การไถนาและการเตรียมดินสำหรับเพาะปลูก

1.2 กฏระเบียบ CAN/CGSB 32.310-2006 สามารถนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้

1.2.1 พืชและผลิตภัณฑ์จากพืชที่ไม่ได้รับการถนอมอาหาร ปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ตามกฎและข้อจำกัดในกระบวนการผลิตที่ระบุไว้ใน CAN/CGSB 32.310-2006

1.2.2 พืชผลจากเกษตรกรรมที่ได้รับการถนอมอาหาร และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ที่เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ หรือสิ่งที่ใช้และระบุไว้ในข้อ 1.2.1

1.2.3 การให้อาหารปศุสัตว์

1.2.4 พืชผลจากเกษตรกรรมที่ได้รับการถนอมอาหาร และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ที่เป็นอาหารสำหรับสัตว์ หรือสิ่งที่ใช้และระบุไว้ในข้อ 1.2.1

1.3 มาตรฐานการวัด ปริมาณและหน่วยวัด (Quantities and Dimension) ตาม CAN/CGSB 32.310-2006 จะใช้หน่วยเมตริก ซึ่งมีค่าเท่ากับหลาและปอนด์ โดยหน่วยวัดระบบเมตริกถือว่าเป็นหน่วยทางการ และสามารถใช้ในกรณีที่เกิดการโต้แย้งและปัญหาอื่นๆที่จะเกิดจากมาตรฐานหน่วยวัด

2. Part II (Organic Production Systems Permitted Substances Lists; CAN/CGSB-32.311-2006)ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อสารที่อนุญาตที่ใช้ในขั้นตอนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งในกระบวนการผลิตและการเก็บรักษาหรือกระบวนการปิดฉลากสินค้าเกษตรอินทรีย์ ผู้ผลิตห้ามใช้สารเคมีหรือเทคนิคดังต่อไปนี้โดยสรุปโดยย่อได้ดังนี้

รายละเอียดข้อมูล http://pwgsc.gc.ca/cgsb/on_the_net/organic/032_0311_2006-e.pdf

2.1. สารหรือสินค้าที่ผลิตจากการตัดต่อยีนหรือพันธุวิศวกรรม

2.2. ยาฆ่าแมลงที่ผลิตจากการสังเคราะห์ เช่น ยาทำให้ใบไม้ร่วง ยาฆ่าเชื้อรา ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหนู (defoliants and desiccants, fungicides, insecticides and rodenticides) สารกันบูดสำหรับไม้ e.g. arsenate

2.3. ปุ๋ยหรือสารที่มีส่วนผสมของพืชและสัตว์ที่ประกอบด้วยสารเคมีต้องห้าม

2.4. สิ่งปฏิกูล โคลน ในรูปแบบใดก็ตามที่มีการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพ

2.5. สารเร่งการเจริญเติบโตของพืช

2.6. ยาที่เกิดจากการสังเคราะห์ที่ใช้ในสัตว์ เช่น antibiotics, parasiticides ยกเว้นสารที่ระบุไว้ในมาตารฐาน CAN/CGSB-32.310-2006

2.7. สาเคมี ตัวช่วย หรือตัวเร่งปฏิกิริยาและส่วนผสมอื่นๆที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์และ ปรุงแต่งอาหาร เช่น sulphates, nitrates and nitrites

2.8. การฉายรังสีที่ทำให้เป็นอิออน หรือการฉายรังสีรูปแบบอื่นในอาหารและส่วนประกอบของอาหาร

2.9. อุปกรณ์ วัสดุในการบรรจุหีบห่อ และตู้เก็บสินค้าหรือถัง ที่มีสารป้องกันเชื้อรา สารกันบูดและการอบรมควัน (fungicide, preservative or fumigant)

2.10. ห้ามใช้สารอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุใน CAN/CGSB-32.310-2006

ช่องการการจัดจำหน่าย

สินค้าเกษตรอินทรีย์ มีช่องการจัดจำหน่ายในแคนาดาดังนี้

  • Supermarket Chain อาทิเช่น Loblaws, Wal-Mart Supercentre โดยสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้เริ่มเข้าสู่ตลาดหลัก (Mainstream Market) โดยมีการจัดวางแผนกสินค้าเกษตรอินทรีย์แยกแผง (Shelf) ออกมาต่างหากโดยวางสินค้าในลักษณะ Premium ราคาสูง โดยห้าง Loblaws เป็น Supermarket Chain ที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา (วอลมาร์ทไม่ค่อยมี)
  • Specialty Store ประเภทร้าน Health Food ที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์เท่านั้น โดยรูปแบบร้านจะเป็นร้าน Grocery ที่มีพื้นที่มีขนาดเล็ก จำหน่าย ผัก ผลไม้ ข้าวสาร ชา กาแฟ ไวตามิน และอาหารต่างๆ โดยร้านส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในตัวเมือง หรือเขตพื้นที่ผู้มีรายได้สูงเช่น Whole Food Canada, Planet Organic, Big Carrot
  • Restaurant โดยร้านอาหารประเภท Organic Restaurant และประเภท Organic Vegetarian เริ่มเป็นที่นิยมโดยถูกจัดว่าเป็นตลาด Niche ที่มีการประเมินว่ามี มูลค่าตลาดประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี โดยร้านอาหารจะสั่งสินค้าโดยตรง หรือจาก Distributor สินค้าอาหาร (food logistics)
โอกาสของสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยในแคนาดา

ข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์ เน้นการเจาะตลาดชาวแคนาดาเชื้อสายคอเคเซียน ที่ยินดีที่จะจ่ายซื้อสินค้า Premium มากกว่ากลุ่มชาวแคนาดาเชื้อสายเอเซีย โดยปรับขนาดบรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดเล็กประมาณ 1-2 กิโลกรัม แทนการบรรจุในขนาด 8-15 กิโลกรัม เพื่อเหมาะสมกับความต้องการและพฤติกรรมการบริโภคของชาวแคนาดาเชื้อสายคอแคเซียน

อาหารกระป๋อง/แปรรูป ได้แก่ กระทิกระป๋องออแกนิค ผลไม้ออแกนิคกระป๋อง เป็นต้น โดยใช้โอกาสที่ชาวเคนาดามีความมั่นใจในคุณภาพอาหารกระป่องจากไทยมากกว่า จีน หรือ เวียดนาม

อาหาร Ready to Eat (RTE Food) ได้แก่ อาหารมังสวิรัต และอาหารทะเล ซึ่งเป็นสินค้าที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวแคนาดาส่วนใหญ่ที่ต้องทำงานนอกบ้านและมีเวลาน้อยลงในการปรุงอาหารเองที่บ้าน และตอบสนองความต้องการกลุ่มผู้นิยมบริโภคอาหาร Organic นอกจากนี้ยังเป็นการลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากกฏระเบียบในการนำเข้าเนื้อสัตว์ที่ยุ่งยากของแคนาดา

ชาหรือเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น ชาใบม่อน น้ำมังคุด

ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เช่น สบู่ ครีมทาผิวแชมพู ที่ผลิตจากสารที่ได้รับรองว่าเป็นเกษตรอินทรีย์

เสื้อผ้าฝ้ายออแกนนิค โดยสินค้าแบรนเนมส์ อาทิ GAP, H&M ได้เริ่มการออกคอลเล็กชั่นเสื้อผ้าฝ้ายที่ผลิตจาก ฝ้ายเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ราคาจำหน่ายมีราคาที่สูงจากผ้าฝ้ายทั่วไป

กลยุทธ์การเจาะตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยในตลาดแคนาดา

การพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยให้ได้มาตรฐานของแคนาดา หรือสหรัฐอเมริกาโดยการยื่นขอรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานในแคนาดา (CFIA) หรือสหรัฐอเมริกา (USDA) เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและสามารถนำเข้าสินค้าไทยไปวางจำหน่ายในตลาดได้

ในปัจจุบันได้มี 21 ประเทศ (กลุ่ม EU 15 ประเทศ) และ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย คอสตาริก้า นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลน์ ได้มีการเจรจาข้อตกลงกับร่วมแคนาดา ในการยอมรับการเท่าเทียมของมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Equivalency Determination) อาทิ สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองในสหรัฐฯ (USDA) จะสามารถนำมาจำหน่ายในแคนาดาได้โดยแคนาดาได้โดยไม่จำเป็นต้องขอสมัครรับรองจากรัฐบาลแคนาดาก่อน ซึ่งเป็นการลดขั้นตอนเปิดโอกาสนำเข้าสินค้าและเป็นการลดค่าใช้จ่าย เวลา

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ให้มีรูปแบบ สีสรร ขนาด ตัวหนังสือ ที่ดึงดูดความสนใจสร้างการยอมรับและเชื่อมั่นในสินค้าไทย

การปิดสลากสินค้า เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์

การกำหนดราคาสินค้า ที่แข่งขันได้ในตลาด

การสร้างความหลากหลายและความแตกต่างของสินค้าไทยกับสินค้าคู่แข่ง

การส่งสินค้าแบบ Consolidated Container เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย

การติดต่อผู้นำเข้าและ Chain Store เพื่อวางจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ อาทิ Loblaws, Planet Organic, Big Carrots โดยเน้นการให้ข้อมูลการผลิตสินค้า สร้างความน่าเชื่อถือของสินค้าไทย โดยอิงกับมาตรฐานที่ได้รับการรับรอง อาทิ USDA (มาตรฐานสหรัฐฯ) IFOAM (ยุโรป)

องค์ประกอบหลักสามประการในการซื้ออาหารเกษตรอินทรีย์คือ

  • การแพ้อาหาร (Food Allergies)
  • คุณภาพชีวิต(Healthy Lifestyle) ความปลอดภัยของเด็กในครอบครัว (Children)
  • การตัดแปลงพันธุกรรมสินค้าอาหาร GMOs (Genetically Modified Food) ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์มีส่วนอย่างมาก ต่อการซื้อเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ โดยผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีความเชื่อว่าสินค้ามีความสะอาดและปลอดภัยมากกว่าอาหารปกติโดยยอมจ่ายเงินมากขึ้น เนื่องขั้นตอนการผลิตที่มีปลอดการเจือปน สารเคมี โดยใช้สารธรรมชาติรวมทั้ง หลักการผลิตที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม การรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility)

สคต โตรอนโต

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ