ชี้แจงการนำเข้า-ส่งออกเดือนมกราคม-มีนาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 27, 2009 11:44 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ไตรมาสแรก ปี 2552 ไทยส่งออกมายังอิตาลี 331.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 40.5 โดยอิตาลี นำเข้าสินค้าหลักลดลงทุกรายการเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปีก่อน ยกเว้น อาหารสัตว์เลี้ยง เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.7 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 และสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบที่อิตาลียังคง นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และสาเหตุหลักของการนำเข้าลดลงเกิดจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ทรุดตัว นับตั้งแต่เดือน กันยายนปี 2551 และแสดงผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจทรุดตัวอย่างชัดเจนในไตรมาสแรกของปี 2552 สถาบันการเงินไม่ป ล่อยเงินกู้ ธุรกิจชะลอตัว การลงทุนชะงักงัน ลดการจ้างงานลง ผู้คนใช้จ่ายน้อยลงและระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น โดยเฉพาะ สินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าคงทนจึงกลายเป็นสินค้ารายการหลังๆ ที่คนจะตัดสินใจซื้อ

สินค้าส่งออก 20 อันดับแรกของไทยไปยังประเทศอิตาลีไตรมาสแรกปี 2552

      อันดับที่             ชื่อสินค้า                           มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ        อัตราการขยายตัว%        สัดส่วน%
                                                          2551       2552        2551      2552     2551    2552
        1         อัญมณีและเครื่องประดับ                       50.7       45.7       302.6      -9.9      9.1    13.7
        2         เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ               97.7       29.9        42.4     -69.4     17.5     9.0
        3         ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง                     27.7       21.7        24.4     -21.7      4.9     6.5
        4         รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                 25.2       18.2       -47.0     -27.7      4.5     5.4
        5         อาหารสัตว์เลื้ยง                            11.2       15.4        20.0      37.7      2.0     4.6
        6         ผลิตภัณฑ์ยาง                               16.4       14.0        37.6     -15.0      2.9     4.2
        7         เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ       12.5       13.7        -7.7       9.8      2.2     4.1
        8         เสื้อผ้าสำเร็จรูป                            13.6       12.2        20.4     -10.5      2.4     3.6
        9         เคมีภัณฑ์                                  23.1       12.2        81.0     -47.1      4.1     3.6
       10         อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                 14.8       12.1        68.2     -18.2      2.6     3.6
       11         ยางพารา                                 41.7        9.8        12.6     -76.5      7.4     2.9
       12         เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                   32.5        8.0        74.2     -75.3      5.8     2.4
       13         เลนซ์                                     9.1        7.9         9.1     -13.3      1.6     2.4
       14         เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ               6.1        6.2         5.4       2.8      1.1     1.8
       15         เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร       12.2        5.5        16.2     -54.9      2.1     1.6
       16         ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                       6.9        5.4        16.2     -20.8      1.2     1.6
       17         ข้าว                                      6.4        5.3        67.0     -16.2      1.1     1.6
       18         ผ้าผืน                                     7.0        5.3       -14.8     -24.7      1.2     1.6
       19         เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                        9.7        5.1        49.4     -47.3      1.7     1.5
       20         เม็ดพลาสติก                               12.6        4.9        12.2     -60.8      2.2     1.5
  รวม 20 รายการ                                          437.0      258.6        30.6     -40.8     78.4    77.9
       อื่นๆ                                               120.4       73.1       -9.37     -39.2     21.6    22.0
     รวมทั้งสิ้น                                             557.4      331.7        19.2     -40.5    100.0   100.0


ที่มา http://www2.ops3.moc.go.th

ทั้งนี้ สินค้าฟุ่มเฟือยที่ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดได้แก่ สินค้าอัญมณี และเครื่องประดับ ซึ่งเป็นสินค้านำเข้าอันดับ หนึ่งจากไทย และอิตาลีเคยเพิ่มการนำเข้าขึ้นในปี 2551 ถึงร้อยละ 300 แต่ในปี 2552 อิตาลีนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 45.7 ล้าน เหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลงร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551

สำหรับสินค้าคงทนที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากในช่วงเวลาดังกล่าวคือ เครื่องปรับ อากาศและส่วนประกอบ เมื่อ เทียบกับปี 2551 ในช่วงไตรมาสแรก มีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าลดลงร้อยละ 69.4 จาก 97.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง เหลือเพียง 29.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สืบเนื่องจากมี Stock ค้างอยู่ ซึ่งปี 2551 อิตาลีเคยเพิ่มการนำเข้าขึ้นมากถึงร้อยละ 42.7 และในปี 2552 อากาศหนาวยาวนานและหนาวมากในรอบ 40 ปี ทำให้การตัดสินใจซื้อชะลอตัวไปอีก ส่วนสินค้าเฟอร์นิเจอร์ ใน ช่วงไตรมาสแรกปี 2552 อิตาลีนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 5.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 47 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับ ปี 2551 เนื่องจากเป็นช่วงที่คนยังคงรอดูสถานการณ์และเป็นสินค้าที่อยู่นอกเหนือความจำเป็นอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับสินค้าเฟอร์นิเจอร์ จากการนำผู้ส่งออกไทยเข้าร่วมแสดงในงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ ที่สุดในอิตาลี (Salone del Mobile 2009) เดือนเมษายน 2552 ที่ผ่านมานั้น ได้รับผลเป็นที่น่าพอใจค่อนข้างมาก มีผู้ชมให้ ความสนใจเข้าซักถามและสั่งซื้อทันทีเป็นมูลค่า 180,000 เหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีการสั่งซื้อทั้งปี 1,410,000 เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เนื่องจากงานฯ Salone del Mobile ถือเป็นงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งในโลกที่เป็นศูนย์รวมการ เจรจาการค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่ต้องมา และยังเป็นปีแรกที่ประเทศไทยสามารถเข้าแสดงในงานฯ หลังจากอยู่ใน Waiting List มาหลายปี ผลตอบรับจากงานแสดงสินค้าดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และคาดว่าอัตราการขยายตัวของ การนำเข้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์จากไทยน่าจะเพิ่มขึ้นหรือมีอัตราการขยายตัวติดลบน้อยลง

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ