การลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนาม

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 29, 2009 15:48 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาพรวมการลงทุน

ณ ปี 2551 มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเวียดนาม มูลค่าสะสมรวม 21 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับปี 2550 (15 พันล้านเหรียญสหรัฐ) อันเป็นผลจากการที่รัฐบาลเวียดนามเร่งเปิดเสรีด้านการลงทุนให้สอดคล้อง กับข้อตกลงของ WTO ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจ จึงเข้าไปลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้น

การลงทุนของต่างชาติในเวียดนามตั้งแต่อดีตถึงเดือนมกราคม 2552 มีจำนวนทั้งสิ้นเท่ากับ 9,828 โครงการ และจำนวนเงินลงทุนทั้งสิ้นเท่ากับ 154,774.72 ล้านเหรียญสหรัฐ นักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุด คือ ไต้หวัน (มีสัดส่วน 12.7% ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด นับถึงเดือนมกราคม 2552 จำนวน 1,940 โครงการ เงินลงทุนรวม 19,650.57 ล้านเหรียญสหรัฐ) รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย (302 โครงการ เงินลงทุนรวม 17,783.41 ล้านเหรียญสหรัฐ) ญี่ปุ่น (1,046 โครงการ เงินลงทุนรวม 17,158.20 ล้านเหรียญสหรัฐ) เกาหลีใต้ (2,058 โครงการ เงินลงทุนรวม 16,526.12 ล้าน เหรียญสหรัฐ)

กิจการที่ได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากที่สุด คือ กิจการด้านอุตสาหกรรม มีการลงทุนทั้งสิ้น 6,321 โครงการ เงินลงทุนรวม 87,799.75 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.72 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด การเกษตร และป่าไม้ 976 โครงการ เงินลงทุนรวม 4,792.79 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.1 ของมูลค่าการลงทุนจากต่าง ประเทศทั้งหมด นอกจากนี้ได้แก่ กิจการบริการต่างๆ เช่น สุขภาพและการศึกษา 294 โครงการ โรงแรมและการท่องเที่ยว 250 โครงการ การขนส่งและโทรคมนาคม 235 โครงการ (ณ วันที่ 25 มกราคม 2552)

เมืองที่มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนมากที่สุด คือ นครโฮจิมินห์ (2,834 โครงการ เงินลงทุนรวม 26,266.69 ล้านเหรียญสหรัฐ) รองลงมาคือ บาเรีย-หวุงเต่า (169 โครงการ เงินลงทุนรวม 20,556.78 ล้านเหรียญสหรัฐ) กรุงฮานอย (1,325 โครงการ เงินลงทุนรวม 17,549.42 ล้านเหรียญสหรัฐ) ด่องไน (960 โครงการ เงินลงทุนรวม 13,528.65 ล้าน เหรียญสหรัฐ) และ นิงถวน ( 19 โครงการ เงินลงทุนรวม 9,967.72 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ (ณ วันที่ 25 มกราคม 2552)

โครงการลงทุนของไทยในเวียดนามเริ่มตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา โดยในช่วง 4 ปี แรกยังมีจำนวนไม่มากนัก แต่หลัง จากนั้นคือตั้งแต่ปี 2535 การลงทุนของนักธุรกิจไทยในเวียดนามมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งถึง ณ วันที่ 25 มกราคม 2552 การลงทุนของไทยในเวียดนามมีทั้งสิ้น 198 โครงการ เงินลงทุนรวม 5,702.13 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงเป็นอันดับที่ 9 และเป็นอันดับ ที่ 3 ในอาเซียน รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย เฉพาะปี 2550 มีโครงการลงทุนของไทยที่ได้รับอนุมัติรวม 24 โครงการ มูลค่า 285 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การลงทุนที่สำคัญคือ ธุรกิจการเกษตร ปศุสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตร์น้ำ การก่อสร้าง โรงแรม ภัตตาคาร อุปกรณ์การก่อสร้าง อะไหล่รถยนต์ จักรยานยนต์ โรงงานกระดาษ โรงงานผลิตอาหาร ต่อไปน่าจะมีการลงทุนในกิจการปิโตรเคมี โทรคมนาคม

นโยบายการลงทุน
  • กฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนาม

Law on Foreign Direct Investment ซึ่งประกาศใช้เมื่อการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2530 มีการปรับปรุงแก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2533, 23 ธันวาคม 2535 เปลี่ยน เป็นกฎหมายการลงทุนจาก ต่างประเทศโดยตรงใหม่เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 และ มีการปรับปรุงแก้ไขเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2543 ได้ใช้จนถึง วันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 เปลี่ยนเป็น Investment Law ในกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนามให้การรับประกันว่าจะให้การปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่า เทียมกันต่อนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในเวียดนามในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ไม่มีการยึดทรัพย์สินหรือโอนกิจการลงทุนของต่างประเทศเป็นของรัฐ ตลอดช่วงระยะเวลาของการลงทุน

2. ให้การรับประกันว่าจะปกป้องสิทธิในทรัพย์สินอุตสาหกรรม และผลประโยชน์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีในเวียดนาม

3. รัฐบาลจะปกป้องผลประโยชน์ของนักลงทุนอย่างสมเหตุสมผล หากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายใดๆ ที่ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่นักลงทุน เช่น หากกฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลัง ทำให้ผลประโยชน์ของนักลงทุนลดลง นักลงทุนที่ลงทุนก่อน หน้าที่กฎหมายใหม่ประกาศใช้มีสิทธิเลือกใช้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเดิมได้

4. รัฐบาลรับประกันการให้สิทธิการโอนย้ายไปต่างประเทศได้แก่

  • กำไรจากการดำเนินธุรกิจ
  • เงินที่ได้รับจากการจัดเตรียมเทคโนโลยีและการบริการ
  • เงินต้นและดอกเบี้ยของเงินกู้จากต่างประเทศในระหว่างดำเนินกิจการ
  • เงินลงทุน
  • เงินและทรัพย์สินอื่นๆ ที่มีกรรมสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมาย
  • รายได้หลังหักภาษีรายได้ของแรงงานต่างชาติที่ทำงานในเวียดนาม

5. เมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ร่วมทุน หรือระหว่างบริษัทต่างชาติกับสถาบันใดๆ ของเวียดนาม และไม่สามารถ ตกลงกันได้ สามารถเสนอให้อนุญาโตตุลาการหรือองค์กรอื่นๆ ตามที่ตกลงกันเป็นผู้ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมได้

6. อนุญาตให้บริษัทต่างชาติดำเนินการลงทุนได้ 50 ปี และสามารถต่อเวลาได้ถึง 70 ปี

  • กิจการที่รัฐบาลเวียดนามส่งเสริมการลงทุน ได้แก่

-การแพร่ขยายพันธุ์ การเพาะปลูกและการแปรรูปทางการเกษตร สินค้าจากป่าไม้และการเกษตรใต้น้ำ การผลิตเกลือ การขยายพันธุ์พืชและสัตว์ใหม่

-การใช้เทคโนโลยีและเทคนิคชั้นสูง การปกป้องนิเวศสิ่งแวดล้อม การทำวิจัย การพัฒนา และการสร้างเทคโนโลยี ใหม่ โครงการที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ

-อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเป็นหลัก

-การสร้างและการพัฒนาสาธารณูปโภค และ โครงการอุตสาหกรรมสำคัญขนาดใหญ่

-การพัฒนาอาชีพในด้านการศึกษา การอบรม สุขภาพ การกีฬา พละศึกษา และวัฒนธรรมของเวียดนาม

-การพัฒนางานฝีมือและอุตสาหกรรมต่างๆ

-อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุใหม่

-โครงการที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิตอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม

-การผลิตวัสดุคุณภาพสูงใช้ในอุตสาหกรรมรองเท้าและสิ่งทอเพื่อส่งออก

-การผลิตเหล็กคุณภาพสูง

-โครงการฝึกอบรมแรงงานด้านเครื่องจักรกลและอิเล็กทรอนิกส์

-โครงการด้านการศึกษาในสาขาวิศวกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเศรษฐศาสตร์

-การผลิตยารักษาโรคร้ายแรง เช่น วัณโรค มะเร็ง เอดส์

-โรงพยาบาลที่ทันสมัย

-การเพาะเนื้อเยื่อ การผลิตสารปฏิชีวนะ

-การต่อเรือและซ่อมเรือเดินสมุทรขนาด 1 หมื่นตันขึ้นไป

-ธุรกิจเกี่ยวกับการบำบัดของเสียจากเมืองและโรงงานอุตสาหกรรม

  • กิจการที่มีเงื่อนไขพิเศษสำหรับการลงทุนจากต่างชาติ
ปัจจุบันมีกิจการบางประเภทที่รัฐบาลเวียดนามห้ามหรือมีเงื่อนไขในการลงทุนของต่างชาติดังนี้

กิจการที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับรูปแบบการลงทุน 1. กิจการที่ต้องลงทุนในลักษณะ BCC (Business Co-operation Contract) และนักลงทุนฝ่ายเวียดนามต้อง มีความเชี่ยวชาญและได้รับอนุมัติดำเนินการได้ ในสาขาต่อไปนี้

  • การพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม บริการโทรคมนาคม บริการขนส่งพัสดุภัณฑ์ทั้งในและระหว่างประเทศ
  • กิจกรรมเกี่ยวกับสื่อมวลชน การกระจายเสียงทางวิทยุและโทรทัศน์
2. กิจการที่ต้องลงทุนในลักษณะ BCC หรือ Joint Venture เท่านั้น ได้แก่
  • การขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติและน้ำมัน
  • การขนส่งทั้งทางอากาศ ทางรถไฟ และทางทะเล การขนส่งผู้โดยสาร และการสร้างท่าเรือและท่าอากาศยาน
ยกเว้นกรณีทำสัญญาลักษณะ BOT (Build — Operate — Transfer), BTO (Build — Transfer — Operate) หรือ
BT (Build — Transfer)
  • บริการทางทะเลและทางอากาศ
  • กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม
  • กิจการที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้
  • กิจการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางท่องเที่ยว
  • การผลิตวัตถุระเบิดเชิงอุตสาหกรรม
  • บริการที่ปรึกษา (ยกเว้นที่ปรึกษาทางเทคนิค)

กิจการที่ต้องมีการลงทุนพัฒนาวัตถุดิบ

  • การผลิตและแปรรูปนม
  • การผลิตน้ำมันพืชและน้ำตาลจากอ้อย
  • การแปรรูปไม้ (ยกเว้นโครงการที่ใช้ไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศ)

กิจการที่ต้องขออนุมัติจากนายกรัฐมนตรีโดยตรง

  • กิจการนำเข้าและกระจายสินค้าในประเทศ
  • กิจการประมงนอกชายฝั่ง
หน่วยงานที่ดูแลการลงทุน
  • Foreign Investment Agency สังกัดกระทรวงวางแผนและการลงทุน (Ministry of Planning
and Investment: MPI)
  • หน่วยงานระดับกรม (Department of Planning and Investment: DPI) ประจำอยู่ในทุกจังหวัด
สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax)

ในอดีต บริษัทท้องถิ่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 32 และบริษัทต่างชาติเสียภาษีร้อยละ 25 แต่ หลังจากรัฐบาลประกาศใช้ Decree No.164/2003/ND-CP เมื่อ 22 ธันวาคม 2546 ระบุว่ากิจการทุกประเภททั้งของรัฐบาล เอกชนท้องถิ่น และบริษัทต่างชาติ เสียภาษีในอัตราเท่ากันคือ ร้อยละ 28 และสำหรับกิจการที่ได้รับส่งเสริมพิเศษ และมีการ จ้างงานตามที่กำหนด จะได้รับสิทธิประโยชน์ โดยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10-20 เป็นเวลา 10-15 ปี แล้วแต่เงื่อนไขของ กิจการ รวมทั้งมีการยกเว้นและลดหย่อนภาษีอีกระยะหนึ่งด้วย

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการที่ได้รับส่งเสริมพิเศษตาม Decree No.164/2003/ND-CP

อัตราภาษีพิเศษ จำนวนปีนับจาก ยกเว้นภาษีนับ ลดหย่อนภาษี ปีที่ต้องเสียภาษี 28%

                                                                 เริ่มกิจการ    จากปีที่มีกำไร     กึ่งหนึ่ง      นับจากเริ่มกิจการ
1. ธุรกิจตั้งใหม่ในสาขาตาม List A
หรือธุรกิจที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตาม List B                           20%           10 ปี           -          -            ปีที่ 11
2. กิจการผลิตและธุรกิจที่ย้ายฐานออกจากเขตเมือง
ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานรัฐ                       20%           10 ปี         2 ปี        2 ปี            ปีที่ 11
3. ธุรกิจตั้งใหม่ในสาขาตาม List A และ
ธุรกิจที่จ้างแรงงานตามเงื่อนไขที่ระบุใน Article 33              20%           10 ปี         2 ปี        3 ปี            ปีที่ 11
4. ธุรกิจตั้งใหม่ในสาขาตาม List A ซึ่ง
จ้างแรงงานตามเงื่อนไขที่ระบุใน Article 33                   20%           10 ปี         2 ปี        5 ปี            ปีที่ 11
5. ธุรกิจตั้งใหม่ในพื้นที่ตาม List B และ
ธุรกิจที่ย้ายฐานไปอยู่ในพื้นที่ตาม List B                        20%           10 ปี         2 ปี        6 ปี            ปีที่ 11
6. ธุรกิจตั้งใหม่ในพื้นที่ตาม List C และ
ธุรกิจที่ย้ายฐานไปอยู่ในพื้นที่ตาม List C                        15%           12 ปี         2 ปี        8 ปี            ปีที่ 13
7. ธุรกิจตั้งใหม่ในสาขาตาม List A ซึ่ง
ตั้งอยู่ในพื้นที่ตาม List B                                   15%           12 ปี         3 ปี        7 ปี            ปีที่ 13
8. ธุรกิจตั้งใหม่ในสาขาตาม List A ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตาม
List B และจ้างแรงงานตามที่ระบุใน Article 33               15%           12 ปี         3 ปี        8 ปี            ปีที่ 13
9. ธุรกิจตั้งใหม่ในสาขาตาม List A ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตาม
List B และจ้างแรงงานตามที่ระบุใน Article 33 โดยมี
การจ้างชนกลุ่มน้อยในสัดส่วนกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนแรงงาน
เฉลี่ยในปีนั้นๆ                                            15%           12 ปี         3 ปี        9 ปี            ปีที่ 13
10. ธุรกิจตั้งใหม่ในสาขาตาม List A ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตาม List C   10%           15 ปี         4 ปี        7 ปี            ปีที่ 16
11. ธุรกิจตั้งใหม่ในสาขาตาม List A ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตาม List C
และจ้างแรงงานตามที่ระบุใน Article 33                      10%           15 ปี         4 ปี        8 ปี            ปีที่ 16
12. ธุรกิจตั้งใหม่ในสาขาตาม List A ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตาม List C
และจ้างแรงงานตามที่ระบุใน Article 33 โดยมีการจ้างชนกลุ่มน้อย
ในสัดส่วนกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนแรงงานเฉลี่ยในปีนั้น            10%           15 ปี         4 ปี        9 ปี            ปีที่ 16
13. ธุรกิจตั้งใหม่ในเขตอุตสาหกรรมและเขตส่งเสริม การส่งออก
(แก้ไขเพิ่มเติมตาม Decree No.152/2004/ND-CP)
13.1. ธุรกิจบริการตั้งใหม่ในเขตอุตสาหกรรม                    20%           10 ปี         2 ปี        6 ปี            ปีที่ 11
13.2. ธุรกิจบริการตั้งใหม่ในเขตส่งเสริมการส่งออก               15%           12 ปี         3 ปี        7 ปี            ปีที่ 13
13.3. กิจการผลิตตั้งใหม่ในเขตอุตสาหกรรม                     15%           12 ปี         3 ปี        7 ปี            ปีที่ 13
13.4. ธุรกิจตั้งใหม่ในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ในเขตอุตสาหกรรมและเขตส่งเสริมการส่งออก                    10%           15 ปี         4 ปี        7 ปี            ปีที่ 16
13.5. กิจการผลิตเพื่อส่งออกไม่ว่าจะตั้งอยู่ในหรือนอกเขตส่งเสริมการส่งออก  10%      15 ปี         4 ปี        7 ปี            ปีที่ 16
14. โครงการลงทุนของต่างชาติที่ตั้งใหม่ในธุรกิจสาขาบริการสุขภาพ
การศึกษาและฝึกอบรม การวิจัยทางวิทยาศาสตร์                   10%           15 ปี         4 ปี        9 ปี            ปีที่ 16
15. กิจการที่ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจและรัฐบาลส่งเสริมเป็นพิเศษ             รัฐบาลอนุมัติเป็นรายกรณี           ไม่เกิน 4 ปี         ปีที่ 10
16. โครงการส่งเสริมพิเศษตามที่รัฐบาลอนุมัติเป็นรายกรณี                             10% ตลอดอายุโครงการ
* List A., List B, List C ไก้ระบุใน Investment Law of Vietnam

2. ภาษีส่งออกและนำเข้า
สินค้าส่งออกมีไม่กี่รายการที่ต้องเสียภาษีส่งออก เช่น การส่งออกทรัพยากร ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแร่ธาตุ
ผลิตภัณฑ์จากป่า และเศษ เหล็ก อัตราภาษีไม่เกินร้อยละ 45
ส่วนภาษีนำเข้าจะเก็บในอัตราสูงสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะ สินค้าฟุ่มเฟือย ขณะที่สินค้าประเภท
เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ วัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรม โดยเฉพาะที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ จะเสียภาษีนำเข้าใน
อัตราต่ำมาก หรือไม่เสียภาษีเลย สินค้าผ่านแดนหรือเพื่อการบริจาคได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า

2.1. อัตราภาษีส่งออก (Export Duty Rates)
         - 4%                  สำหรับน้ำมันดิบ เม็ดมะม่วงหิมพานต์
         - 1%, 3%, 5%          สำหรับอัญมณี
         - 5%                  สำหรับผลิตภัณฑ์กึ่งโลหะ
         - 3%, 10%             สำหรับวัสดุ/เครื่องใช้จากพืช
         - 10%                 สำหรับสัตว์มีชีวิต
  • 1%, 2%, 5%, 10%, 20% สำหรับสินแร่
         - 5%, 15%, 20%        สำหรับไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้
         - 20%                 สำหรับ Aloe-Wood
  • 35%, 40%, 45% สำหรับเศษโลหะเหลือทิ้ง
2.2. อัตราภาษีนำเข้าอาจแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
  • อัตราภาษีทั่วไป สำหรับประเทศที่มิได้ลงนามในข้อตกลง MFNs (Most Favoured Nations) กับเวียดนาม
  • อัตราภาษี MFNs สำหรับประเทศที่ลงนามในข้อตกลง MFNs กับเวียดนาม
  • อัตราภาษี CEPT สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนตามข้อตกลง CEPT (Common Effective Preferential
Tariff Scheme) ซึ่งเวียดนามต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนเหลือไม่เกินร้อยละ 5 โดยเริ่มทยอยลด
ภาษีลงตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป

อนึ่ง สำหรับกิจการที่มีต่างชาติร่วมทุนในลักษณะ BCC จะได้รับยกเว้นภาษี นำเข้าสำหรับอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือในการขนส่งที่นำเข้ามาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนในทรัพย์สินถาวร วัสดุก่อสร้างที่ยังไม่สามารถผลิตได้เองใน ประเทศ และวัตถุดิบบางรายการที่นำเข้ามาด้วยวัตถุประสงค์พิเศษ

สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเป็นเวลา 9 เดือน หรือ 275 วัน หากเกิน จากนั้นต้องเสียภาษีนำเข้าก่อน แล้วจึงขอคืนภายหลังเมื่อมีการส่งออกจริง และนิคมอุตสาหกรรมบางแห่งยังได้รับการยกเว้นภาษี นำเข้าสำหรับวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายในประเทศด้วย

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT)

เวียดนามเริ่มจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในปี 2542 ในอัตราร้อยละ 5 - 20 แล้วแต่ประเภทกิจการ แต่เมื่อ 23 กรกฎาคม 2547 รัฐบาลได้ออก Decree No.148/2004/ND-CP แก้ไข Decree No.158/2003/ND-CP ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2546 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มโดยปรับโครงสร้างจากเดิมที่มี 4 อัตราลดเหลือ 3 อัตรา คือร้อยละ 0, 5 และ 10

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตาม Decree No.148/2004/ND-CP

                    สินค้า / บริการ                                          อัตราภาษี
1. สินค้าหรือบริการเพื่อส่งออกหรือจำหน่ายในเขตอุตสาหกรรมส่งออก                         0%
การลงทุนด้านการเงินหรือตลาดทุนในต่างประเทศ
2. สินค้าหรือบริการที่จำเป็น เช่น น้ำ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยา เครื่องมือแพทย์                     5%
อุปกรณ์การศึกษา ของเล่นเด็กเล็ก หนังสือวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ ผลิตภัณฑ์
เกษตรหรือป่าไม้ที่ยังไม่แปรรูป อาหารสัตว์ บริการด้านวิทยาศาสตร์และ การเกษตร เป็นต้น
3. สินค้าหรือบริการอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุข้างต้น รวมถึงล๊อตเตอรี่และ                      10%
นายหน้าค้าหลักทรัพย์ ซึ่งในอดีตเสียอัตราร้อยละ 20

อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ

1. น้ำมัน

เวียดนามเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายสำคัญของภูมิภาค โดยส่งออกเกือบทั้งหมด เพราะเวียดนาม ไม่มีโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ และนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นๆ จากต่างประเทศทั้งนี้เวียดนามมีส่วนแบ่ง ตลาด 0.48 % ของตลาดโลก และเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 34 ของโลกเช่นกัน บริษัทผู้ผลิตรายสำคัญที่ซื้อน้ำมันดิบของ เวียดนามได้แก่ BP, Shell, Exon Mobil, Chevron, China Oil, Sinopec, Sojitz และ Mitsubishi

2. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับ 2 รองจากน้ำมันดิบ มูลค่าส่งออกปีละกว่า 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในปี 2538 ทำให้ เวียดนามต้องลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี 2549 กดดันให้เวียดนามต้องพัฒนาอุตสาหกรรมนี้อย่างจริงจังเพื่อให้ สามารถแข่งขันได้

การลงทุนมีทั้งการปรับปรุงโรงงานเก่าที่ล้าสมัยและการเพิ่มกำลังผลิตของโรงงานใหม่ ข้อตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ ทำให้เวียดนามสามารถส่งออกสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ไปสหรัฐฯ ได้สูงอย่างน่าสังเกต โดยสหรัฐฯ กลายเป็นตลาดสำคัญอันดับ 1 มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มรวมของเวียดนาม

3. รองเท้าและเครื่องหนัง

อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังของเวียดนามขยายตัวอย่างรวดเร็วจนปัจจุบันกลายเป็นผู้ส่งออกสำคัญอันดับ 4 ของโลก รองจาก จีน ฮ่องกง และอิตาลี แต่โรงงานที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างผลิตให้บริษัทต่างชาติ และใช้วัตถุดิบคุณภาพ สูงที่นำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด รวมถึงการออกแบบ เทคโนโลยี และการหาตลาด อุตสาหกรรมนี้จึงยังต้องการการ พัฒนาอีกมากโดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงคู่แข่งอย่างจีน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเวียดนาม

4. การแปรรูปสัตว์น้ำ

ภาคการประมงนับเป็นสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญของเวียดนามและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก เวียดนามมีชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,260 กิโลเมตร และแหล่งน้ำจืดในประเทศ มีพันธุ์ปลากว่า 2,000 ชนิด และประมาณ 100 ชนิดที่มีปริมาณมากพอในการผลิตเชิงพาณิชย์ ข้อมูลจากสถาบันการวางผังและการออกแบบด้านการเกษตรของ กระทรวงการเกษตร และพัฒนาชนบทเวียดนาม ปี 2546 พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเวียดนามเพิ่มขึ้น 312,864 เฮ็กตาร์ (โดยการนำพื้นที่ซึ่ง ปลูกข้าวได้ผลน้อย และพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่น้ำนิ่ง หรือพื้นหาดทรายริมบริเวณน้ำนิ่ง มาใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง กั้ง กุ้งมังกร ปลาน้ำจืด เป๋าฮื้อ ปูทะเล ปูม้า และปลาทะเลบางชนิด)

5. การแปรรูปผักผลไม้

เวียดนามมีผลผลิตทางการเกษตรทางด้าน พืชผัก ผลไม้ สัตว์น้ำ ชา กาแฟ เป็นจำนวนมาก แต่กระบวน การ ผลิตเก็บเกี่ยว และการแปรรูป ยังไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงการบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้อาจครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ปุ๋ยชีวภาพ อาหารสัตว์ ห้องเย็น เครื่องปรุงรส บรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงาน ไร่นา เพื่อการจับสัตว์น้ำ เป็นต้น ดังนั้นการแปรรูปผักและผลไม้เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพแก่นักลงทุนต่างชาติ

6. การผลิตรถจักรยานยนต์

รถจักรยานยนต์ในเวียดนามมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างซับซ้อน ซึ่งในแต่ละช่วงของการพัฒนาทำให้ผู้บริโภคชาว เวียดนามมีความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์มากยิ่งขึ้น ในตลาดรถจักรยานยนต์ของเวียดนามมีรถจักรยานยนต์ มากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งมีที่มาอย่างหลากหลาย อีกทั้งระดับคุณภาพก็แตกต่างเช่นกัน ทำให้ผู้บริโภคชาวเวียดนามมีทางเลือกอย่าง มากมายในการซื้อรถจักรยานยนต์

ในปัจจุบันเวียดนามมีการซื้อรถจักรยานยนต์ต่อปีประมาณ 2 ล้านคัน ซึ่งในปี 2553 อัตราการซื้อรถจักรยานยนต์ จากการพยากรณ์จะอยู่ที่ประมาณ1.5 — 1.8 ล้านคันต่อปี จากการที่เวียดนามเข้าร่วมกับ WTO เวียดนามจะต้องเปิดตลาด อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะในส่วนของรถจักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์ตั้งแต่ 175cc ขึ้นไปจะได้รับการลดภาษี เหลือเพียง 40% เป็นระยะเวลา 8 ปี นี้เป็นโอกาสที่ดีแก่นักธุรกิจต่างชาติ โดยเฉพาะนักธุรกิจไทย

ในปี 2550 นักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในที่ดินและโรงเรือน การท่องเที่ยวการก่อสร้างและตลาดหุ้น

ธุรกิจไทยที่น่าจะมีศักยภาพในเวียดนาม

ชาวเวียดนามมีความชื่นชมในคนไทยที่มีความโอบอ้อมอารีมากกว่าต่างชาติอื่นๆ อีกทั้งยังมีความชื่นชอบและยอม รับสินค้าที่ผลิตและใช้ตราของไทยทั้งนี้ชาวเวียดนามเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าไทยมากกว่าสินค้าที่มีราคาถูกจากประเทศจีน หรือ ของเวียดนามเอง ชาวเวียดนามส่วนใหญ่เห็นว่าสินค้าไทยมีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพเมื่อเทียบกับสินค้าของต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งมีราคาที่แพงกว่า

1. สินค้าไทยที่ได้รับการยอมรับในประเทศเวียดนามและมีลู่ทางรับคำสั่งซื้อ ได้แก่
  • สินค้ากึ่งวัตถุดิบ กึ่งสำเร็จรูป เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรม
  • สินค้าอาหาร เสื้อผ้า ผ้าผืน เครื่องประดับ ภาชนะของใช้ประจำวัน ดอกไม้ประดิษฐ์เสื้อผ้าฝ้าย (เนื้อบาง)

ในรูปแบบที่ทันสมัย ชิ้นส่วนรถมอเตอร์ไซด์และอุตสาหกรรมเบา

2. อุตสาหกรรมที่มีลู่ทางขยายการลงทุนในเวียดนาม คือ
  • อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีประสิทธิภาพในการผลิตและเป็นฐานในการขยายตัว เช่น ยานพาหนะและชิ้นส่วน
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องประดับ การแปรรูปอาหาร และอาหารสัตว์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากและค่าแรงของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น รองเท้า สิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ กระป๋อง
อัญมณี ผ้าผืน และปุ๋ย ฯลฯ
  • อุตสาหกรรมบริการที่ไทยมีศักยภาพสูง เช่น การท่องเที่ยว โรงพยาบาล กิจการโรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น

ข้อมูลเพื่อการการลงทุนและจัดตั้งบริษัท ที่ ประเทศเวียดนาม

***************** 1. ภาษี (Tax)

  • ภาษีนำเข้า (Import Tax) 5% - 40% (ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าและประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดสินค้า)
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) 25% ณ วันที่ 2 ธ.ค. 51 (ลดจาก 28%)
  • ภาษีเงินได้บุคคล (Personal Income Tax)

สำหรับคนเวียดนาม

(หน่วย : ล้านด่อง)

  ระดับ             เงินเดือน             อัตราภาษี (%)
    1               ถึง 5                    0
    2         ตั้งแต่ 5 ขึ้นไปถึง 15             10
    3         ตั้งแต่ 15 ขึ้นไปถึง 25            20
    4         ตั้งแต่ 25 ขึ้นไปถึง 40            30
    5             มากกว่า 40                40

สำหรับคนต่างชาติ

(หน่วย : ล้านด่อง)

  ระดับ             เงินเดือน             อัตราภาษี (%)
    1               ถึง 8                    0
    2         ตั้งแต่ 8 ขึ้นไปถึง 20             10
    3         ตั้งแต่ 20 ขึ้นไปถึง 50            20
    4         ตั้งแต่ 50 ขึ้นไปถึง 80            30
    5             มากกว่า 80                40
(อัตราการแลกเปลี่ยน วันที่ 30 มีนาคม 2552)
1 เหรียญสหรัฐ = 17,237 เวียดนามด่อง และ 1 บาท = 507.2 ด่อง)

-  ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
                      สินค้า / บริการ                               อัตราภาษี
1. สินค้าหรือบริการเพื่อส่งออกหรือจำหน่ายในเขตอุตสาหกรรมส่งออก                 0%
การลงทุนด้านการเงินหรือตลาดทุนในต่างประเทศ
2. สินค้าหรือบริการที่จำเป็น เช่น น้ำ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยา เครื่องมือแพทย์             5%
อุปกรณ์การศึกษา ของเล่นเด็กเล็ก หนังสือวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ ผลิตภัณฑ์เกษตรหรือ
ป่าไม้ที่ยังไม่แปรรูป อาหารสัตว์ บริการด้านวิทยาศาสตร์และการเกษตร เป็นต้น
3. สินค้าหรือบริการอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุข้างต้น รวมถึงล๊อตเตอรี่และ              10%
นายหน้าค้าหลักทรัพย์ ซึ่งในอดีตเสียอัตราร้อยละ 20

-  ภาษีการบริโภคพิเศษ (Excise Tax or Special Consumption Tax)
เลขที่                    สินค้า / บริการ                  อัตราภาษี (%)
 1        บุหรี่ และ ซิการ์
              - ซิการ์                                     65
              - บุหรี่                                      65
 2        เหล้า
              - เหล้าตั้งแต่ 400 ขึ้นไป                        65
              - เหล้าตั้งแต่ 200 ถึง 400                      30
              - เหล้าต่ำกว่า  200 เหล้าผลไม้ เหล้ายา           20
 3        เบียร์
              - เบียร์ขวด เบียร์กล่อง                         75
              - เบียร์สด                                   40
 4        รถยนต์
              - รถยนต์มีต่ำกว่า 5 ที่นั่ง                        50
              - รถยนต์มี่ 6 ถึง 15 ที่นั่ง                       30
              - รถยนต์มี 16 ถึง 24 ที่นั่ง                      15
 5        น้ำมันทุกประเภท - naptha - condensate -
           reformade component                           10
 6        เครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพต่ำกว่า 90,000 BTU        15
 7        ไพ่                                             40
 8        กงเต็ก                                          70

บริการ

 1        Discotheque, Massage, Karaoke                  30
 2        Casino, jackpot                                25
 3        Betting Entertainment Service                  25
 4        Golf                                           10
 5        ลอดเตอรี่

2. การขนส่งภายในประเทศ (Inland Transportation)

โดยคอนเทนเนอร์ 20 ฟุต จากฮานอยถึงไฮฟอง (100 — 120 ก.ม) 100 — 200 เหรียญสหรัฐ

3. ค่าจ้างแรงงานและค่าล่วงเวลา (Labor Cost and Overtime)

ค่าจ้างแรงงานต่อเดือนสำหรับ

รัฐบาลเวียดนามประกาศปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างเวียดนามในรัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชนเวียดนาม และบริษัทต่างชาติ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2552 เพื่อชดเชยกับเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น

ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่จะแตกต่างกันไปใน 4 เขตขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น (จากเดิม ที่แบ่งเพียง 3 เขต) โดยแบ่งเป็น

เขตที่ 1 ครอบคลุมเขตส่วนในของกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ และเมือง Ha Dong กรุงฮานอย

เขตที่ 2 ครอบคลุมเขตชานเมืองกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ เขต Thuy Nguyen และ An Dong ของอำเภอ เมือง Ha Long จังหวัด Quang Ninh นครดานัง เมือง Bien Hoa ของ จังหวัด Dong Nai จังหวัด Vung Tau จังหวัด Thu Dau Mot และเขต Thuan An เขต Di An เขต Ben Cat และเขต Tan Uyen ของ จังหวัด Binh Duong

เขตที่ 3 ครอบคลุม จังหวัด Bac Ninh จังหวัด Bac Giang จังหวัด Hung Yen จังหวัด Hai Duong จังหวัด Mong Cai จังหวัด Uong Bi จังหวัด Cam Pha จังหวัด Dalat จังหวัด Bao Loc จังหวัด Nha Trang และจังหวัด Cam Ranh

เขตที่ 4 ครอบคลุมพื้นที่นอกเหนือจากเขตที่ 1-3

ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ สำหรับแรงงานในรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนของเวียดนาม คือ

(ก) เขตที่ 1: 800,000 ด่ง (46.4 เหรียญสหรัฐ) (ข) เขตที่ 2: 740,000 ด่ง (42.9 เหรียญสหรัฐ)

(ค) เขตที่ 3: 690,000 ด่ง (40.0 เหรียญสหรัฐ) (ง) เขตที่ 4: 650,000 ด่ง (37.7 เหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้นจาก 620,000 ด่ง (35.9 เหรียญสหรัฐ) 580,000 ด่ง (33.7 เหรียญสหรัฐ) และ 540,000 ด่ง (31.3 เหรียญสหรัฐ) ใน 3 เขตเดิม

ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ สำหรับแรงงานในบริษัทเอกชนต่างชาติ คือ (ก) เขตที่ 1: 1,200,000 ด่ง (69.6 เหรียญสหรัฐ) (ข) เขตที่ 2: 1,080,000 ด่ง (62.7 เหรียญสหรัฐ) (ค) เขตที่ 3: 950,000 ด่ง (55.1 เหรียญสหรัฐ) (ง) เขตที่ 4: 920,000 ด่ง (53.4 เหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้นจาก 1,000,000 ด่ง (58.0 เหรียญสหรัฐ) 900,000 ด่ง (52.2 เหรียญสหรัฐ) และ 800,000 ด่ง (46.4 เหรียญสหรัฐ) ใน 3 เขตเดิม

กระทรวงแรงงานเวียดนามกล่าวว่า ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่นี้ก็ยังนับว่าเพิ่มขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อของ เวียดนามที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 25-27% ในปี 2551 และกระทรวงแรงงานเวียดนามก็พยายามช่วยนายจ้างที่ต้องแบกรับภาระ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย โดยค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่จะเพิ่มต้นทุนให้แก่นายจ้างประมาณ 1.3 - 1.7%อย่างไรก็ดี นายจ้างชาวเวียดนามและชาวต่างชาติได้ขึ้นค่าจ้างและค่าตอบแทนแก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการจูงใจและป้องกันปัญหาการย้ายงาน และสมองไหล โดยในช่วงเดือนเมษายน 2550 — มีนาคม 2551 ได้ปรับขึ้นค่าจ้างไปแล้ว 19.5% สูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

ค่าล่วงเวลา
  • 100% ของค่าจ้างรายวันปกติสำหรับวันทำงาน 150% - 200% สำหรับวันหยุด เช่น วันเสาร์-อาทิตย์

หรือวันหยุดตามข้อตกลง

4. ค่าเช่าที่ดิน (Land Cost)
  • ค่าเช่าสำนักงาน/เดือน/ตารางเมตร

Grade A 50 เหรียญสหรัฐ/ตารางเมตร/เดือน

Grade B 40 เหรียญสหรัฐ/ตารางเมตร/เดือน

  • ค่าเช่าที่ดินที่เขตอุตสาหกรรม/เดือน/ตารางเมตร 45 — 150 เหรียญสหรัฐ
  • ค่าเช่าบ้านพัก
          อพาร์ทเม้นท์เกรดดี               1,000 — 1,500 เหรียญสหรัฐ/เดือน
          วิลล่า                         1,500 — 4,500 เหรียญสหรัฐ/เดือน
          อพาร์ทเม้นท์ในเมืองฮานอย           500 — 1,500 เหรียญสหรัฐ/เดือน
  • ค่าเช่าโกดัง
          ภายในเขตอุตสาหกรรม             5.0 — 8.0 เหรียญสหรัฐ/ตารางเมตร์/เดือน
          อื่นๆ                           1.6 — 2.5 เหรียญสหรัฐ/ตารางเมตร/เดือน

5. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Utility Expense)
          -  อัตราค่าโทรศัพท์ไปประเทศไทย                  0.33 เหรียญสหรัฐ/นาที
  • อัตราค่าโทรศัพท์มือถือ 0.077 เหรียญสหรัฐ/นาที 24.24 — 242.20 เหรียญสหรัฐ
  • ค่าไฟฟ้า
          สำหรับอุตสาหกรรม(ต่อ kwh)                      0.05 — 0.10 เหรียญสหรัฐ
          สำหรับกิจการค้าและบริการ (ต่อ kwh)               0.09 — 0.16 เหรียญสหรัฐ
  • ค่าน้ำ
          สำหรับอุตสาหกรรม (ต่อคิวบิคเมตร)                 0.05 — 0.10 เหรียญสหรัฐ
          สำหรับกิจการค้าและบริการ (ต่อคิวบิคเมตร)           0.09 — 0.16 เหรียญสหรัฐ

6. ค่าขนส่งคอนเทนเนอร์ (Container Haulage Cost) ขึ้นอยู่กับบริษัทตัวแทนจำหน่าย

7. ค่าน้ำมัน (Gasoline Price) 1.27 — 1.30 เหรียญสหรัฐ/ก.ก. หรือ 16,364 เวียดนามด่อง/ลิตร
(อัตราการแลกเปลี่ยน วันที่ 30 มีนาคม 2552 1 เหรียญสหรัฐ = 17,237 เวียดนามด่อง และ 1 บาท = 507.2 ด่อง)

8. เงินเดือนให้คนขายและค่าคอมมิซชั่น (Sale Person Salary and Commission)
  • เงินเดือน 87 — 198 เหรียญสหรัฐ (กรุงฮานอย): 122 — 216 เหรียญสหรัฐ (นครโฮจิมินห์)
  • ค่าคอมมิซชั่น ขึ้นอยู่กับการเจรจา (3 — 10%)

9. ค่า Overhead (Overhead Price) ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี สัญญา และ ประเภทบริการหรืออุตสาหกรรม

10. ค่าประกัน (Insurance Price) ขึ้นอยู่กับบริษัท Shipping และประเภทสินค้า

11. ค่า Invoice (Invoice Price) ขึ้นอยุ่กับประเภทสินค้า

12. ค่า Shipping (Shipping Cost) ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า บริษัท Shipping และ ระยะทางขนส่ง

13. ค่าบริการให้คำปรึษา (Consulting Fees) 15 — 250 เหรียญสหรัฐต่อชั่วโมง (ขึ้นอยู่แต่ละกรณีและบริการปรึกษา)

          1. คณะกรรมการของประชากรกรุงฮานอย (Hanoi People’s Committee)
          2. กระทรวงวางแผนและการลงทุน (Ministry of Planning and Investment)
          3. กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (Ministry of Industry and Trade)
          4. กระทรวงการคลัง (Ministry of Finance)
          5. กรมศุลกากรเวียดนาม (General Customs Department of Vietnam)


          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ