เมืองหลวง : Beijing พื้นที่ : 9,561,000 ตารางกิโลเมตร ภาษาราชการ : Putonghua, or Standard Chinese ประชากร : 1.31 พันล้านคน (end-2006) อัตราแลกเปลี่ยน : CNY : Baht 5.0027 (26/05/52) (1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2551 ปี 2552
Real GDP growth (%) 9.00 6.00 Consumer price inflation (av; %) 5.90 -0.20 Budget balance (% of GDP) -0.10 -3.60 Current-account balance (% of GDP) 10.20 6.10 Commercial banks' prime rate (year-end; %) 5.60 5.40 Exchange rate ฅ:US$ (av) 6.95 6.84 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับจีน มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 4,218.84 100.00 -23.93 สินค้าเกษตรกรรม 713.65 16.92 -27.15 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 62.25 1.48 -7.54 สินค้าอุตสาหกรรม 3,064.55 72.64 -18.22 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 378.38 8.97 -49.65 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.02 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับจีน มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 4,638.34 100.00 -27.58 สินค้าเชื้อเพลิง 60.59 1.31 -45.55 สินค้าทุน 2,028.00 43.72 -19.42 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 1,448.18 31.22 -41.52 สินค้าบริโภค 988.83 21.32 -17.71 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 66.50 1.43 -32.02 สินค้าอื่นๆ 46.24 1.00 5,610.16 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - จีน 2551 2552 D/%
(ม.ค. — เม.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 11,950.39 8,857.18 -25.88 การส่งออก 5,545.79 4,218.84 -23.93 การนำเข้า 6,404.59 4,638.34 -27.58 ดุลการค้า -858.80 -419.50 -51.15 2. การนำเข้า จีนเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 2 ของไทย มูลค่า 4,638.34 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 23.61 สินค้านำเข้า สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 4,638.34 100.00 -27.58 1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ 709.36 15.29 -20.22 2.เครื่องจักรไฟฟ้าฯ 636.11 13.71 -18.03 3.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 443.75 9.57 -13.41 4.เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน 417.41 9.00 -28.15 5.เคมีภัณฑ์ 313.12 6.75 -29.79 อื่น ๆ 569.94 12.20 -28.60 3. การส่งออก จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 3 ของไทย มูลค่า 4,218.84 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ -23.93 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 4,218.84 100.00 -23.93 1.เครื่องคอมพิวเตอร์ 1,086.53 25.75 -67.65 2.ยางพารา 441.03 10.45 -34.20 3.เคมีภัณฑ์ 352.11 8.35 34.06 4.เม็ดพลาสติก 318.49 7.55 -13.98 5.แผงวงจรไฟฟ้า 192.78 4.57 -23.05 อื่น ๆ 495.64 11.70 -24.20 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปจีน ปี 2552 (มค.-เม.ย.) ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 0.79 59.89 และ 21.91 ตามลำดับ ในขณะที่ปี 2552 (ม.ค.-เม.ย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 30.82 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ยางพารา : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 66.11 17.51 และ 21.91 ตามลำดับ ในขณะที่ปี 2552 (มค.-เม.ย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 34.20 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เคมีภัณฑ์ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่าปี 2551 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 36.83 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2552 (ม.ค.- เม.ย.) มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้น 126.08 9.49 และ 34.06 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เม็ดพลาสติก : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 18.95 9.33 และ 8.08 ตามลำดับ ในขณะที่ปี 2552 (ม.ค.-เม.ย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 13.98 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
แผงวงจรไฟฟ้า : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย รองจากสิงคโปร และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2551 และ 2552 มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 10.26 และ 23.05 ในขณะที่ปี 2549 และ2550 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.64 และ 33.11 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
อันดับที่ / รายการ มูลค่าล้าน อัตราการขยายตัว% หมายเหตุ
เหรียญสหรัฐ
3. เคมีภัณฑ์ 352.11 34.06 15.ทองแดงและผลิตภัณฑ์ 44.41 20.66 16.เครื่องป้องกันวงจรไฟฟ้า 44.30 33.27 17.เครื่องโทรศัพท์/ตอบรับ 39.99 205.67 4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีนปี 2552 (ม.ค. -เม.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 17 รายการ คือ อันดับที่ / รายการ มูลค่าล้าน อัตราการขยายตัว%
เหรียญสหรัฐ
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 1,086.53 -30.82 2.ยางพารา 441.03 -34.20 4.เม็ดพลาสติก 318.49 -13.98 5.แผงวงจรไฟฟ้า 192.78 -23.05 6.น้ำมันสำเร็จรูป 192.31 -51.07 9.น้ำมันดิบ 120.07 -62.11 11.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ 82.79 -3.52 12.มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 54.22 -14.41 13.วงจรพิมพ์ 51.66 -15.95 14.ข้าว 50.05 -39.91 18.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 37.22 -45.15 19.ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 33.76 -13.89 20.เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 31.56 -9.23 21.ผลิตภัณฑ์พลาสติก 27.55 -28.17 22.เครื่องทำสำเนา 25.72 -43.42 23.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 25.42 -35.80 25.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ -20.13 -0.02 4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
กระทรวงพาณิชย์จะจัดโครงการจัดงานแสดงสินค้าเกษตรไทย ระหว่างวันที่ 6-15 มิถุนายน 2552 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ “Thai Agricultural Products Caravan in China 2009” โดยเป็นการนำสินค้าเกษตรของไทย ผลไม้เมืองร้อนชนิดต่างๆ อาทิ มะม่วง มังคุด ทุเรียน ส้มโอ ฯลฯ ไปโรดโชว์ในเมืองที่มีศักยภาพและกำลังซื้อสูงทางตอนเหนือของจีน จำนวน 5 เมือง ประกอบด้วย เทียนจิน เสิ่นหยาง ปักกิ่ง ต้าเหลียน และซีอัน ซึ่งทุกเมืองที่เดินทางไปแสดงสินค้าในครั้งนี้ ล้วนเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าที่สำคัญทางตอนเหนือของจีน ที่จะทำให้เป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าเกษตรของไทยไปยังทุกภูมิภาคในประเทศจีนได้ โดยเป็นโครงการส่งเสริมสินค้าเกษตรไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดจีนที่ยังมีความต้องการจำนวนมากอยู่ ประเทศจีนถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพและกำลังซื้อสูง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกไม่มากนัก ซึ่งการจัดโรดโชว์ในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีของไทยในการขยายตลาดสินค้าเกษตร โดยเฉพาะผลไม้เมืองร้อน ซึ่งไทยถือเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีศักยภาพทั้งในแง่ของคุณภาพและปริมาณ ที่สามารถรองรับความต้องการนำเข้าเพื่อบริโภค หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆในตลาดจีนได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ทั้งสองประเทศเกิดความร่วมมือในการส่งออกนำเข้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน
สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าบริษัทจะเริ่มส่งออกแผ่นเหล็กไปจีนอีกครั้ง ช่วงไตรมาส 2/52 หลังจากหยุดการส่งออกไปเป็นเวลาหลายปีโดยเชื่อว่าการส่งออกเหล็กไปจีนจะช่วยผลักดันให้สัดส่วนมูลค่าส่งออกของบริษัทในปี 2552 ไปสู่เป้าหมายที่ 10%จากปีก่อนที่ส่งออกเพียง 3-4% โดยคาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกไปจีนสูงหลายพันตัน ขณะที่เชื่อว่าตลาดจีนจะกลับมาเป็นผู้นำเข้าเหล็กอีกครั้งปีนี้ โดยเห็นแนวโน้ม ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 1/52 โดยเฉพาะเดือน มี.ค.52 การนำเข้าและการส่งออกเหล็กของจีนเข้าสู่สมดุลหลังจากที่เป็นผู้ส่งออกสุทธิมาตั้งแต่ช่วงหลังปี 48 จากในอดีตที่จีนเคยเป็นผู้นำเข้าเหล็กรายใหญ่ โดยในปี 46-47 จีนมีปริมาณนำเข้าถึง 3.5 ล้านตัน โดยบริษัทประเมินยอดขายแล้ว มีแนวโน้มว่าจะดีกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากบริษัทคู่แข่ง คือ GSTEEL และ GJS ผลิตและขายน้อยลง เนื่องจากติดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินนอกจากนี้บริษัทมีการสั่งซื้อวัตถุดิบ (Slab) ราคาต่ำเข้ามาใช้ โดยมีราคาต่ำ 315-340 US$/ตันเข้ามาถัวเฉลี่ยต้นทุน (ต้นทุนวัตถุดิบเดิมอยู่ที่ 460 US$/ตัน) ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นตั้งแต่ไตรมาส 2/52 จะดีขึ้นเรื่อยๆ
การค้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ จีนเป็นทั้งประเทศคู่แข่งและคู่ค้าที่สำคัญของไทย ในด้านการเป็นคู่แข่ง จีนเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในสินค้าหลายรายการในตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น สินค้าเครื่องประดับแท้ (ไทยมีความสำคัญเป็นลำดับที่สามรองจากอินเดียและจีน) เครื่องประดับเงิน (ไทยมีความสำคัญเป็นลำดับที่สองรองจากจีน ในปี 2548 หลังจากที่ไทยเป็นผู้นำในตลาดเครื่องประดับเงินมาตลอด) ในด้านการเป็นคู่ค้า สินค้าหลักที่จีนส่งออกมาไทยคือเงิน จีนจึงเป็นแหล่งวัตถุดิบประเภทเงินที่สำคัญของไทย ส่วนการส่งออกนั้น แม้จีนจะไม่ใช่ตลาดสำคัญอันดับต้นที่รองรับสินค้าอัญมณี และเครื่องประดับส่งออกของไทย (ในปี 2551 จีนมีความสำคัญเป็นอันดับที่ 28 เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด) แต่อัตราการเติบโตของมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดจีนในช่วงปี 2544-2551 โดยเฉลี่ยแล้วสูงถึงปีละร้อยละ 30.5 ในปี 2551 สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับรายการสำคัญที่ไทยส่งออกไปจีนได้แก่ พลอยสี อัญมณีสังเคราะห์ และไข่มุก (คิดเป็นร้อยละ 62.9, 10.3, และ 7.29 ของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปจีนทั้งหมดตามลำดับ) เมื่อพิจารณารายสินค้าจะพบว่า สำหรับพลอยสีไทยมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในตลาดจีน อัญมณีสังเคราะห์ไทยมีความสำคัญเป็นอันดับสามรองจากญี่ปุ่นและการนำเข้ากลับ (re-import) ไข่มุกไทยมีความสำคัญเป็นอันดับสามรองจากการนำเข้ากลับ (re-import) ของจีนเองและมาเลเซีย หากพิจารณาเป็นรายสินค้าพบว่า จีนเป็นผู้บริโภคอัญมณีและแพลทินัมรายใหญ่ที่สุดของโลก (มูลค่าการบริโภคอัญมณีมากกว่า 20 พันล้านหยวนต่อปี) นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคเพชรมากที่สุด (การบริโภคต่อปีสูงถึงมากกว่า 25 พันล้านหยวน) การบริโภคเงินก็มากถึงประมาณ 60 ตันต่อปี สำหรับทองคำจีนเป็นประเทศที่บริโภคทองคำมากเป็นอันดับสองของโลก (ในปี 2550 มูลค่าการบริโภคอยู่ที่ประมาณ 363 ตัน) รองจากอินเดีย
1. แม้ความต้องการซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจะมีมากและมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การผลิตของจีนก็มีแนวโน้มมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะการผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีราคาไม่สูงนัก ดังนั้น การจะนำอัญมณีและเครื่องประดับไทยเข้าไปแข่งขันกับผู้ประกอบการจีนในสินค้าตลาดระดับล่างจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจีนเองมีความได้เปรียบทางด้านค่าแรง รวมถึงการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากฮ่องกง อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ผลิตในจีนส่วนใหญ่มีลักษณะใกล้เคียงกัน การเจาะตลาดอาจทำได้หากผู้ประกอบการไทยสามารถสร้างความแตกต่างในตัวสินค้า ทำให้สินค้าที่ส่งออกแตกต่างจากที่มีอยู่ทั่วไปในตลาด รวมถึงการสร้างตราสินค้า (Brand) ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดจีน ไม่เช่นนั้นผู้ประกอบการไทยอาจต้องเน้นเจาะตลาดที่มีคุณภาพสูงขึ้น
2. หากพิจารณาจากลักษณะของผู้บริโภคอัญมณีและเครื่องประดับในจีน ผู้ประกอบการอาจเน้นกลุ่มลูกค้าในวัยทำงานหรือวัยที่อยู่ในช่วงของการแต่งงานไปจนถึงวัยกลางคนเพราะเป็นกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ และควรเน้นเรื่องการพัฒนารูปแบบสินค้าเพราะผู้บริโภคจีนให้ความสำคัญค่อนข้างมาก คุณภาพและราคาเป็นกลยุทธ์ถัดมาที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ นอกจากนี้ผู้ส่งออกควรศึกษาข้อมูลการบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับลึกลงไปถึงระดับรายมณฑล เพราะจีนเป็นประเทศขนาดใหญ่ รสนิยมของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่มีลักษณะแตกต่างกัน ในแง่นี้ผู้ผลิตจีนเองจะมีความได้เปรียบมากกว่า
3. แม้ไทยจะได้สิทธิพิเศษทางภาษีจากข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน แต่ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าจีนได้ทำข้อตกลงทางการค้ากับประเทศและภูมิภาคอื่นๆ ด้วย เช่น อเมริกาใต้ ปากีสถาน ฮ่องกง ชิลี นิวซีแลนด์ เป็นต้น ดังนั้นการพิจารณาความได้เปรียบของไทยจากข้อตกลงการค้าอาเซียน-จีน ต้องพิจารณาควบคู่กับข้อตกลงระหว่างจีนกับประเทศอื่นๆ ด้วย
ที่มา: http://www.depthai.go.th