เบลเยี่ยมเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์ ซึ่งอยู่ในเขตดูแลของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก รวมทั้งเป็น Gateway สำคัญแห่งหนึ่งที่นำเข้าและกระจายสินค้าไทยไปสู่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และประเทศใกล้เคียง
1.1 มูลค่าการค้ารวม 613.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -26.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 (มูลค่า 838.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
1) การส่งออกของไทย - ในช่วงดังกล่าวมีมูลค่า 411.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -28.18 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปี 2551 (มูลค่า 572.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นับเป็นประเทศสมาชิกฯ ที่นำเข้าจากไทยสูง 1 ใน 6 ประเทศ ตามลำดับ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และเบลเยี่ยม
2) การนำเข้าของไทย - ไทยนำเข้าสินค้าจากเบลเยี่ยมมูลค่า 201.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -24.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 (มูลค่า 265.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
3) ดุลการค้า — ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับเบลเยี่ยม (มูลค่า 209.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ไทยได้ดุลการค้าลดลง ร้อยละ —31.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2551 (มูลค่า 307.5ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
(มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
2551 2552 %
(ม.ค.-เม.ย.) (ม.ค.-เม.ย.) เพิ่ม/ลด
การค้ารวม 838.1 613.0 -26.85 ไทยส่งออก 572.8 411.4 -28.18 ไทยนำเข้า 265.3 201.6 -24.01 ดุลการค้า 307.5 209.8 -31.77 1.2 เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกไทย —สหภาพยุโรป การส่งออกไปเบลเยี่ยมมีส่วนแบ่งร้อยละ 7.38 ของการส่งออกรวมของ ไทยไปสหภาพยุโรป ตารางที่ 2 : เปรียบเทียบการส่งออกไทย — สหภาพยุโรป (6 ประเทศแรกที่นำเข้าจากไทยมากที่สุด) ในช่วงดังกล่าว ประเทศ มูลค่า(ล้าน USD) ส่วนแบ่ง (%) สหภาพยุโรป 5,439.90 100.00 เนเธอร์แลนด์ 950.30 17.46 อังกฤษ 883.90 16.24 เยอรมนี 777.80 14.29 ฝรั่งเศส 499.30 9.17 อิตาลี 426.30 7.83 เบลเยี่ยม 411.40 7.56 1.3 เป้าหมายการส่งออกของไทยในปี 2552 ตามตารางที่ 3
(หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ประเทศ การส่งออกจริง เป้าหมายการ อัตราการ การส่งออก 4 เดือน อัตราการ ปี 2551 ส่งออกปี 2552 ขยายตัว(%) ม.ค.-เม.ย.2552 ขยายตัว (%) เบลเยี่ยม 1,692.20 1,625.21[1] -2 411.4 25.31** [1] ที่มา : (100 x 411.43) / 1,625.21 ** (411.4 x 100)/1,625.21 = 25.31 % อัตราการขยายตัว เมื่อเทียบ
1) 4 เดือนแรกปี 2552 กับช่วงเดียวกันปี 2551 มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 25.31
2) เป้าหมายปี 2552 ตั้งเป้าการส่งออกขยายตัวลดลงร้อยละ -2
3) เป้าหมายที่กำหนดไว้ตาม 2) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 25.31
1) ภาพรวมสินค้าที่ไทยส่งออกไปเบลเยี่ยม - ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศและ ส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ลำดับ รายการสินค้า มูลค่า อัตรา
(ม.ค.-เม.ย.2552) การขยายตัว
(ล้าน USD) (%) 1 อัญมณีและเครื่องประดับ 88.0 -0.65 2 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 34.1 -19.50 3 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 24.3 -6.90 4 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ 21.9 79.95 5 รองเท้าและชิ้นส่วน 20.1 -29.18 6 ข้าว 19.6 14.42 7 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 19.5 -24.77 8 ผลิตภัณฑ์ยาง 19.0 -53.33 9 กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 16.4 -11.53 10 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 12.1 -24.98 สินค้ารายการสำคัญที่ไทยส่งออก
เพิ่มขึ้น 10 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (ร้อยละ 79.95) ข้าว (ร้อยละ 14.42)ผลิตภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ (ร้อยละ 1.47) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 14.41) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (ร้อยละ 1.47) เครื่อง โทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์ฯ (ร้อยละ 526.05) เส้นใยประดิษฐ์ (ร้อยละ 284.04) เลนซ์ (ร้อยละ 39.37) เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ (ร้อยละ 25.01) เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์(ร้อยละ 427.94)
ลดลง 10 อันดับแรก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ (ร้อยละ -0.65) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ -19.50) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ -6.90) รองเท้าและชิ้นส่วน (ร้อยละ —29.18) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ —24.77) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ -53.33) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (ร้อยละ -11.53) เหล็ก เหล็กกล้าและ ผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ —24.98) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (ร้อยละ -77.57) เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำ ความเย็น (ร้อยละ -20.58)
ลำดับ รายการสินค้า มูลค่า(ม.ค.-เม.ย.’52) อัตราการ (ล้าน USD) ขยายตัว(%) 1 หมวดสินค้าแร่ธาตุและสินค้าเกษตร ข้าว 19.6 14.42 กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง 5.4 -1.77 ยางพารา 4.3 -45.52 ใบยาสูบ 0.9 -80.24 ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง 0.4 121.85 2 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ผลิตภัณฑ์ยาง 19.0 -53.33 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 5.0 14.41 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 3.3 4.76 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 3.1 -3.63 ไก่แปรรูป 1.8 -48.83 3 หมวดสินค้าอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับ 88.0 -0.65 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 34.1 -19.50 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 24.3 -6.90 รถยนต์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 19.5 -24.77 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 11.5 -77.57 รายการสินค้าแร่ธาตุและเกษตรที่ส่งออก
เพิ่มขึ้น เช่น ข้าว (ร้อยละ 14.42) ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (ร้อยละ 121.85) กระดูกสัตว์และ ขนสัตว์ปีก(ร้อยละ 12.37) ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ 15.12) ปลามีชีวิตและพันธุ์ปลา (ร้อยละ 95.83)
ลดลง เช่น กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ —1.77) ยางพารา (ร้อยละ —45.52) ใบยาสูบ (ร้อยละ -80.24) เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ —19.60) ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ —48.97)
เพิ่มขึ้น เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 14.41) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (ร้อยละ 4.76) เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ (ร้อยละ 427.94) ผักกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 11.66) สิ่งปรุงรสอาหาร (ร้อยละ 11.61)
ลดลง เช่น ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ -3.63) ไก่แปรรูป (ร้อยละ —48.83) อาหารสัตว์เลี้ยง (ร้อยละ -22.88) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ร้อยละ -75.52) ผลิตภัณฑ์ข้าว (ร้อยละ -42.89)
เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ (ร้อยละ 79.95) ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ (ร้อยละ 1.47) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์ (ร้อยละ 526.05) เส้นใยประดิษฐ์ (ร้อยละ 287.04) เลนซ์ (ร้อยละ 39.37)
ลดลง เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (ร้อยละ -0.65) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ -19.50) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ -6.90) รองเท้าและชิ้นส่วน (ร้อยละ —29.18) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ —24.77)
ข้อสังเกต : บทวิเคราะห์ของ สศค. กรณีสถาบันวิจัยของอาคารพาณิชย์ เปิดเผยว่าในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาจน ถึงวันที่ 20 พ.ค. 52 ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปถึงกว่าร้อยละ 3.2 ถือเป็นอุปสรรคในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยว่า ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เมื่อเทียบกับค่าเงินประเทศคู่ค้าหลัก 12 สกุลเงิน ณ วันที่ 22 พ.ค. 52 แข็งค่าขึ้นจากค่าเงินบาท ณ วันที่ 1 ม.ค. 52 ที่ร้อยละ 1.37 ซึ่งค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเทียบกับประเทศคู่ค้านี้มีส่วนที่จะกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย ที่กำลังประสบปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกอยู่ในปัจจุบัน
สินค้ารายการสำคัญที่ไทยนำเข้าจากเบลเยี่ยม — ในช่วง 4 เดือน (มกราคม — เมษายน) ปี 2552 มูลค่ารวม 201.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -24.01 เมื่อเทียบกับการนำเข้าในช่วงเดียวกัน ปี 2551 (มูลค่า 265.3 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ)
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วน ประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม
ลำดับ รายการสินค้า มูลค่า อัตรา
(ม.ค.-เม.ย.2552) การขยายตัว
(ล้าน USD) (%) 1 เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 71.6 -21.55 2 เคมีภัณฑ์ 29.6 -47.88 3 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 17.6 15.61 4 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 16.0 9.51 5 ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม 13.5 -11.22 6 เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 8.8 210.2 7 ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก 8.4 -21.52 8 พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 6.6 -64.40 9 สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 3.0 305.36 10 ผลิตภัณฑ์โลหะ 2.6 -32.29
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก
ที่มา: http://www.depthai.go.th