สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สวิตเซอร์แลนด์ ปี 2552 (ม.ค.—เม.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 3, 2009 16:49 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง         :  Berne
พื้นที่              :  41,285  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ       :  German (64%) French (19%) Italian (89%) Romansch (1%) Others (8%)
ประชากร          :  127.8 พันล้านคน (February 2008)
อัตราแลกเปลี่ยน     :  CHF1 :  Baht 31.4652 (2/06/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                               1.6        -2.9
Consumer price inflation (av; %)                  2.4        -0.9
Budget balance (% of GDP)                         0.9        -2.0
Current-account balance (% of GDP)                8.0         8.2
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        2.6         0.3
Exchange rate ฅ:US$ (av)                         1.08        1.14

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสวิตเซอร์แลนด์
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                 1,677.78          100.00         250.72
สินค้าเกษตรกรรม                       6.61            0.39         -42.56
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              16.26            0.97          28.01
สินค้าอุตสาหกรรม                   1,654.90           98.64         264.38
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                     0.0             0.0        -100.00
สินค้าอื่นๆ                              0.0             0.0

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสวิตเซอร์แลนด์
                                       มูลค่า :      สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                             544.72        100.00        -39.81
สินค้าเชื้อเพลิง                             0.19          0.03        -14.99
สินค้าทุน                                 76.38         14.02        -22.75
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                 347.85         63.86        -45.40
สินค้าบริโภค                             120.08         22.04        -28.57
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                0.21          0.04        -67.78
สินค้าอื่นๆ                                 0.01           0.0        319.06

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — สวิตเซอร์แลนด์
                           2551           2552          D/%

(ม.ค.-เม.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             1,383.40       2,222.50       60.65
การส่งออก                   478.38       1,677.78      250.72
การนำเข้า                   905.02         544.72      -39.81
ดุลการค้า                   -426.64       1,133.06

2. สวิตเซอร์แลนด์ เป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 16 มูลค่า 544.72 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 39.81
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                    มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                     544.72          100.00         -39.81
1.เครื่องเพชรพลอย อัญมณีฯ               291.15           53.45         -47.26
2.นาฬิกาและส่วนประกอบ                  58.46           10.73         -41.84
3.เครื่องจักรกลส่วนประกอบ                49.74            9.13          39.51
5.ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืช                  10.92            2.00          60.36
        อื่น ๆ                          9.00            1.65         -62.10

3. สวิตเซอร์แลนด์ เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 8 มูลค่า 1,677.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 250.72
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                         มูลค่า :         สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                        1,677.78          100.00         250.72
1.อัญมณีและเครื่องประดับ                    1,503.52           89.61         491.54
2.นาฬิกาและส่วนประกอบ                       59.64            3.55         -29.04
3.เครื่องโทรศัพท์ เครื่องตอบฯ                   16.83            1.00         206.20
4.อาหารทะเลกระป๋องและแปร                   10.57            0.63          27.77
5.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ                    8.99            0.54          23.06
           อื่น ๆ                           17.13            1.02         -51.07

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสวิตเซอร์แลนด์  ปี 2552 (มค.- เม.ย.) ได้แก่

อัญมณีและเครื่องประดับ : สวิตเซอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-เม.ย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.22 178.59 116.33 และ 491.54 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

นาฬิกาและส่วนประกอบ : สวิตเซอร์แลนด์ เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2552 (มค.-กพ.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (29.04%) ในขณะที่ปี 2549-2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 7.81 28.01 และ 14.36 ตามลำดับเมื่อเทียบ กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องโทรศัพท์ เครื่องตอบรับ : สวิตเซอร์แลนด์ เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-เม.ย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.33 13.87 31.99 และ 206.20 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

อาหารทะเลกระป๋องฯ : สวิตเซอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 15 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่า ปี 2549 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (7.36%) ในขณะที่ปี 2550 - 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.58 27.42 และ 27.77 ตามลำดับ เมื่อเทียบ กับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.- เม.ย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.47 157.44 24.75 และ 23.06 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสวิตเซอร์แลนด์ ปี 2552(ม.ค.-เม.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงมีรวม 10 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                         มูลค่า       อัตราการขยายตัว      หมายเหตุ
                                      ล้านเหรียญสหรัฐ         %
1.อัญมณีและเครื่องประดับ                    1,503.52         491.54         สวิตเซอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกอัญมณี
3.เครื่องโทรศัพท์  เครื่องตอบรับโทรศัพท์           16.83         206.20         อันดับหนึ่งของไทย โดยสินค้าที่ไทย
4.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                 10.57          27.77         ส่งออก ได้แก่ทองคำ ยังไม่ขึ้นรูป
5.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และฯ                 8.99          23.06         เครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง เพชร
6.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                   7.26          28.04         และพลอย เป็นต้น ทั้งนี้ในปี 2552
13.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                 3.01          10.58         (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัว
15.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                            2.61          11.87         491.54
18.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                   1.71          44.44
22.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                      1.38           3.28
24.สายไฟฟ้า  สายเคเบิ้ล                       0.86          23.48

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสวิตเซอร์แลนด์ ปี 2552 (ม.ค.-เม.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม  15 รายการ คือ
    อันดับที่ / รายการ                            มูลค่า        อัตราการขยายตัว
                                          ล้านเหรียญสหรัฐ          %
2.นาฬิกาและส่วนประกอบ                           59.64          -29.04
7.เครื่องใช้สำหรับเดินทาง                           6.05          -42.36
8.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ                  5.59           32.75
9.เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ                  5.53          -41.65
10.เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว               5.05          -38.14
11.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้                               3.81          -51.79
12.ข้าว                                         3.37          -50.55
14.สิ่งทออื่น ๆ                                    2.93          -24.55
16.แผงวงจรไฟฟ้า                                 2.46          -32.92
17.แก้วและกระจก                                 2.40          -18.13
18.ผลิตภัณฑ์ยาง                                   1.97           -9.89
20.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                1.65          -22.27
21.ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง                       1.38          -11.60
23.วงจรพิมพ์                                     1.25          -21.19
25.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                           0.84          -18.93

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

การลงทุนทองคำได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกยอดนิยมสำหรับนักลงทุนในหลายกลุ่ม และหลายระดับที่มองว่าการลงทุนในทองคำแท่งมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง และในขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจโลกกำลังผันผวนอย่างรุนแรง ปัจจุบันความต้องการทองคำแท่งในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากทองคำจัดเป็นสินทรัพย์ที่มีความคงทนไม่เสื่อมคุณภาพ และมีมูลค่าในตัวเองซึ่งมูลค่าของทองคำจะสูงขึ้นตามกาลเวลา และทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าดึงดูดกับนักลงทุน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างต่ำกลยุทธ์การลงทุนในทองคำภายในภาวการณ์ปัจจุบัน นักลงทุนควรที่จะศึกษาถึงปัจจัย และสถานการณ์ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ เช่น นโยบายทางเศรษฐกิจ การเงิน การคลังของภาครัฐ ดัชนีชี้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทิศทางของค่าเงินดอลลาร์ ค่าเงินบาท บริษัท ออสสิริส ผู้นำด้านลงทุนทองคำชั้นนำของไทย เปิดสาขาเชียงใหม่รองรับการขยายธุรกิจสู่ภาคเหนือ พร้อมเปิดตัวทองคำแท่ง “AUSIRIS Baht Gold Bar 96.5%” ผลิตโดยตรงจากสวิตเซอร์แลนด์เป็นรายแรกของประเทศไทย โดยภาคเหนือเป็นตลาดที่มีศักยภาพมาก เพราะเป็นภาคที่มีการออมมากที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเปิดตลาดทั้งเพื่อการลงทุน และการออม

สวิตเซอร์แลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศที่ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กับประเทศไทย โดยสินค้าเกษตรส่วนใหญ่จะได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้า ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมสวิตเซอร์แลนด์จะยกเว้นภาษีนำเข้า ยกเว้นสินค้ากลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้าร้อยละ 50-75 ของอัตราภาษีปกติ ทั้งนี้ เพื่อปกป้องสินค้ากลุ่มดังกล่าวภายในประเทศ สำหรับในปี 2552 (มค.-เม.ย.) ไทยกับสวิตเซอร์แลนด์มีมูลค่าการค้าระหว่างกันรวม 2,222.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าส่งออก 1,677.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่านำเข้า 544.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามูลค่า 1,133.06ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ ส่วนประกอบของอากาศยาน ส่วนประกอบของนาฬิกา และ อัญมณีเครื่องประดับ เป็นต้น ด้านการใช้สิทธิพิเศษทางภาษี GSP ในปี 2551 กรมการค้าต่างประเทศได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form A) ไปสวิตเซอร์แลนด์ จำนวน 9,632 ฉบับ มีมูลค่า 315.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.95 ของมูลค่าการส่งออกรวม รายการสินค้าที่ไทยใช้สิทธิ GSP สูงได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง ข้าวสาร หน้าปัดนาฬิกา และตัวเรือนนาฬิกา เป็นต้น สำหรับสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกแต่ไม่ได้ใช้สิทธิหรือใช้สิทธิน้อย ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ไม้ฝังมุกหรือวัตถุอื่นๆ สายนาฬิกา/ส่วนประกอบของนาฬิกา กล่องพลาสติกหุ้มด้วยผ้าทอ และอัญมณีเครื่องประดับ เป็นต้น การใช้สิทธิฯ GSP สำหรับสินค้าเพชรพลอย/ส่วนประกอบทำด้วยโลหะมีค่าอื่นๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดสวิตเซอร์แลนด์ได้ เนื่องจากสินค้าดังกล่าวได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าภายใต้ GSP จากภาษีนำเข้าปกติ (MFN) ซึ่งสูงถึง 3,999 Fr./100 kg. gross นอกจากนี้สินค้าในกลุ่มหัตถกรรมงานฝีมือ (Handicraft) เช่น กล่องใส่เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ฝังมุก กระเป๋าที่คลุมด้วยผ้าทอ ก็เป็นสินค้าที่ได้สิทธิฯ GSP และมีศักยภาพและมูลค่าเพิ่มในตลาดสวิตเซอร์แลนด์สูง แต่ยังมีการใช้สิทธิฯ GSP เพื่อส่งออกไม่มากนัก

ธุรกิจร้านอาหารไทยเป็นธุรกิจหนึ่งที่น่าจะมีศักยภาพ โดยอาหารไทยได้รับความนิยมในตลาดสวิสเซอร์แลนด์มากยิ่งขึ้นในช่วง 5-6 ปี ที่ผ่านมา ผู้บริโภคชาวสวิสส่วนมากนิยมอาหารไทย เนื่องจากรสชาติกลมกล่อมและประกอบด้วย ผักและเครื่องเทศต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร้านอาหารไทยที่ได้รับความนิยมมักมีการจัดตกแต่งร้านอย่างสวยงามเพื่อดึงดูดลูกค้าระดับกลาง-บน เนื่องจากชาวสวิสฯมีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามรัฐบาลของสวิสฯให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมากและค่อนข้างเข้มงวดกับส่วนผสมของอาหารทุกประเภท เช่น ห้ามผสมสีหรือสารอื่นเจือปนในเส้นก๋วยเตี๋ยวอย่างเด็ดขาด ผู้ที่สนใจจะลงทุนในธุรกิจด้านนี้จึงควรศึกษารายละเอียดกฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้รอบคอบ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ