ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร(Herbal medicinal products) อาจจะแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 4 กลุ่ม คือ
1. Phytophamaceuticals (ผลิตภัณฑ์ในรูปยาแผนปัจจุบัน)
2. Herbal medicines (ยาแผนโบราณ)
3. Nutraceuticals (อาหารเสริม)
4. Cosmeceuticals (เครื่องสำอางจากสมุนไพร)
ทั้งนี้ พืชสมุนไพรสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น
1. Aromatherapy
2. Oil for massage
3. Vitamins/supplements
4. Essential oils
5. Sport medicinal products
6. Smart beverages
7. Functional Food
8. Personal-care products
9. Hair-care products
10. Oral hygiene
11. Baths and gels
12. Skin care
13. Obesity
14. Honey and syrups
15. Pet foods
มูลค่าการนำเข้า —ส่งออกพืชสมุนไพร
การนำเข้าในปี 2551 (มกราคม — พฤศจิกายน) มาเลเซียนำเข้าพืชสมุนไพร ทั้งสิ้น 141.68 ล้านริงกิต ลดลงร้อยละ 15.71 เมื่อเทียบกับปีช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากจีน ฮ่องกง ไต้หวัน อินเดียและออสเตรเลีย
การส่งออก ในปี 2551 (มกราคม — พฤศจิกายน) มาเลเซียส่งออก ทั้งสิ้น 11.99 ล้านริงกิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 31..47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ตลาดส่งออกขอมาเลเซียที่สำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นต้น
มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกเภสัชภัณฑ์
การนำเข้าในปี 2551 (มกราคม — พฤศจิกายน) มาเลเซียนำเข้าเภสัชภัณฑ์ ทั้งสิ้น 2,489.30 ล้านริงกิต เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.33 เมื่อเทียบกับปีช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากออสเตรเลีย เยอรมันนี ฝรั่งเศส สหรัฐฯ แลอังกฤษ เป็นต้น การส่งออก ในปี 2551 (มกราคม — พฤศจิกายน) มาเลเซียส่งออกยาเภสัชภัณฑ์ ทั้งสิ้น 413.71 ล้านริงกิต ลดลงร้อยละ 12.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ตลาดส่งออกของมาเลเซียที่สำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ บรูไน ฮ่องกง อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น
มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกเครื่องสำอาง
การนำเข้าในปี 2551 (มกราคม — พฤศจิกายน) มาเลเซียนำเข้าเครื่องสำอาง ทั้งสิ้น 1,956.26 ล้านริงกิต เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.96 เมื่อเทียบกับปีช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากไทย ฝรั่งเศส สหรัฐฯ สิงคโปร์ และจีน เป็นต้น
การส่งออก ในปี 2551 (มกราคม — พฤศจิกายน) มาเลเซียส่งออกเครื่องสำอาง ทั้งสิ้น 614.59 ล้านริงกิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ตลาดส่งออกของมาเลเซียที่สำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย เป็นต้น
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนตำรับยาของมาแลซีย
ตามระเบียบการนำเข้ายารักษาโรค ปี ค.ศ. 1984 กำหนดให้ยาทุกชนิดที่จำหน่ายในมาเลเซียไม่ว่าจะเป็นยารักษาคนหรือยารักษาสัตว์เลี้ยงจะต้องขึ้นทะเบียนตำรับยาและอยู่ภายใต้การควบคุมของ Drug Control Authority (DCA) ของมาเลเซีย
ยาและผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา ได้แก่
1. Pharmaceutical products containing schedule poisons อาทิ ยาต้นแบบ (Original Drug) และยาสามัญ (Generic Drug) เป็นต้น
2. Pharmaceutical products containing non-schedule poisons(OTC) อาทิ แชมพูยาขจัดรังแค ยาระงับกลิ่นปาก (Antiseptic) ฯลฯ
3. Traditional products อาทิ อาหารเสริม เช่น Bee Pollen, Royal Jelly, Extract of chicken ฯลฯ
4. Veterinary products ได้แก่ ยาที่ใช้สำหรับรักษาสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
ผู้ส่งออกประสงค์จะส่งออกยาไปมาเลเซียจะต้องแต่งตั้ง Market Authorization Holder (MAH) หรือตัวแทนจำหน่ายในมาเลเซียซึ่งมีพนักงานเป็นเภสัชกรขึ้นทะเบียนทางการมาเลเซียให้เป็นตัวแทนในการขึ้นทะเบียนตำรับยา
เอกสารที่ MAH จำเป็นต้องใช้ประกอบการขึ้นทะเบียนตำรับยาแบบ online ทางเว็บไซต์ www.bpfk.gov.my โดยก่อนยื่นคำขอจะต้องสมัครเป็นสมาชิกโดยสามารถติดต่อได้ที่ Digicert Customer Service Department โทรศัพท์ 03 8996 1600 โดยผู้ยื่นจะเตรียมเอกสารต่างๆ ได้แก่
1. Company Registration Form
2. Company Authorization Letter
3. สำเนาบัตรประชาชนหรือ Photocopy of I/C
เมื่อชำระเงินค่าสมัครให้แก่ Digicert Customer Service Department แล้วภายใน 7 วัน Digicert จะแจ้ง login name และ password ให้ทราบเพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนตำรับยาแบบ online ทาง www.bpfk.gov.my ภายใต้หัวข้อ Quest 2 หัวข้อย่อย registration / registration the product on-line. เพื่อส่งเอกสารตามแบบฟอร์มที่จัดไว้ให้ในเว็บไซต์ โดยมีเอกสารที่สำคัญประกอบการพิจารณา คือ
1. จดหมายมอบอำนาจเจ้าของยาโดยให้ปรากฏชื่อ-ที่อยู่ของบริษัทเจ้าของบนหัวกระดาษจดหมาย ลงวันที่พร้อมลงนามโดยกรรมการผุ้จัดการหรือประธานบริษัท
2. Certificate of Pharmaceutical Product หรือ GMP Certificate จากกระทรวงสาธารณสุข/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. Free Sale Certificate จากประเทศผู้ผลิต
Category of product Timeline Prescription & Non- prescription (Non-poison) Drugs (online) 12 months New Drugs & Biologicals (manual submission,3rd stage) 12 months Category of product Abridged Evaluation Health Supplement Products 6 months Natural Product (Traditional) 6 months Non- prescription drug 6 months ภายหลังจากที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้วจะต้องดำเนินการยื่นจดทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือผู้จัดจำหน่าย ภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้ Licence Registration fee Time line * Validity 1. Import licence RM 500 Not more than1 month 1 year 2. Manufacturer RM 1000 Not more than1 month 1 year 3. Wholesaler RM 500 Not more than 1 month 1 year
กฏระเบียนควบคุมสินค้าเครื่องสำอางของมาเลเซีย
มาเลเซียได้ออกประกาศว่าด้วย Guidelines for Control of Cosmetic Products in Malaysia มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 ว่าการก่อนการผลิต การนำเข้า และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องขอออก Notification Note จาก The Director of Pharmaceutical Services (DPS) ผ่าน National Pharmaceutical Control Bureau (NPCB) จึงจะสามารถทำการผลิต นำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องสำอางได้ ทั้งนี้ Notification Note จะใช้แทน ใบอนุญาต (Licenses) ต่างๆ เช่น ใบอนุญาตเพื่อการผลิต ใบอนุญาตการนำเข้าและใบอนุญาตจัดจำหน่าย
การออก Notification Note จะสามารถดำเนินการแบบ Online ผ่าน Official Website ของ National Pharmaceutical Control Bureau (NPCB) ที่ www.bpfk.gov.my ภายใต้หัวข้อ Quest 2
ผู้ที่มีหน้าที่ขอ Notification Note คือ บริษัทท้องถิ่นของมาเลเซียที่ได้จดทะเบียนการค้ากับสำนักงานทะเบียนการค้าของมาเลเซีย (Malaysian Registrar of Business Bureau) โดยผู้ยื่นจะต้องรับหนังสือมอบอำนาจ (A letter of authorization) จากเจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางก่อน หลังจากได้หนังสือมอบอำนาจแล้วขึงดำเนินการขอ Notification Note ผ่านทาง Online โดยชำระค่าธรรมเนียม 50 ริงกิต/ผลิตภัณฑ์ เมื่อได้รับ Notification Note แล้วจะมีอายุการใช้งาน 2 ปี สามารถต่อายุได้ก่อนวันหมดอายุ 1 เดือนพร้อมชำระค่าธรรมเนียม
สรุปขั้นตอนการขอ Notification Note :
1. Quest2 Cosmetic Module --> Forms Tray --> Product Notification --> key in the notification number (e.g. NOT12345678K) --> Print the Notification Note
2. Quest2 Cosmetic Module --> Utilities --> Submission Utilities --> Registered ( Starting 1 January 2008, it will change to List of Notified Products ) --> Click on the
3. Notification number --> Print the Notification Note
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จาก Guidelines for Control of Cosmetic Products in Malaysia โดยสามารถ Down Load จาก website : www.bpfk.gov.my
1. Szu Keang Trading Sdn. Bhd.
17, Jalan 3 / 91A, Taman Shamelin Perkasa
56100 Kuala Lumpur
Tel: 603-92854722
Fax: 603-92853695
Email: pangtiehyee@szukeang.com.my
Attn: Mr. Pang Tieh Yee
2. Naga Segi Sdn. Bhd.
2 Jalan Ibukota 7, Taman Ibukota, Gombak
53100 Kuala Lumpur
Tel: 603-40223234
Fax: 603-40227854
Email: nagasegi@tm.net.my
Attn: Mr. Dawood
3. Ms. Debbie G L Lau
Marketing Executive (Consumer Healthcare Div.)
Apex Pharmacy Marketing Sdn. Bhd.,
No. 2, Jalan SS 13/5
47500 Subang Jaya, SELANGOR
Tel : 603-56293688
Fax : 603-56368025
4. Amway (M) Sdn Bhd
34, Jalan 223
46100 Petaling Jaya, Selangor
Tel: 603 7964 5222
Fax: 603 7964 5299
Website: http://www.amway2u.com
5. DCM Personal Care Sdn Bhd
5, Jalan Jururancang U1/21
Section U1, Highcom- Glenmarie Industrial Park
40150 Shah Alam Alam
Tel : 603-78049606
Fax : 603-78049070
6. Glamour Prestige Sdn Bhd
M2-B-15, Jalan Pandan Indah 4/6, Pandan Indah
55100 Kuala Lumpur, Wilayah Persekutuan
Tel: 03-42911300
Fax: 03-42912600
7. Watson's Personal Care Stores Sdn Bhd
Suite 20.03-20.06
20th Floor Central Plaza, 34 Jalan Sultan Ismail
50250 Kuala Lumpur, Wilayah Persekutuan
Telephone: 603 21432386
Fax: 603 21432399
Email: singjoo@watsons.com.my
8. Unique Conversion Sdn Bhd
E2-2, Palm Square, Jalan Selaman 1/2
58000 Ampang, Selangor
Telephone: 603 42702517
Fax: 603 42702518
สำนักงานส่เงริมการค้าฯ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th