สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - เกาหลีใต้ ปี 2552 (ม.ค.-เม.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 9, 2009 16:45 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง         : Seoul
พื้นที่              : 99,601  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ       : Korean
ประชากร          : 48.5 ล้านคน (2007)
อัตราแลกเปลี่ยน     : KRW : US$ 0.0275 (08/06/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                               5.0         4.4
Consumer price inflation (av; %)                  2.5         4.9
Budget balance (% of GDP)                         3.8         1.7
Current-account balance (% of GDP)                0.6        -3.8
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        6.6         7.0
Exchange rate ฅ:US$ (av)                        929.3     1,045.2

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับเกาหลีใต้
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                    844.08          100.00        -21.35
สินค้าเกษตรกรรม                      119.92           14.21        -44.28
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               60.31            7.15         11.87
สินค้าอุตสาหกรรม                      563.42           66.75        -17.10
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                   100.43           11.90        -19.27
สินค้าอื่นๆ                               0.0             0.0       -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับเกาหลีใต้
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              1,610.46          100.00         -27.53
สินค้าเชื้อเพลิง                               26.86            1.67         -57.18
สินค้าทุน                                   580.09           36.02          16.82
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                    734.92           45.63         -43.76
สินค้าบริโภค                                242.49           15.06          -9.29
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  23.79            1.48         -73.25
สินค้าอื่นๆ                                    2.31            0.14       2,140.93

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - เกาหลีใต้
                           2551            2552          D/%

(ม.ค.-เมย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             3,295.57        2,454.55      -25.52
การส่งออก                 1,073.19          844.08      -21.35
การนำเข้า                 2,222.39        1,610.46      -27.53
ดุลการค้า                 -1,149.20         -766.38      -33.31

2. การนำเข้า
เกาหลีใต้เป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 7 ของไทย มีมูลค่า 1,610.46 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 27.53
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                  มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                 1,610.46          100.00        -27.53
1.เครื่องจักรกลและส่วนฯ               228.17           14.17         34.06
2.ผลิตภัณฑ์โลหะ                      181.73           11.28         66.44
3.เหล็ก เหล็กกล้าฯ                   173.30           10.76        -46.10
4.เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน                137.67            8.55        -15.42
5.เครื่องจักรไฟฟ้าฯ                   115.46            7.17        -30.02
           อื่น ๆ                    73.61            4.57        -59.78

3. การส่งออก
เกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกอันดับที่  14 ของไทย มีมูลค่า  844.08  ล้านเหรียญสหรัฐ  ลดลงร้อยละ  21.35
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                        มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                        844.08           100.00         -21.35
1.แผงวงจรไฟฟ้า                           94.54            11.20         -19.65
2.น้ำมันดิบ                                72.58             8.60          26.21
3.เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯ                      71.22             8.44          -1.63
4.ยางพารา                               63.53             7.53         -49.56
5.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบฯ               40.12             4.75         201.12
         อื่น ๆ                          172.40            20.40         -36.80


4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเกาหลีใต้ ปี 2552 (มค.-เม.ย.) ได้แก่

แผงวงจรไฟฟ้า : เกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 8 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2551 และ 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ 33.69 และ 19.65) ในขณะที่ปี 2549 และ 2550 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.84 และ 26.44 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

น้ำมันดิบ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่าปี 2550 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ 68.72) ในขณะที่ปี 2549 2551 และ 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.07 588.87 และ 26.21 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : เกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2551 และ 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ 10.84 และ 1.63) ในขณะที่ปี 2549 และ 2550 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.45 และ 7.51 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ยางพารา : เกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2550 และ 2552 (มค.-เมย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง(ร้อยละ 8.34 และ 49.56)ในขณะที่ปี 2549 และ 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.58 และ 37.80 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ : เกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-เม.ย.) พบว่าปี 2549-2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.29 13.56 13.79 และ 201.12 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเกาหลีใต้ ปี 2552 (มค.-เม.ย.) 25 รายการแรก
สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูง มีรวม 8 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                         มูลค่า       อัตราการขยายตัว      หมายเหตุ
                                      ล้านเหรียญสหรัฐ         %
2. น้ำมันดิบ                                72.58           26.21
5. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                40.12          201.12
6. ส่วนประกอบอากาศยาน                     34.52       15,661.00
8. เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ               28.07           11.75
9. น้ำตาลทราย                             26.56          121.51
16.กากน้ำตาล                              12.50           18.90
19.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                          10.21           69.81
25.เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าฯ                        7.57           61.80

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเกาหลีใต้ ปี 2552 (ม.ค.-เม.ย.) 25 รายการแรก
สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 16 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                                   มูลค่า       อัตราการขยายตัว
                                                ล้านเหรียญสหรัฐ         %
1. แผงวงจรไฟฟ้า                                      94.54         -19.65
3. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์                             71.22          -1.63
4. ยางพารา                                          63.53         -49.56
10.ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                                  25.27         -47.90
11.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้                                    22.11         -55.00
12.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                            18.81         -15.45
13.เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น                15.51         -40.73
14.เคมีภัณฑ์                                           14.11         -29.14
15.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                     12.89         -61.10
17.น้ำมันสำเร็จรูป                                      11.33         -69.81
18.กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                                  11.19         -37.02
20.เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว                    10.17         -37.81
22.เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ                       9.23         -30.11
23.เม็ดพลาสติก                                         9.00         -36.30
24.ผลิตภัณฑ์ยาง                                         7.96         -45.06

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงผลการประชุมสุดยอดอาเซียน-เกาหลี สมัยพิเศษ ที่เกาะเจจู สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 30 พ.ค.- 2 มิ.ย.ว่า การประชุมประสบความสำเร็จตามที่ได้คาดหวังไว้ เพราะทำให้ความแน่นแฟ้นระหว่างอาเซียนกับเกาหลีมีมากยิ่งขึ้นไปอีก และถือเป็นตัวกระตุ้นให้ความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยรวมมีความสัมพันธ์มากขึ้น ในส่วนของไทยจากการที่ได้หารือกับประธานาธิบดี ลี มยอง-บัก ของเกาหลีใต้ ก็ได้รับการตอบรับด้วยดี โดยเฉพาะการแก้ปัญหาอุปสรรคในการค้าขายระหว่างกัน ทั้งนี้ เกาหลียังได้ประกาศมาตรการเพิ่มเติมหลายเรื่อง ทั้งการเพิ่มวงเงินช่วยเหลือให้อาเซียน หรือการจะส่งคนเข้ามาฝึกทักษะให้คนในอาเซียน ตรงนี้ถือเป็นความตั้งใจของเกาหลี ที่จะเป็นหุ้นส่วนที่ดีกับอาเซียน นอกจากนี้ เกาหลียังมีนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะมีการร่วมมือกันในอนาคต ภาพรวมของการจัดประชุมครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่น และความสำคัญ ที่เกาหลีให้กับภูมิภาคอาเซียน ในแง่ของการที่ต้องสร้างประชาคมเอเชียตะวันออกต่อไป โดยมีอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่จะเป็นแกนหลักสำคัญด้วย นี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อริเริ่มเอเชียใหม่ ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับเกาหลี จะเป็นตัวหลักสำคัญในแง่นโยบายเอเชียใหม่ โดยการประชุมครั้งนี้ยังมีการลงนามความตกลงว่าด้วยการลงทุน ซึ่งจะทำให้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับเกาหลีมีความสมบูรณ์ เชื่อว่าต่อไปการค้าการลงทุนระหว่างอาเซียนกับเกาหลีจะมีมากขึ้น และการประชุมครั้งนี้มีภาคเอกชนของไทยร่วมเดินทางมาด้วย น่าจะเป็นผลดีต่อไทย ที่จะเชิญชวนเกาหลีมาลงทุนในอนาคต ทั้งเรื่องอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน และการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับคณะนายกรัฐมนตรีนำคณะนักธุรกิจไทย 30 ราย เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจ โดยกลุ่มธุรกิจได้หารือกับนักธุรกิจเกาหลี ประกอบด้วย 4 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและภัตตาคารไทย อุตสาหกรรมกระดาษ ธุรกิจบริการดิจิทัลคอนเทนท์ และโรงพยาบาล และสถาบันเสริมความงาม ทั้งนี้ ผู้นำ 2 ฝ่าย ได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างภาคเอกชนทั้งสองประเทศ อาทิเช่น บริษัท Advance Agro Public Co.,Ltd ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดกระดาษนำเข้าของเกาหลี 36% ได้ลงนาม ร่วมกับบริษัท JDI Trading Co.,Ltd. (Korea) ผู้จัดจำหน่ายสินค้ากระดาษสำนักงาน และเครื่องคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของเกาหลีใต้เพื่อเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายกระดาษดับเบิ้ล เอ ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้ากระดาษไทยไปตลาดเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นปีละ 516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 18,000 ล้านบาท ในโอกาสนี้ ได้มีการลงนามเอ็มโอยู นำนักท่องเที่ยวเกาหลีไปใช้บริการรักษาพยาบาลสุขภาพด้าน Medical Tourism และ Wellness Tourism ในไทยจำนวน 2 ราย คือ บริษัท Happy day Tour Agent ลงนามกับบริษัทกลุ่ม Bangpakok Hospital Group และบริษัท GM 3T Korea ลงนามกับบริษัท PAI International คาดว่าจะเพิ่มการใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนไทยอีกกว่า 10,000 รายต่อปี และได้หารือกับ Mr. Shin Hyun Taek, Chairman of Korean Foundation for International Culture Exchange : KOFICE ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและกีฬาของรัฐบาลเกาหลี และทำหน้าที่ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมบันเทิง โดยจะร่วมกันสนับสนุนสร้างละครไทย-เกาหลี และยังมีการลงนามเป็นตัวแทนจำหน่ายผลงานภาพยนตร์การ์ตูน และเกมคอมพิวเตอร์ของบริษัทไทยในเกาหลี สินค้าอาหารเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ไทยมีศักยภาพสูงในตลาดเกาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กุ้ง และอาหารทะเล ซึ่งภายหลังข้อตกลงเอฟทีเออาเซียนกับเกาหลีที่ไทยเพิ่งลงนามมีผลบังคับใช้แล้ว จะส่งผลให้ไทยมีโอกาสทางการค้ามากขึ้น โดยปี 2551 ไทยส่งอาหารไปเกาหลีมูลค่ากว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 14,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เกาหลี เป็นประเทศที่มีการกีดกันทางการค้าสูงอันดับต้นๆ ของโลก อนุญาตให้นำเข้าสินค้าผลไม้สดจากไทยได้เพียง 5 ชนิดเท่านั้น

รายงานของ OECD ระบุว่า ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น 2.2 จุด แตะ 96.8 จุดในดือนมี.ค. ซึ่งถือว่าขยายตัวมากสุดใน 29 ประเทศในกลุ่ม แม้ว่าตัวเลขต่ำกว่า 100 จุดจะยังถือว่าหดตัวอยู่ก็ตาม ในขณะที่ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยของกลุ่ม OECD ลดลง 0.2 จุด แตะ 92.2 จุด แสดงให้เห็นว่าเกาหลีใต้รับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ดีกว่าประเทศอื่นมาก ทั้งนี้ เศรษฐกิจเกาหลีใต้มีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วที่สุดในกลุ่ม เนื่องจากมีปัจจัยชี้นำทางเศรษฐกิจเชิงบวก ตลาดเงินมีเสถียรภาพมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีตัวเลขเกินดุลการค้าด้วย โดยดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ที่ขยับใกล้ระดับ 100 จุดเข้าไปทุกที เป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้อาจกลับมาเข้าที่เข้าทางในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ