สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ญี่ปุ่น ปี 2552 (ม.ค.—เม.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 23, 2009 15:46 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง          :  Tokyo
พื้นที่               :  377,899  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ        :  Japanese
ประชากร           :  127.8 ล้านคน (October 2006)
อัตราแลกเปลี่ยน      :  100  เยน =  34.372 บาท (15/06/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                               1.9         1.4
Consumer price inflation (av; %)                  0.0         0.4
Budget balance (% of GDP)                        -2.6        -2.4
Current-account balance (% of GDP)                4.9         4.6
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        1.8         2.1
Exchange rate ฅ:US$ (av)                        117.4       105.0

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับญี่ปุ่น
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  4,684.63          100.00        -27.01
สินค้าเกษตรกรรม                      722.63           15.43        -15.49
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              531.48           11.35          6.52
สินค้าอุตสาหกรรม                    3,409.72           72.79        -27.37
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    20.81            0.44        -94.37
สินค้าอื่นๆ                               0.0             0.0       -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับญี่ปุ่น
                                         มูลค่า :        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              6,672.09         100.00       -39.39
สินค้าเชื้อเพลิง                               61.39           0.92        67.47
สินค้าทุน                                 2,952.77          44.26       -28.31
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                  2,650.14          39.72       -50.34
สินค้าบริโภค                                403.07           6.04       -20.10
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                 604.33           9.06       -40.17
สินค้าอื่นๆ                                    0.38           0.01       -76.64

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — ญี่ปุ่น
                                 2551            2552         D/%

(ม.ค. — เม.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม                  17,426.93       11,356.73     -34.83
การส่งออก                       6,418.43        4,684.63     -27.01
การนำเข้า                      11,008.50        6,672.09     -39.39
ดุลการค้า                       -4,590.08       -1,987.46     -56.70

2. การนำเข้า
ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 1 ของไทย มูลค่า 6,672.09  ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 39.39
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                  มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                 6,672.09         100.00         -39.39
1. เครื่องจักรกล                   1,538.36         -21.89         -24.97
2. เหล็ก เหล็กกล้า                   790.04          11.84         -45.02
3. เครื่องจักรไฟฟ้า                   634.99           9.52         -42.60
4. แผงวงจรไฟฟ้า                    487.95           7.31         -50.37
5. ส่วนประกอบและอุปกรณ์              463.49           6.95         -43.44
           อื่น ๆ                   434.90           6.52         -35.84

3. การส่งออก
ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 2 ของไทย มูลค่า 4,684.63 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 27.01
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                 มูลค่า :         สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                4,684.63          100.00         -27.01
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯ               300.89            6.42         -16.48
2.ไก่แปรรูป                        220.94            4.72          41.21
3.แผงวงจรไฟฟ้า                    208.23            4.45         -43.57
4.อาหารทะเลกระป๋องฯ               172.29            3.68          -3.90
5.ยางพารา                        149.44            3.19         -52.38
           อื่น ๆ                1,723.21           36.78         -38.63

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปญี่ปุ่น ปี 2552 (ม.ค. — เม.ย.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2551 และ 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ 6.98 และ 16.48) ในขณะที่ปี 2549 และ 2550 มีอัตรา ขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.40 และ 14.34 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ไก่แปรรูป : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 0.63 4.10 94.11 และ 41.21 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

แผงวงจรไฟฟ้า : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากฮ่องกง และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่า ปี 2551 และ 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ 12.64 และ 43.57) ในขณะที่ปี 2549 และ 2550 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.49 และ 10.27 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อาหารทะเลกระป๋องฯ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่า ปี 2549 และ 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ 2.15 และ 3.90) ในขณะที่ปี 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.58 และ 24.19 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ยางพารา : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่าปี 2550 และ 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ 13.29 และ 52.38) ในขณะที่ปี 2549 และ 2551 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.14 และ 17.40 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น ปี 2552 (ม.ค. — เม.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงมีรวม 7 รายการ คือ
      อันดับที่ / รายการ              มูลค่า          อัตราการขยายตัว          หมายเหตุ
                              ล้านเหรียญสหรัฐ           %
2.  ไก่แปรรูป                      220.94           41.21
8.  ส่วนประกอบอากาศยานฯ           128.28          225.99
17. อาหารสัตว์เลี้ยง                  84.69           13.81
22. กุ้งสดแช่เย็น  แช่แข็ง              72.08           35.77
23. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                  67.33           17.67
24. เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งฯ           64.26           74.92
25. น้ำตาลทราย                     64.26           14.84

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น ปี 2552 (ม.ค.- เม.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 18 รายการ คือ
    อันดับที่ / รายการ                                  มูลค่า          อัตราการขยายตัว
                                                 ล้านเหรียญสหรัฐ           %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ                       300.89            -16.48
3.แผงวงจรไฟฟ้า                                      208.23            -43.57
4.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                          172.29             -3.90
5.ยางพารา                                          149.44            -52.38
6.ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม                                    137.64             -4.21
7.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                     129.62            -24.77
9.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                          125.10            -54.84
10.เลนซ์                                            121.53            -30.18
11.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                           115.54            -17.13
12.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ                     112.74            -29.45
13.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล             101.13            -36.33
14.ผลิตภัณฑ์ยาง                                        94.00            -31.25
15.เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าฯ                     93.27             -2.27
16.เคมีภัณฑ์                                           88.43             -5.83
18.ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ                          83.05            -11.10
19.เม็ดพลาสติก                                        77.25            -17.95
20.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                        73.75            -19.88
21.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                                73.53            -11.44

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

เพื่อให้ขยายการส่งออกและเพิ่มปริมาณการจำหน่ายมังคุดในตลาดที่มีกำลังซื้อสูงบริษัท C.P. starlanes ได้เริ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขนส่งมังคุดทางเรือเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา และได้ควบคุมคุณภาพการขนส่งมังคุดที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งสามารถลดต้นทุนจากค่าขนส่งได้ถึง 60% จากที่เคยขนส่งทางอากาศเพียงอย่างเดียว โดยเชื่อว่าการส่งออกมังคุดไปยังญี่ปุ่น และออสเตรเลีย จะเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 150 ล้านตันหรือมีมูลค่าการส่งออกกว่า 250 ล้านบาท อย่างไรก็ดีสำหรับมังคุดที่ส่งออกนั้น ซี.พี.จะรับซื้อจากเกษตรในเครือข่ายกว่า 21 กลุ่มในลักษณะคอนแทรกฟาร์มมิ่งที่ผลิตมังคุดได้ทั้งในและนอกฤดูกาล โดยการผลิตทั้งหมดต้องถูกต้องตามสุขลักษณะของบริษัทที่กำหนดไว้ และต้องผ่านมามาตรฐานการผลิตที่เหมาะสม (GAP) ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งต้องตรวจสอบทั้งเรื่อง ขนาด ผิวของมังคุด ตรวจสอบเนื้อแก้วและยางไหลในเนื้อมังคุดด้วยวิธีแสกนเพื่อตรวจสอบภายในอย่างละเอียด ก่อนเข้าสู่กระบวนการสุดท้ายคือ อบไอน้ำก่อนส่งออกไปยังต่างประเทศ

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กล่าวว่า ผลการประชุมคณะทำงานร่วมตามกรอบความร่วมมือด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายใต้กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA) ที่จัดขึ้นโดย Japan Textile Federation(JTF) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลการพัฒนาสิ่งทอของญี่ปุ่นอย่างครบวงจร ณ กรุงโตเกียว ถือเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการพัฒนาสิ่งทอที่ไทยให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น ทั้งนี้ ในการประชุมได้มีการหารือถึงแผนความร่วมมือในอนาคต โดยในส่วนของโครงการพัฒนาร่วมนั้นทางญี่ปุ่นพร้อมจะส่งผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรอบรมให้ผู้ประกอบการไทยคาดว่าจะเริ่มโครงการได้ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ขณะที่โครงการ T3 Project Japanese Market Version ของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอซึ่งจะเป็นการช่วยพัฒนาผ้าผืนไทย ฝ่ายญี่ปุ่นเห็นควรกำหนดแผนดำเนินการ 1 ปี เพื่อให้ไทยผลิตผ้าผืนรองรับตลาดญี่ปุ่นได้ในช่วงที่ต้องการสูง สำหรับความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียน(AJCEP) ญี่ปุ่นเสนอให้ไทยเร่งรัดกระบวนการภายในเพื่อการบังคับใช้ตามข้อตกลง เพราะไทยยังดำเนินการไม่เสร็จ โดยญี่ปุ่นมีแผนลดการนำเข้าสิ่งทอจากจีนเพื่อหันมาร่วมมือกับอาเซียนมากขึ้น

แนวโน้มการผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังในไตรมาสที่ 2/52 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนคาดว่าจะลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ โดยในปี 2552 ทั้งปีคาดว่าอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังจะทรงตัวหรือลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เพราะปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่จากการเปิดตลาดกับประเทศใหม่ๆ มากขึ้นและประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการออกแบบและเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งการที่ EU และสหรัฐอเมริกาต่ออายุมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) รองเท้าจากประเทศจีนและเวียดนามอีก 2 ปี และเตรียมการตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) สำหรับอุตสาหกรรมรองเท้าของประเทศเวียดนาม โดยจะเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงขึ้น รวมทั้งการเปิดการค้าเสรีกับประเทศญี่ปุ่น ภายใต้กรอบ JTEPA จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้มากขึ้นในตลาดญี่ปุ่น

ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด สำนักงานใหญ่ของฮอนด้าประจำภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย เปิดเผยว่า บริษัทประสบความสำเร็จอีกขั้นของฮอนด้าประเทศไทย ในการส่งออกชิ้นส่วนและเครื่องยนต์ฮอนด้าระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI ไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยชิ้นส่วนและเครื่องยนต์ฮอนด้า ระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI นี้ ผลิตโดยบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังเขตลาดกระบัง โดยส่งออกไปยังโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ฮอนด้าที่จังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้ในการประกอบรถจักรยานยนต์ Super Cub 110 รุ่นใหม่ ซึ่งจะจำหน่ายที่ญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ จึงนับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของฮอนด้าประเทศไทยสำหรับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ 110 ซีซี ระบายความร้อนด้วยอากาศที่มาพร้อมกับระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI เป็นเทคโนโลยีล่าสุดเพื่อสิ่งแวดล้อมจากฮอนด้า ซึ่งให้สมรรถนะในการขับขี่เพิ่มมากขึ้น ค่าไอเสียสะอาดขึ้น และประหยัดน้ำมันยิ่งขึ้นในเวลาเดียวกัน ปัจจุบันเครื่องยนต์ดังกล่าวได้รับการ ติดตั้งและเป็นที่ยอมรับ ขึ้นแท่นรถจักรยานยนต์ยอดนิยมของคนไทยทั้งรุ่น CZ-i และ Wave 110i การที่ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ส่งออกชิ้นส่วนที่สำคัญ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI ไปยังประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นการการันตีถึงคุณภาพของวัตถุดิบ ศักยภาพของผู้ผลิตชิ้นส่วนและฐานการผลิตในประเทศไทย

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ