สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.—พ.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 24, 2009 12:24 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป
เมืองหลวง            :  Washington , DC
พื้นที่                 :  9,161,923  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ          :  English
ประชากร             :  301.6 ล้านคน (1 ก.ค. 2550)
อัตราแลกเปลี่ยน        :  US$ : 33.896 บาท  (22/06/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                               1.2        -2.0
Consumer price inflation (av; %)                  3.8        -0.6
Budget balance (% of GDP)                        -3.2       -11.5
Current-account balance (% of GDP)               -4.8        -3.5
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        2.2         0.3
Exchange rate ฅ:US$ (av)                        103.4        93.0

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหรัฐอเมริกา
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %        % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   6,003.85         100.00           -27.97
สินค้าเกษตรกรรม                       533.83           8.89           -26.03
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               730.31          12.16            -3.15
สินค้าอุตสาหกรรม                     4,618.61          76.93           -30.77
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    121.09           2.02           -35.60
สินค้าอื่นๆ                               0.01            0.0       529,901.75

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหรัฐอเมริกา
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               3,094.83         100.00         -33.56
สินค้าเชื้อเพลิง                                49.63           1.60         -64.99
สินค้าทุน                                  1,195.78          38.64         -27.70
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   1,394.13          45.05         -40.10
สินค้าบริโภค                                 397.28          12.84         -19.04
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                   40.72           1.32          11.02
สินค้าอื่นๆ                                    17.28           0.56         120.23

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหรัฐอเมริกา
                           2551            2552           %

(ม.ค.-พค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            12,993.15        9,098.68      -29.97
การส่งออก                 8,334.85        6,003.85      -27.97
การนำเข้า                 4,658.31        3,094.83      -33.56
ดุลการค้า                  3,676.54        2,909.02      -20.88

2. การนำเข้า
สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเข้า อันดับที่ 3 ของไทย มูลค่า 3,094.83 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 33.56
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                         3,094.83           100.00        -33.56
1.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                  404.14            13.06         -5.67
2.แผงวงจรไฟฟ้า                             300.89             9.72        -40.44
3.เคมีภัณฑ์                                  255.89             8.27        -43.20
4.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ                248.21             8.02          4.52
5.เครื่องคอมพิวเตอร์                          220.28             7.12        -45.52
               อื่น ๆ                       351.88           100.00        -26.31

3. การส่งออก
สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออก อันดับที่ 1 ของไทยมูลค่า 6,003.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.97
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

                                   มูลค่า :         สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                  6,003.85          100.00         -27.97
1.เครื่องคอมพิวเตอร์                 1,042.33           17.36         -30.07
2.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                     418.60            6.97         -29.58
3.อาหารทะเลกระป๋อง                  386.75            6.44          -3.59
4.ผลิตภัณฑ์ยาง                        312.03            5.20         -16.62
5.อัญมณีและเครื่องประดับ                274.39            4.57         -39.15
            อื่น ๆ                 1,176.92           19.60         -32.22

4. ข้อสังเกต
4.1  สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (มค.-พค.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากจีนและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่า ปี 2552 (มค.- พค.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง 30.07 ในขณะที่ปี 2549 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 44.83 17.40 และ 1.13 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เสื้อผ้าสำเร็จรูป : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.- พค.) พบว่ามีอัตราการขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ 2.26 5.81 8.09 และ 29.58 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อาหารทะเลกระป๋องฯ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2550 และ ปี 2552(มค.- พค.)ที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 6.04 และ 3.59 ในขณะที่ปี 2549 2551 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.25 และ 14.18 ตามลำดับ เมื่อเทียบ กับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

ผลิตภัณฑ์ยาง : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2552 (มค.- พค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 16.62 ในขณะที่ปี 2549-2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 23.36 11.87 และ 11.22 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อัญมณีและเครื่องประดับ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2549 และ ปี 2552(มค.- พค.) ที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 1.84 และ 39.15 ในขณะที่ปี 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 และ 4.78 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552(ม.ค.-พค.) 25 รายการแรก

สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูง มีรวม 2 รายการ คือ

      อันดับที่ / รายการ                     มูลค่า         อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                                     ล้านเหรียญสหรัฐ          %
9. กุ้งสด แช่เย็น  แช่แข็ง                    180.14           1.66
14.รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ               89.46          26.05


4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.-พค.) 25 รายการแรก
สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม  23 รายการ คือ

     อันดับที่ / รายการ                             มูลค่า         อัตราการขยายตัว
                                            ล้านเหรียญสหรัฐ          %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์                              1,042.33         -30.07
2.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                  418.60         -29.58
3.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                       386.75          -3.59
4.ผลิตภัณฑ์ยาง                                     312.03         -16.62
5.อัญมณีและเครื่องประดับ                             274.39         -39.15
6.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ                   265.19         -24.82
7.แผงวงจรไฟฟ้า                                   202.15         -36.79
9.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                            182.17          -7.33
10.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                 158.39         -43.41
11.ข้าว                                          151.63         -11.68
12.น้ำมันดิบ                                       120.43         -35.50
13.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                       114.42          -5.97
14.ยางพารา                                      103.50         -60.20
15.ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์ฯ                   102.89         -31.17
16.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                        102.20         -42.98
17.เครื่องโทรศัพท์  เครื่องตอบรับโทรศัพท์                 94.51         -18.36
18.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                  89.89         -36.77
20.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                     83.00         -23.28
21.เลนซ์                                          79.36         -11.59
22.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                             75.00         -24.68
23.เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัว                        72.30         -21.12
24.รองเท้าและชิ้นส่วน                                65.68         -35.86
25.เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ                 60.52         -15.68

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

บริษัท พี.เค.ฟู้ด คอร์ปอเรชั่น จำกัด นำเข้าสินค้ากลุ่มอาหารจากประเทศไทยไปจำหน่ายในสหรัฐ และปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการค้าระหว่างประเทศ (HTA) ประจำนครลอสแองเจลิส กล่าวว่า วิกฤติเศรษฐกิจทำให้พฤติกรรมการบริโภคสินค้าเปลี่ยนไป แต่บริษัทฯที่เน้นนำเข้าสินค้าไปตลาดกลุ่มดิสเคาท์สโตร์ เช่น วอล-มาร์ท มียอดจำหน่ายมากขึ้น หลังจากที่ผู้บริโภคจะลดการเดินซื้อสินค้าในดีพาร์ทเมนท์สโตร์ นอกจากนี้บริษัทเน้นการทำตลาด ผ่านการประมูลการจัดส่งสินค้าจำหน่ายให้เรือนจำในสหรัฐ ที่มีจำนวน 2.5 พันแห่งทั่วประเทศ เพราะเป็นกลุ่มตลาดที่มีกำลังซื้อและมีงบประมาณการซื้อ ทั้งในส่วนเรือนจำและผู้ต้องขังเอง โดยสินค้าที่มีโอกาสสูง ได้แก่ อาหารกระป๋องแปรรูป ทั้ง ทูน่าและกุ้งแปรรูปและแช่แข็ง เนื่องจากสินค้าดังกล่าวในตลาดสหรัฐเป็นกลุ่มที่มีราคาถูก

กระทรวงสาธารณสุขของประเทศสหรัฐ (US Food and Drug Administration) หรือ USFDA เห็นชอบให้กรมประมงเป็นบุคคลที่สาม (Third Party) ในการกำกับดูแลความปลอดภัยสินค้าประมงส่งออก ภายใต้โครงการนำร่องการตรวจสอบสินค้ากุ้งจากการเพาะเลี้ยง โดยวันที่ 2-3 มิ.ย. ที่ผ่านมา USFDA ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยอาหาร และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการมาตรวจประเมินกรมประมง ซึ่ง USFDA พึงพอใจและชื่นชมกรมประมง ที่มีการจัดเอกสารระบบการควบคุม ความปลอดภัยสินค้าประมงและระบบการควบคุมมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่สมบูรณ์ และได้มาตรฐานตามหลักสากล นอกจากนี้ในเดือน ส.ค.นี้ USFDA ยังจะตรวจประเมินศักยภาพของเจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแลมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งและเจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแลโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำอีกครั้ง ซึ่งในขณะนี้มีบริษัทแปรรูปสินค้ากุ้งที่ส่งออกในตลาดสหรัฐ สนใจเข้าร่วมโครงการ รวม 53 บริษัท หากผลการตรวจประเมินศักยภาพเจ้าหน้าที่ครั้งนี้แล้วเสร็จ USFDA จะนำผลการตรวจสอบมาจัดระบบ เพื่อประกาศรับรองและมอบหมายให้เป็นบุคคลที่สามในการตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยของสินค้ากุ้งจากการเพาะเลี้ยงแทน USFDA โดยกรมประมงจะเป็นหน่วยงานภาครัฐเพียงหน่วยงานเดียวในภูมิภาคนี้ ที่ได้รับการมอบหมายให้เป็นบุคคลที่สาม ที่ทำหน้าที่ตรวจรับรองสินค้ากุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงเพื่อส่งออกในตลาดสหรัฐ

จากการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ถือว่าน่ากลัวกว่าไข้หวัดนก เพราะเป็นการระบาดจากคนสู่คน ไม่ใช่การระบาดจากสัตว์สู่คนซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้ ทำให้มีความวิตกกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจหากยังไม่สามารถควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม หากไทยสามารถใช้วิกฤตเป็นโอกาส โดยการผลักดันการส่งออกอาหารเพิ่มขึ้นด้วยการสร้างความเชื่อมั่นในระบบการเลี้ยงที่ได้มาตรฐานเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก จากสถานการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็นโอกาสให้การส่งออกอาหารของไทยบางชนิดเพิ่มขึ้น คือ สุกรปรุงสุก, ไก่ปรุงสุกและอาหารทะเล และเนื้อสุกรแช่แข็ง ในส่วนของตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของการส่งออกกุ้งไทย หากความต้องการเนื้อสุกรลดลง มีความเป็นไปได้ที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะหันมาบริโภคกุ้งและปลาทูน่ากระป๋องแทน เนื่องจากเป็นอาหารทะเลที่มีความปลอดภัยที่สุดในขณะนี้ รวมทั้งตลาดสหรัฐฯ ให้ความเชื่อมั่นในคุณภาพกุ้งไทยไว้สูงมาก การขยายตลาดกุ้งในช่วงนี้จึงมีความเป็นไปได้สูง ในขณะที่เนื้อสุกรแช่แข็ง แม้ว่าฮ่องกงจะเป็นตลาดการส่งออกเนื้อสุกรแช่แข็งอันดับหนึ่งของไทย แต่เมื่อพิจารณาส่วนแบ่งตลาดเนื้อสุกรแช่แข็งของไทยในฮ่องกง พบว่าไทยมีส่วนแบ่งตลาดน้อยมากเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น โดยแหล่งนำเข้าเนื้อสุกรแช่แข็งที่สำคัญของฮ่องกง คือ บราซิล ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งร้อยละ 28 ของมูลค่าการนำเข้าเนื้อสุกรแช่แข็งทั้งหมด รองลงมาเป็นจีน และสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 26 และ 16 ตามลำดับ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ