เมืองหลวง : Moscow พื้นที่ : 17,075,200 ตารางกิโลเมตร ภาษาราชการ : รัสเซีย ประชากร : 142.3 ล้านคน (2006) F อัตราแลกเปลี่ยน : 1US$ = 1.087 RUB (29/06/2009) F (1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2551 ปี 2552
Real GDP growth (%) 6.0 1.0 Consumer price inflation (av; %) 14.1 12.6 Budget balance (% of GDP) 5.5 -3.1 Current-account balance (% of GDP) 6.0 -4.0 Commercial banks' prime rate (year-end; %) 13.0 12.0 Exchange rate ฅ:US$ (av) 24.9 34.5 โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยกับรัสเซีย มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 164.26 100.00 -53.43 สินค้าเกษตรกรรม 24.00 14.61 -60.35 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 19.99 12.17 -65.95 สินค้าอุตสาหกรรม 120.10 73.12 -48.45 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 0.16 0.10 -63.89 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00 โครงสร้างสินค้านำเข้าของไทยกับรัสเซีย มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 494.08 -46.04 -46.04 สินค้าเชื้อเพลิง 168.47 -46.21 -46.21 สินค้าทุน 2.01 145.20 145.26 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 321.41 -46.34 -46.34 สินค้าบริโภค 2.09 -9.05 -9.05 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 0.00 -99.11 -99.11 สินค้าอื่นๆ 0.09 -51.33 -51.33 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - รัสเซีย 2551 2552 %
(ม.ค.-พ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 1,268.38 658.34 -48.10 การส่งออก 352.68 164.26 -53.43 การนำเข้า 915.70 494.08 -46.04 ดุลการค้า -563.01 -329.82 -41.42 2. การนำเข้า รัสเซียเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 23 ของไทยมูลค่า 494.08 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 46.04 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 494.08 100.00 -46.04 1. เหล็ก เหล็กกล้า 255.90 51.79 -19.70 2. เชื้อเพลิงอื่นๆ 87.17 17.64 -3.91 3. น้ำมันดิบ 81.30 16.45 -60.46 4. ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืช และสัตว์ 28.06 5.68 -79.10 5. แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ 10.06 2.04 2.97 อื่น ๆ 0.12 0.02 -99.32 3. การส่งออก รัสเซียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 46 ของไทยมูลค่า 164.26 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 53.43 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออก 164.26 100.00 -53.40 1.รถยนต์ และอุปกรณ์ 25.45 15.49 -68.49 2.ข้าว 13.50 8.22 -63.49 3.เครื่องปรับอากาศ 13.07 7.96 1,232.92 4.เสื้อผ้าสำเร็จรูป 11.46 6.97 58.06 5.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 7.95 4.84 -72.44 อื่น ๆ 21.45 13.06 -47.49 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปรัสเซีย ปี 2552 (มค.-พค.) ได้แก่
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2552 (มค-พค.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 68.49 ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.14 259.10 และ 96.23 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
ข้าว : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2549 และ 2552(มค.-พค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 15.82 และ 63.49 ในขณะที่ปี 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 149.09 และ 125.28 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2551 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 48.65 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2552 (มค.-พค.) มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.60 301.77 และ 1,232.92 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อนโดยมีมูลค่าการส่งออกเปรียบเทียบปี 2550 -2552 (มค.-พค.) ดังนี้
2550 2551 2551 2552
(มค.-พค.) (มค.-พค.)
2.27 1.16 0.98 13.07
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 30.05 47.32 58.53 และ 58.06 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน
เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ : และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2549 และ 2552 (มค.-พค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 59.25 และ 72.44 ในขณะที่ปี 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.37 และ 309.07 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดรัสเซียปี 2552 (ม.ค.- พ.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มี
อัตราเพิ่มสูง มีรวม 6 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่าล้าน อัตราการขยายตัว หมายเหตุ เหรียญสหรัฐ % 3.เครื่องปรับอากาศและส่วนฯ 13.07 1,232.90 4.เสื้อผ้าสำเร็จรูป 11.46 58.06 9.เครื่องจักรกลและส่วนฯ 6.35 186.19 14.อาหารสัตว์เลี้ยง 3.43 103.27 20.เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง 1.34 1.63 22.ใบยาสูบ 1.33 49.54 4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดรัสเซียปี 2552 (ม.ค.- พ.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มี อัตราลดลง รวม 19 รายการ อาทิ อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว ล้านเหรียญสหรัฐ % 1.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 25.45 -68.49 2.ข้าว 13.50 -63.49 5.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 7.95 -72.44 6.อัญมณีและเครื่องประดับ 7.86 -48.04 7.เม็ดพลาสติก 7.00 -63.57 8.เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าฯ 6.46 -76.32 10.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 5.73 -66.29 11.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 5.54 -76.61 12.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 4.72 -13.39 13.ผลิตภัณฑ์ยาง 4.27 -31.73 17.ผักกระป๋องและแปรรูป 2.79 -64.68 18.ยางพารา 1.86 -49.83 21.ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 1.34 -74.64 4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
รัสเซียซึ่งมีชื่อเดิมว่าสหภาพโซเวียต ได้ยื่นความจำนงสมัครเข้าเป็นสมาชิก WTO ในปี 2536 หรือกว่า 16 ปีที่ผ่านมาซึ่งโดยทั่วไปการเข้าเป็นสมาชิก WTO นั้นจะต้องผ่านขั้นตอนการเจรจา 2 ขั้นตอนหลักๆ คือ 1) การเจรจาสองฝ่าย (Bilateral accession deal) ซึ่งประเทศสมาชิกเดิมสามารถขอเจรจาสองฝ่ายกับประเทศผู้สมัครขอเข้าเป็นสมาชิก เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่การขอให้เปิดตลาดสินค้าและบริการโดยปัจจุบัน รัสเซียยังไม่สามารถสรุปการเจรจาสองฝ่ายกับซาอุดิอาระเบียและจอร์เจียโดยยังมีอีก 2-3 ประเด็นกับซาอุดิอาระเบียที่ใกล้จะสรุปผลได้แล้ว 2) การเจรจาพหุภาคี (Multilateral Term of accession) ซึ่งเป็นการเจรจาต่อรองแบบพหุภาคีกับสมาชิกทั้งหมด เพื่อระบุสิ่งที่รัสเซียจะต้องปฏิบัติและปฏิรูป ระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมทั้งระบบการค้าภายในประเทศให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ WTO เช่น มาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช (SPS) โควตาภาษี (Tariff Quota) การจำกัดปริมาณการนำเข้า (Quantiative import restriction) ระเบียบการทางศุลกากร (Custom procedures) เป็นต้น ในการเจรจาระดับพหุภาคี มีหลายชาติสมาชิกยังแสดงความกังวลต่อรัสเซียในเรื่องหลักการและความโปร่งใสในการใช้มาตรการ SPS ที่ซ้ำซ้อนและเกินความจำเป็นปริมาณการอุดหนุนที่ยังอยู่ในระดับสุง และการปฏิบัติรูปมาตรการ ระเบียบ กฎเกณฑ์ทางการค้าให้เป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ รัสเซียได้ตั้งเป้าที่จะหาข้อสรุป ในการเจรจาและเข้าเป็นสมาชิก WTO ให้ได้ภายในปี 2553 นี้ ในส่วนของไทยนั้น ได้สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของรัสเซียอย่างเต็มที่และหวังว่ารัสเซียจะสามารถเข้าเป็นสมาชิก WTO ได้โดยเร็ว เนื่องจากไทยและรัสเซียมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาอย่างช้านาน พร้อมทั้งรัสเซียเองก็เป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยประเทศหนึ่งในภูมิภาคยุโรป เมื่อรัสเซียสามารถเข้าเป็นสมาชิก WTO จะส่งผลให้มีการปรับปรุงระเบียบภายในซึ่งจะเอื้อต่อผู้ประกอบการไทยในการขยายการค้า หรือแม้แต่การลงทุนไปสู่รัสเซียอย่างไรก็ดี คงจะไม่ใช่แต่ไทยที่จะได้รับประโยชน์แต่เพียงประเทศเดียว ประเทศคู่แข่งทางการค้าของไทยในตลาดรัสเซียก็จะได้รับประโยชน์เช่นเดียวกันด้วย
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของประเทศรัสเซียเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณร้อย ละ 7 ต่อปี ส่งผลต่อกำลังซื้อที่เพิ่มสูงขึ้นตามมา ซึ่งยังมีช่องว่างอีกมากสำหรับสินค้าอาหารจากประเทศไทย กลุ่มสินค้าอาหารนำเข้าที่สำคัญของ รัสเซีย ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้สด อาหารทะเลสด และอาหารแปรรูป ปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยบางรายสามารถนำสินค้า เข้าไปตีตลาดได้แล้ว โดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่มีวางจำหน่ายอยู่ที่ตลาดสดและซูเปอร์มาร์เก็ตระดับบน ราคาอยู่ที่ประมาณ 300 บาทต่อลูก และผลไม้อื่นๆ ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน อาทิ สับปะรด กล้วย มะม่วง และทับทิม เป็นต้น และในส่วนของผักที่นิยมบริโภค ได้แก่ มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ ผักกาด แตงกวา และมันฝรั่ง ทั้งนี้ สินค้าอีกประเภทที่ประเทศไทย มีโอกาสในตลาดรัสเซีย คือ ข้าว เนื่องจากปัจจุบันปริมาณการบริโภคข้าวของชาวรัสเซียมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ รัสเซียยังมีความต้องการนำเข้าอาหารแปรรูปทั้งในแบบบรรจุกระป๋อง แช่แข็ง และพร้อมรับประทานโดยมีมูลค่าการนำเข้ารวมกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยส่วนใหญ่จะนำเข้าจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก นำเข้าจากไทยประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี สินค้าที่สำคัญได้แก่ อาหารกระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ข้าวโพดหวานกระป๋อง เครื่องเทศ อาหารแปรรูปแช่แข็ง ต้มยำกุ้ง ข้าวผัด และผัดไทยแช่แข็ง เป็นต้น และสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดอาหารของรัสเซียภายใต้ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีอัตราการเติบโตค่อนข้างรวดเร็วในช่วงต้นปี 2552 ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของรัสเซียในปัจจุบันกว่าร้อยละ 80 เป็นสินค้าจากผู้ผลิตเกาหลีใต้ ตลาดกลุ่มนี้จะมุ่งเน้นบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพสูง และปัจจัยด้านราคาไม่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคนัก ซึ่งผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าอาหารของไทยน่าจะสามารถเจาะตลาดเข้าไปได้
บริษัท แอคโกร-ออน (ไทยแลนด์) จำกัด หนึ่งในผู้ส่งออกที่ได้รับรอง "SR Mark" ของกระทรวงพาณิชย์ ประจำปี 2552 เปิดเผยว่า บริษัทวางเป้าหมายการส่งออกสินค้า อาหารปีนี้จะขยายตัว 100% จากปีก่อนซึ่งมีการส่งออกราว 2,000 ตู้ เนื่องจากหลังจากเกิดการระบาดของโรคไข้หวัด สายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1) ส่งผลให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น หันมานิยมบริโภคพืชผักในสัดส่วนสูงขึ้น ขณะนี้ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพหลายแห่งยังมีกำลังซื้อดีไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจมากนัก ทั้งรัสเซีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เพื่อชดเชยตัวเลขการส่งออกไปยังตลาดหลักสหภาพยุโรปซึ่งมีสัดส่วนกว่า 50% แต่ตลาดนี้ชะลอตัวลงเพราะได้รับผลกระทบหลังจากสินค้าไทยถูกใช้มาตรการภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) จนทำให้ต้องหาตลาดใหม่ๆ บริษัทได้เดินทางไปทำตลาดรัสเซีย เพราะมีอัตราการขยายตัวสูง และเพิ่งได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ดีเด่น แกรนด์ เอ็กซ์โปจากรัฐบาลรัสเซียต่อเนื่องกันมา 3 ปีแล้ว โดยที่ได้รับความนิยม คือ ข้าวโพดหวานบรรจุขวดแก้วซึ่งบรรจุขวดละ 1 ฝัก ได้รับการตอบรับดีว่า เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และที่ผ่านมาค่าเงินรูเบิล (สกุลเงินรัสเซีย) ปรับอ่อนค่าลงส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย แต่ระยะทางไกลต้นทุนโลจิสติกส์สูงมาก ทำให้สินค้าที่วางขายในห้างค้าปลีกมีราคาสูงกว่าราคาส่งออกจากไทย 4-10 เท่า ตลาดรัสเซียมีอนาคตดี แต่มีการแข่งขันสูงโดยเฉพาะสินค้านำเข้าจากจีน ได้เปรียบเรื่องค่าขนส่งและภาษีนำเข้าอัตราต่ำกว่าทำให้ได้เปรียบสินค้าจากไทย ซึ่งไทยควรนำโมเดลที่จีนใช้ โดยการไปตั้งศูนย์กระจายสินค้า (ดีซี) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานการส่งออก
ที่มา: http://www.depthai.go.th