การประมงในอิหร่าน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 15, 2009 12:20 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านมีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 1,648,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีพรหมแดนชายฝั่งทะเลด้านทิศเหนือติดทะเลสาบแคสเปียนยาวประมาณ 900 กิโลเมตร และพรหมแดนด้านทิศใต้ติดกับอ่าวเปอร์เซียและทะเลสาบโอมานยาวประมาณ 1,800 กิโลเมตร ทั้งนี้ชายฝั่งทะเลดังกล่าวเป็นแหล่งการประมงที่สำคัญของอิหร่าน ซึ่งรวมทั้งบริเวณเกาะต่างๆ ในน่านน้ำของประเทศอีกด้วย

การบริหารจัดการการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในอิหร่านอยู่ภายใต้กฎหมายการคุ้มครองและการใช้ประโยชน์จากแหล่งประมงปี 1995 (The law of Protection and Exploitation of Fisheries Resources) และกฎหมายการใช้ประโยชน์และการคุ้มครองแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำปี 1976 (The Law Concerning the Exploitation and Protection of Aquatic Resources)

องค์การประมงแห่งชาติอิหร่าน (The Iranian Fisheries Organization) หรือ SHILAT เป็นหน่วยงานหลักที่ควบคุมดูแลการทำประมงในอิหร่าน ซึ่ง SHILAT อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง Ministry of Jehad-e-Sazandegi โดย SHILAT มีหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ เทคนิค การประกอบอาชีพ และศึกษา วิจัย ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการส่งออกสินค้าประมงของอิหร่าน

ขอบเขตการทำงานของ SHILAT จะเกี่ยวข้องกับนโยบายการทำการประมงใต้น้ำและการประมงต่างๆ โดยมีส่วนราชการอื่นๆ เกี่ยวข้องด้วยอีก 4 องค์กร ได้แก่ สำนักงานสิ่งแวดล้อม องค์กรสัตว์แพทย์ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และกระทรวงพลังงานอิหร่าน (สำนักงานแหล่งธรรมชาติใต้น้ำ) ภายใต้กฎหมายปี 1995 มาตราที่ 14 ของนโยบายการบริหารทรัพยากรธรรมชาติสำหรับเรือเดินทะเลชาวอิหร่านและน่านน้ำภายในประเทศ ได้ตรากฎหมายโดย SHILAT จะเป็นผู้วิเคราะห์และแนะนำการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

ตามแผนพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมฉบับที่ 4 ปี 2005-2010 มาตราที่ 18 ได้ระบุว่า รัฐบาลควรเตรียมการวางแผนการพัฒนาด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้คือการพอเพียงด้วยตนเอง (Self-sufficiency) ด้านการผลิตวัตถุดิบด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำพื้นฐาน รวมทั้งการแก้ปัญหาความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์อาหารและการผลิต การเพิ่มปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพิ่มผลผลิตทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมง โดยเฉพาะการเพิ่มการผลิตแหล่งโปรตีนด้านอาหารทะเล

ผลผลิตด้านการประมง

ภายหลังการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ผลผลิตด้านการประมงภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบัน อิหร่านผลิตสินค้าการประมงกว่า 400,000 ตัน เพิ่มขึ้นในอัตราส่วนร้อยละ 12.32 จากปี 1978 แหล่งการประมงที่สำคัญในอิหร่านมี 3 แห่ง ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1                                                           หน่วย: ตัน
พื้นที่                                          1978         1998         2000
ผลผลิตที่ได้จากน่านน้ำด้านทิศใต้                    25,500    2,226,500      352,222
ผลผลิตที่ได้จากน่านน้ำด้านทิศเหนือ                   3,724      101,500      142,475
ผลผลิตที่ได้จากบริเวณชายฝั่งและเกาะ                3,219       72,000      875,000
ผลรวม                                      32,443      400,000    1,367,475

การส่งออก

รัฐบาลอิหร่านมีนโยบายในการส่งเสริมการส่งออกสินค้านอกเหนือจากน้ำมัน (non-oil exports) โดยสินค้าประมงเป็นสินค้าอีกประเภทหนึ่งที่รัฐบาลให้การสนับสนุน มูลค่าการส่งออกสินค้าประมงตั้งแต่ปี 1989-1998 แสดงดังตารางต่อไปนี้

หน่วย: เหรียญสหรัฐฯ
สินค้า             1989    1990    1991    1992    1993      1994     1995     1996      1997    1998    2002
ปลาคาร์เวีย      40,718  53,211  52,077  42,004  31,050    31,863   39,620   34,540    33,683  38,360  57,500
ปลา sturgeon    2,190     335   3,071   2,807   1,384       687      396    1,384  1,023.50     609   6,000
กุ้ง              6,075   6,600   5,574   7,800   7,000     9,000    3,588    8,664     8,986   9,567  14,000
ปลากระป๋อง          NA      58      92     185   1,000       225       90        -       365       -       -
อื่นๆ                NA     414     544   2,590   4,372  10,160.7  1,157.1  4,160.3     5,658   3,785       -
รวม            48,983  63,618  61,358  55,386  44,796  51,935.7 44,851.1 48,738.3  49,715.5  52,321  77,500

การจับสัตว์น้ำในน่านน้ำอิหร่าน

เรือประมงของต่างชาติที่ประสงค์จะเข้ามาจับสัตว์น้ำในน่านน้ำอิหร่านต้องจดทะเบียนกับสมาคมท่าเรือและเรือประมงอิหร่านภายใต้ความเห็นชอบของ SHILAT และ Ministry of Jehad-e-Sazandegi โดยนักลงทุนต่างชาติต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของอิหร่านอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ อิหร่านยังไม่มีประมวลกฎหมายครอบคลุมภาคเอกชนด้านการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แต่มีประมวลกฎหมายเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาล

สถานภาพของอิหร่าน

อิหร่านเป็นสมาชิกของ

1. NACA (Network of Aquaculture Centres in Asia and the Pacific)

2. INFOFISH (Marketing Information and Advisory Services for Fish Products in the Asia/pacific Region)

3. RECOFI (Regional Commission for Fisheries)

4. OIE (World Organisation for Animal Health)

5. Codex Alimentarius Commission

อิหร่านเป็นฝ่ายของ

1. CITES (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora)

2. CBD (Convention on Biological Diversity)

ขั้นตอนการอนุญาตทำการประมง

กฎหมายการใช้ประโยชน์และการคุ้มครองแหล่งทรัพยากรทางน้ำปี 1976 มาตราที่ 32-35 กำหนดระเบียบการขอใบอนุญาตการทำการประมง อยู่ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายกิจการทางทะเลโดยผู้ต้องการทำการประมงในอิหร่านจะต้องได้รับการอนุมัติจาก SHILAT และภายใต้มาตราที่ 17 ของกฎหมายคุ้มครองและการใช้ประโยชน์แหล่งทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลปี 1995 ได้กำหนดว่าการทำกิจการทางทะเลทุกประเภทต้องได้รับการอนุมัติจาก SHILAT เช่นกัน ทั้งนี้มาตราที่ 18 ของกฎหมายปี 1995 ระบุว่าหากการทำกิจกรรมประมงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล มิให้อนุญาตทำการประมงในอิหร่าน นอกจากนี้ การก่อสร้างและการดำเนินการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะต้องขออนุญาต ภายใต้นโยบายการทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการประมงปี 1999 และปรับปรุงแก้ไขปี 2007 กำหนดโดยการนั้นจำเป็นสำหรับ

หน่วยงานที่มีอำนาจการตัดสินการออกใบอนุญาตในอิหร่านคือ SHILAT และสำนักงานสิ่งแวดล้อม (The Department of Environment) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ภายใต้มาตราที่ 15 ของนโยบายการทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการประมง SHILAT จะพิจารณาความเหมาะสมของโครงการหรือกิจการที่ถูกเสนอมาที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและความสัมพันธ์ระหว่างโครงการการพัฒนาแห่งชาติ SHILAT มีหน้าที่รับผิดชอบการยืนยันแผนโครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งหมด และควบคุมกิจการต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำตามระเบียบที่กำหนด
  • สำนักงานสิ่งแวดล้อม จะรับผิดชอบเรื่องการออกคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในการก่อตั้งและการดำเนินการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นการประกันถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งเป็นการปกป้องพื้นที่จากการพัฒนาโครงการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งนี้ สำนักงานสิ่งแวดล้อมมีอำนาจสูงสุดในการกำกับดูแลการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในอิหร่าน และดำเนินการตามที่ SHILAT เสนอแนะ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการพิจารณาอนุมัติการดำเนินกิจการทางทะเลใดๆ ในอิหร่าน
เวปไซท์ที่เกี่ยวข้อง

1. Law of Protection and Exploitation of the Fisheries Resources of the Islamic Republic of Iran.

http://www.fao.org/fishery/shared/faolextrans.jsp?xp_FAOLEX=LEX-FAOC016944&xp_faoLexLang=E&xp_lang=en

2. Law concerning the Exploitation and Protection of Aquatic Resources of the Islamic Republic of Iran

http://www.fao.org/fishery/shared/faolextrans.jsp?xp_FAOLEX=LEX-FAOC001671&xp_faoLexLang=E&xp_lang=en

          3. Regulations on Environmental Protection Law. http://www.fao.org/fishery/shared/faolextrans.jsp?xp_FAOLEX=LEX-          FAOC034984&xp_faoLexLang=E&xp_lang=en

4. Iran Fisheries Organization (Shilat) http://www.iranfisheries.net/english/

5. Food and Agriculture Organization of the United Nations

http://www.fao.org/fishery/legalframework/nalo_iran/en

6. Iran Department of Environment http://www.irandoe.org/en/index.htm

สำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ