สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - จีน ปี 2552 (ม.ค.—พ.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 15, 2009 14:20 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง          : Beijing
พื้นที่               : 9,561,000  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ        : Putonghua, or Standard Chinese
ประชากร           : 1.31 พันล้านคน (end-2006)
อัตราแลกเปลี่ยน      : CNY :  Baht 4.9482 (13/07/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                               9.0         6.0
Consumer price inflation (av; %)                  5.9        -0.2
Budget balance (% of GDP)                        -0.1        -3.6
Current-account balance (% of GDP)               10.2         6.1
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        5.6         5.4
Exchange rate ฅ:US$ (av)                         6.95        6.84

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับจีน
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  5,467.21          100.0         -21.31
สินค้าเกษตรกรรม                      863.65           15.8         -25.14
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              100.56           1.84           6.06
สินค้าอุตสาหกรรม                    4,045.11          73.99         -15.88
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                   457.89           8.38         -48.59
สินค้าอื่นๆ                              0.0             0.0           -100

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับจีน
                                         มูลค่า :        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               5,830.61       100.00         -28.24
สินค้าเชื้อเพลิง                                64.09         1.10         -46.67
สินค้าทุน                                  2,553.84        43.80         -19.47
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   1,827.74        31.35         -42.32
สินค้าบริโภค                               1,254.99        21.52         -18.66
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                   83.23         1.43         -31.11
สินค้าอื่นๆ                                    46.71         0.80       4,914.06
ข้อสังเกต : (สำหรับสินค้าอื่น ๆ  ในปี 2552 (มค.-พค.) มีมูลค่าการนำเข้า 46.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ
ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการนำเข้าเพียง  0.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 4,914.06)

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - จีน
                         2551           2552          %

(ม.ค.—พ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม           15,072.92      11,297.82    -25.05
การส่งออก                6,947.83       5,467.21    -21.31
การนำเข้า                8,125.08       5,830.61    -28.24
ดุลการค้า                -1,177.25        -363.41    -69.13

2. การนำเข้า
จีนเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 2 ของไทย  มูลค่า 5,830.61  ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 28.24
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                        มูลค่า :          สัดส่วน %        % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                        5,830.61          100.00         -28.24
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ                  912.22           15.65         -19.21
2.เครื่องจักรไฟฟ้าฯ                          801.94           13.75         -17.06
3.เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน                       549.67            9.43         -27.01
4.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                 530.02            9.09         -17.13
5.เคมีภัณฑ์                                 400.46            6.87         -30.50
         อื่น ๆ                            713.12           12.23         -28.55

3.  การส่งออก
จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับที่  3 ของไทย มูลค่า 5,467.21 ล้านเหรียญสหรัฐ  ลดลงร้อยละ 21.31
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                               มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม               5,467.21         100.00         -21.31
1.เครื่องคอมพิวเตอร์              1,456.99          26.65         -27.83
2.ยางพารา                       512.32           9.37         -35.23
3..เคมีภัณฑ์                       453.25           8.29          29.47
4.เม็ดพลาสติก                     413.72           7.57         -16.13
5.แผงวงจรไฟฟ้า                   264.67           4.84         -18.17
          อื่น ๆ                  670.60          12.27         -21.22

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปจีน ปี 2552 (มค.- พค.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 0.79 59.89 และ 21.91 ตามลำดับ ในขณะที่ ปี 2552 (มค.- พค.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 27.83 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ยางพารา : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 66.11 17.51 และ 21.91 ตามลำดับ ในขณะที่ ปี 2552 (มค.- พค.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 35.23 เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เคมีภัณฑ์ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่าปี 2551 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 36.83 ในขณะที่ปี 2549 25550 และ 2552 (มค.-พค.) มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้น 126.08 9.49 และ 29.47 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

เม็ดพลาสติก : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 18.95 9.33 และ 8.08 ตามลำดับ ในขณะที่ ปี 2552 (มค.- พค.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 13.98 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

แผงวงจรไฟฟ้า : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย รองจากญี่ปุ่น และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2551 และ 2552 (มค.- พค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 10.26 และ 18.17ในขณะที่ปี 2549 และ2550 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.64 และ 33.11 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีนปี 2552 (ม.ค. - พค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่ม

สูงโดยสูงกว่าร้อยละ 20 มีรวม 6 รายการ คือ

   อันดับที่ / รายการ                 2551       2552     อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                                     (ม.ค.-พ.ค.)           %

มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ

3.เคมีภัณฑ์                          350.08    453.25        29.47
6.ผลิตภัณฑ์ยาง                       183.36    240.52        31.17
8.ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                 148.35    188.11        26.80
15.เครื่องโทรศัพท์/ตอบรับ               17.72     55.26       211.92
17.เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า       41.95     51.01        21.59
23.น้ำตาลทราย                       10.04     33.75       236.14

เครื่องโทรศัพท์/ตอบรับ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2551 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 11.06 ในขณะที่ปี 2549 25550 และ 2552 (มค.- พค.) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 10.16 125.34 และ 211.92 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

น้ำตาลทราย : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 7 ของไทย รองจากญี่ปุ่น และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่า ปี 2550 และ 2551 มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 27.85 และ 37.57ในขณะที่ปี 2549 และ2552 (มค.-พค.) อัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 120.14 และ 236.14 ลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีนปี 2552 (ม.ค. - พค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 16 รายการ คือ

    อันดับที่ / รายการ                            มูลค่า        อัตราการขยายตัว
                                          ล้านเหรียญสหรัฐ          %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์                      1,456.99        -27.83
2.ยางพารา                                     512.32        -35.23
4.เม็ดพลาสติก                                   413.72        -16.13
5.แผงวงจรไฟฟ้า                                 264.67        -18.17
6.น้ำมันสำเร็จรูป                                 240.36        -48.83
9.น้ำมันดิบ                                      130.05        -64.96
12.มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า                     68.68         -7.33
13.วงจรพิมพ์                                     67.62        -13.25
14.ข้าว                                         58.45        -33.22
16.ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง                     54.79         -6.88
19.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                       43.13        -43.39
20.เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น           39.47         -6.79
21.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                      37.17        -28.71
22.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                36.87        -26.80
24.เครื่องทำสำเนา                                32.37        -44.17
25.แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า                 27.84         -3.25

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

หลังจากร่วมคณะโรดโชว์ประเทศจีนกับนายกรัฐมนตรีเมื่อเร็วๆ นี้ การร่วมคณะครั้งนั้นทำให้หลายๆ ธุรกิจสามารถเจรจาหาพันธมิตรร่วมธุรกิจได้หลายราย เช่นเดียวกับ บริษัทไทยฮั้ว ยางพารา จำกัด (มหาชน) รายงานว่าจากร่วมคณะทางไทยฮั้วได้มีการเจรจาทางธุรกิจ และพร้อมที่จะร่วมลงทุนกับบริษัทจีน ซึ่งเป็น 1 ใน 5 อันดับของจีน เพื่อลงทุนผลิตยางรถบรรทุกในไทย การที่บริษัทต้องหาพันธมิตรร่วมทุน เนื่องจากเห็นว่า ขณะนี้เศรษฐกิจโลกเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เมื่อโรงงานเดินสายการผลิตได้แล้วก็จะอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวพอดี การลงทุนครั้งนี้คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 5,000 ล้านบาท โดยไทยฮั้วจะลงทุนในสัดส่วน 30% ส่วนบริษัทร่วมทุนจากจีนลงทุน 70% บริษัทร่วมทุนจากจีนเป็นบริษัทที่มีความชำนาญและมีเทคโนโลยีในการผลิตยางรถสูง ส่วนไทยฮั้วไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เพราะถือเป็นการลงทุนครั้งแรกที่ผลิตยางรถบรรทุก การตัดสินใจร่วมทุนเพื่อผลิตยางรถบรรทุก เนื่องจากการผลิตยางรถบรรทุกต้องใช้ปริมาณยางธรรมชาติจำนวนมาก โดยยางรถบรรทุกต้องใช้ยางธรรมชาติถึง 90% แต่ใช้ยางสังเคราะห์เพียง 10% การผลิตยางรถบรรทุกเป็นการเพิ่มมูลค่าของยางพาราที่ไทยฮั้วผลิตได้มากขึ้น ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะใช้ยางพาราของไทยฮั้วทั้งหมด การลงทุนครั้งนี้คาดว่าจะได้

ข้อสรุปภายในปี 2552 คาดว่าในปี 2553 น่าจะเริ่มผลิตยางรถบรรทุกได้ โดยมีเป้าหมายที่จะส่งออกยางรถบรรทุกที่ผลิตได้ไปยังตลาดอาเซียน เนื่องจากได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า ขณะเดียวกันยังมองตลาดตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย และสหภาพยุโรป (อียู) เป็นกลุ่มเป้าหมายด้วย เชื่อว่าการลงทุนครั้งนี้จะได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่กิจการแปรรูปสินค้าเกษตร ที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในปี 2552 จีนเป็นตลาดใหญ่มีความต้องการยางพาราจำนวนมาก กลายเป็นตลาดหลักในการส่งออก ไทยฮั้วจึงตั้งสำนักงานที่จีน ทำการตลาดโดยเฉพาะ พร้อมส่งทีมงานจากไทยเข้าไปติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจจีนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว อย่างไรก็ตาม การผลิตยางคอมปาวด์เป็นการแปรรูปขั้นต้น เพื่อนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ต่อไป โดยภาษีนำเข้ายางคอมปาวด์ของจีนยังเป็น 0 ส่วนภาษีนำเข้ายางดิบจะอยู่ที่ 20% บริษัทจึงเลือกที่จะส่งออกยางคอมปาวด์ไปประเทศจีนเพิ่มขึ้น ในส่วนของจีนสนใจที่จะเข้ามาลงทุนแปรรูปยางพาราในไทยมาก เชื่อว่าในอนาคตจะทำให้ยางพาราของไทยมีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ามากขึ้น ระหว่างที่ร่วมคณะไปโรดโชว์กับนายกรัฐมนตรีปลายเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา มีบริษัทแปรรูปยางพาราของจีนที่มีขนาดใหญ่ 5 บริษัทสนใจที่จะเข้ามาลงทุนแปรรูปยางพาราในไทย โดยใช้ไทยเป็นศูนย์กลางผลิต เพื่อส่งกลับไปใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ของจีน และส่งออกจำหน่ายทั่วโลก สาเหตุที่นักลงทุนจีนตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทย เนื่องจากไทยมีการผลิตยางจำนวนมาก ขณะที่จีนเป็นตลาดสำคัญของไทย โดยเฉพาะนครฉงชิ่ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมรถของจีน ทั้งรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และส่วนประกอบรถยนต์

จีน-อินเดีย เตรียมขึ้นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์โลกแทนสหรัฐอเมริกาในอนาคต เตือนผู้ประกอบการไทยรับมือการเปลี่ยนแปลง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าหลังจากเกิดวิกฤตทางการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าจะส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบไปด้วย และทำให้ตลาดอื่นๆ ในโลกมีโอกาสเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดใหญ่ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นตลาดจีนหรืออินเดีย ที่จะก้าวเข้ามาเป็นฐานผลิตหลักของอุตสาหกรรมยานยนต์โลกในอนาคต ทั้งนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการชาวไทยจะ ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ก็คือหาทางเข้าสู่ตลาดเหล่านี้ให้ได้ เมื่อ มีการเปลี่ยนฐานเกิดขึ้นจริง เนื่องจาก ที่ผ่านมาผู้ประกอบการชาวไทยมองตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรปเป็นหลักมาโดยตลอด หากเกิดการเปลี่ยนแปลงกับอุตสาหกรรมยานยนต์โลกจริง ก็ต้องปรับตัวตามให้ได้อย่างรวดเร็ว โดยในอนาคตกว่า 45% ของกำลังการผลิตรถยนต์จะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งผู้ประกอบการไทยเองก็ต้องติดตามสถานการณ์ในเรื่องนี้ให้มาก นอกจากนี้ ก็จะต้องพัฒนาในเรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้ก้าวขึ้นเป็นฐานผลิตที่สำคัญเช่นกัน สำหรับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยนั้น เชื่อว่าจุดต่ำสุดจะอยู่ที่ช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ขณะที่สัญญาณการฟื้นตัวจะเริ่มในช่วงไตรมาส 3 และ จะเริ่มเห็นการฟื้นตัวอย่างจริงจังในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ แต่ทั้งนี้ต้องดูสถานการณ์อื่นๆ ประกอบ เช่น ในเรื่องของ ราคาน้ำมันที่เริ่มปรับตัวขึ้นอีกครั้ง ว่าจะ ส่งผลกระทบหรือไม่ ขณะที่ผลกระทบ จากไฟแนนซ์เชื่อว่าไม่มีปัญหาในส่วนของรถยนต์นั่ง แต่รถปิกอัพอาจจะยังยากอยู่ตามภาวะของตลาด

เป็นเวลากว่า 5 ปี (29 มิถุนายน 2547) ที่มีการลงนามความตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับฮ่องกง (Closer Economic Partnership Arrangement: CEPA ) ซึ่งความตกลงดังกล่าวถือเป็นการเปิดเสรีทางการค้าครั้งแรกระหว่างฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ ยังประโยชน์ให้ฮ่องกงเป็นอย่างมาก อาทิทำให้มูลค่าการส่งออกฮ่องกงไปจีนแผ่นดินใหญ่ ในปี 2551 (539 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกในปี 2547 สร้างงานให้คนฮ่องกงเพิ่มขึ้นประมาณ 43,200 ตำแหน่ง และจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่มาเยือนฮ่องกงสร้างรายได้ให้กับธุรกิจในฮ่องกงเพิ่มขึ้น เป็นเงินกว่า 58,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และจากการลงนามร่วมมือเพิ่มเติมครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 9 พค.ที่ผ่านมา ทำให้เปิดเสรีทางการค้าในธุรกิจบริการ ครอบคลุมเพิ่มขึ้นอีก 20 ธุรกิจบริการ (รวมครอบคลุมสินค้าและบริการทั้งสิ้น 42 กลุ่มธุรกิจ) จึงคาดได้ว่าการค้าขายระหว่างกันของจีนและฮ่องกงจะขยายเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต อย่างไรก็ตาม ขณะที่ CEPA ช่วยในการขยายโอกาสทางธุรกิจให้ ฮ่องกงเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันฮ่องกงก็มองว่าเป็นภัยคุกคามเช่นกัน และจำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวทางเศรษฐกิจและนโยบายภาครัฐให้เท่าทัน เพราะปัจจุบันความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่มีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ความจำเป็นของฮ่องกงในการเป็นหน้าต่างหรือสะพานเชื่อมสู่จีนก็จะลดน้อยลง ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อ CEPA ขยายออกไป บริษัทที่มีคุณภาพและเป็นมืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการในฮ่องกงก็จะหันไปที่จีนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการพัฒนาของฮ่องกงในระยะยาวและปัจจุบัน ฮ่องกงได้ผลักดันให้รัฐบาลจีนส่งเสริมบทบาทของฮ่องกง โดยเสนอให้จีนบรรจุแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการบริการ 6 สาขา ได้แก่ การตรวจสอบและออกใบรับรอง การแพทย์และสาธารณสุข การศึกษา สิ่งแวดล้อม การบริการเชิงความคิดสร้างสรรค์ และนวตกรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งฮ่องกงถือว่าเป็นจุดแข็งของตนไว้ในแผนพัฒนาแห่งชาติของจีน ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 12 (2554-2558) ด้วยรวมทั้งการส่งเสริมให้ฮ่องกงมีบทบาทหลักในการพัฒนาเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน ออกมาเปิดเผยเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า นโยบายเชิญชวนให้บริษัทต่างชาติเข้าไปจดทะเบียนเพื่อจำหน่ายหุ้น IPO ภายในประเทศจีนนี้เกี่ยวโยงกับความพยายามของรัฐบาลที่จะหยุดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงของต่างชาติ(เอฟดีไอ) ไหลเข้าจีนลดลงติดต่อกันมา 8 เดือนจนน่าเป็นห่วง และคาดหวังว่ารัฐบาลจีนจะมีการประกาศนโยบายสร้างเสถียรภาพด้านการลงทุนในเร็วๆนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเป็นลู่ทางส่งเสริมให้เอฟดีไอไหลเข้าประเทศ การเชิญชวนบริษัทต่างชาติในจีนให้เข้าจดทะเบียนในตลาดทุนจีน จะช่วยเพิ่มโอกาสในการระดมทุนได้มากขึ้น ซึ่งตอนนี้มีธนาคารต่างชาติเริ่มมองถึงโอกาส หนึ่งในนี้คือ ธนาคารขนาดใหญ่สุดในยุโรป หรือ เอชเอสบีซี โฮลดิ้ง ที่คาดหมายกันว่าจะเป็นรายแรกที่เข้าไปร่วมสนับสนุนแผนก้าวไปสู่ไฟแนนเชียลฮับของจีนโดยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นายไมเคิล จอร์จ เฮแกน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอชเอสบีซี กล่าวว่าทางธนาคารกำลังรอที่จะเข้าไปจดทะเบียนกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้เมื่อมีประกาศอนุญาตทันที

ทั้งนี้ จีนเจรจาที่จะเปิดให้ต่างชาตินำบริษัทเข้าจดทะเบียนเพื่อกระจายหุ้นในตลาดหุ้นจีนมานานเป็น 10 ปี แต่ไม่มีความคืบหน้าเกิดขึ้น ขณะที่ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เอฟดีไอไหลเข้าจีนเพิ่มสูงขึ้นกว่าเท่าตัว โดยเฉพาะนับตั้งแต่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก(ดับบลิวทีโอ) เมื่อปี 2544 โดยตัวเลขในปี 2551 เอฟดีไอไหลเข้าจีนพุ่งขึ้นถึง 92,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ในปีนี้เอฟดีไอกลับลดลงชัดเจนสืบเนื่องมาจากวิกฤติการเงิน นอกจากจีนแล้ว เกือบทุกประเทศในเอเชีย พยายามผ่อนปรนกฎเกณฑ์ข้อกำหนดเพื่อดึงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น โดยล่าสุดมาเลเซียได้ประกาศยกเลิกข้อกำหนดที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องจัดสรรหุ้นให้กับคนมาเลย์ ถือ 30% เพื่อเปิดทางให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น ถือเป็นการเคลื่อนไหวอีกทางหนึ่งของหลายประเทศในเอเชียที่ต้องการดึงเอฟดีไอไหลเข้าประเทศเพื่อช่วยฟื้นเศรษฐกิจท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่มีใครให้ความมั่นใจได้ว่าจะผ่านจุดตกต่ำสุดหรือจะเริ่มฟื้นตัวได้เมื่อใด

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ