สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ฝรั่งเศส ปี 2552 (ม.ค.—พ.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 15, 2009 14:47 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง          :  Paris
พื้นที่               :  657,417 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ        :  Dialects
ประชากร           :  63.7 ล้านคน (2006) F
อัตราแลกเปลี่ยน      :  1 Eur  = 46.9662 RUB (10/07/2009) F

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                       0.3        -3.5
Consumer price inflation (av; %)          2.8        -0.1
Budget balance (% of GDP)                -3.4        -6.6
Current-account balance (% of GDP)       -1.8        -1.7
Exchange rate ฅ:US$ (av)                 1.47        1.36

โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยกับฝรั่งเศส
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                    620.77          100.00         -22.27
สินค้าเกษตรกรรม                      60.90             9.81         -46.78
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              66.91            10.78           1.84
สินค้าอุตสาหกรรม                     492.86            79.39         -20.14
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    0.10             0.02         -92.66
สินค้าอื่นๆ                              0.0              0.0            0.0

โครงสร้างสินค้านำเข้าของไทยกับฝรั่งเศส
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                                640.11          100.00           6.59
สินค้าเชื้อเพลิง                                3.02            0.47         -34.76
สินค้าทุน                                   285.39           44.59          80.86
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                    153.68           24.01         -32.11
สินค้าบริโภค                                151.80           23.72         -21.45
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  12.31            1.92         -31.59
สินค้าอื่นๆ                                   33.91            5.30       6,625.82

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ฝรั่งเศส

                           2551            2552         D/%

(ม.ค.-พ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             1,399.13        1,260.88       -9.88
การส่งออก                   798.59          620.77      -22.27
การนำเข้า                   600.54          640.11        6.59
ดุลการค้า                    198.05          -19.34

2. การนำเข้า
ฝรั่งเศสเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 15 ของไทย มูลค่า 640.11 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.59
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                          640.11           100.00           6.59
1.เครื่องบิน เครื่องร่อนอุปกรณ์                  165.89            25.92         457.16
2.ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัช                    74.08            11.57          -7.60
3.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                  53.02             8.28          16.03
4.เคมีภัณฑ์                                  47.66             7.45         -38.24
5.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ                33.25             5.19         -13.92
          อื่น ๆ                            50.79             7.94         -34.44

3. การส่งออก
ฝรั่งเศสเป็นตลาดส่งออกอันดับที่  21  ของไทยมูลค่า 620.77  ล้านเหรียญสหรัฐ  ลดลงร้อยละ 22.27
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                        มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออก                           620.77          100.00         -22.27
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์                  48.26            7.77         -19.07
2.เครื่องปรับอากาศ/ส่วนประกอบ               47.36            7.63          -0.29
3.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                          43.22            6.96         -31.56
4.อัญมณีและเครื่องประดับ                     34.55            5.57         -30.01
5.เลนซ์                                  28.35            4.57          28.41
         อื่น ๆ                          155.44           29.43         -15.74

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไป ฝรั่งเศส ปี 2552 (มค.-พค.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : ฝรั่งเศสเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 18 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่าปี 2552 (มค-พค.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 19.07 ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.47 18.81 และ 28.39 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ : ฝรั่งเศสเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 9 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่า ปี 2550 เพียงปีเดียวมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 135.65 ในขณะที่ปี 2549 2551และ 2552 มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 1.57 32.88 และ 0.29 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เสื้อผ้าสำเร็จรูป : ฝรั่งเศสเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่า ปี 2549 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.37 ในขณะที่ปี 2549 2551 และ 2552 มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 8.19 27.49 และ 31.56 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของ ปีก่อน

อัญมณีและเครื่องประดับ : ฝรั่งเศสเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 14 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่าปี 2552 (มค-พค.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 30.01 ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.63 32.78 และ 8.80 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เลนซ์ : ฝรั่งเศสเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 2.98 45.60 75.82 และ 28.41 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดฝรั่งเศสปี 2552 (ม.ค.- พ.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มี

อัตราเพิ่มสูงมีรวม 8 รายการ คือ

   อันดับที่ / รายการ                      2551       2552     อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                                          (ม.ค.-พ.ค.)           %

มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ

5.เลนซ์                                  22.08    28.35        28.41
8.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป               23.01    26.82        16.53
9.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ           13.70    21.82        59.20
10.เครื่องโทรศัพท์  /เครื่องตอบรับ             11.23    19.81        76.43
14.รองเท้าและชิ้นส่วน                        9.30    12.58        35.27
15.รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ               0.40    10.08     2,436.70
16.โกโก้และของปรุงแต่ง                      9.63     9.65         0.20
25.เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์                   4.87     5.57        14.16

เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ : ฝ รั่งเศสเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 11 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่า ปี 2550 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 10.36 ในขณะที่ปี 2549 2551 2552 (มค-พค.) มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.65 52.91 และ 59.20 ตามลำดับฌมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เครื่องโทรศัพท์ /เครื่องตอบรับ : ฝรั่งเศสเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่าปี 2549 -2550 มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 4.71 28.71 ในขณะที่ปี 2551 2552 (มค-พค.)มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 601.72 และ 76.43 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ : ฝรั่งเศสเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 11 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่าปี 2550 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 41.43 ในขณะที่ปี 2549 2551 2552 (มค-พค.) มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.71 665.71 และ2,436.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดฝรั่งเศสปี 2552 (ม.ค.- พ.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 17 รายการ อาทิ
    อันดับที่ / รายการ                            มูลค่า        อัตราการขยายตัว
                                          ล้านเหรียญสหรัฐ          %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์                        48.26          -19.07
2.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                   47.36           -0.29
3.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                43.22          -31.56
4.อัญมณีและเครื่องประดับ                           34.55          -30.01
6.ผลิตภัณฑ์ยาง                                   27.86          -40.68
7.ข้าว                                         27.26          -13.10
11.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                    16.52          -66.99
12.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                         12.72          -10.17
13.เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ              12.67          -13.32
17.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                      9.35          -42.17
18.เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า                 9.10           -3.06
19.ยางพารา                                     8.74          -84.72
20.ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์                   7.95          -57.76
21.เครื่องใช้สำหรับเดินทาง                          6.85          -23.15
22.เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัว                      6.74          -50.94
23.เครื่องกีฬาและเครื่องเล่มเกม                      5.91          -19.98
24.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                       5.60          -51.28

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

ฝรั่งเศสได้จัดไทยเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญลำดับต้นๆ และเห็นว่าไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสะพานการค้าสู่ประเทศอินโดจีน และพร้อมที่จะขยายความ ร่วมมือกับไทยในทุกๆด้าน รวมทั้งด้านยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyewady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) และร่วมลงทุนในโครงการ Mega projects ของไทย ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าอันดับต้น ๆ ของไทย โดยเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ในกลุ่มสหภาพยุโรป รองจากเยอรมัน อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 21 และเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 15 ของไทย

ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า

1. ปัญหาด้านกฎระเบียบด้านการค้าทั้งของฝรั่งเศสและของสหภาพยุโรป ซึ่งบางครั้งไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในทางปฏิบัติฝรั่งเศสมักจะเข้มงวดตรวจสอบมากกว่า ประเทศสมาชิกสหภาพฯ อื่นๆ

2. ปัญหาสุขอนามัยเป็นปัญหาที่พบบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในสินค้าประมง อาทิ การตรวจพบ cadmium ในปลาหมึกแช่แข็ง หรือการพบเชื้อ salmonella ในปลาแช่แข็ง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สินค้านำเข้าจากบริษัทที่มีปัญหาถูกใช้มาตรการเข้มงวด/ตรวจสอบ ทั้งนี้ สินค้าประมง เป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าที่ถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) ซึ่งทำให้ความสามารถ ในการแข่งขันของสินค้าไทยลดลงอยู่แล้วการเกิดปัญหาด้านสุขอนามัยขึ้นอีกจะยิ่งส่งผลต่อการส่งออกสินค้าของไทย

3. ปัญหาคุณภาพสินค้าไทย บางประเภทยังไม่ได้มาตรฐานตลาด ซึ่งต้องมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันต่อไป

4. ตลาดฝรั่งเศสเป็นตลาดเสรี มีการแข่งขันสูงมีการกีดกันและป้องกันตนเอง อุปสรรคด้านการตลาดเฉพาะตัว ตามข้อมูลที่ได้รับจากผู้นำเข้ารายใหญ่พบว่า ผู้บริโภคชาวฝรั่งเศสมีรสนิยมที่แตกต่าง จากกลุ่มผู้บริโภคในประเทศอื่นๆ อาทิเช่น กรณีของสับปะรดกระป๋อง ผู้บริโภคนิยมสับปะรดกระป๋องที่มีความเข้มข้นของน้ำเชื่อมสูง (มีความหวานมาก) และคำนึงถึงสีสันของเนื้อสับปะรดด้วย

5. ความเข้มงวดทางด้านกฎระเบียบเกี่ยวกับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยเหตุที่ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการออกแบบรูปแบบสินค้าต่างๆ ฝรั่งเศสจึงให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งด้านลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และทรัพย์สิน ทางปัญญาด้านอุตสาหกรรมต่างๆ โดยถือปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายสากลระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและระเบียบปฏิบัติภายในของฝรั่งเศสอีกส่วนหนึ่งด้วย ในแง่นี้ ฝรั่งเศสจึงมี ปัญหาทางการค้ากับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งไทยอยู่มาก โดยเฉพาะ ความผิดเรื่องการลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ซึ่งพบว่า 7 ใน 10 ของเครื่องหมายการค้า ที่พบว่ามีการลอกเลียนแบบนั้น เป็นเครื่องหมายการค้าของฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังพบว่า สินค้าลอกเลียนแบบที่ถูกจับกุมและยึดโดยศุลกากรฝรั่งเศส มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทยมากที่สุด

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ