1. การผลิตอาหารแปรรูปนับเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญอีกแขนงหนึ่งของเยอรมนี รองจากการผลิตยานพาหนะ เครื่องจักรกลและเคมีภัณฑ์ มีคนงานที่เกี่ยวข้องรวม 530,000 คนในจำนวนกิจการทั้งสิ้น 5,800 ราย ถึงแม้ว่าในปี 2551 ที่ผ่านมาจะเกิดผลกระทบสืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในอุตสาหกรรมทุกแขนงก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับปี 2550 แล้วในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารยังมีคนงานและจำนวนกิจการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.3 และ 0.4 ตามลำดับ นอกจากนี้ตามตัวเลขของสมาคมอุตสาหกรรมอาหารเยอรมัน ในปี 2551 ที่ผ่านมาในเยอรมนีมียอดขายสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 155,000 ล้านยูโร ในจำนวนนี้เป็นการขายในประเทศมูลค่า 112,600 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ในขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 42,400 ล้านยูโร การที่มูลค่าเพื่มขึ้นมากมิได้เกิดจากความต้องการของตลาดมีเพิ่มมากขึ้น แต่เกิดจากราคาวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต (สินค้าพลังงาน ค่าขนส่งและบรรจุภัณฑ์) เพิ่มสูงขึ้นมากส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการส่งออก
2. สำหรับปี 2552 ถึงแม้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศจะถดถอยมากก็ตาม แต่สมาคมฯ คาดว่า มูลค่าการผลิตอาหารของเยอรมนียังคงมีโอกาสที่ดี และจะมีมูลค่าใกล้เคียงกับปี 2551 ที่ผ่านมาหรือสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กน้อย ปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรมแขนงนี้ คือ การแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะร้านค้าประเภท Discounter ที่แข่งกันลดราคาสินค้าลงมาก ปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ การควบกิจการโดยผู้ประกอบการใหญ่ที่ปัจจุบันบริษัทยักษ์ใหญ่ 5 อันดับแรกของเยอรมนีมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันสูงถึงร้อยละ 75 ของยอดรวมทั้งสิ้น
ผลผลิตสินค้าอาหารแปรรูปในเยอรมนีปี 259 — 2551 มูลค่า = ล้านยูโร ลำดับ ระหัส สินค้า 2549 2550 2551 51:50 กิจการ สัดส่วน +/- % % ผลผลิตรวมทั้งสิ้น (พันล้านยูโร) 1,216,143 1,307,786 1,341,803 2.60 15 อาหาร และอาหารสัตว์ 115,809.70 122,921.20 132,055.00 7.43 5,370 100.00 1 1551 นมและผลิตภัณฑ์ 16,207.70 18,530.70 19,081.60 2.97 167 14.45 2 1513 ผลิตภัณฑ์ทำจากเนื้อสัตว์ 14,135.80 14,283.40 14,490.80 1.45 1,114 10.97 3 1511 เนื้อสัตว์ (ไม่รวมสัตว์ปีก) 10,584.00 10,571.40 13,379.70 26.56 655 10.13 4 1581 ขนมปัง (ไม่รวมประเภทคุ๊กกี้) 10,448.00 11,226.20 12,116.60 7.93 2,363 9.18 5 1584 ขนมหวาน 7,697.40 7,895.80 8,335.70 5.57 202 6.31 6 1598 น้ำแร่ น้ำผลไม้ไม่มีอัลกอฮอล์ 7,622.70 7,309.80 7,329.80 0.27 400 5.55 7 1596 เบียร์ 6,314.90 6,068.80 6,088.60 0.33 310 4.61 8 1589 อาหารอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง 4,381.90 4,575.20 4,754.40 3.92 310 3.60 9 1571 อาหารสัตว์เลี้ยงเพื่อการบริโภค 2,914.90 3,609.00 4,577.60 26.84 148 3.47 10 1582 คุ๊กกี้ ขนมปังกรอบต่างๆ 3,432.90 3,648.70 3,896.60 6.80 301 2.95 11 1533 ผักและผลไม้แปรรู)อื่นๆ 3,170.30 3,388.80 3,685.30 8.75 213 2.79 12 1561 ผลิตภัณฑ์ประเภทถั่ว 2,536.60 3,069.80 3,677.70 19.80 133 2.78 13 1586 ชา กาแฟ 2,832.00 2,951.30 3,345.10 13.35 66 2.53 14 1512 สัตว์ปีกและเนื้อสัตว์อื่นๆ 1,970.20 2,506.90 2,902.80 15.79 151 2.20 15 1587 ซ๊อส เครื่องปรุงรส 2,661.40 2,744.20 2,839.10 3.46 131 2.15 16 1883 น้ำตาล 2,619.70 2,739.50 2,443.50 -10.80 14 1.85 17 1542 น้ำมัน ไขมัน กลั่นกรองแล้ว 1,932.10 2,187.90 2,254.50 3.04 26 1.71 18 1532 น้ำผลไม้ น้ำผัก 1,965.80 2,069.80 2,234.80 7.97 113 1.69 19 1520 ปลาและผลิตภัณฑ์ 1,657.20 1,711.30 1,789.40 4.56 99 1.36 20 1541 น้ำมัน ไขมัน ดิบ 1,314.30 1,662.50 1,783.10 7.25 35 1.35 21 1572 อาหารสัตว์เลี้ยงอื่นๆ 1,337.10 1,413.20 1,569.20 11.03 77 1.19 22 1562 แป้งและผลิตภัณฑ์ 1,007.70 1,141.00 1,241.70 8.83 29 0.94 23 1552 ไอสครีม 999.8 1,135.20 1,094.40 -3.59 32 0.83 24 1593 เหล้าองุ่น 823.5 909.0 1,050.40 15.55 39 0.80 25 1531 มันฝรั่งและผลิตภัณฑ์ 943.2 986.3 9,982.10 912.10 67 7.56 26 1591 สุรา 944.4 900.6 917.6 1.88 58 0.69 27 1585 ผลิตภัณฑ์ทำจากแป้ง 669.2 744.4 858.7 15.36 66 0.65 28 1543 มาการีนและไขมันอื่นๆ เพื่อการบริโภค 699.2 731.1 775.0 6.00 14 0.59 29 1588 อาหารเด็กและไดเอต... ขนาด 723.0 729.4 758.0 3.92 23 0.57
บรรจุไม่เกิน 250 กรัม
30 1597 มอล์ท 409.5 556.5 706.2 26.91 33 0.53 31 1594 ไวน์ผลไม้อื่นๆ และเครื่องดื่มปนอัลกอฮอล์ 294.1 296.6 311.3 4.97 194 0.24 32 1592 เอธิลอัลกอฮอล์ 156.0 162.1 167.0 3.05 19 0.13 33 1595 บรั่นดี * * * 9 0 34 1599 การแปรรูปอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง * * * 24 0
(การย้อมสีไข่...) ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ เยอรมนี
3. ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2549 — 2551) เยอรมนีผลิตอาหารแปรรูปเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 123,595 ล้านยูโร และในปี 2551 ผลิตเป็นมูลค่า 132,055 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 7.4 สินค้าอาหารที่เยอรมนีผลิตได้มากสูงสุดจะเป็นนม เนย และผลิตภัณฑ์ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2549 — 2551) มีการผลิตเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 17,940 ล้านยูโร ในปี 2551 ผลิตเป็นมูลค่า 19,081.6 ล้านยูโร คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 14.4 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 รอง ลงมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำจากเนื้อสัตว์ ได้แก่ ไส้กรอกต่างๆ มีมูลค่าการผลิตโดยเฉลี่ยปีละ 14,303 ล้านยูโรและในปี 2551 มีมูลค่า 14,490.8 ล้านยูโร คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 10.9 มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.4 เนื้อสัตว์ (ไม่รวมสัตว์ปีก) มีการผลิตในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2549 — 2551) เป็นมูลค่า โดยเฉลี่ยปีละ 11,512 ล้านยูโร และในปี 2551 ผลินเป็นมูลค่า 13,379.7 ล้านยูโร คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 10.1 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 สินค้าสำคัญๆ รองลงมา ได้แก่ ขนมปัง และขนมเค็ก ขนมหวานต่างๆ มีการผลิตในปี 2551 เป็นมูลค่า 12,116 และ 8,335 ล้านยูโรตามลำดับ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และ 5.6 ตามลำดับ
4. การส่งออก
ในปี 2551 ที่ผ่านมาเยอรมนีส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศเป็นมูลค่า 1.465 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เฉพาะสินค้าเกษตรและอาหาร พิกัด H.S 01 — 24 เป็นมูลค่า 77,726 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5 ของการส่งออกทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 สำหรับในช่วง 3 เดือนแรกปี 2552 มีการส่งออกทั้งสิ้นเป็นมูลค่า 259,080 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 31.5 โดยส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร พิกัด H.S 01 — 24 เป็นมูลค่า 77,726 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.3 ของการส่งออกทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 สำหรับในช่วง 3 เดือนแรกปี 2552 มีการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเป็นมูลค่า 16,006.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.1 (รายละเอียดสินค้าเกษตรส่งออก ในตารางแนบ 1) สินค้าส่งออกที่สำคัญๆ ได้แก่
4.1 บุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบ (พิกัด 2402) มีมูลค่าการส่งออกโดยเฉลี่ยปีละ 3,667 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการส่งออกมูลค่า 914.8 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 14.0 ตลาดส่งออกที่สำคัญๆ ได้แก่ อิตาลี สเปน และฝรั่งเศส มีส่วนแบ่งร้อยละ 24.3, 14.4 และ 13.6 ตามลำดับ
4.2 เนื้อสุกร (พิกัด 0203) มีมูลค่าการส่งออกโดยเฉลี่ยปีละ 3,114 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการส่งออกมูลค่า 880.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ตลาดส่งออกที่สำคัญๆ ได้แก่ อิตาลี โปแลนด์ และเนเธอแลนด์ มีส่วนแบ่งร้อยละ 20.0, 12.9 และ 12.2 ตามลำดับ
4.3 เนยและผลิตภัณฑ์ (พิกัด 0406) มีมูลค่าการส่งออกโดยเฉลี่ยปีละ 3,734 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการส่งออกมูลค่า 840.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 24.1 ตลาดส่งออกที่สำคัญๆ ได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส และเนเธอแลนด์ มีส่วนแบ่งร้อยละ 25.5, 9.6 และ 8.8 ตามลำดับ
5. การนำเข้า
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2549 — 2551) เยอรมนีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 836,310 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นสินค้าเกษตรและอาหาร พิกัด H.S 01 — 24 มูลค่า 81,504 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 9.7 ของการนำเข้าทั้งสิ้น สำหรับในช่วง 3 เดือนแรกปี 2552 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 223,420 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 26.2 โดยเป็นสินค้าเกษตรและอาหาร พิกัด H.S 01 — 24 มูลค่า 20,617 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 9.2 ของการนำเข้าทั้งสิ้น มูลค่าลดลงร้อยละ 10.9 (รายละเอียดการนำเข้าสินค้าเกษตรสำคัญๆ ในตารางแนบ 2) สินค้านำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่
5.1 เนยและผลิตภัณฑ์ (พิกัด 0406) มีมูลค่าการนำเข้าโดยเฉลี่ยปีละ 3,462 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 804.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 23.7 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส และเดนมาร์ค มีส่วนแบ่งร้อยละ 29.3, 25.4 และ 12.2 ตามลำดับ
5.2 กาแฟ เปลือกและเยื่อของกาแฟ (พิกัด 0901) มีการนำเข้ามูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 2,819 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ามูลค่า 727.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 4.3 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ บราซิล เวียตนามและโคลัมเบียมีส่วนแบ่งร้อยละ 28.8, 14.5 และ 6.6 ตามลำดับ
5.3 ไวน์ทำจากองุ่น (พิกัด 2204) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 2,765 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ามูลค่า 614.1 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 14.3 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส และสเปน มีส่วนแบ่งร้อยละ 35.3, 28.0 และ 13.1 ตามลำดับ
6. การนำเข้าจากประเทศไทย
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2549 — 2551) เยอรมนีนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 3,180 ล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวนนี้เป็นสินค้าเกษตรและอาหาร พิกัด H.S 01 — 24 มูลค่า 386.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 12.2 ของการนำเข้าสินค้าทั้งสิ้นจากไทย สำหรับในช่วง 3 เดือนแรกปี 2552 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 713 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 23.0 โดยเป็นสินค้าเกษตรและอาหาร พิกัด H.S 01 — 24 มูลค่า 98.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 13.8 ของการนำเข้าทั้งสิ้นจากไทย มูลค่าลดลงร้อยละ 8.0 (รายละเอียดสินค้าส่งออกในตารางแนบ 3) สินค้านำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่
6.1 เนื้อสัตว์และส่วนต่างๆ (พิกัด 1602) มีมูลค่าการนำเข้าจากไทยโดยเฉลี่ยปีละ 77.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 3 เดือนแรกปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) เยอรมนีนำเข้าเป็นมูลค่า 259.9 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 6.7 จากไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 5 มูลค่า 22.1 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.5 มูลค่าลดลงร้อยละ 11.8 สินค้าส่วนใหญ่ของไทยจะเป็น เนื้อไก่แปรรูป ไก่ต้มสุก พิกัด 1602 32 19 และ 1602 39 29 แหล่งนำเข้าอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ บราซิล เนเธอแลนด์ และออสเตรีย มีส่วนแบ่งร้อยละ 17.6, 17.0 และ 10.9 ตามลำดับ
6.2 ผลไม้แปรรูป (พิกัด 2008) มีการนำเข้าจากไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 52.2 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) เยอรมนีนำเข้าเป็นมูลค่า 277.0 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 16.4 เป็นการนำเข้าจากไทยมูลค่า 14.9 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 5.4 มูลค่าลดลงร้อยละ 10.0 สินค้าสำคัญๆ ของไทยส่วนใหญ่จะเป็น สับปะรดกระป๋อง พิกัด 2008 20 มีสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 75 ของการนำเข้าสินค้า พิกัดนี้จากไทย แหล่งนำเข้าอื่นๆ ได้แก่ ตุรกี เนเธอแลนด์ และ กรีก มีส่วนแบ่งร้อยละ 28.8, 14.5 และ 6.6 ตามลำดับ
6.3 กุ้ง หอย ปูแปรรูปและกระป๋อง (พิกัด 1605) จากไทยมีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 35.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) เยอรมนีนำเข้าเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 58.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 26.2 จากไทยนำเข้ามูลค่า 10.3 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นอันดับที่ 2 รองจากเนเธอแลนด์ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 17.8 มูลค่าลดลงร้อยละ 23.9 สินค้าสำคัญๆ ของไทยส่วนใหญ่จะเป็น กุ้งกระป๋อง พิกัด 1605 20 10 และ 91 แหล่งนำเข้าอื่นๆ ได้แก่ เนเธอแลนด์ เดนมาร์ค และฝรั่งเศส มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 23.0, 15.2 และ 8.4 ตามลำดับ
7. สรุป : ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกและโดยเฉพาะในเยอรมนีที่มีแนวโน้มถดถอยลงมาก โดยได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 2552 จะลดลงถึงร้อยละ 6 เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศลดน้อยลงมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เครื่องจักรกล และเคมีภัณฑ์ ทำให้กิจการที่เกี่ยวข้องผลิตสินค้าลดลง ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีถดถอยลงมาก อย่างไรก็ตาม ในด้านสินค้าอาหารซึ่งยังคงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต นั้น ปรากฏว่าในช่วง 5 เดือนแรกปี 2552 นี้ กลับมีการผลิตเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 การตลาดโดยรวมยังคงดำเนินไปได้ด้วยดี และคาดว่า ตลอดทั้งปีจะมียอดการขายที่ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้านี้ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การตลาดสินค้าอาหารยังคงดำเนินไปได้ด้วยดี เนื่องจากมีการแข่งขันกันอย่างมาก กิจการประเภท Discounter ต่างแข่งขันกันลดราคาสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคซื้อสินค้ามากขึ้น และได้ผลในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากต้นทุนสินค้า ได้แก่ วัตถุดิบในการผลิต การขนส่งเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ไม่สามารถลดราคาสินค้าให้ต่ำลงอีกได้
สำหรับอาหารของไทยนั้น ในภาพรวมยังกล่าวได้ว่า มีโอกาสที่แจ่มใสอยู่ ในขณะที่การนำเข้าจากไทยทั้งสิ้นในช่วง 3 เดือนแรกปี 2552 ลดลงร้อยละ 22.98 แต่มีการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากไทย (พิกัด 01 — 24) เป็นมูลค่า 98.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดน้อยลงจากปีก่อนเพียงร้อยละ 7.97 เนื่องจากไทยมีปัญหาในการผลิต ขาดแคลนวัตถุ มีภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน การขนส่งสูง อย่างไรก็ตาม แหล่งผลิตสินค้าอื่นๆ ที่สามารถส่งออกสินค้าทำนองเดียวกับของไทยต่างมีปัญหาเช่นเดียวกับไทยเช่นกัน โดยสรุป โอกาสของสินค้าไทยในตลาดเยอรมนีจึงยังคงแจ่มใส ดำเนินไปได้ด้วยดี การเร่งแก้ไขปัญหาต่างๆในการผลิต การพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพสินค้าอาหารให้ได้มาตรฐาน มีความสม่ำเสมอ สร้างสรรค์รูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายและสอดคล้องกับความนิยมของตลาด โดยเฉพาะสินค้าสุขภาพ สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ตลาดยังมีความต้องการสูง เหล่านี้จะส่งเสริมให้การส่งออกสินค้าไทยไปเยอรมนีมีมูลค่าเพิ่มสูงยิ่งขึ้นไปอีกได้
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ กรุงเบอร์ลิน
ที่มา: http://www.depthai.go.th