GDP ครึ่งปีแรกของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 CPI ลดลงร้อยละ1.1

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 22, 2009 12:11 —กรมส่งเสริมการส่งออก

นับแต่ต้นปีที่ผ่านมา มาตรการรับมือภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกของรัฐบาลกลางจีนได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงทุกพื้นที่ ยังผลให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจของจีนได้พัฒนาขึ่นมาอย่างมั่นคง เอาชนะอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นมาได้ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในครึ่งปีแรกมูลค่า 13.9862 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 หากจำแนกตามไตรมาส ไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ไตรมาสสองเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และหากจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมปฐมภูมิมูลค่าเพิ่มขึ้น 1.2025 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ3.8 อุตสาหกรรมทุติยภูมิมูลค่าเพิ่มขึ้น 7.0070 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ6.6 อุตสาหกรรมตติยภูมิมูลค่าเพิ่มขึ้น 5.7767 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3

1. ผลผลิตธัญพืชเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมา6ปี ผลผลิตปศุสัตว์เพิ่มขึ้นในอัตราคงที่

ปริมาณผลผลิตธัญญพืช 1.2335 ร้อยล้านตัน เพิ่มจากปีที่ผ่านมา 2.6ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เพิ่มอย่างต่อเนื่องมา 6 ปี ในครึ่งปีแรกที่ผ่านมาปริมาณการผลิตเนื้อวัว แพะ และสัตว์ปีก 35.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ปริมาณผลผลิตเนื้อสุกร 23.63 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1

2. อุตสาหกรรมการผลิตฟื้นตัวรวดเร็ว ผลกำไรภาคอุตสาหกรรมดีขึ้น

อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ไตรมาสแรกเพิ่มร้อยละ 5.1 ไตรมาสที่สองเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 แยกตามประเภทอุตสาหกรรม รัฐเป็นผู้ประกอบการหรือถือหุ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ1.7 ผู้ประกอบการรวมกลุ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ5.9 ผู้ประกอบการแบบหุ้นส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ9.4 ผู้ประกอบการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 แบ่งตามอุตสาหกรรมหนักและเบา อุตสาหกรรมหนักเพิ่มขึ้นร้อยละ6.6 อุตสาหกรรมเบาเพิ่มขึ้นร้อยละ8.2 และหากแบ่งตามเขตพื้นที่ ภาคตะวันออกเพิ่มขึ้นร้อยละ5.9 ภาคกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ6.8 ภาคตะวันตกเพิ่มขึ้นร้อยละ13.2 อัตราการขายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในครึ่งปีแรกขายได้ร้อยละ97.2

3. การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โครงสร้างการลงทุนปรับตัวดีขึ้น

ครึ่งปีแรกการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมูลค่า 9.1321 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ33.5 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในเขตเมืองมูลค่า7.8098ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ33.6 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในเขตชนบทมูลค่า1.3223ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.7 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในเขตเมืองในอุตสาหกรรมปฐมภูมิเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.9 อุตสาหกรรมทุติยภูมิมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ29.0 และอุตสาหกรรมตติยภูมิมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 หากแบ่งตามเขตพื้นที่ ภาคตะวันออกการลงทุนในเขตเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ26.7 ภาคกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ38.1 ภาคตะวันตกเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.1 การลงทุนในสิ่งก่อสร้างพื้นฐาน (ไม่รวมพลังงานไฟฟ้า) เพิ่มขึ้นร้อยละ57.4 การขนส่งทางรถไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ126.5 การขนส่งทางหลวงเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.7 การดูแลจัดการสาธารณูปโภคสิ่งแวดล้อมและชลประทาน เพิ่มขึ้นร้อยละ54.5 ประกันสังคม สวัสดิการสังคม และสาธารณสุขเพิ่มขึ้นร้อยละ71.3 บันเทิง กีฬาและวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.1

4. การค้าขายตลาดภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างเร็ว เขตชนบทเพิ่มขึ้นมากกว่าในเมือง

การค้าปลีกในครึ่งปีแรกที่ผ่านมามีมูลค่ารวม 5.8711ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ15.0 เมื่อหักลบปัจจัยด้านราคาแล้วเพิ่มขึ้นจริงร้อยละ16.6 มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคและบริโภคในเขตเมืองมูลค่า 3.9833 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 การค้าปลีกสินค้าอุปโภคและบริโภคในเขตชนบทมูลค่า1.8878 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ16.4 แบ่งตามประเภท ค้าปลีกและค้าส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 บ้านพักและร้านอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ18.1 ค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ28.3 รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1

5. การค้าต่างประเทศลดลงอย่างมาก ตัวเลขการค้าเกินดุลย์ลดลง

ครึ่งปีแรกยอดการนำเข้าและส่งออกมีมูลค่า 9.461แสนล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ23.5 มูลค่าการส่งออก 5.215 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ21.8 การนำเข้ามูลค่า 4.246 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 25.4 เกินดุลย์ 9.69หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีที่แล้ว 2.1พันล้านเหรียญสหรัฐ

6. ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคลงลงอย่างต่อเนื่อง ราคาการผลิตลดลงอย่างมาก

ครึ่งปีแรกราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคลดลงร้อยละ1.1 ในเขตเมืองลดลงร้อยละ1.3 ในเขตชนบทลดลงร้อยละ0.6 หากแบ่งตามประเภทสินค้า เหล้า บุหรี่ และของใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ1.7 อุปกรณ์และเครื่องใช้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ1.3 ของใช้การแพทย์และบำรุงสุขภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ1.1 อาหารลดลงร้อยละ 0.3 เครื่องนุ่งห่มลดลงร้อยละ 2.4 คมนาคมและโทรคมนาคมลดลงร้อยละ2.5 การบริการด้านบันเทิง การศึกษา และวัฒนธรรมลดลงร้อยละ 0.7 ที่อยู่อาศัยลงลงร้อยละ3.9 ราคาสินค้าขายปลีกลดลงร้อยละ 1.4 ราคาสินค้าจากโรงงานลดลงร้อยละ 5.9 ราคาวัตถุดิบ และเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 8.7 ราคาที่พักอาศัยในเขตเมือง70แห่งลดลงร้อยละ0.8

7. รายได้ของประชากร และสวัสดิการในสังคมเพิ่มมากขึ้น

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อครอบครัวรวม 9667หยวน รายได้สุทธิต่อคนเฉลี่ย 8856หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ9.8 รายได้จากเงินเดือน 6394 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ11.1 รายได้ทางอ้อมจากสวัสดิการสังคม 2273 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16

8. ปริมาณเงินตรา และการกู้ยืมในองค์กรการเงินเพิ่มสูงขึ้น

ปลายเดือนมิ.ยที่ผ่านมา ปริมาณ Broad Money Supply (M2) ยอดคงเหลือ56.9 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ28.5 ปริมาณ Narrowly Defined Money Supply (M1) ยอดคงเหลือ19.3 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ24.8 ปริมาณเงินตราที่ไหลเวียนในตลาด(M0) ยอดคงเหลือ 3.4 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ11.5

การพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบันยึงถือเป็นอุปสรรคและเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง เนื่องจากพื้นฐานการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังไม่เข้มแข็ง ประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยงอีกหลายด้านที่รุมเร้า ช่วงระยะเวลาต่อไปจึงต้องยึดหลักการบริหารจากนโยบายส่วนกลางเป็นหลัก โดยการใช้นโยบายการคลัง และผ่อนปรนข้อจำกัดด้านนโยบายเงินตรา เพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชน อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ที่มา : แปลและเรียบเรียงจากสำนักสถิติแห่งชาติ วันที่16 ก.ค. 2552

สำนักงานการค้าต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ