คะวะอี้ (??/Kawaii) ซึ่งเป็นคำศัพท์ญี่ปุ่นแปลว่า น่ารักนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 19 ความน่ารัก ได้กลายเป็นลักษณะที่โดดเด่นของวัฒนธรรมสมัยนิยมของญี่ปุ่น ตั้งแต่สิ่งบันเทิง เสื้อผ้า อาหาร ของเล่น เครื่องประดับ ไปจนถึงพฤติกรรมของผู้คน คำ “คะวะอี้” ได้กลายเป็นคำทับศัพท์ในวัฒนธรรมเอเชียและตะวันตกบางส่วน ซึ่งคนไทยมักเรียกความน่ารักแบบญี่ปุ่นว่า "คิกขุ"
ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยอมรับว่าความน่ารักเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่นและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เราสามารถพบสิ่งน่ารักได้ทุกที่ในญี่ปุ่นตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ไปจนถึงร้านค้าเล็กๆ หรือตั้งแต่รัฐบาลญี่ปุ่น จนถึงสำนักงานในเมืองหลายบริษัทไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ต่างก็ใช้ Mascot ตัวนำโชคน่ารักๆ เพื่อแสดงสินค้าและบริการของตนสู่สาธารณะ ตัวอย่างเช่น การใช้รูป Mascot พิมพ์บนดวงตราไปรษณีย์ หรือตำรวจญี่ปุ่นใช้ตัวการ์ตูนน่ารักๆเป็นตัวนำโชค และบางครั้งก็ติดไว้หน้าป้อมตำรวจ เป็นต้น
แม้ว่าผู้บริโภคญี่ปุ่นจะได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ในตลาด niche market อย่างเช่น สินค้า “Kawaii” และสินค้า “Pop-Culture” 1 ยังคงได้รับความนิยมอย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นประกอบกับเป็นสินค้าที่ราคาพอหาซื้อได้เนื่องจากเป็นข้าวของเครื่องใช้กระจุกกระจิก เมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นได้แต่งตั้งนางแบบแฟชั่นให้เป็น “ Ambassador of Pop Culture” หรือเรียกกันทั่วไปว่า “ Ambassador of Kawaii ” โดยผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้รับเชิญให้ไปทำข่าวในวันดังกล่าวด้วยวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรม “Kawaii” ของญี่ปุ่นไปสู่ประเทศต่างๆ
กล่าวกันว่า กระแส “Kawaii” เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ไลฟ์สไตล์ ที่แพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่น หรือแม้แต่ผู้หญิงทำงานผ่านช่องทางนิตยสาร “Cawaii”ในช่วงแรกและในระยะต่อมาผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางมือถือ บล็อกในอินเทอร์เน็ต และร้านจำหน่ายสินค้า ซึ่งการแพร่ขยายของกระแสดังกล่าวเป็นลักษณะ C (Consumers) to C มากกว่า B (Business) to C
สินค้าที่อยู่ในกลุ่มของ “Kawaii” นั้น มีหลากหลายขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างสรรค์ ออกแบบสินค้าได้ตรงใจกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ตั้งแต่สติกเกอร์ขนาดจิ๋วเคลือบสีมันวาว ที่มีรูปแบบต่างๆ สำหรับใช้ตบแต่งตามร่างกายเช่น เล็บ เปลือกตา และตบแต่งสิ่งของต่างๆ เช่น เทียนไข เสื้อผ้า โทรศัพท์มือถือ
นอกจากนี้ยังมีเครื่องประดับ เสื้อผ้า ที่ตกแต่งด้วยลูกไม้ ระบายจีบ ของใช้ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน เป็นต้น
ปัจจัยสำคัญในการสร้างสินค้าให้ติดตลาด
กระแสความนิยมที่แพร่หลายอยู่ในขณะนี้ ได้อาศัยช่องทางการสื่อสารในลักษณะ C (Consumers) to C พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเพื่อนฝูง หรือทางอินเตอร์เน็ต ดังนั้นผู้ผลิตสินค้าจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงวัฒนธรรม และสังคมของผู้บริโภคกลุ่มนี้รวมถึงมีแนวคิดสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าเพื่อสร้างความสนใจให้แก่ผู้บริโภค
การตกแต่งร้านหรือสถานที่สำหรับจัดวางสินค้าเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่มีความสำคัญในการดึงดูดลูกค้า
สินค้าที่จำหน่ายในลักษณะเป็นชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบที่ให้ผู้ซื้อนำมาประกอบเอง ได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสามารถประกอบสินค้าได้ตามแนวความชอบเฉพาะตนแล้วยังสร้างความเพลิดเพลินและประสบการณ์ใหม่ๆ อีกด้วย
กระแสความนิยมสินค้า “Kawaii” ในญี่ปุ่นนับเป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออกไทยที่สนใจจะเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นในกลุ่มสินค้าดังกล่าว และนับเป็นกลยุทธหนึ่งในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าอีกด้วย
รายชื่อผู้นำเข้า
1. NAGASAKI PREFACTURAL TRADING CORP.
2F NAGASAKIKOTSU SANGYO BUILD, 3-1 DAIKOKU-MACHI,
NAGASAKI 850-0057 JAPAN
TEL : 095-823-0708
FAX : 095-826-1728
E-mail : nagasaki@nptcorp.jp
PRODUCTS : GIFTS
2. IMASATO LTD.
2-320-1 HON-MACHI, YAME, FUKUOKA 834-0031 JAPAN 0943-24-3854
TEL : 094-324-3854
FAX : 094-324-3859
E-mail : fusaya@e-fusa.com
PRODUCTS : GIFTS
3. WEEKS CO.,LTD.
1-8-8 YAKUIN CHUO-KU FUKUOKA 810-0022 JAPAN
TEL : 092-771-8274
FAX : 092-771-8273
E-mail : mizobe@weeks-f.co.jp
PRODUCTS : INTERIOR DECORATIVES, STATIONARY, GIFTS
4. SUMITOMO TRADING CO.,LTD.
3-30-23 HAKATAEKIMAE HAKATA-KU FUKUOKA 812-8662 JAPAN
TEL : 092-441-4489
FAX : 092-483-0317
E-mail : shigeru.matsuo@sumitomocorp.co.jp
PRODUCTS : FASHIONABLE GIFT ITEM, INTERIOR DECORATIVES
5. COTTON NAAM LTD.,
6-7-19 JIROMARU, SAWARA-KU, FUKUOKA 814-0165 JAPAN
TEL : 092-864-3869
FAX : 092-864-3869
E-mail : abroad@w3.dion.ne.jp
PRODUCTS : HANDICRAFT, GARMENT, BAG, CERAMIC
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฟูกูโอกะ
ที่มา: http://www.depthai.go.th