สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - พม่า ปี 2552 (ม.ค.—มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 28, 2009 15:46 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง           :  เนปีดอ
พื้นที่                :  676,578 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ         :  ภาษาพม่า
ประชากร            :  50.51 ล้านคน (end-2006)
อัตราแลกเปลี่ยน       :  5.265  MMK  (27/07/09)

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับพม่า
                                       มูลค่า :       สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                       699.93        100.00          5.63
สินค้าเกษตรกรรม                          15.52          2.22         25.71
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร                 158.51         22.65          0.46
สินค้าอุตสาหกรรม                         399.75         57.11          7.47
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                      126.15         18.02          4.68
สินค้าอื่นๆ                                    0             0        -97.43


โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับพม่า
                                           มูลค่า :        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                                 1,323.08        100.00        -16.51
สินค้าเชื้อเพลิง                               1,193.36         90.20        -17.80
สินค้าทุน                                        0.41          0.03        -74.62
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                        66.16          5.00        -19.78
สินค้าบริโภค                                    63.04          4.76         30.05
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                      0.11          0.01        -78.61
สินค้าอื่นๆ                                          0             0           0.0
หมายเหตุ :  สินค้าเชื้อเพลิงที่ไทยนำเข้าจากพม่า  คือก๊าซธรรมชาติซึ่งถือเป็นสินค้าจำเป็นในสัดส่วนกว่าร้อยละ 90

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - พม่า
                           2551            2552          D/%

(ม.ค. — มิ.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             2,247.44        2,023.01       -9.99
การส่งออก                   662.64          699.93        5.63
การนำเข้า                 1,584.80        1,323.08      -16.51
ดุลการค้า                   -922.16         -623.15      -32.43

2. การนำเข้า
พม่าเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่  13 ของไทย มูลค่า 1,323.08  ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ  16.51
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                                มูลค่า :        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                               1,323.00         100.00       -16.51
1.ก๊าซธรรมชาติ                                  1,193.30          90.20       -17.62
2.เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค                            39.03           2.95        14.62
3.ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์                          34.41           2.60       -43.90
4.สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะ                           21.52           1.63       181.07
5.ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก                     9.23           0.70        -3.76
           อื่น ๆ                                   0.29           0.02       -94.72
ข้อสังเกต:  1. สินแร่โลหะอื่น ๆ ในปี 2552 (มค.-มิย.) มีมูลค่าการนำเข้า 321.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบ
กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มีการนำเข้า 7.66  ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงทำให้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น  181.07

3. การส่งออก
พม่าเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 23  ของไทย มูลค่า 699.93  ล้านเหรียญสหรัฐ  ลดลงร้อยละ 5.63
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                        มูลค่า :        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                        699.93         100.00          5.63
1.น้ำมันสำเร็จรูป                          101.97          14.57          0.06
2.เครื่องดื่ม                               46.86           6.69         17.93
3.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                 41.28           5.90        -14.18
4.ปูนซีเมนต์                               41.21           5.89        167.44
5.เคมีภัณฑ์                                32.34           4.62         -8.68
         อื่น ๆ                          168.21          24.03         18.41
ข้อสังเกต : 1. ปูนซีเมนต์ ในปี 2552 (มค.-มิย.) มีมูลค่าการนำเข้า 41.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ
ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมีการนำเข้า 15.41  ล้านเหรียญสหรัฐฯ  จึงทำให้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 167.44

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปพม่า ปี 2552 (มค.- มิย.) ได้แก่

น้ำมันสำเร็จรูป : พม่าเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 8 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 60.70 11.34 72.43 และ 0.06 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องดื่ม : พม่าเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 2.81 11.35 69.49 และ 17.93 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : พม่าเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 15 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่า ปี 2552 (มค.-มิย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 14.18 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.02 48.79 และ 15.92 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

ปูนซีเมนต์ : พม่าเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 121.11 28.34 19.64 และ 167.44 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เคมีภัณฑ์ : พม่าเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.- มิย.)พบว่าปี 2552 (มค.-มิย)มีอัตราขยายลดลงร้อยละ 8.68 ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.27 20.06 และ 14.38 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : พม่าเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 28 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่า ปี 2549 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 13.32 ในขณะที่ปี 2550 - 2552 (มค.-มิย.) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 420.78 53.18 และ 135.30 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดพม่าปี 2552 (ม.ค. - มิย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูง มีรวม 16 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                           2551         2552   อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                                                (ม.ค.-พ.ค.)           %

มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ

1.น้ำมันสำเร็จรูป                               101.91    101.97        0.06
2.เครื่องดื่ม                                    39.73     46.86       17.93
4.ปูนซีเมนต์                                    15.41     41.21      167.44
7.ผ้าผืน                                       20.81     23.78       14.28
8.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                    14.33     23.37       63.11
9.ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป                20.11     23.02       14.44
11.ผลิตภัณฑ์ยาง                                 16.23     17.68        8.98
12.ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์                             15.32     16.41        7.12
14.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์                       6.37     14.98      135.30
15.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                              10.04     12.25       22.06
17.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                     7.84     10.75       37.09
19.รองเท้าและชิ้นส่วน                             8.11      8.87        9.35
21.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ               4.61      6.97       51.31
23.ผลิตภัณฑ์ข้าว                                  4.23      6.35       49.96
24.ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ                    3.10       5.19      67.63
25.กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ                      3.60       4.82      33.86

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดพม่าปี 2552 (ม.ค. - มิย.) 25 รายการแรก  สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 9 รายการ คือ
               อันดับที่ / รายการ                       มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                                ล้านเหรียญสหรัฐ             %
3.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                             41.28             -14.18
5.เคมีภัณฑ์                                            32.34              -8.68
6.ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์                            23.90             -57.68
10.เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว                    17.88              -7.65
13.เม็ดพลาสติก                                        16.08             -39.00
16.รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ                          11.37             -27.31
18.หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ                           10.53              -3.19
20.สิ่งทออื่นๆ                                           7.12             -20.75
22.ตาข่ายจับปลา                                        6.73             -11.65

4.4   ข้อมูลเพิ่มเติม

ขณะนี้ผู้ประกอบการพม่าสนใจสินค้าไทยมากขึ้น เพราะเชื่อมั่นทั้งราคาและคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันพม่าเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพรองรับสินค้า และมีแนวโน้มนำเข้าสินค้าจากไทยแทนจากจีนสำหรับกลยุทธ์การเจาะตลาดพม่านั้น ควรทำในลักษณะร่วมลงทุน เพื่อลดต้นทุนการผลิตและการเปิดสำนักงานในพม่า หรือหากมูลค่าการลงทุนสูงควรจัดตั้งบริษัทหรือตัวแทนธุรกิจเพื่อการเจาะตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงและนักธุรกิจทั่วไป เพื่อขยายเครือข่ายการทำธุรกิจร่วมกันนอกจากนี้ผู้ประกอบการไทยต้องสร้างตราสินค้า เพื่อสร้างความแตกต่างและจดจำสินค้า พม่ามีการย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่กรุงเนปีดอร์ซึ่งต้องการวัสดุก่อสร้างเพื่อสร้างถนน อาคาร สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมถึงบริการรับเหมาก่อสร้างจำนวนมาก ดังนั้นกระทรวงพาณิชย์จะจัดโรดโชว์ในกลุ่มสินค้านี้ เพื่อการเจาะตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจัดคณะผู้แทนการค้าระดับสูงและผู้ประกอบการทั้ง 2 ฝ่ายให้เจรจาการค้า และจัดงานแสดงสินค้าไทยในพม่า

ประเทศไทยจะเสนอร่างแผนความร่วมมือพลังงาน 7 ด้าน ให้ที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนเห็นชอบระหว่างวันที่ 28 — 30 กรกฎาคมนี้ ณ กรุงมัณฑะเลย์ ประเทศสหภาพพม่า ประกอบด้วย แผนงานสายส่งไฟฟ้าอาเซียน แผนงานการวางท่อก๊าซอาเซียน ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ความร่วมมือด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน แผนงานการใช้พลังงานหมุนเวียน การวางนโยบายและแผนพลังงานอาเซียน และแผนความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ ที่ได้ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เสนอที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงาน จากนั้นจะนำเสนอที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนเห็นชอบในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนเพื่อเป็นการช่วยระบบเศรษฐกิจภูมิภาคให้เกิดความมั่นคง และนำไปสู่การมีประชาคมอาเซียนในปี 2015 ด้วยการมีตลาดการค้าเดียวในการแข่งขันกับกลุ่มประเทศอื่น โดยการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนในครั้งนี้ จะเป็นการหารือแบบทวิภาคีกับกลุ่มประเทศอาเซียนในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันและเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค รวมทั้งไทยยังมีโอกาสเจรจาการสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และการเจรจาต่อรองจัดซื้อก๊าซธรรมชาติ ที่สำคัญไทยมีโอกาสเจรจากับพม่า เพื่อรักษาความสัมพันธ์การซื้อขายและพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมจากพม่าด้วย

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ