สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ฟิลิปปินส์ ปี 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 28, 2009 16:28 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง          :   มะนิลา
พื้นที่               :   300,179 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ        :   Tagalog, English and Spanish
ประชากร           :   88..57 m (end-2007)
อัตราแลกเปลี่ยน      :   P46.2:US$1  (22/08/08)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                       3.8        -1.8
Consumer price inflation (av; %)          9.3         2.9
Budget balance (% of GDP)                -0.9        -3.4
Current-account balance (% of GDP)        2.5         3.8
Exchange rate ฅ:US$ (av)                44.47        49.5

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับฟิลิปปินส์
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   1,293.32          100.00        -31.11
สินค้าเกษตรกรรม                        58.74            4.54        -78.99
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               144.19           11.15         -1.78
สินค้าอุตสาหกรรม                     1,021.93           79.02        -22.05
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                     68.46            5.29        -51.09
สินค้าอื่นๆ                                 0                0

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับฟิลิปปินส์
                                         มูลค่า :         สัดส่วน %        % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าเข้าสำคัญทั้งสิ้น                          680.74          100.00         -41.39
สินค้าเชื้อเพลิง                               53.28            7.83         -61.34
สินค้าทุน                                   148.97           21.88         -51.74
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                    262.19           38.52         -35.84
สินค้าบริโภค                                 97.26           14.29         -28.12
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                 117.56           17.27         -30.97
สินค้าอื่นๆ                                    1.49            0.22         102.97

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ฟิลิปปินส์
                           2551            2552         %

(ม.ค.-มิ.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             3,038.81        1,974.06     -35.04
การส่งออก                 1,877.32        1,293.32     -31.11
การนำเข้า                 1,161.49          680.74     -41.39
ดุลการค้า                    715.82          612.58     -14.42

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดฟิลิปปินส์เป็นอันดับที่  22 มูลค่า 680.74  ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ
41.39  สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                          680.74           100.00        -41.39
1.แผงวงจรไฟฟ้า                            122.08            17.93        -41.41
2.ส่วนประกอบและอุปกรณ์                       81.74            12.01        -35.75
3.สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและ                 63.80             9.37        -22.76
4.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ                55.40             8.14        -28.80
5.น้ำมันดิบ                                  40.72             5.98        -70.32
               อื่น ๆ                       33.24             4.88        -59.30

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดฟิลิปปินส์ เป็นอันดับที่ 14  มูลค่า 1,293.32 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 31.11
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :          สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                          1,293.30          100.00        -31.11
1.รถยนต์ อุปกรณ์                              252.53           19.53        -27.04
2.แผงวงจรไฟฟ้า                              121.40            9.39        -35.28
3.เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์                   62.66            4.85         34.14
4.น้ำมันสำเร็จรูป                               57.95            4.48        -55.63
5.เคมีภัณฑ์                                    44.05            3.41         -6.56
             อื่น ๆ                          236.93           18.32        -19.48

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปฟิลิปปินส์ ปี 2552 (มค.-มิย.) ได้แก่

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบฯ : ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่า ปี 2552 (มค.-มิย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 27.04 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2551 มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้น 22.77 3.54 และ 19.91 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

แผงวงจรไฟฟ้า : ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 9 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่าปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 123.67 ในขณะที่ปี 2550 2551 และ 2552 (มค.-มิย.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 6.79 25.22 และ 35.28 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์ : ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 5.91 8.77 20.53 และ 34.14 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

น้ำมันสำเร็จรูป : ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.- มิย.) พบว่าปี 2549 และ 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 101.82 และ 121.72 ในขณะที่ ปี 2550 และ ปี 2552 (มค.-มิย) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 37.92 และ 55.63 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เคมีภัณฑ์ : ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 11 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่า ปี 2552 (มค.-มิย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัว ลดลงร้อยละ 6.56 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2551 มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้น 30.23 11.98 และ 31.68 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดฟิลิปปินส์ ปี 2552 (มค.-มิย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูง มีรวม 6 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                             2551      2552    อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                                                (ม.ค.-พ.ค.)            %

มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ

3.ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                             14.35    15.10          5.27
4.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ                 10.92    13.20         20.84
5.ข้าวโพด                                       2.78    13.06        369.69
9.เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว               46.71    62.66         34.14
18.ผลิตภัณฑ์ยาง                                  32.01    32.26          0.79
25.สิ่งปรุงรสอาหาร                               11.32    18.46         63.08

ข้าวโพด : ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากเวียดนามและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2522 (มค.-มิย.) พบว่า ปี 2549 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 35.03 ในขณะที่ปี 2550 - 2552(มค.-มิย.) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 48.01 14.19 และ 369.69 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

สิ่งปรุงรสอาหาร : ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่า ปี 2549 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 13.56 ในขณะที่ปี 2550 - 2552(มค.-มิย.) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 753.45 119.17 และ 63.08 ตามลำดับ เมื่อเทียบ กับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดฟิลิปปินส์ ปี 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรก

สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 19 รายการ คือ

                อันดับที่ / รายการ                       มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                                 ล้านเหรียญสหรัฐ             %
1.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                           252.53             -27.04
2.แผงวงจรไฟฟ้า                                       121.40             -35.28
4.น้ำมันสำเร็จรูป                                        57.95             -55.63
5.เคมีภัณฑ์                                             44.05              -6.56
6.ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ                     41.92             -12.33
7.เม็ดพลาสติก                                          40.59             -33.46
8.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                              37.02             -31.07
9.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                       35.56              -3.04
10.เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ                         33.64             -31.08
11.ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ                           32.43              -0.46
13.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                      30.49              -8.25
14.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                            29.78             -23.06
15.รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ                           28.61             -10.53
16.น้ำตาลทราย                                         24.68              -4.13
17.ข้าว                                               23.86             -90.35
18.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                  22.25             -36.51
20.ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม                                     16.12             -11.84
21.กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ                             15.92             -32.65
25.ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์                                 12.85             -33.04

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

นักเศรษฐศาสตร์ที่บลูมเบิร์ก นิวส์ สำรวจความคิดเห็นคาดว่า ธนาคารกลางฟิลิปปินส์จะตัดสินใจลดดอกเบี้ยลง 0.25% แตะระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ 4% ในการประชุมวันนี้ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ และป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบมากนักจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวทำให้ธนาคารกลางลดดอกเบี้ยลง 1.75% เมื่อกลางเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังจากที่การส่งออกร่วง และไตรมาสแรก เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ก็ขยายตัวเพียง 0.4% ซึ่งเป็นตัวเลขการขยายตัวที่อ่อนแอที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะหดตัว 1% ในปีนี้

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการจัดทำบันทึกความตกลงว่าด้วยการซื้อขายข้าวระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ ในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือ จีทูจี ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจเต็มในการเจรจาและลงนามซื้อขายข้าว นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาการจำหน่ายข้าวสารโดยอิงกลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และอนุมัติให้องค์การคลังสินค้า หรือ อคส. นำเงินค่าข้าวสารในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2551/52 ที่ระบายจำหน่ายได้ ซึ่งต้องส่งคืน ธ.ก.ส. จำนวน 425 ล้านบาท มาเป็นทุนหมุนเวียน เพื่อให้ อคส.ใช้เป็นหลักประกันในการซื้อขายล่วงหน้าใน AFET เพื่อป้องกันการผิดสัญญาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย นอกจากนี้ ยังอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 24.64 ล้านบาท ให้ อคส. เพื่อเป็นค่าตอบแทนนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าและค่าจ้างผู้จัดการการซื้อขายล่วงหน้า

ซอฟต์แวร์ไทย ปักธงรบตลาดภูมิภาคเอเชีย ประเดิมตั้งสำนักงานเวียดนาม ชูกลยุทธ์รวมกลุ่มเข้าตลาดภาครัฐ-เอกชน ตั้งเป้าสร้างรายได้เข้า 400 ล้านบาท พร้อมใช้รูปแบบเดียวกัน เดินหน้าบุกตลาดฟิลิปปินส์-อินโดฯ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ