เมืองหลวง : กรุงมาดริด พื้นที่ : 504,880 ตารางกิโลเมตร ภาษาราชการ : ภาษาสเปน (Castellano) ประชากร : 45.2 ล้านคน (end-2007) อัตราแลกเปลี่ยน : EUR 47.4832 (17/07/09) (1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2551 ปี 2552
Real GDP growth (%) 1.2 -4.2 Consumer price inflation (av; %) 4.1 -0.8 Budget balance (% of GDP) -3.8 -9.6 Current-account balance (% of GDP) -8.2 -5.7 Exchange rate ฅ:US$ (av) 1.47 1.33 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสเปน มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 276.03 100.00 -57.91 สินค้าเกษตรกรรม 41.61 15.07 -70.09 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 26.88 9.74 -10.71 สินค้าอุตสาหกรรม 207.34 75.11 -57.40 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 0.21 0.07 6,912.48 สินค้าอื่นๆ 0 0 -200.00 ข้อสังเกต : (สำหรับสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ในปี 2552 (มค.-พค.) มีมูลค่าการส่งออก 0.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ยังไม่มีการส่งออกจึงทำให้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 6,912.48) โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสเปน มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 147.14 100.00 -24.17 สินค้าเชื้อเพลิง 0.21 0.14 -33.47 สินค้าทุน 48.39 32.89 -10.67 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 61.15 41.56 -17.31 สินค้าบริโภค 30.04 20.42 -46.50 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 7.07 4.80 -24.56 สินค้าอื่นๆ 0.28 0.19 248.76 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สเปน 2551 2552 %
(ม.ค.— พ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 849.93 423.17 -50.21 การส่งออก 655.89 276.03 -57.91 การนำเข้า 194.04 147.14 -24.17 ดุลการค้า 461.85 128.89 -72.09 2. การนำเข้า สเปนเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 34 ของไทย มูลค่า 147.14 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 24.17 สินค้านำเข้า สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 147.14 100.00 -24.17 1.เคมีภัณฑ์ 20.28 13.78 -28.06 2.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 17.94 12.19 -29.92 3.ผลิตภัณฑ์เวชกรรม 17.25 11.72 -38.55 4.สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป 15.52 10.55 1,819.40 5.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 6.45 4.39 -37.99 อื่น ๆ 8.64 5.87 -57.43 ข้อสังเกต : (สำหรับสินค้าสัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป ในปี 2552 (มค.-พค.) มีมูลค่าการส่งออก 15.52 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมีการส่งออกเพียง 0.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงทำให้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 1,819.4 3. การส่งออก สเปนเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 31 ของไทย มูลค่า 276.03 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 57.91 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 276.03 100.00 -57.91 1.เสื้อผ้าสำเร็จรูป 41.35 14.98 60.35 2.เครื่องปรับอากาศ 37.55 13.60 -75.26 3.เคมีภัณฑ์ 14.77 5.35 -23.39 4.ข้าว 12.45 4.51 28.41 5.ยางพารา 11.78 4.27 -77.42 อื่น ๆ 37.44 13.56 -74.69 4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสเปน ปี 2552 (มค.- พค.) ได้แก่
เสื้อผ้าสำเร็จรูป : สเปนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 7 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-พค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 14.39 0.21 174.82 และ 60.35 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เครื่องปรับอากาศ : สเปนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-พค.) พบว่าปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.92 ในขณะที่ ปี 2549 2551 และ 2552 (มค.- พค.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 13.84 38.79 และ 75.26 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เคมีภัณฑ์ : สเปนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 23 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-พค.) พบว่า ปี 2552 (มค.-พค.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 23.39 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2552 (มค.- พค.) มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้น 126.08 9.49 และ 29.47 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน
ข้าว : สเปนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 32 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-พค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 8.91 30.77 21.67 และ 28.41 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สินค้าข้าว ถึงแม้จะขยายตัวได้ดี แต่ก็มีสัดส่วน และมูลค่าการส่งออกไปยังสเปนไม่มากนักเนื่องจากชาวสเปน ไม่นิยมรับประทานข้าวเมล็ดยาวซึ่งมีราคาแพง
ยางพารา : สเปนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 12 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-พค.) พบว่าปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.10 ในขณะที่ปี 2550 2551 และ 2552 (มค.- พค.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 2.30 2.03 และ 77.42 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แนวโน้มความต้องการสินค้ายังคงลดลงอย่างต่อเนื่องเพราะตัวสินค้ามีความสัมพันธ์อย่างสูงกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ ได้รับผลกระทบรุนแรง
อันดับที่ / รายการ 2551 2552 อัตราการขยายตัว หมายเหตุ (ม.ค.-พ.ค.) %
มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ
1.เสื้อผ้าสำเร็จรูป 25.79 41.35 60.35 4.ข้าว 9.70 12.45 28.41 7.เลนซ์ 8.15 10.91 33.92 8.ปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง 5.07 9.99 97.04 10.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 6.12 8.52 39.22 16.รองเท้าและชิ้นส่วน 4.21 4.90 16.48
เสื้อผ้าสำเร็จรูป : สเปนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 7 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-พค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 14.39 0.21 174.82 และ 60.35 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
- สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปทุกประเภทจากไทย ขยายตัวได้ดีโดยสเปนได้ลดการนำเข้าจากประเทศฝรั่งเศส และโปรตุเกส รวมทั้งการนำเข้าจากประเทศคู่แข่งอื่นๆ ที่มีอัตราการขยายตัวที่ลดลงเนื่องจากสินค้าของไทยมีคุณภาพได้มาตรฐาน รวมทั้งสามารถผลิตและส่งมอบสินค้าได้รวดเร็วกว่าจีนและอินเดีย
ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง : สเปนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-พค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 80.03 240.58 41.69 และ 97.04 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว ล้านเหรียญสหรัฐ % 2.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 37.55 -75.26 3.เคมีภัณฑ์ 14.77 -23.39 5.ยางพารา 11.78 -77.42 6.ผลิตภัณฑ์ยาง 11.50 -34.91 9.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 9.40 -51.27 11.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 7.70 -55.18 12.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 7.62 -81.66 13.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 7.58 -47.56 14.อัญมณีและเครื่องประดับ 6.34 -50.33 17.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ 4.80 -41.23 18.กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง 4.52 -15.94 19.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 4.39 -90.67 20.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 3.64 -53.32 21.เม็ดพลาสติก 3.49 -76.94 22.เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน 3.01 -28.25 23.ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 2.51 -33.61 24.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล 2.51 -72.25 4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
ปัญหาและอุปสรรคการส่งออกของไทย
1. สเปน เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ที่เน้นนโยบายทำการค้ากันเองภายในกลุ่มประเทศสมาชิกก่อน ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้าสูงถึงร้อยละ 70-80
2. สเปน มีความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรมอย่างแนบแน่นกับกลุ่มประเทศแถบละตินอเมริกาที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองในอดีตและให้สิทธิพิเศษ ทางการค้าแก่กลุ่มประเทศนี้มากกว่าประเทศอื่นๆ
3. ชาวสเปนส่วนมากไม่ใช้ภาษาอังกฤษ จึงจำเป็นที่นักธุรกิจไทยจะต้องเป็นฝ่ายปรับตัวเข้าหาลูกค้า โดยการใช้ล่ามในการติดต่อทางธุรกิจ รวมทั้งจัดทำเอกสารทางการค้าเป็นภาษาสเปนด้วย
4. ชาวสเปนมีนิสัยยึดติดกับขนบธรรมเนียมเดิมยากแก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค อาทิเช่น การรับประทานอาหารแบบดั้งเดิมของท้องถิ่น ดังนั้น จึงทำให้การขยายตลาดสินค้าที่มีความเป็นไทยเป็นไปอย่างยากลำบาก เช่น อาหารไทย
5. การออกวีซ่าของสถานกงสุลสเปนในประเทศไทย มีความยุ่งยากไม่เอื้ออำนวยให้ นักธุรกิจไทยเดินทางไปเยือนสเปน เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในสหภาพยุโรป
6. สินค้าผักและผลไม้สดจากประเทศไทย เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางอากาศแพงกว่าสินค้าประเภทเดียวกันจากกลุ่มละตินอเมริกา เนื่องจากมีสายการบินและ เที่ยวบินระหว่างกันจำนวนมาก และขณะนี้ ประเทศบางประเทศในละตินอเมริกาสามารถเพาะปลูกผลไทยได้หลายชนิด อาทิ เช่น มังคุด ลำไย มะม่วง เป็นต้น
นอกจากนั้น การขนส่งจากละตินอเมริกายังสามารถขนส่งโดยตู้คอนเทนเนอร์ ตู้เย็นทางเรือได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาและค่าขนส่งได้จำนวนมาก
7. สหภาพยุโรป ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ทางการค้า ใหม่ๆเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทำให้เป็นการเพิ่มขั้นตอนและต้นทุนการผลิต จนบางครั้งผู้ส่งออกปรับตัวไม่ทัน
ข้อเสนอแนะ
1. สนับสนุนการท่องเที่ยวของไทย เพื่อให้ชาวสเปนได้รู้จักประเทศไทยมากขึ้น และมีโอกาสมาสัมผัสกับวัฒนธรรมไทยและได้พบเห็นหรือทดลองสินค้า/อาหารไทยรวมทั้ง ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ประเทศไทยในทุกโอกาส
2. ส่งเสริมการสร้างบุคลากรที่สามารถติดต่อสื่อสารด้วยภาษาสเปนให้เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันนี้ยังมีจำนวนไม่เพียงพอ
3. กระตุ้นให้ผู้ส่งออกไทยใหันมาสนใจขยายตลาดในสเปนเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม จาก ที่เคยเน้นแต่บางประเทศในยุโรป อาทิเช่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส รวมทั้ง เรียนรู้ทำความเข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่และศึกษาขนมธรรมเนียมวัฒนธรรม ตลอดจนพฤติกรรมผู้บริโภคของชาวสเปนที่แตกต่างจากตลาดอื่น
4. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกระทรวงเกษตร และศุลกากร เนื่องจากไม่รู้จักในตัวสินค้าบางชนิดจากประเทศไทย จึงทำการกักกันสินค้าไว้ก่อนเพื่อตรวจสอบ ทำให้การส่งมอบสินค้าไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา หรือหากเป็นไปได้ควรเชิญผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเดินทางไปศึกษากระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานที่ประเทศไทย
5. ส่งเสริมการเปิดธุรกิจสปาไทยที่นำเสนอบริการของไทยอย่างเต็มรูปแบบซึ่ง ปัจจุบันนี้ ธุรกิจ สปาทั่วไป มักจะมีแต่เพียงบริการนวดแผนไทยแทรกอยู่เพียงรายการเดียวเท่านั้น
6. ผู้ส่งออกไทย ควรติดตามการเปลี่ยนแปลงของกฎ ระเบียบ และข้อบังคับทางการค้าของสหภาพยุโรปที่มักจะออกข้อกำหนดใหม่ๆออกมาตลอดเวลาอย่างใกล้ชิดและต้องพยายามปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง
7. ส่งเสริมธุรกิจกระจายสินค้าของไทยที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเก็บและแจกจ่ายสินค้าในกรณีที่มีปริมาณครั้งละไม่มาก
8. หาทางแก้ไขปัญหาค่าขนส่งสินค้าผักและผลไม้ไทย ที่เป็นข้อเสียเปรียบในการแข่งขันกับกลุ่มประเทศละตินอเมริกา
ที่มา: http://www.depthai.go.th