- ภาพรวมเศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตร้อยละ 4 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 7 เพราะการก่อสร้างชะลอตัวตามภาวะวิกฤติการเงินโลกที่กระทบผู้ลงทุนรายใหญ่คือ เกาหลีและจีน ทำให้หลายโครงการชะลอตัวและบางโครงการถอนการลงทุน ราคาที่ดินและราคาอสังหาริม ทรัพย์ที่ซบเซาส่งผลให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง แม้ว่าราคาวัสดุก่อสร้างเช่น เหล็ก จะลดลงอย่างมาก ก็ไม่จูงใจให้มีการก่อสร้าง ตลาดหลักทรัพย์ที่คาดว่า จะเปิดตัวครั้งแรกในปี 2552 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนได้ชะลอโครงการไว้ก่อนโดยไม่มีกำหนดตามสภาวะการณ์ตลาดหลักทรัพย์โลกที่มีการอ่อนตัวลงตามวิกฤติเศรษฐกิจโลก
- สถานการณ์การค้ากับไทย
ในรอบปี 51 การส่งออกสินค้าไทยไปกัมพูชาขยายตัวร้อยละ 50.52 แม้ว่าในช่วงครึ่งหลังจะมีการชะลอตัว เนื่องจากปัญหาข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร และการชะลอตัวของเศรษฐกิจกัมพูชาตามวิกฤติการเงินโลก และอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกือบร้อยละ 20
- มาตรการการค้า ปัญหา/อุปสรรค
กัมพูชาไม่มีข้อจำกัด และกฎระเบียบที่เป็นปัญหาด้านการค้าแต่อย่างใด เพราะเป็นประเทศที่ต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้สินค้าในราคาที่ไม่สูงนัก จึงนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเช่นไทยและเวียด นาม เป็นหลัก ปัญหา/อุปสรรคที่พบจึงมีเพียงการปฎิบัติตามกฎหมาย ระเบียบที่ไม่เป็นมาตรฐานมีการต่อรองและอาศัยการรู้จักเป็นสำคัญ ทำให้เกิดการได้เปรียบ เสียเปรียบในราคาสินค้าชนิดเดียวกันที่นำเข้าโดยต่างบุคคล
- ข้อแสนอแนะ
นักธุรกิจไทยต้องศึกษาช่องทางการส่งออก-นำเข้า ตามธรรมเนียมปฎิบัติมากกว่าการปฎิบัติตามกฎหมาย ระเบียบที่วางไว้ เพื่อไม่ให้เกิดการเสียเปรีบยบในเชิงการค้า
1. จัดทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย ได้แก่ Thailand Exhibition Thailand Outlet In-store Promotion การสนับสนุนผู้นำเข้า อย่างต่อเนื่องและจริงจัง เป็นรูปธรรม
2. จัดผู้ซื้อเดินทางไปซื้อสินค้ากับผู้ผลิตโดยตรง
3. ให้ความช่วยเหลือในการขยายตลาดแฟรนไซส์ โดยร่วมจัดกิจกรรมเสริมกับผู้ซื้อแฟรนไซส์จากไทยและจัดร่วมกับเจ้าของแฟรนไซส์รายใหม่ในการเปิดตลาด
4. สร้างทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์เนมไทยอย่างยั่งยืน โดยการทำโฆษณาร่วมกับสถานีโทรทัศน์ เช่นการให้การสนับสนุนละครที่สร้างเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีระหว่างสองประเทศ
ที่มา: http://www.depthai.go.th