หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกสินค้าคือ กรมศุลกากรและสรรพสามิต (Customs and Excise Department of Cambodia — CEDC) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (The Ministry of Economy and Finance — MEF) โครงสร้างประกอบด้วยสำนักงานในส่วนกลาง 11 แห่ง และส่วนภูมิภาค 7 แห่ง มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลจุดตรวจผ่านแดนประมาณ 30 แห่ง
ภาษีอากรนำเข้า เป็นภาษีที่เก็บจากสินค้านำเข้า โดยจัดเก็บตามราคา CIF ที่ปรากฏ ในสกุลเงินเรียล กัมพูชาเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าประเภทอาหารในอัตราร้อยละ 7-35 บวกภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 10
- Truck Way Bill
- Invoice
- Packing List
- Bill of Lading
- Invoice
- Packing List
- Air Way Bill
- Invoice
- Packing List
กฎระเบียบทางการค้า (Trade Regulations and Standards)
กัมพูชาไม่มีข้อกีดกันทางการค้าสำหรับสินค้าทั่วไป ยกเว้น การนำเข้าอาวุธและยารักษาโรคที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนการนำเข้าจากกระทรวงที่ดูแล
การส่งออกสินค้าบางประเภทกำหนดให้มีใบอนุญาตส่งออกได้แก่ การส่งออกวัตถุโบราณ ยางพารา และไม้ ส่วนการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปและสิ่งทอต้องมีใบแสดงแหล่งกำเนิดสินค้า (C/O หรือ Certificate of Origin) จากกระทรวงพาณิชย์
ภาษีนำเข้าการส่งออกเป็น 4 หมวด โดยมีอัตราตั้งแต่ 0-35% ดังนี้
(1) สินค้าฟุ่มเฟือย รวมถึง รถยนต์ ไวน์ บุหรี่ น้ำหอม อาวุธ และเครื่องสำอาง อัตราภาษี 35% (รถยนต์ต้องเสียภาษีเพิ่มตามกำลังเครื่องยนต์)
(2) สินค้าสำเร็จรูปทุกชนิด รวมถึงโทรทัศน์ วิทยุ เครื่องเล่นเทป สีทาบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ อัตราภาษี 35%
(3) เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ อัตราภาษี 15%
(4) วัสดุ เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก กระเบื้อง อิฐ และของใช้ในชีวิตประจำวันรวมถึงเนื้อสัตว์ ผลไม้ ชา น้ำมันพืช น้ำตาล สบู่ รองเท้า แว่นตา เสื้อผ้า และรถจักรยาน อัตราภาษี 7%
สินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า : อุปกรณ์เครื่องมือและวัสดุการเกษตร อุปกรณ์ และวัสดุประกอบการเรียน (แต่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ร้อยละ 10) ผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค และอุปกรณ์กีฬา
กำหนดไว้เฉพาะยารักษาโรคจากกระทรวงสาธารณสุขและการนำเข้าอาวุธจากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหม
รัฐบาลกำหนดไว้เฉพาะการส่งออกไม้ซุง ไม้แปรรูป อัญมณีและหินมีค่า รวมถึงวัตถุโบราณ
ศุลกากรกัมพูชากำหนดให้การนำเข้าและส่งออกสินค้าทุกครั้งต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้
(1) Bill of landing
(2) Packing list
(3) Invoice
(4) Transit license (สินค้าซึ่งนำเข้าหรือส่งออกผ่านทางเวียดนาม)
หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบคือ กรม CAMCONTROL กระทรวงพาณิชย์ โดยกำหนดให้การนำเข้าสินค้าสินค้า อาหาร ต้องมีการสำแดงรายละเอียดบนฉลากดังนี้ : ชื่อของสินค้า, ชื่อ และที่อยู่ผู้ผลิต, วัตถุดิบ, ปริมาณ, หมายเลขกำกับครั้งที่ผลิต วันผลิต, วันหมดอายุ, ส่วนประกอบ, ข้อแนะนำในการใช้ (หากมี) และเลขที่อนุญาตการผลิตของหน่วยงานที่ดูแล (หากกำหนดไว้) เป็นต้น นอกจากนี้ CAMCONTROL ยังร่วมตรวจสอบการนำเข้ากับหน่วยงานที่รับผิดชอบการนำเข้าในทุกสินค้าด้วย
ยาเสพติด, วัตถุระเบิด, วัตถุอันตราย และสารเคมี รวมถึงสิ่งพิมพ์ลามก
ภาษีถือเป็นรายได้หลักที่สำคัญของรัฐบาลกัมพูชา เนื่องจากรายได้แผ่นดินในแต่ละปีที่มีประมาณ 430-440 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นรายได้ที่ได้จากการเก็บภาษี (Tax Revenue) ประมาณร้อยละ 70 รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับหน่วยงานจัดเก็บภาษีโดยพยายามพัฒนาเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพตลอดระยะหลายปีที่ผ่านมารวมทั้งกำหนดมาตรการต่างๆ เช่นการเข้มงวดเรื่องสินค้าลักลอบหนีภาษี การลดขั้นตอนเอกสารทางราชการเพื่อลดการคอร์รับชั่นและป้องกันการรั่วไหล การเพิ่มฐานภาษีและการขึ้นอัตราภาษีเป็นต้น และหากจะจำแนกรายได้ภาษีจากฐานที่มาแล้วจะพบว่า มาจากภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณร้อยละ 33 ภาษีศุลกากรประมาณร้อยละ 30 และภาษีสรรพสามิตประมาณร้อยละ 16
ทั้งนี้ ภาษีสรรพสามิตในกัมพูชาจะเรียกว่า ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่าง (Specific Tax on Certain Merchandise and Services) เรียกสั้นๆ ในที่นี้ว่า ภาษีสรรพสามิตหรือ Specific Tax
ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บเป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าที่นำเข้าหรือสินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศ ทั้งในรูปของสินค้าและบริการ โดยในปัจจุบันมีการจัดเก็บสินค้านำเข้าจากฐานราคาภายหลังจากที่ได้รวมภาษีศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ขณะที่สินค้าและบริการในประเทศจะมีฐานภาษีจากราคาหน้าโรงงานหรือที่ให้บริการรวม 11 รายการ ได้แก่
(1) รถยนต์ อาหลั่ยและส่วนประกอบที่มีขนาดเครื่องยนต์ถึง 2000 CC. อัตราภาษีร้อยละ 20
(2) รถยนต์ อาหลั่ยและส่วนประกอบที่มีขนาดเครื่องยนต์เกินกว่า 2001 CC. อัตราภาษีร้อยละ 30
(3) รถยนต์ขนาดใหญ่เช่น รถบัส และรถบรรทุกหนัก อัตราภาษีร้อยละ 10
(4) รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ ขนาดเครื่องยนต์มากกว่า 125 ซีซี อัตราภาษีร้อยละ 10
(5) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อัตราภาษีร้อยละ 20
(6) เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกรดคาร์บอนด์และเครื่องดื่มที่คล้ายกันซึ่งไม่มีแอลกอฮอล อัตราภาษีร้อยละ 15
(7) เบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล อัตราภาษีร้อยละ 10,15 และ 30
(8) บุหรี่และซิการ์ อัตราภาษีร้อยละ 10
(9) ค่าบริการห้องพักโรงแรมและสถานบันเทิง อัตราภาษีร้อยละ 10
(10) ค่าขายบัตรโดยสารเครื่องบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ อัตราภาษีร้อยละ 10
(11) ค่าให้บริการ โทรศัพท์ทางไกลทั่วประเทศและระหว่างประเทศ อัตราภาษีร้อยละ 10
วิธีการจัดเก็บภาษีสินค้าที่นำเข้า ใช้ราคา CIF เป็นฐานราคาในการจัดเก็บ โดยมีวิธีคำนวณหาค่าของอัตราภาษีเฉพาะอย่างดังนี้
ราคามูลค่าสินค้า C.I.F (USD) A คูณ แปลงเป็นสกุลเงินเรียล (K) Exchange Rate ราคามูลค่าสินค้า C.I.F (K) B นำราคามูลค่าสินค้า C.I.F (K) B คูณ Customs Duty Rate XX% CD (Customs Duty) C
นำ Customs Duty (C) + C.I.F (B) D
คูณ Value Added Tax Rate 10% 10% VAT (Value Added Tax) E
นำ VAT (E) + CD (C) + C.I.F (B) F
คูณ Special Tax Rate XX% ST (Special Tax) G
อัตราภาษีนำเข้าทั้งสิ้น = C + E + G
ที่มา: http://www.depthai.go.th