1.1 มูลค่าการผลิต
ในอดีตการผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญมากแขนงหนึ่งของเยอรมนี เคยมีจำนวนคนงาน ที่เกี่ยวข้องกว่า 200,000 คนในโรงงานผลิตกว่า 2,000 โรงงาน แต่ในปัจจุบันที่การตลาดมีการแข่งขันรุนแรง ในขณะที่ ค่าจ้างแรงงานเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด เป็นปัญหาใหญ่ของอุตสาหกรรมแขนงนี้ จึงได้มีการย้ายฐานการผลิตออกไปยังต่างประเทศ ทั้งในเอเชีย และยุโรปตะวันออก สำหรับกิจการในประเทศที่ยังคงมีการผลิตอยู่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าประเภท high tech สินค้า brand name และสินค้าแฟชั่นในตลาดระดับบนที่มีราคาแพง โดยในปี 2551 ที่ผ่านมานี้มีการผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 12,207 ล้านยูโร (ประมาณ 610,350 ล้านบาท) มูลค่าลดลงจากปี 2550 ร้อยละ 5.1 เฉพาะเสื้อผ้า สำเร็จรูปมีมูลค่า 1,378 ล้านยูโร (ประมาณ 68,900 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 16.6 จำนวนโรงงานผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงจาก 273 เหลือ 258 กิจการหรือลดลงร้อยละ 5.5 และมีคนงาน 46,190 คนลดลงร้อยละ 4.1 สำหรับปี 2552 ตลอดทั้งปีคาดว่า มูลค่าการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะลดลงอีกในอัตราระหว่างร้อยละ 4 - 6
Million Euro Companies + / (%) Describtion 2005 2006 2007 2008 2007 2008 Value Co. 17 Textile 10,906.80 10,994.00 11,209.00 10,829.00 919 919 3.39 0.0 18 Garments 2,053.20 1,826.80 1,653.00 1,378.00 273 258 16.64 5.49 1810 Leather clothes 14.4 15.9 19.6 19.1 11 9.0 2.55 18.18 1821 Workwear 90.9 98.4 100.3 98.2 35 35 2.09 0.0 1822 Other Outerwear 1,171.20 924.3 813.1 683.3 116 107 15.96 7.76 1823 Underwear 526.4 529.9 465.4 345.3 98 94 25.81 4.08 1824 Other wearing & access. 213.2 232.1 230.3 207.8 82 79 9.77 3.66 1830 Article of Fur 14.3 12.1 7.4 7.1 7.0 6.0 4.05 14.29 1899 Other 22.9 14.2 17.4 16.9 5.0 5.0 2.87 0.0 17 18 Textile + Garments 12,960.00 12,820.80 12,862.00 12,207.00 1,192 1,177 5.09 1.26 19 Leathers and products 1,495.60 1,461.00 1,588.10 1,480.00 194 190 6.81 2.06 1910 Leather 335.9 337.6 382.5 328.1 19 17 14.23 10.53 1920 Leather products (without clothes) 277.6 304.2 353.6 336.4 86 84 4.87 2.33 1930 Shoes 848.9 767.1 819 787.8 93 90 3.81 3.23 1999 Leather preperations... 33.2 52 33 27.8 5.0 5.0 15.8 0.0 ที่มา: สนง.สถิติแห่งชาติ เยอรมนี
1.2 มูลค่าการจำหน่าย
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2549 — 2551) การค้าปลีกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเยอรมนีมีมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 59,508 ล้านยูโร และในปี 2551 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 60,275 ล้านยูโร (ประมาณ 3.01 ล้านล้านบาท) โดยเป็นเสื้อผ้าสตรี มูลค่า 28,650 ล้านยูโร (ประมาณ 1.432 ล้านล้านบาท) ประกอบด้วยเสื้อผ้าบุรุษมูลค่า 15,280 ล้านยูโร (ประมาณ 764,000 ล้านบาท) เสื้อผ้าเด็กมูลค่า 2,715 ล้านยูโร (ประมาณ 135,750 ล้านบาท) เคหะสิ่งทอมูลค่า 7,700 ล้านยูโร (ประมาณ 385,000 ล้านบาท)
สำหรับปี 2552 ตลอดทั้งปี คาดว่ามูลค่าการค้าปลีกเสื้อสำเร็จรูปจะใกล้เคียงกับปี 2551 ที่ผ่านมา โดยมีแนวโน้ม เสื้อผ้าสวมใส่เล่นกีฬาจะมีการจำหน่ายเป็นมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นมากทำให้มูลค่าในภาพรวมไม่ลดลงมากนัก
มูลค่าการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปในปี 2547 - 2551
ล้านยูโร
ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 +/ % เสื้อผ้าสตรี 25,160 25,500 26,700 27,950 28,650 2.5 เสื้อผ้าบุรุษ 13,790 14,130 14,420 15,110 15,280 1.3 เสื้อผ้าเด็ก 3,615 2,640 2,625 2,715 2,715 0 เคหะสิ่งทอ 8,180 8,100 8,190 7,930 7,700 2.9 สิ่งทออื่นๆ 5,530 6,390 6,340 6,270 5,930 5.4 รวม 56,275 56,760 58,275 59,975 60,275 0.5 ที่มา: สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอเยอรมัน Top 10 ผู้ค้าปลีกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเยอรมนีปี 2550
ล้านยูโร ขยายตัว %
1 Arcandor AG 4,170 0.9 2 Otto GmbH & Co. KG 3,406* 4.0 3 Metro Group 3,077* n.a. 4 C&A, Dsseldorf 2,933 4.4 5 Hennes&Mauritz, Hamburg 2,395 10.1 6 Peek&Cloppenburg, Dsseldorf 1,511* 1.0 7 Tengelmann Gruppe 1,498* 17.6 8 Aldi Inc. 1,050* +/- 0.0 9 Lidl 1,050* 4.0 10 Tchibo Holding AG (Maxingvest AG) 1,023* 5.0 ที่มา: Textil Wirtschaft
- ตัวเลขโดยประมาณ
2.1 มูลค่าการนำเข้า
ในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (2549 — 2551) เยอรมนีนำเข้าเฉพาะ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 34,389 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 8,522.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลง จากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 11.6 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (2549 — 2551) มีการนำ เข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 7,244 หรือร้อยละ 21.1 ของการนำเข้าทั้งสิ้น และในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) นำเข้าเป็น มูลค่า 1,898.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 28.4 รองลงมาเป็น ตุรกี มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 4,104 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.0 ของการนำเข้ารวม สำหรับปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 947.1 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 21.6 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.1 จาก บังคลาเทศ มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 1,861 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้า เป็นมูลค่า 583.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.8 สำหรับ ไทยมีการนำ เข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 233.5 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.68 และในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 54.93 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 17.43 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.65 นับเป็นอันดับ ที่ 28
สถิติการนำเข้าสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ของเยอรมนีปี 2549 — 2552 (ม.ค. — มี.ค.)
มูลค่า ล้านเหรียญ % ส่วนแบ่ง % เพิ่ม/ลด อันดับ ประเทศ ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 52 / 51 ม.ค.-มี.ค. ม.ค.-มี.ค. ม.ค.-มี.ค. ม.ค.-มี.ค. ม.ค.-มี.ค. รวมทั้งสิ้น 31,489.02 35,260.47 36,418.25 9,645.46 8,522.65 100.0 100.0 -11.64 1 China 5,545.01 7,263.47 8,924.44 2,130.68 2,200.23 22.09 25.82 3.26 2 Turkey 3,812.03 4,321.03 4,178.03 1,207.53 947.06 12.52 11.11 -21.57 3 Bangladesh 1,705.11 1,779.45 2,098.19 522.12 583.25 5.41 6.84 11.71 4 Netherlands 1,728.94 2,069.52 1,913.66 498.86 497.75 5.17 5.84 -0.22 5 India 1,209.20 1,340.76 1,464.24 445.87 427.31 4.62 5.01 -4.16 6 Italy 2,305.59 2,405.93 2,127.34 559.7 418.3 5.80 4.91 -25.26 7 Poland 732.70 820.77 1,098.14 282.72 318.75 2.93 3.74 12.74 8 Belgium 1,098.35 1,202.65 1,229.38 322.68 301.82 3.35 3.54 -6.46 9 France 695.98 850.61 810.68 215.68 173.46 2.24 2.04 -19.57 10 Romania 1,138.95 952.8 900.46 244.82 168.98 2.54 1.98 -30.98 11 Denmark 618.90 689.84 679.79 183.94 166.48 1.91 1.95 -9.49 12 Austria 715.94 851.63 805.11 215.75 158.6 2.24 1.86 -26.49 13 Indonesia 597.23 584.2 671.62 182.67 152.83 1.89 1.79 -16.33 14 Pakistan 488.27 561.64 587.25 163.93 149.02 1.70 1.75 -9.09 15 United Kingdom 514.57 578.74 580.54 132.45 132.11 1.37 1.55 -0.26 .... 28 Thailand 244.10 221.22 238.98 66.53 54.93 0.69 0.65 -17.43 ที่มา : Eurostat, World Trade Atlas
2.2 จำแนกตามชนิดของเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการนำเข้าสินค้าแต่ละชนิดที่สำคัญๆ ดังนี้
2.2.1 เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำด้วยผ้าฝ้าย ในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (2549 — 2551) เยอรมนีนำเข้าเป็นมูลค่า โดยเฉลี่ยปีละ 14,707.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) เยอรมนีนำเข้าเป็นมูลค่า 4,124.3 ล้า นเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 10.1 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 55.7 ของการนำเข้าเสื้อผ้าทั้งสิ้น แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน มีการนำเข้าในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) เป็นมูลค่า 1,017.1 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.2 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 24.7 รองลงมาเป็น ตุรกี มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 534.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 25.7 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 15.7 จาก บังคลาเทศ มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 505.9 ล้านเหรียญ สหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12.3 จาก ไทย มีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 30 เป็นมูลค่า 17.9 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 23.2 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.44
2.2.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำด้วยใยสังเคราะห์ ในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (2549 — 2551) เยอรมนีนำเข้า เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 6,396.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) เยอรมนีนำเข้าเป็นมูลค่า 1,451.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 24.2 ของการนำเข้าสินค้าเสื้อผ้าทั้งสิ้น มูลค่าการนำเข้าลดลงจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 8.3 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 510.1 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 คิดเป็นส่วน แบ่งตลาดร้อยละ 35.2 รองลงมาเป็น ตุรกี มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 112.5 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7.8 มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 9.2 จาก เนเธอร์แลนด์ มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 70.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลง ร้อยละ 10.95 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.8 จาก ไทย มีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 18 เป็นมูลค่า 18.1 ล้านเหรียญ สหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 5.6 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.2
3.1 มูลค่าการส่งออก ในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (2549 — 2551) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีส่งออกเสื้อผ้า สำเร็จรูปเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 13,988 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการส่งออกเป็นมูลค่า 4,104.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 16.6 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ๆ ได้แก่
3.1.1 เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำด้วยผ้าฝ้าย ในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (2549 — 2551) เยอรมนีส่งออกเสื้อผ้าชนิด นี้เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 7,315.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) เยอรมนีส่งออกเป็นมูลค่า 2,306.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 55.7 ของการส่งออกเสื้อผ้าทั้งสิ้น มูลค่าลดลงจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 11.8 ตลาดส่งออก ที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรีย มีการส่งออกในช่วง 3 เดือนแรกปี 2552 เป็นมูลค่า 351.3 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่ง ตลาดร้อยละ 15.2 มูลค่าลดลงร้อยละ 9.6 รองลงมาเป็น เนเธอร์แลนด์ มีการส่งออกเป็นมูลค่า 318.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13.8 มูลค่าลดลงร้อยละ 15.1 ฝรั่งเศส ส่งออกเป็นมูลค่า 228.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9.9 มูลค่าลดลงร้อยละ 10.9
3.1.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำด้วยใยสังเคราะห์ ในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (2549 — 2551) เยอรมนีส่งออก เสื้อผ้าชนิดนี้เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 3,413.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) เยอรมนีส่งออกเป็นมูลค่า 873.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 21.8 ของการส่งออกสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งสิ้น มูลค่าลดลงจากปีก่อนระยะเดียวกัน ร้อยละ 10.4 ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ออสเตรีย มีการส่งออกเป็นมูลค่า 144.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 9.6 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16.6 รองลงมาเป็น เนเธอร์แลนด์ มีการส่งออกเป็นมูลค่า 103.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลง ร้อยละ 14.3 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.9 สวิสเซอร์แลนด์ มีการส่งออกเป็นมูลค่า 91.3 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลง ร้อยละ 12.9 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.5
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2549 - 2551) เยอรมนีนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากไทยคิดเป็นมูลค่า โดยเฉลี่ยปีละ 233.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 54.93 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 17.4 เทียบกับปริมาณการตลาดทั้งหมดของสินค้าประเภทนี้ในเยอรมนีสินค้าของไทย ยังมีส่วนแบ่งตลาดที่น้อยมาก ประมาณร้อยละ 0.69 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้ารายการนี้ของเยอรมนี สินค้ารายการสำคัญๆ ที่เยอรมนีนำเข้ามากจากไทย ได้แก่
สถิติการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเยอรมนีจากไทยปี 2550 — 2552 (ม.ค. — มี.ค.)
Millions of US Dollars % Share % Change Rank Describtion 2006 2007 2008 2008 2009 2008 2009 -09/08- Jan-Mar Jan-Mar Jan-Mar Jan-Mar Jan-Mar Thailand 240.24 221.22 238.98 66.53 54.93 0.69 0.65 -17.43 1 180 Ready made garment 186.49 169.38 185.03 49.99 45.16 75.14 82.21 -9.66 1.1180b Garments man-made fibres 73.03 72.39 75.25 19.16 18.08 28.8 32.91 -5.64 1.2180a Garments Cotton 84.06 67.35 77.43 23.34 17.93 35.08 32.64 -23.18 1.3180e Garments Other 23.19 23.92 27.05 6.35 7.37 9.54 13.42 16.10 1.4180c Garments Silk 2.77 3.28 2.6 0.52 1.1 0.79 2.01 111.34 1.5180f Garments Baby 2.27 1.99 2.35 0.6 0.64 0.91 1.17 6.15 1.6180d Garments Wool 1.17 0.45 0.35 0.02 0.04 0.03 0.07 87.80 2 190 Textile 27.97 25.06 25.15 8.03 4.47 12.07 8.14 -44.32 2.1190a Fabric Cotton 19.2 16.8 16.55 5.62 2.79 8.45 5.08 -50.37 2.2190b Fabric Synthetic 8.22 7.69 7.7 2.25 1.57 3.38 2.87 -30.05 2.3190d Fabric Other 0.1 0.13 0.37 0.05 0.06 0.08 0.10 4.23 2.4190c Fabric Silk 0.45 0.43 0.53 0.1 0.05 0.16 0.09 -51.87 3 186 Brassiers, corsets and parts 16.45 19.47 20.13 6.96 3.83 10.47 6.98 -44.94 4 200 Household textile 6.96 4.82 6.3 1.16 0.95 1.74 1.74 -17.47 5 187 Panty hose, Socks 1.52 1.34 1.53 0.21 0.38 0.32 0.69 75.48 6 188 Glove 0.88 1.17 0.88 0.18 0.14 0.27 0.26 -19.64 ที่มา Eurostat, World Trade Atlas
4.1 เสื้อผ้าทำด้วยใยสังเคราะห์ มีการนำเข้าในระยะ 3 ปี (2549 — 2551) เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 73.56 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 18.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 32.9 ของการนำเข้าจากไทยมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 5.6
4.2 เสื้อผ้าทำด้วยฝ้าย มีการนำเข้าในระยะ 3 ปี (2549 - 2551) คิดเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 76.3 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 17.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 32.6 ของ การนำเข้าจากไทยมูลค่าการนำเข้าลดลงจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 23.2
4.3 เสื้อผ้าเด็ก มีการนำเข้าในระยะ 3 ปี (2549 - 2551) คิดเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 2.2 ล้านเหรียญ สหรัฐ และในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 0.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 1.2 ของการนำเข้าจาก ไทยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 6.2
เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เยอรมนีนำเข้าจากต่างประเทศ อาจจำแนกได้ 4 ช่องทาง ดังนี้
(1) นำเข้าโดยผู้นำเข้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยเฉพาะ เพื่อส่งมอบให้แก่ร้านค้าปลีก ผู้ค้าส่งรายใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า กิจการ MailOrder และร้านค้าประเภท Hyper Market เป็นต้น นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งอาจทำการส่งออก ไปยังกลุ่มประเทศยุโรปอื่นที่ใกล้เคียง อาทิ โปแลนด์ ออสเตรีย และรัสเซีย เป็นต้น
(2) นำเข้าโดยเอเย่นต์/บริษัทตัวแทนของร้านค้าขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า และกิจการประเภท Mail Order เพื่อจำหน่ายในร้านค้าที่เป็นสาขาของตนเอง และอีกส่วนหนึ่งส่งมอบให้แก่ร้านค้าปลีกและผู้ค้าส่งรายใหญ่
(3) การนำเข้าโดยโรงงานผู้ผลิต โดยเป็น Order ที่โรงงานผู้ผลิตในเยอรมนีสั่งให้บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศ ทำการผลิตให้
(4) การนำเข้าโดยผู้ค้าปลีกรายย่อยต่างๆ เพื่อจำหน่ายในร้านค้าของตนเอง
6.1 ข้อกำหนดพื้นฐานเกี่ยวกับสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะเป็นไปในด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค ได้แก่ ข้อกำหนดการใช้สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การฟอก การย้อมสี เป็นต้น จะต้องเป็นสารที่สากลยอมรับและไม่เกิดอันตราย กับผู้บริโภค เยอรมนีมี กฎ ระเบียบข้อจำกัดต่างๆที่รัดกุม เข้มงวดมาก และมักจะเป็นผู้นำที่ค้นพบว่า สารเคมีที่อนุญาตให้ใช้กัน ได้ทั่วไป มีส่วนทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ และมีการสั่งห้ามมิให้นำมาใช้ อย่างไรก็ตาม จากการที่เยอรมนีเป็นประเทศ สมาชิกของสหภาพยุโรป การใช้กฏเกณฑ์ใดๆ จะต้องผ่านการยอมรับของคณะกรรมการสหภาพยุโรปก่อนจึงจะมีผลใช้บังคับได้
6.2 ข้อกำหนดอีกประการหนึ่ง คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยพยายามไม่ใช้หรือลดปริมาณการ ใช้สารเคมี สารสังเคราะห์ต่างๆ ในแต่ละขบวนการต่างๆ ของการผลิต เป็นต้น วิธีการนี้นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์และปกป้อง สิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีผลในด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค อีกด้วย เช่น ลดการเป็นโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง ได้ เป็นต้น ซึ่งใน ปัจจุบันได้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
6.3 ภาษีนำเข้า/โควต้า
อัตราภาษีนำเข้าสินค้าสิ่งทอ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มของเยอรมัน เป็นอัตราภาษีเดียวกันกับที่ใช้ภายในสหภาพยุโรป ดังนี้
1. สินค้าประเภทเส้นด้าย รวมทั้งวัตถุดิบเพื่อการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจะมีอัตราระหว่างร้อยละ 0 - 7.0
2. ผ้าผืนโดยทั่วไปประมาณร้อยละ 8 อัตราสูงสุดร้อยละ 10.0
3. เสื้อผ้าสำเร็จรูปประมาณร้อยละ 4 — 12
4. ส่วนประกอบอื่นๆ ถุงมือ ถุงเท้าประมาณร้อยละ 6
อัตราภาษีนำเข้าดังกล่าวข้างต้นเป็นอัตราภาษีปกติ ปัจจุบันมีการลดอัตราภาษีให้กับสินค้าที่นำเข้าจากกลุ่มประเทศ ต่างๆ แตกต่างกันไป ดังนี้
1. ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และบางประเทศในยุโรปกลางไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
2. ประเทศต่างๆ ในอัฟริกาและอเมริกาใต้ และบางประเทศในยุโรปกลาง และยุโรปตะวัน ออกเสียภาษีนำเข้า ร้อยละ 0 - 15 ของอัตราปกติ
3. ประเทศอุตสาหกรรมเสียภาษีในอัตราปกติ
การที่จะได้รับสิทธิพิเศษเพื่อเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าปกติ นั้น จะต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด (Certificate of Origin) Form A รับรองว่าเป็นสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศนั้นๆ โดยหน่วยงานในแต่ละประเทศ ตามที่ได้ระบุไว้ในข้อตกลงสิ่งทอเป็นผู้ออกหนังสือรับรองดังกล่าว นอกจากนี้สำหรับ บางประเทศยังคงมีการจำกัดปริมาณการ นำเข้าโดยกำหนดเป็นโควต้านำเข้าตามข้อตกลงพิเศษ เช่น กับประเทศจีน สำหรับสินค้าจากไทยอนุญาตให้นำเข้าได้โดยเสรี และจะเสียภาษีนำเข้าในอัตราระหว่างร้อยละ 0 — 12.0 ตามแต่พิกัดของสินค้าที่นำเข้า
7.1 ตลาดสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเยอรมนี มีความจำเป็นต้องอาศัยการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเป็นหลัก เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ โดยจะมีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 23,758 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 8,522.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 11.6 โดยจะมีสินค้าจากจีนเข้าสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้นมาโดยตลอดในระยะ 3 — 4 ปีที่ผ่านมา สำหรับสินค้าของไทยยังคงเป็นที่ต้อง การของตลาด มีการนำเข้าในช่วง 3 เดือนแรกปี 2552 เป็นมูลค่า 54.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.4
7.2 สืบเนื่องจากตลาดเสื้อผ้าในเยอรมนีถึงจุดอิ่มตัว มีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ที่สำคัญ ได้แก่ จีน ตุรกี และบังคลาเทศจึงมีการแข่งขันด้านราคาที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทำให้ในเยอรมนีมีการคำนึงถึงราคาของสินค้าเป็นปัจจัยหลัก ในการจับจ่ายซื้อสินค้า รูปแบบ สีสรรเป็นที่นิยมรองลงมา คุณภาพของสินค้าและสินค้าแฟชั่น เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง นอกจากนี้ สินค้า ประเภทเกษตรอินทรีย์ ที่ในขบวนการผลิตไม่ใช้สารเคมี ใดๆ เป็นที่นิยมของผู้บริโภคกลุ่มน้อย เนื่องจากในปัจจุบันยังมีราคาแพง แต่มีแนวโน้มส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
7.3 สืบเนื่องจากเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่นำเข้าโดยทั่วไปมีราคาต่ำกว่าการผลิตในประเทศ เยอรมนีจึงให้ความสำคัญ ในด้านการคิดค้น ผลิตสินค้าหรือวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอประเภท HighTech มากขึ้น ได้แก่ เส้นด้าย หรือผ้าผืน ตลอดจน เสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
7.4 สินค้าแบรนด์เนมใหม่ๆ ได้รับความสนใจพอๆ กันกับสินค้าที่มียี่ห้อเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ราคา คุณภาพ รูปแบบ ของสินค้าเป็นปัจจัยหลักของการซื้อของผู้บริโภค การผลิตสินค้าคุณภาพดี มีราคาเหมาะสม และถึงแม้ว่าจะเป็นสินค้าใหม่ในตลาด ก็ตาม ตลาดยังคงให้ความสนใจอยู่
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ ณ กรุงเบอร์ลิน
ที่มา: http://www.depthai.go.th