สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.—มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 14, 2009 16:42 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง           :  Washington , DC
พื้นที่                :  9,161,923  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ         :  English
ประชากร            :  301.6 ล้านคน (1 ก.ค. 2550)
อัตราแลกเปลี่ยน       :  US$ : 33.763 บาท (11/08/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2008 ปี 2009

Real GDP growth (%)                               1.2        -2.0
Consumer price inflation (av; %)                  3.8        -0.6
Budget balance (% of GDP)                        -3.2       -11.5
Current-account balance (% of GDP)               -4.8        -3.5
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        2.2         0.3
Exchange rate ฅ:US$ (av)                        103.4        93.0

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหรัฐอเมริกา
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  7,358.21          100.00         -27.04
สินค้าเกษตรกรรม                      654.56            8.90         -26.88
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              905.80           12.31          -0.94
สินค้าอุตสาหกรรม                    5,656.94           76.88         -29.64
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                   140.90            1.91         -40.53
สินค้าอื่นๆ                              0.01            0.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหรัฐอเมริกา
                                         มูลค่า :         สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              3,848.61          100.00        -31.82
สินค้าเชื้อเพลิง                               63.57            1.65        -56.13
สินค้าทุน                                 1,473.65           38.29        -24.92
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                  1,757.27           45.66        -38.91
สินค้าบริโภค                                486.03           12.63        -19.57
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  48.74            1.27          4.14
สินค้าอื่นๆ                                   19.35            0.50         93.06

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหรัฐอเมริกา
                           2551            2552          %

(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            15,731.02       11,206.81     -28.76
การส่งออก                10,085.94        7,358.21     -27.04
การนำเข้า                 5,645.07        3,848.61     -31.82
ดุลการค้า                  4,440.87        3,509.60     -20.97

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 3,848.61 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 31.82
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                         3,848.61          100.00       -31.82
1.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                  512.47           13.32        -2.72
2.แผงวงจรไฟฟ้า                             427.37           11.10       -29.98
3.เคมีภัณฑ์                                  324.77            8.44       -40.78
4.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ                285.06            7.41         0.63
5.เครื่องคอมพิวเตอร์                          271.44            7.05       -43.64
               อื่น ๆ                       420.30           10.92       -32.37

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปเป็นสหรัฐอเมริกา อันดับที่ 1 มูลค่า 7,358.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.04
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                  7,358.21         100.00         -27.04
1.เครื่องคอมพิวเตอร์                 1,300.99          17.68         -27.87
2.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                     502.93           6.83         -29.19
3.อาหารทะเลกระป๋อง                  482.98           6.56           0.08
4.ผลิตภัณฑ์ยาง                        382.85           5.20         -16.77
5.อัญมณีและเครื่องประดับ                333.58           4.53         -35.42
            อื่น ๆ                 1,443.38          19.62         -27.60

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (มค.-มิย.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากจีนและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่า ปี 2552 (มค.-มิย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง 27.87 ในขณะที่ปี 2549 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 44.83 17.40 และ 1.13 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เสื้อผ้าสำเร็จรูป : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่ามีอัตราการขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ 2.26 5.81 8.09 และ 29.19 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อาหารทะเลกระป๋องฯ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่า ปี 2550 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 6.04 ในขณะที่ปี 2549 2551 และ 2552 (มค.-มิย.)มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.25 14.18 และ.08 ตามลำดับ เมื่อเทียบ กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ผลิตภัณฑ์ยาง : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่า ปี 2552 (มค.-มิย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง 16.77 ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 23.36 11.87 และ 11.22 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อัญมณีและเครื่องประดับ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549-2552 (มค.-มิย.) พบว่า ปี 2549 และ ปี 2552(มค.-มิย.) ที่มีอัตราการขยายตัว ลดลงร้อยละ 1.84 และ 35.42 ในขณะที่ปี 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 และ 4.78 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552(ม.ค.-มิย.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูง มีรวม 3 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                   มูลค่า         อัตราการขยายตัว      หมายเหตุ
                                 ล้านเหรียญสหรัฐ         %
3. อาหารทะเลกระป๋อง                 482.98            0.08
8. กุ้งสดแช่เย็น  แช่แข็ง                237.86            0.08
14.รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ          95.71           22.64

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.-มิย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม  22 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                                     มูลค่า      อัตราการขยายตัว
                                                 ล้านเหรียญสหรัฐ        %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์                                  1,300.99        -27.87
2.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                      502.93        -29.19
4.ผลิตภัณฑ์ยาง                                         382.85          3.66
5.อัญมณีและเครื่องประดับ                                 333.58        -35.42
6.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ                       320.37        -26.64
7.แผงวงจรไฟฟ้า                                       242.78        -35.73
9.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                                229.99         -4.26
10.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                     224.12        -35.68
11.ข้าว                                              178.91        -12.13
12.น้ำมันดิบ                                           140.19        -40.41
13.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล              136.24         -7.80
14.ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน                   124.34        -25.09
15.ยางพารา                                          117.42        -62.35
16.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                            116.57        -53.73
17.เครื่องโทรศัพท์  เครื่องตอบรับโทรศัพท์                    114.85        -21.90
18.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                     107.36        -37.45
19.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                                 96.01        -19.91
21.เลนซ์                                              94.96        -12.58
22.เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน                  89.71        -20.16
23.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                         88.64        -22.75
24.รองเท้าและชิ้นส่วน                                    77.76        -37.14
25.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                           77.72        -58.29

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

เป็นเรื่องน่ายินดีที่การส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยเริ่มมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น เครื่องประดับเงินถือเป็นสินค้าดาวรุ่งของอุตสาหกรรมนี้และเป็นทางเลือกในลำดับแรกๆ สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการซื้อเครื่องประดับในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง ในช่วง 10 ปีมานี้ เครื่องประดับเงินของไทยสามารถยึดครองพื้นที่ทางการตลาดได้แบบเบ็ดเสร็จในหลายๆ ประเทศ อย่างเช่นในสหภาพยุโรปที่มีส่วนแบ่งตลาดถึงครึ่งหนึ่ง หรือในสหรัฐอเมริกาที่ไทยเป็นผู้นำตลาดมาโดยตลอด ก่อนที่จะถูกจีนเบียดแซงไปเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ปีนี้ไทยชิงตำแหน่งดังกล่าวกลับมาได้อีกครั้ง เพราะตลาดสหรัฐฯ หันมาซื้อสินค้าในระดับกลางถึงบนมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่เงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้น ทำให้เครื่องประดับเงินจากจีนที่มีคุณภาพไม่สูงนักกลับมีราคาแพง จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการในตลาดได้ดีเท่ากับสินค้าของไทย อุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินนี้สมควรที่จะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน สถาบันอัญมณีจึงได้ริเริ่มโครงการวิจัยด้านการตลาดเพื่อศึกษาศักยภาพของอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินไทยเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่างเช่น จีน อินเดีย อิตาลี ฯลฯ เพื่อกำหนดกลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเมื่อโครงการวิจัยนี้เสร็จสมบูรณ์

กระทรวงพาณิชย์ เตรียมจัดทำระบบออนไลน์ติดตามการใช้สิทธิ์GSP ของสินค้าส่งออกไทยไปตลาดสหรัฐ และยุโรป ป้องกันโดนสวมสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP ของสินค้าส่งออกไทยตามที่หลายฝ่ายกังวลในเรื่องนี้อย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันสินค้าส่งออกไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรป มีอยู่ 7,400 รายการ หากถูกตรวจพบว่าสินค้าที่ส่งออกจากไทยนั้น ไม่ได้มีแหล่งกำเนิดในไทย อาจทำให้ถูกตัดสิทธิ์ GSP จนถึงการโดนเรียกเก็บภาษีในอัตราปกติ ที่ผ่านมา เริ่มพบสินค้าบางรายการที่เข้ามาสวมสิทธิจากประเทศไทยบ้างแล้ว เช่น กลุ่มสิ่งทอ และรองเท้า สำหรับกลุ่มสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อการแอบอ้างสิทธิ์ที่กระทรวงพาณิชย์ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ยังคงเป็นกลุ่มสินค้าที่จีนถูกเรียกเก็บเอดี เช่น ยานยนต์ รองเท้า สิ่งทอและเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ ได้มีการจัดทำระบบออนไลน์ติดตามการใช้สิทธิ์ GSP ของผู้ส่งออกในประเทศ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ